อัตราดอกเบี้ยกับราคาหุ้น

ตอนที่ผมเป็นมาร์เก็ตติ้งในบริษัทหลักทรัพย์ ในช่วงปี 2549  ผมได้รับมอบหมายจากผู้จัดการให้มีหน้าที่แจ้งข่าวและความเคลื่อนไหวต่างๆที่จะมีต่อราคาหุ้นให้แก่ลูกค้า

โดยในช่วงประมาณกลางปี2549 แบงค์ชาติได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย และผมต้องทำหน้าที่แจ้งข่าวให้แก่ลูกค้าทั้งหมดรวมถึงลูกค้าประจำที่ยังเดินทางมาไม่ถึงห้องค้า

มีอาซิ้มคนหนึ่งแกเป็นลูกค้าประจำที่ชอบมานั่งดูหุ้นในห้องค้า โดยแกมานั่งเล่นหุ้นทุกวันแบบเล่นไพ่ป็อกเด้งผมซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องแจ้งข่าวแก่ลูกค้าผมจึงได้โทรไปบอกแกด้วย

“ซิ้มครับ แบงค์ชาติลดดอกเบี้ยหุ้นกลุ่มอสังหาฯน่าจะมานะครับ” ผมโทรบอกแก และเปิดตลาดในวันนั้นหุ้นกลุ่มอสังหาฯวิ่งขึ้นยกแผงอย่างที่ผมได้ทำนายไว้และแล้วเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้นในทันใด

“ขอสายคนที่โทรมาแจ้งข่าวเมื่อเช้าหน่อย”เสียงอาซิ้มดังมาจากปลายสายพี่ที่ทำงานยกหูให้ผม พร้อมแซวขำๆว่าสงสัยแกโทรมาชม ก็คาดการณ์แม่นนี่หว่า พอผมรับโทรศัพท์มาจ่อหู แกตวาดจนผมหูแทบหนวก

“ลื้อบอกว่าอสังหาฯจะมาทำไมลื้อไม่บอกอั๊วล่ะว่าตัวไหน!!” ผมละล่ำละลักแก้ตัวแทบไม่ทันพอวางหูแล้วหันมาเล่าให้บรรดาพี่ๆที่ทำงานฟังก็ได้แต่พากันหัวเราะก๊ากๆ โธ่อาซิ้มหุ้นอสังหาฯมีตั้งหลายตัวถ้าผมรู้ว่าตัวไหนมันจะวิ่งขึ้นมากกว่าเพื่อนผมคงไม่มานั่งเป็นมาร์ฯให้อาซิ้มโขกสับอย่างนี้หรอกครับ

แต่ในเหตุการณ์นั้นมันเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นทฤษฎีที่เคยเรียนมาปรากฏต่อหน้าในโลกแห่งความจริงนั่นคือ ผมได้เห็นความสัมพันธ์ของดอกเบี้ยที่มีต่อราคาหุ้น ที่วิชาเศรษฐศาสตร์บอกไว้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีความสัมพันธ์ผกผันกับราคาหลักทรัพย์ นั่นคือถ้าอะไรเพิ่มอีกอย่างก็จะลด

โดยผลกระทบของดอกเบี้ยที่มีต่อราคาของหลักทรัพย์นั้นมีได้หลายแบบ

แบบแรก คือดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อกำไรสุทธิของบริษัท

อีกแบบ คือนักเก็งกำไรที่กู้ยืมเงินมาใช้ในการเก็งกำไรมีต้นทุนมากขึ้นจึงทำให้มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาซื้อขายหลักทรัพย์มีลดน้อยลง

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนั้นจะทำให้ความน่าสนใจในสินทรัพย์เสี่ยง(ก็คือหุ้น)มีน้อยลงเพราะเมื่อดอกเบี้ยมีการปรับสูงขึ้นนักลงทุนนักลงทุนจะเปรียบเทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยงของตนเองและเมื่อการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า(เงินฝาก พันธบัตร) มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจนเท่ากับหรือไม่ค่อยแตกต่างจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่านักลงทุนก็จะทำการปรับพอร์ตการลงทุนของตัวเองไปยังการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเป็นต้น

และในการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนั้นมักจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป หรือเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงหากเกิดเหตุการณ์ข้างต้นขึ้น แบงค์ชาติจะลดความร้อนแรงลงโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นการแตะเบรกซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศมีปริมาณที่น้อยลง(คนมีเงินน้อยลง)

ในที่นี้เราอาจจะต้องทำความเข้าใจกันเพิ่มอีกนิดว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นราคาของเงินในตลาดเงิน มันเป็นสิ่งผู้ที่ขาดเงินต้องจ่ายและผู้มีเงินจะใช้ราคานี้เพื่อขายเงินของเขาและบริษัทที่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ล้วนแต่เป็นผู้ที่ต้องการเงินทั้งนั้นเมื่อราคาของเงินขยับขึ้น ก็ย่อมจะต้องส่งผลเสียต่อผู้ที่ต้องการเงิน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลเสียต่อหุ้นทั้งหมดในตลาดอาจมีหุ้นบางตัวมีเงินสดอยู่ในมือเยอะจนได้รับผลดีจากการปรับขึ้นของดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับเพิ่มมากขึ้นซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องค้นหากันต่อไป

โดยทฤษฎีที่ผมได้พูดถึงนี้ก็เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ในหลักสูตรปริญญาตรีที่สอนกันตามมหาวิทยาลัยทั่วๆไปถ้าหากเพื่อนๆคนไหนสนใจที่จะศึกษาต่อก็ลองค้นจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่มีขายตามศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัยใกล้บ้านหรือไม่ก็หนังสือSingleLicense ของทางตลาดหลักทรัพย์ดูนะครับ



Create Date : 25 สิงหาคม 2555
Last Update : 25 สิงหาคม 2555 0:15:09 น.
Counter : 894 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณมากครับ ที่ให้ได้ความรู้เพิ่มเติม ในตลาดเงิน ( เป็นกำลังใจให้ครับ )
โดย: เต่าน้อย IP: 212.118.224.149 วันที่: 15 ตุลาคม 2555 เวลา:15:51:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Black_Space
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



)
สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31