ส่องกล้องค่าตอบแทนทางเชื่อมบีทีเอส สกายวอล์ค

สำหรับใครที่เคยใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสคงจะสังเกตได้ว่ามีอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือศูนย์การค้าหลายแห่งสร้างทางเชื่อมติดสถานีบีทีเอส

และในบางสถานีมีทางเดิมเชื่อมระหว่างสถานีที่เรียกว่า "สกายวอล์ค" เช่นระหว่างสถานีชิดลม-สยาม
และสถานีสยาม-สนามกีฬาแห่งชาติ ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะขอทำทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้ากันมากขึ้นเพราะช่วยอำนวยความสะดวกสบายและในกรณีของศูนย์การค้าก็ถือเป็นโอกาสดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างสะดวกสบายเคยสงสัยหรือไม่ว่า การสร้างทางเชื่อมดังกล่าวกับระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯมีค่าใช้จ่ายขนาดไหน  

 

เมื่อเร็วๆ นี้หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจได้รายงานว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและส่วนต่อขยายได้ออกหลักเกณฑ์การขออนุญาต-ค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯส่วนต่อขยายและสกาย วอล์ค หลังจากที่พบว่ามีความต้องการในการขอสร้างทางเชื่อมเป็นจำนวนมาก โดยหลักเกณฑ์มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

  • ผู้ขออนุญาตสามารถยื่นคำขออนุญาตทางเชื่อมได้ที่สำนักการจราจรและขนส่ง
  •      กรุงเทพมหานคร โดยมีเอกสารประกอบการยื่นคำขอ อาทิ รูปแบบ รายการคำนวณ
         รายการประมาณราคา หลักฐานกรรมสิทธิ์ของอาคารและที่ดินที่ตั้งอาคาร พร้อมชำระค่าตรวจ      แบบการสร้างทางเชื่อม 50,000 บาทแก่ กทม.
  • การพิจารณาคำขอมีเกณฑ์พิจารณาหลัก 3 ข้อย่อย ได้แก่ 
  •      - ความกว้างของทางเข้า-ออกทางเชื่อม
         ต้องมีขนาดความกว้างตามมาตรฐานการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนฯ
         เพียงพอที่ประชาชนสามารถใช้สัญจรเข้า-ออกระบบได้สะดวก ปลอดภัย
         และเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพ      คนพิการพ.ศ. 2524 และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานหรือสิ่ง      อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 
         - ความสูง กำหนดให้ต้องสูงไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับความสูงของชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร
         และมีความสูงเพียงพอที่จะให้รถดับเพลิงเข้า-ออกเพื่อปฏิบัติงานในอาคารที่เชื่อมต่อได้สะดวก
         ในกรณีที่เป็นการเชื่อมกับ "ทางเดินลอยฟ้า" หรือ "สกายวอล์ค" ความสูงของทางเชื่อมจะต้องไม่      น้อยกว่าหรือเท่ากับความสูงทางเดินลอยฟ้า และสูงเพียงพอที่จะให้รถดับเพลิงเข้า-ออกได้
         - ทางเชื่อมที่ขออนุญาตจะต้องมีทางขึ้น-ลงสู่ที่สาธารณะได้ตลอดเวลาโดยไม่มีสิ่งกีดขวางการ        ใช้สอยตามปกติ
  • ในส่วนของเกณฑ์ค่าตอบแทนการคำนวณจะยึดหลักความยาวที่ก่อสร้าง และมีอัตราเรียกเก็บค่า     ตอบแทนระหว่าง 5-25% ของมูลค่างานก่อสร้าง (ดูตารางประกอบ)

  • ความยาวของทางเชื่อมที่ก่อสร้าง (เมตร)

    มูลค่าของงานก่อสร้าง (%)

    ไม่ถึง 100 เมตร

    25

    ยาวตั้งแต่ 100 เมตร แต่ไม่ถึง 200 เมตร

    20

    ยาวตั้งแต่ 200 เมตร แต่ไม่ถึง 300 เมตร

    15

    ยาวตั้งแต่ 300 เมตร แต่ไม่ถึง 400 เมตร

    10

    ยาว 400 เมตรขึ้นไป

    5


    นอกจากนี้ จะต้องวางหลักประกันในวงเงิน 2 ล้านบาท และต้องมีหนังสือหลักประกันธนาคารมูลค่า 5% ของมูลค่างานก่อสร้างทางเชื่อม โดยจะคืนให้ภายหลังจากตรวจงานงวดสุดท้าย รวมทั้งจะมีค่าตอบแทนรายปีอีกปีละ 4%ของราคาประเมินที่ดินบริเวณทางเชื่อมที่ก่อสร้าง

     

    ทั้งนี้การที่มีอาคารที่มีทางเชื่อมติดกับสถานีรถไฟฟ้านั้นเห็นได้ชัดว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาฯ
    บริเวณนั้น ดังนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดดีมานด์ในการขออนุญาตสร้างทางเชื่อมหรือสกาย
    วอล์คนั้นจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่สูงอยู่ไม่น้อย



    Create Date : 27 ธันวาคม 2555
    Last Update : 27 ธันวาคม 2555 14:36:11 น.
    Counter : 2286 Pageviews.

    0 comments
    ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
    Comment :
     *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
     

    Bloomingme
    Location :
    กรุงเทพฯ  Thailand

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



    ธันวาคม 2555

     
     
     
     
     
     
    1
    2
    5
    8
    9
    10
    15
    16
    22
    23
    29
    30
    31
     
     
    All Blog