ชมรมนักเรียนเก่า บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่น 10
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม
นพ.วราห์ ยืนยงวิวัฒน์
รศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ภาวะช้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนในข้อเข่า โดยจะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ผิดรูป และ ลดความมั่นคงกับข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้รบกวนการเดิน และลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวัน

โดยปกติข้อเข่าของคนเราประกอบด้วย กระดูก 3 ส่วน ประกอบด้วยกระดูกต้นขา กระดูกปลายขา และกระดูกลูกสะบ้า ซึ่งจะมีส่วนของกระดูกอ่อน ซึ่งให้ความเรียบลื่นระหว่างข้อต่อมีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร อยู่ระหว่างกระดูกแต่ละส่วน นอกจากนี้ยังมีส่วนของกล้ามเนื้อ เอ็นข้อเข่าและเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ยึดกระดูกเข้าด้วยกัน จากส่วนประกอบข้างต้นทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกัน ในการรับน้ำหนักและเคลื่อนไหวร่างกายไปในสถานที่ต่างๆ
โรคข้อเข่าเสื่อม มี 2ชนิด ชนิดแรกเกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานตามธรรมชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ ความอ้วน การใช้งานที่ต้องใช้เข่ารับน้ำหนักมาก การมีกล้ามเนื้อรอบเข่าไม่แข็งแรง และภาวะทางกรรมพันธุ์ โดยโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดที่สองเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการใช้งานปกติ เช่น อุบัติเหตุในข้อเข่า การติดเชื้อในข้อเข่า เป็นต้น

โรคข้อเข่าเสื่อมทั้งสองชนิดจะมีการเสื่อมตัวของกระดูกอ่อน โดยมีสารน้ำและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกอ่อนลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามปกติ หากโรคเป็นมากขึ้นชั้นกระดูกอ่อนจะบางลง ทำให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนรับน้ำหนักมากเกินปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะเดินลงน้ำหนัก หากโรคดำเนินไปมากขึ้นกระดูกอ่อนที่บางลงอย่างมากและหลุดร่อนออกมา จะส่งผลให้เกิดการผิดรูปของข้อเข่า ทำให้เกิดภาวะเข่าโก่งงอ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดการยืดของเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยจะเดินได้ลำบากมากขึ้น จากการที่ข้อเข่ามีความมั่นคงลดลง

การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยมักแสดงอาการปวด ข้อเข่ายึดติด เข่าผิดรูปโก่งงอ มีน้ำในข้อเข่ามากกว่าปกติ รวมทั้งโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ด้วยภาพถ่ายรังสีที่แสดงให้เห็นการตีบแคบของกระดูกอ่อนในข้อเข่า รวมถึงการเรียงตัวที่ผิดปกติของกระดูกข้อเข่า

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ในระยะแรก ควรลดน้ำหนัก บริหารข้อเข่า และหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่ามากๆ เช่น การยกของหนัก การขึ้นบันไดมากๆ การนั่งยองๆ ร่วมกับการรับประทานยาแก้ปวด และยาลดอาการอักเสบของข้อเข่า สามารถรักษาได้ผลเป็นอย่างดีมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วย หากอาการเป็นมากขึ้นอาจพิจารณาฉีดยาเข้าข้อเข่าเพื่อเพิ่มน้ำในข้อเข่า หรือฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบของข้อเข่า ในกรณีที่การรักษาข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากอายุผู้ป่วย สภาพความรุนแรงของโรค และ การใช้งานข้อเข่าของผู้ป่วย ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆ โดยมีทางเลือกในการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดส่องกล้องล้างข้อเข่า การผ่าตัดจัดแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เป็นต้น



Create Date : 02 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2552 9:57:03 น. 0 comments
Counter : 363 Pageviews.

Bodin10
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Bodin10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.