ชมรมนักเรียนเก่า บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่น 10
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

สถาปนิกคืออะไร

ครั้งแรกตกลงกับคุณสมนึกว่าจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับปัญหาหน้าฝนของอาคารบ้านเรือน แต่คิดว่าข้อมูลพวกนี้เพื่อน ๆ น่าจะได้รับจากสื่อต่าง ๆ โดยทั่วไปอยู่แล้ว เลยคิดว่าจะนำเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจระหว่างเจ้าของอาคารกับสถาปนิกมาเล่าให้ฟังดีกว่า เผื่อว่าเพื่อน ๆ หรือญาติพี่น้องมีความจำเป็นจะต้องปรึกษาสถาปนิกจะได้มีความเข้าใจเบื้องต้นครับ

สถาปนิกคืออะไร ?
ที่จริงแล้วสถาปนิกคือ “ใครก็ได้” ที่ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้และเข้าใจทางศิลปอย่างดีในหลายแขนง
2. มีความรู้และเข้าใจพื้นฐานทางวิศวกรรมโครงสร้างและระบบ
3. มีความรู้และเข้าใจพื้นฐานเชิงจิตวิทยาและมีความช่างสังเกต เพื่อเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์และค่านิยมทางสังคม
4. มีความรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งในวัสดุต่าง ๆ ทั้งคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงศิลป
5. มีความรู้และเข้าใจในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งกายภาพของสถานที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
6. มีความสามารถในการสร้างแผนภูมิความสัมพันธ์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายและซับซ้อนให้เกิดประสิทธิภาพ
7. มีจินตนาการที่กว้างไกลและเปิดกว้าง มีมุมมองที่แตกต่างในการมองหาวิธีการตอบโจทย์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
8. มีความสามารถในการวางแผนจัดการประสานงานระหว่างแต่ละฝ่ายตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง
9. สามารถนำความรู้ความสามารถทั้ง 8 ข้อข้างต้นมาผสมผสานกันประกอบ การวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่ตอบสนองเจ้าของและผู้ใช้อาคารอย่างคุ้มค่าเมื่อไหร่ที่คุณต้องการสถาปนิก ?

– คุณสมควรจะปรึกษาสถาปนิกก็ต่อเมื่อคุณต้องการสร้าง, ปรับปรุงอาคาร โดยที่คุณต้องการอาคารที่มีคุณสมบัติที่ตอบสนองคุณได้ทุกด้าน มากกว่าอาคารสำเร็จรูปโดยทั่วไป และคุณต้องการมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากคุณค่าของอาคารที่ผ่านการออกแบบอย่างดี โดยมีข้อกำหนดในการก่อสร้างที่มีมาตรฐานระยะยาว มีการกำหนดวัสดุอุปกรณ์และการติดตั้งที่มาตรฐานดี

– คุณไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยที่จะปรึกษาสถาปนิกถ้าหากว่าคุณพอใจกับรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยของอาคารสำเร็จรูปที่สร้างเสร็จ เห็นรูปร่างโดยชัดเจนแล้ว อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเป็นที่พอใจคุณแล้ว และคุณไม่สนใจข้อบกพร่องอันพึงมีแต่คุณไม่รู้หรือไม่อาจเห็นได้

จะเลือกสถาปนิกอย่างไร ?
– สถาปนิกก็เหมือนทุกอาชีพอิสระ เช่น แพทย์, ทนายความ, นักแสดง ที่มีการศึกษามาเหมือน ๆ กัน แต่ที่สุดแล้วความสามารถและแนวทางในการประกอบอาชีพจะมาจากอุดมการณ์, จรรยาบรรณ, การพัฒนาทักษะ, รูปแบบการทำงาน และสำคัญที่สุดคือ ความรักในอาชีพและความซื่อสัตย์ ตลอดจนความรู้สึกที่ดีต่อผู้ว่าจ้าง

– คุณควรจะพยายามหารายชื่อสถาปนิกหลาย ๆ รายเพื่อติดต่อปรึกษาในเบื้องต้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำความเข้าใจในสถาปนิกแต่ละราย ก่อนที่จะตกลงว่าจ้างเพราะการเลือกสถาปนิกเหมือนการแต่งงาน ถ้าเริ่มงานไปแล้วโดยเฉพาะเมื่อเริ่มการก่อสร้างไปแล้ว การเปลี่ยนสถาปนิกกลางคันเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียอย่างร้ายแรง (เช่นเดียวกับการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง)

– คุณควรเลือกสถาปนิกหรือผู้รับเหมาที่นิสัยดี ความสามารถพอสมควร มีความรับผิดชอบ จะดีกว่าสถาปนิกที่ดูเก่ง มีชื่อเสียงแต่ไร้ความรับผิดชอบ เพราะการก่อสร้างอาคารนั้นการออกแบบเป็นเพียงครึ่งเดียวของผลงานที่ดี อีกครึ่งหนึ่งมาจากการทำงานระหว่างสถาปนิกกับผู้รับเหมาระหว่างก่อสร้าง

– สถาปนิกที่ดีจะไม่ออกแบบนำเสนอพร่ำเพรื่อ หรือพยายามพูดโน้มน้าวจูงใจ เจ้าของโครงการให้ว่าจ้างเบื้องต้นขอเล่าให้ฟังประมาณนี้ก่อนนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครก็ตามที่เผื่อว่าอาจจะต้องปรึกษากับสถาปนิกจะได้ไม่ผิดพลาดครับ ถ้ายังมีข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับวงการก่อสร้าง ยินดีให้คำปรึกษากับเพื่อน ๆ นะครับ

โดย.. ไพโรจน์ จีรบุณย์




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2552
1 comments
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2552 19:16:34 น.
Counter : 633 Pageviews.

 

ขอบคุณที่ให้ความรู้ คับ

 

โดย: แบงค์ IP: 223.207.55.229 29 มกราคม 2554 20:34:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Bodin10
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Bodin10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.