จัดการการเงินกับการเลือกซื้อรถยนต์
ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลรับปริญญาแล้วบรรยากาศก็อบอวลไปด้วยความสุขของทั้งตัวบัณฑิตและครอบครัวของบัณฑิตที่เตรียมตัวกันมาเฉลิมฉลองความสำเร็จในการศึกษากันการรับปริญญาเป็นเหมือนหลักไมล์เริ่มต้นสำหรับตัวบัณฑิต ที่ก้าวเข้าไปสู่ตลาดแรงงานซึ่งเราเรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า First Jopper

เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน คนกลุ่มนี้จากการที่เคยต้องนั่งขอเงินพ่อแม่มาใช้ก็จะมีเงินของตนเอง และจะใช้จ่ายเงินของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อสนองความต้องการที่มันอัดอั้นตอนที่ขอเงินพ่อและแม่ใช้จากอิสระนี้การใช้จ่ายนั้นจะออกมาในรูปวัสดุเครื่องใช้ไฮเทคหรือสิ่งของอื่นๆเพื่อแสดงฐานะของตนเองต่อสังคมบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ล่าสุด แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนสนใจอยากซื้อหาคือ “รถยนต์”

รถยนต์เป็นทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแสดงถึงฐานะทางสังคมของผู้ครอบครอง แต่ว่าการซื้อรถยนต์นั้นมันเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ใช้ เล่นบางคนต้องใช้เพื่อหน้าที่การงาน หรือความจำเป็นส่วนตัวอื่นๆแต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ล่ะจำเป็นที่จะต้องซื้อหามาใช้หรือไม่

ทั้งนี้ การซื้อรถยนต์ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยจะซื้อในรูปแบบของเงินสดกันมากนักแต่เราจะใช้การซื้อผ่านกระบวนการกู้ยืมสินเชื่อเพื่อซื้อหามาใช้ซึ่งการจัดซื้อโดยวิธีสินเชื่อย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาอีก เช่น ดอกเบี้ยเป็นต้น

ประเด็นที่ผมอยากจะนำเสนอในที่นี้ก็คือถ้าหากสมมุติว่าเรายังไม่มีความจำเป็นมากในการซื้อรถยนต์ การซื้อโดยสินเชื่อกับการเก็บเงินซื้อเองนั้นอย่างไหนมันคุ้มกว่ากันทั้งนี้เพื่อจะเป็นวิธีคิดและตัดสินใจสำหรับผู้ที่กำลังลังเลอยู่

สมมุติว่า ผมเป็นกลุ่ม First Jopper และกำลังอยากได้รถยนต์แต่คสวามจำเป็นนั้นยังมากนัก ผมยังนั่งรถประจำทางไปทำงานได้และไม่ได้ส่งผลอะไรกับหน้าที่การงานมาก ผมพิจารณารถยนต์รุ่นหนึ่งราคาประมาณ600,000 บาท โดยหากผมจะซื้อผ่านสินเชื่อผมต้องจ่ายเงินดาวน์ 25% หรือประมาณ150,000 บาทซึ่งเงินจำนวนนี้ผมไม่มีปัญหายังคงเหลือเงินที่ต้องขอสินเชื่ออีกประมาณ 450,000 บาท ผมจะขอกู้5 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.5% ดังนั้นผมต้องจ่ายค่าผ่อนชำระงวดละเท่าไหร่

1. การผ่อนชำระดอกเบี้ยรถยนต์ไม่เหมือนการผ่อนชำระอย่างอื่นที่ลดต้นลดดอกแต่เป็นการบวกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดรวมไปกับเงินต้นแล้วหารจำนวนงวดที่ต้องชำระออกมาเราเรียกว่า การคำนวณแบบ ADD-ON หรือ FLAT RATE ดังนั้นผมจะต้องชำระค่างวดทั้งสิ้น (450,000+(450,000*2.5%*5))/60=(450,000+61,875)/60 หรือ เดือนละ 8,531.25 บาทแต่ต้องมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%เป็น9,128.43 บาท ต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 511,875 บาท

2. หากผมตัดสินใจว่าผมไม่ซื้อวันนี้แล้วแต่จะเก็บเงินที่ต้องผ่อนไปฝากธนาคารแทนโดยฝากเป็นประจำทุกเดือน เป็นเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ 2.5% ต่อปีสิ้นปีที่ห้า ผมจะมีเงินคือ 9,128.43*{(1+(2.5%/12)^60)-1)/2.5%} =582,764.37 บาท

3. เห็นมั๊ยครับเราจะเห็นว่า ถ้าเรารอสักหน่อยเก็บเงินเท่าค่าผ่อนรอเท่าระยะเวลาการผ่อนเราจะสามารถซื้อรถยนต์ที่หมายปองได้โดยยังมีเงินเหลือๆแต่งเพิ่มเติมได้อีกคือ582,764.37-511,875 = 70,889 บาท นี่ยังไม่รวมที่เราเอาเงินดาวน์ไปฝากแล้วได้ดอกเบี้ยอีกนะครับ

นอกจากค่าผ่อนชำระแล้ว รถยนต์ยังต้องเติมน้ำมันค่าประกันภัย และค่าบำรุงรักษา ซึ่งอาจจะต้องจ่ายเพิ่มอีกสัก 4,000-5,000 บาทต่อเดือนอีก ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างมันเพิ่มขึ้นมากไปอีก

ถ้าอ้างอิงตามแนวคิดนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้รถมากผมก็แนะนำให้ใช้วิธีฝากเงินแล้วค่อยมาซื้อภายหลังจะดีกว่าครับ แต่ใครจำเป็นจริงๆหรือถือคติซื้อก่อนใช้ก่อน ก็ไม่ได้ว่ากัน

ดังนั้นก็ขอฝากไปยังบัณฑิตใหม่สำหรับการใช้จ่ายเงินกันนะครับแม้เราจะอายุยังน้อยยังมีโอกาสหาเงินได้อีกมาก แต่ผู้ที่ออมก่อนย่อมมีโอกาสมากกว่าความชื่นมื่นในวันนี้อย่าให้มันเป็นความทุกข์ตรมในวันหน้าจากการใช้เงินไม่ระมัดระวังของเราเลยนะครับพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนใช้จ่ายทุกครั้งจะได้ไม่ต้องทุกข์กับการหาเงินมาใช้หนี้สินอย่างไม่สิ้นสุด

คิดก่อนใช้เพื่อให้ระยะเวลาแห่งความสุขในวันรับปริญญายาวนานไปชั่วชีวิตของเราดีกว่าครับ


ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูกาลรับปริญญาแล้วบรรยากาศก็อบอวลไปด้วยความสุขของทั้งตัวบัณฑิตและครอบครัวของบัณฑิตที่เตรียมตัวกันมาเฉลิมฉลองความสำเร็จในการศึกษากันการรับปริญญาเป็นเหมือนหลักไมล์เริ่มต้นสำหรับตัวบัณฑิต ที่ก้าวเข้าไปสู่ตลาดแรงงานซึ่งเราเรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า First Jopper

เมื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน คนกลุ่มนี้จากการที่เคยต้องนั่งขอเงินพ่อแม่มาใช้ก็จะมีเงินของตนเอง และจะใช้จ่ายเงินของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อสนองความต้องการที่มันอัดอั้นตอนที่ขอเงินพ่อและแม่ใช้จากอิสระนี้การใช้จ่ายนั้นจะออกมาในรูปวัสดุเครื่องใช้ไฮเทคหรือสิ่งของอื่นๆเพื่อแสดงฐานะของตนเองต่อสังคมบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ล่าสุด แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนสนใจอยากซื้อหาคือ “รถยนต์”

รถยนต์เป็นทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแสดงถึงฐานะทางสังคมของผู้ครอบครอง แต่ว่าการซื้อรถยนต์นั้นมันเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ใช้ เล่นบางคนต้องใช้เพื่อหน้าที่การงาน หรือความจำเป็นส่วนตัวอื่นๆแต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้ล่ะจำเป็นที่จะต้องซื้อหามาใช้หรือไม่

ทั้งนี้ การซื้อรถยนต์ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยจะซื้อในรูปแบบของเงินสดกันมากนักแต่เราจะใช้การซื้อผ่านกระบวนการกู้ยืมสินเชื่อเพื่อซื้อหามาใช้ซึ่งการจัดซื้อโดยวิธีสินเชื่อย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาอีก เช่น ดอกเบี้ยเป็นต้น

ประเด็นที่ผมอยากจะนำเสนอในที่นี้ก็คือถ้าหากสมมุติว่าเรายังไม่มีความจำเป็นมากในการซื้อรถยนต์ การซื้อโดยสินเชื่อกับการเก็บเงินซื้อเองนั้นอย่างไหนมันคุ้มกว่ากันทั้งนี้เพื่อจะเป็นวิธีคิดและตัดสินใจสำหรับผู้ที่กำลังลังเลอยู่

สมมุติว่า ผมเป็นกลุ่ม First Jopper และกำลังอยากได้รถยนต์แต่คสวามจำเป็นนั้นยังมากนัก ผมยังนั่งรถประจำทางไปทำงานได้และไม่ได้ส่งผลอะไรกับหน้าที่การงานมาก ผมพิจารณารถยนต์รุ่นหนึ่งราคาประมาณ600,000 บาท โดยหากผมจะซื้อผ่านสินเชื่อผมต้องจ่ายเงินดาวน์ 25% หรือประมาณ150,000 บาทซึ่งเงินจำนวนนี้ผมไม่มีปัญหายังคงเหลือเงินที่ต้องขอสินเชื่ออีกประมาณ 450,000 บาท ผมจะขอกู้5 ปี อัตราดอกเบี้ย 2.5% ดังนั้นผมต้องจ่ายค่าผ่อนชำระงวดละเท่าไหร่

1. การผ่อนชำระดอกเบี้ยรถยนต์ไม่เหมือนการผ่อนชำระอย่างอื่นที่ลดต้นลดดอกแต่เป็นการบวกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทั้งหมดรวมไปกับเงินต้นแล้วหารจำนวนงวดที่ต้องชำระออกมาเราเรียกว่า การคำนวณแบบ ADD-ON หรือ FLAT RATE ดังนั้นผมจะต้องชำระค่างวดทั้งสิ้น (450,000+(450,000*2.5%*5))/60=(450,000+61,875)/60 หรือ เดือนละ 8,531.25 บาทแต่ต้องมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%เป็น9,128.43 บาท ต้องจ่ายเงินทั้งสิ้น 511,875 บาท

2. หากผมตัดสินใจว่าผมไม่ซื้อวันนี้แล้วแต่จะเก็บเงินที่ต้องผ่อนไปฝากธนาคารแทนโดยฝากเป็นประจำทุกเดือน เป็นเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ 2.5% ต่อปีสิ้นปีที่ห้า ผมจะมีเงินคือ 9,128.43*{(1+(2.5%/12)^60)-1)/2.5%}** =582,764.37 บาท

3. เห็นมั๊ยครับเราจะเห็นว่า ถ้าเรารอสักหน่อยเก็บเงินเท่าค่าผ่อนรอเท่าระยะเวลาการผ่อนเราจะสามารถซื้อรถยนต์ที่หมายปองได้โดยยังมีเงินเหลือๆแต่งเพิ่มเติมได้อีกคือ582,764.37-511,875 = 70,889 บาท นี่ยังไม่รวมที่เราเอาเงินดาวน์ไปฝากแล้วได้ดอกเบี้ยอีกนะครับ

นอกจากค่าผ่อนชำระแล้ว รถยนต์ยังต้องเติมน้ำมันค่าประกันภัย และค่าบำรุงรักษา ซึ่งอาจจะต้องจ่ายเพิ่มอีกสัก 4,000-5,000 บาทต่อเดือนอีก ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างมันเพิ่มขึ้นมากไปอีก

ถ้าอ้างอิงตามแนวคิดนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้รถมากผมก็แนะนำให้ใช้วิธีฝากเงินแล้วค่อยมาซื้อภายหลังจะดีกว่าครับ แต่ใครจำเป็นจริงๆหรือถือคติซื้อก่อนใช้ก่อน ก็ไม่ได้ว่ากัน

ดังนั้นก็ขอฝากไปยังบัณฑิตใหม่สำหรับการใช้จ่ายเงินกันนะครับแม้เราจะอายุยังน้อยยังมีโอกาสหาเงินได้อีกมาก แต่ผู้ที่ออมก่อนย่อมมีโอกาสมากกว่าความชื่นมื่นในวันนี้อย่าให้มันเป็นความทุกข์ตรมในวันหน้าจากการใช้เงินไม่ระมัดระวังของเราเลยนะครับพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนใช้จ่ายทุกครั้งจะได้ไม่ต้องทุกข์กับการหาเงินมาใช้หนี้สินอย่างไม่สิ้นสุด

คิดก่อนใช้เพื่อให้ระยะเวลาแห่งความสุขในวันรับปริญญายาวนานไปชั่วชีวิตของเราดีกว่าครับ

**สูตร Future Value of Annuity




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2557 22:38:32 น.
Counter : 599 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Black_Space
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



)
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30