ฉันเป็นดั่งนกไร้ขา บินไปบินมาไร้จุดหมาย โอกาสลงดินนั้นไซร้ ต่อเมื่อความตายมาเยือน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 

+-+-+-+รำลึก 70 ปี จอห์น เลนนอน และ “Imagine” บทเพลงที่ไม่มีวันเป็นความจริง?+-+-+-+

เผยแพร่ครั้งแรกที่เวบ //www.poppaganda.net/entertainment/524/


หมายเหตุ – ผู้เขียนขอขอบคุณ

บก.ตี้ ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ให้บทความนี้

คุณ Nathan Homsup สำหรับข้อมูลและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบทความนี้

ข้อมูลบางส่วน ผู้เขียนนำมาจากเวบ Wikipedia


*************************************************


+-+-+-+รำลึก 70 ปี จอห์น เลนนอน และ “Imagine” บทเพลงที่ไม่มีวันเป็นความจริง?+-+-+-+

โดย ฟ้าดิน


“Imagine there's no heaven

It's easy if you try

No hell below us

Above us only sky

Imagine all the people Living for today...


Imagine there's no countries

It isn't hard to do

Nothing to kill or die for

And no religion too

Imagine all the people

Living life in peace...


You may say I'm a dreamer

But I'm not the only one

I hope someday you'll join us

And the world will be as one


Imagine no possessions

I wonder if you can

No need for greed or hunger

A brotherhood of man

Imagine all the people

Sharing all the world...


You may say I'm a dreamer

But I'm not the only one

I hope someday you'll join us

And the world will live as one”





เพลง Imagine เนื้อร้อง/ทำนองโดย จอห์น เลนนอน


หาก จอห์น เลนนอนสามารถรอดชีวิตจากกระสุนปลิดชีพของเดวิด แชปแมนที่หน้าอพาร์ทเมนต์ของเขาเองได้ ในวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ เขาจะมีอายุครบรอบ 70 ปี


แต่แน่นอนว่าเราไม่สามารถหมุน เวลากลับไปแก้ไขอดีตได้ และจอห์น เลนนอนก็ได้จากโลกใบนี้ไปนานถึง 30 ปีแล้ว แต่หากเราพิจารณาถึงผลงานทั้งหมดของเขาที่ยังรักษาความเป็นอมตะจวบจนทุก วันนี้ เราก็อาจพูดถึงตัวเขาได้ในลักษณะเดียวกับที่เราเคยพูดถึงเช กูวาร่าว่า “จอห์น เลนนอนยังไม่ตาย”

ในวันที่ 9 ตค. ที่ผ่านมา ได้มีกิจกรรมรำลึกถึงเขาหลายที่ ทั้งที่ลิเวอร์พูลและเมืองต่างๆทั้งโลก อีกทั้งหนังอย่าง Nowhere Boy ที่ว่าด้วยชีวประวัติตอนวัยหนุ่มของเขาก็ได้ฤกษ์เข้าฉายที่อเมริกาอาทิตย์ นั้นพอดี ในขณะเดียวกันในโลกไซเบอร์เองก็คึกคักไม่แพ้กัน ด้วยมีกิจกรรมรำลึกถึงเลนนอนทั้ง google และ youtube ที่เปลี่ยนสัญลักษณ์ของเวบเป็นลายเส้นรูปหน้าเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน google ที่แถมวีดิโอประกอบเพลง imagine ของเขามาให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้รับฟังอีกด้วย


คงไม่ใช่ เรื่องคุยโม้โอ้อวดเกินไปนักหากเราจะบอกว่าจอห์น เลนนอนคือนักดนตรีอัจฉริยะที่เป็นตำนาน (ไม่เหมือนบางประเทศที่นักร้องที่แต่งเพลงไม่เป็น ร้องเพลงผิดคีย์ แถมไม่มีเพลงไหนที่ผู้ฟังร้องตามได้กลับได้รับการยกย่องให้เป็นซูเปอร์สตา ร์เสียแล้ว) นอกเหนือจากผลงานที่เขาทำร่วมกับสุดยอดวงดนตรีอย่าง The Beatles แล้ว ยังมีผลงานจากอัลบั้มเดี่ยวของเขาอีกมากมายจนยากจะฟันธงได้ว่าเพลงไหนของเขา คือเพลงที่ดีที่สุด แต่ถ้าหากเราจะเลือกเอาเพลงของเขาที่ดังที่สุดและเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึง ตัวเขาได้ดีที่สุด จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า ได้ยินเพลงนี้ปุ๊บต้องคิดถึงเขา หรือเวลานึกถึงเขา เพลงนี้จะดังขึ้นมาในหัวเป็นอันดับแรก เสียงส่วนใหญ่คงบอกตรงกันว่าเพลงนั้นคือเพลง “Imagine” นั่นเอง


เพลง นี้อยู่ในอัลบั้มเดียวกับชื่อเพลงนั่นคือ Imagine ซึ่งอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของเขา เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1971 และถ้าเทียบกับผลงานเดี่ยวในยุคหลังๆ ของเขาที่ส่วนใหญ่แล้วเข้าถึงยากและไม่เป็นมิตรกับคนฟังเท่าไรแล้ว เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงที่ฟังง่ายสุดๆ ด้วยดนตรีเรียบง่ายและเนื้อหาแบบชั้นเดียวไม่ต้องจับไปตีความหลายชั้นเหมือน I Am a Walrus หรือStrawberry Fields Forever ที่จนป่านนี้ผู้ฟังก็ยังไม่เข้าใจเลยว่าพี่จอห์นต้องการจะสื่ออะไร

แม้ จะผ่านไป 39 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบัน เพลง Imagine ก็ยังคงเป็นเพลงที่ถูกเปิดและร้องตามมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก เผลอๆ อาจจะเป็นรองก็แค่เพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ และเพลงคริสต์มาสเท่านั้นเอง ดังที่อดีตประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์เคยพูดไว้ว่า “ในบรรดา125 ประเทศที่ผมเคยไปเยี่ยมเยียนนั้น ผมค้นพบว่า เพลง Imagine ของเลนนอนเป็นเพลงที่ถูกเปิดบ่อยมากพอๆ กับเพลงชาติของประเทศนั้นๆ เลยทีเดียว” เพลงนี้ยังเคยถูกถูกนำไปประกอบหนังต่อต้านสงครามบางเรื่อง ถูกนำไปล้อเลียนในภาพยนตร์เรื่อง Forrest Gump และกลายเป็นหมุดหมายสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งสาเหตุที่เพลงนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวจนกลายเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกเปิดมาก ที่สุดจนถึงทุกวันนี้ได้ สาเหตุหลักเพราะเนื้อหาของเพลงนั้นเกี่ยวข้องกับการเรียกร้องเสรีภาพ จึงไม่น่าแปลกใจที่ตราบใดโลกนี้ยังคงมีสงครามและความเกลียดชังอยู่ เพลงนี้ก็ยังคงถูกเปิดไปเรื่อยๆ ตราบชั่วฟ้าดินสลาย


ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า การที่เพลง Imagine ซึ่งมีเนื้อร้องง่ายๆ กลับสามารถทรงพลังได้ถึงขนาดนี้ ส่วนหนึ่งต้องยกคุณความดีให้กับผู้ร้องนั่นคือตัวเลนนอนเอง เนื่องจากเขามีภาพลักษณ์ของการเรียกร้องสันติภาพมานานแล้ว ดังจะเห็นได้จากเพลงต่างๆ ที่เขาแต่ง เช่น Give Peace a Chance, Happy X’Mas (War is Over) หรือจากแคมเปญต่อต้านสงครามทั้งหลายของเขา เช่น แคมเปญ War is Over (If you want it!) ที่โด่งดังไปทั่วโลก (ท่านสามารถอ่านถึงรายละเอียดของแคมเปญนี้เพิ่มเติมได้จากหนังสือ ”ดีไซน์ คัลเจอร์” ของประชา สุวีรานนท์) นั่นทำให้เนื้อหาของเพลงกับผู้ร้องถูกหลอมรวมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนอดคิดเล่นๆ ไม่ได้ว่าถ้าเปลี่ยนตัวนักร้องจาก จอห์น เลนนอนเป็นให้จัสติน บีเบอร์หรือเลดี้กาก้าเป็นผู้ร้องเพลงนี้เป็นคนแรกของโลกแล้ว ทั้งที่เนื้อเพลงและทำนองยังเหมือนเดิมแต่พลังของเพลงนี้อาจลดลง จากที่เคยเจิดจ้าเป็นพลังแสงอาทิตย์อาจลดลงจนเหลือเท่าเตาถ่านย่างตั๊กแตนก็ เป็นได้ ซึ่งหากพิจารณาจากสาเหตุนี้แล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจที่เหล่าบรรดาเพลงชวนปรองดองทั้งหลายของบ้านเราที่ถูกแต่งออก มาเป็นโหลๆ ทั้งๆ ที่เนื้อร้อง-ทำนองถูกแต่งออกมาอย่างซับซ้อนกว่า Imagine เยอะ แถมยังมีการเกณฑ์นักร้องเกือบทั้งประเทศมาร้องจึงไม่ก่อให้เกิดพลังหรือการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมใดๆ ทั้งสิ้น เหตุเพราะเสียงเพลงเหล่านั้นไม่ได้ออกมาจากปากของคนที่รักสันติภาพอย่างสุด หัวใจเหมือนเลนนอนนั่นเอง





แต่ หากเราศึกษาและพิจารณาถึงเพลงนี้ให้ลึกขึ้นแล้ว เราจะพบว่าเพลงนี้ก็ไม่ต่างกับผลงานศิลปะที่ผ่านกาลเวลามายาวนานชิ้นอื่นๆ นั่นคือ “มีชีวิตของตัวมันเอง” ตามหลักที่ว่า เมื่อใดที่ศิลปินได้เผยแพร่งานศิลปะชิ้นนั้นสู่สาธารณะชนแล้ว การตีความหรือการนำไปใช้ย่อมเป็นสิทธิของสาธารณะชนเอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เพลง I Will Survive จะกลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ของเพศที่สาม (ทั้งที่เนื้อหาของเพลงเป็นแค่เพลงเสริมกำลังใจธรรมดา) สัญลักษณ์เช กูวาร่าหรือประธานเหมาจะถูกสกรีนขายเป็นเสื้อยืดตามจตุจักรหรือ เพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” ของจิตร ภูมิศักดิ์หรือ “คิดถึงบ้าน (เดือนเพ็ญ)” ของนายผี (อัศนี พลจันทร) ซึ่งมีความคิดแอบแฝงในเชิงฝ่ายซ้ายจะถูกนำไปเล่นบนเวทีการเมืองที่มีความคิด แบบขวาจัดมาแล้ว เพลง Imagine ก็เช่นกัน ซึ่งทุกวันนี้มีคนมองเพลงนี้แตกต่างไปจากความหมายที่เพลงนี้เป็นอยู่จริงๆ มากพอสมควร


จะสังเกตเห็นว่า ที่จริงแล้วเพลงนี้มีแนวคิดในเชิงแอนตี้โรแมนติค ประเภทที่ว่า “มองฟ้าสุดสวยก็มีสวรรค์” “พวกเราโชคดีที่มีศาสนา” “คนยอมตายเพื่ออุดมการณ์บางอย่างคือคนสุดเท่” หรืออื่นๆ อีกมากมาย หากจะให้ขยายความคือ เลนนอนไม่ได้ต้องการสื่อว่า “ให้เรารักษาอุดมการณ์เพื่อทำความดี” หรืออะไรทั้งนั้น แต่เขาต้องการจะสื่อว่า จงหยุดยึดเกาะอุดมการณ์ จงละวางมายาคติเพื่อทำร้ายกัน ไม่ว่ามายาคตินั้นจะฝังรากลึกแค่ไหน เช่น ชาติ ศาสนา เป็นต้น หากสิ่งนั้นจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อสันติภาพ ในเนื้อเพลง เลนนอนได้รื้อถอนความเชื่อต่างๆ มากมาย ทั้งข้างบนมีแค่ท้องฟ้า ไม่มีหรอกสวรรค์ ข้างล่างก็ไม่มีนรก ไม่ต้องเชื่อในบาปบุญภาคหน้า อยู่แค่เพื่อปัจจุบันก็พอ


แต่ จะสังเกตว่า ในปัจจุบันเพลงกลับไม่ได้ถูกใช้ในเชิงละวางมายาคติอย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับใช้เพลงนี้เป็นเครื่องมือเพื่อเสริมมายาคติของตัวเองให้แข็งแกร่ง ขึ้นโดย เช่น imagine ว่าประเทศเราเกิดสันติสุขเพราะมีแต่คนรักชาติ (ส่วนคนที่ก่อให้เกิดความไม่สงบแปลว่าไม่รักชาติ ต้องถูกลงโทษ?) จะเกิดแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองได้ด้วยพุทธศาสนิกชนที่ดี เรามาช่วยกันทำให้โลกนี้สงบสุขเพราะเหมือนเป็นการทำบุญขึ้นสวรรค์ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการยึดติดที่จอห์น เลนนอนบอกให้ปล่อยวางทั้งนั้น


เหตุ ที่เพลงนี้ถูกใช้ตีความเพื่อเข้าข้างตัวเองแบบนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นเพลงนี้อยู่ในบริบทที่ผิดฝาผิดตัว เช่น การที่กวีหรือนักเขียนหลายท่านแปลเพลงนี้เป็นภาษาไทยแล้วเสริมความโรแมนติ คให้มันจนเพลงนี้ออกมาเป็นเพลงเชิงเสริมความหวังให้กำลังใจมากกว่าจะเป็น เพลงบั่นทอนความโรแมนติค (อันที่จริงการแปลเพลงนี้ออกมาเป็นถ้อยคำกวีสวยงามก็ถือว่าผิดบริบทแล้ว เมื่อมองว่าเนื้อร้องเพลงนี้มีแต่คำง่ายๆ พื้นๆ เกือบทั้งเพลง) หรือการที่ผู้เล่นเฟซบุ๊คหลายท่านโพสต์เพลงนี้ลงในหน้าวอลล์ของตัวเองประกอบ ไปกับการด่าทอผู้ชุมนุมทางการเมืองบางกลุ่มว่าไม่รักชาติ (ฤาว่า Peace ที่คนกลุ่มนี้ต้องการคือ Peace ของกลุ่มตัวเอง ไม่ใช่ Peace โดยรวมของคนทั้งสังคม?) และสิ่งที่ลักลั่นที่สุดได้แก่ การที่หน่วยงานซึ่งใช้กำลังอาวุธปราบปรามความไม่สงบกลับใช้เพลงนี้ในการ ประกอบการโฆษณาชวนเชื่อของตัวเอง จนอาจเรียกได้ว่าถ้าจอห์น เลนนอนมาเห็นเข้าอาจต้องขอตัวไปซดน้ำใบบัวบกแก้ช้ำในกันเลยทีเดียว


ข้อมูลจากหนังสือ Lennon in America โดย Geoffrey Giuliano ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “Lennon commented that Imagine was an "anti-religious, anti-nationalistic, anti-conventional, anti-capitalistic [song], but because it's sugar-coated, it's accepted." และนั่นก็ทำให้เพลงนี้ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นเพลงต่อต้านทุนนิยม บางท่านก็ว่ามองว่าเพลงนี้มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ (โชคดีที่เลนนอนเกิดในประเทศอังกฤษ เพราะถ้าดันมาเกิดในประเทศประชาธิปไตยประเทศหนึ่งแถวเอเชีย เลนนอนและครอบครัวอาจโดนล่าแม่มดจากคนบางกลุ่มได้) บางท่านก็มองว่าเพลงนี้เป็นเพลงของอนาธิปไตย (Anarchist) หรือผู้ที่เชื่อในการไม่ต้องให้มีใครปกครอง แต่บางท่านก็มองว่าเพลงนี้เป็นมุมมองส่วนตัวต่อโลกยูโทเปียหรือโลกในอุดมคติ ของเลนนอนเองที่ไม่จำเป็นต้องเอาทฤษฎีใดมาจับให้ยุ่งยากก็มี


อีก ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือมีนักวิจารณ์บางท่านมองว่า เพลงนี้ถูกทำให้ยิ่งใหญ่เกินจริง กลายเป็นเพลงประกาศเจตจำนงอันยิ่งใหญ่ราวกับบัญญัติ 10 ประการเพื่อนำไปต่อกรกับความบ้าสงครามของผู้มีอำนาจ ทั้งที่หากเราพิจารณาจริงๆ แล้ว เราจะพบว่าอันที่จริงแล้วเพลงนี้เรียบง่ายกว่าหลายคนคิด นั่นคือเลนนอนไม่ได้แต่งเพื่อประกาศอุดมการณ์ยิ่งใหญ่อะไรแต่ออกแนวคุยสบายๆ กับตัวเองมากกว่า ซึ่งเป็นแนวทางที่เลนนอนมักจะใช้ในแต่งเพลงของเขามาตลอด ดังที่เราเห็นจากเพลงของเขาอย่าง love, mother หรือ woman เป็นต้น ซึ่งมุมมองที่มีต่อผู้หญิงในเพลง Woman นั้นไม่ได้เป็นมุมมองที่สังคมมองโดยรวม แต่เป็นมุมมองที่เลนนอนมองคนเดียวเสียมากกว่า เขาใช้มุมมองอัตภาวะวิสัยที่เรียบง่าย จริงใจ อารมณ์ ประหนึ่งนอนกระดิกเท้าไปแต่งเพลงไป (ขออภัยที่ผู้เขียนบทความอาจใช้คำเปรียบเทียบเกินจริงเล็กน้อย) จะสังเกตได้จากเนื้อร้องที่ว่า เช่น Nothing to kill or die for, and no religion too ที่เหมือนว่าอยู่ดีๆ จอห์นก็คิดขึ้นมาได้ว่า ไม่มีโน่นไม่มีนี่ เออ แล้วก็ไม่มีศาสนาด้วยดีกว่า! แล้วจับเอามาแทรกในเพลงซะอย่างนั้น บวกกันเนื้อเพลงโดยรวมที่ค่อนข้างวกไปวนมา ทำให้เพลงนี้อาจเรียกว่าเป็นเพลงส่วนตัวได้อย่างแท้จริง แน่นอนว่าเพลงนี้มีคุณค่าน่ายกย่อง และสมควรแก่การประดับไว้บนหิ้งของคำว่าคลาสสิคได้อย่างแน่นอน แต่การยกย่องสิ่งใดให้กลายเป็นเทวดาหรือปฏิบัติกับเพลงนี้ราวกับ Protocol หรือบัญญัติสิบประการนั้นย่อมทำให้คุณค่าที่แท้จริงของเพลงนี้อาจกลายเป็น สิ่งที่ถูกลืมเลือนไปในที่สุด


แม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายปี แต่สิ่งที่เลนนอนเสนอในเพลงนี้ ก็ยังคงเป็นฝันที่ไม่เป็นจริงอยู่ดี และถ้าดูจากสภาพสังคมในขณะนี้ ดูเหมือนว่าความฝันดังกล่าวจะยังเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเป็นจริงต่อไปในอนาคต อันใกล้นี้ แต่ถึงกระนั้น ถ้าเลนนอนยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะดีใจ ที่อย่างน้อยแม้เขาจะยังคงเป็น Dreamer อยู่ แต่อย่างน้อยในทุกวันนี้เขาไม่ได้เป็น the only one อีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีคนอีกหลายล้านที่พร้อมจะ imagine เรื่องเดียวกับเขาต่อไปเรื่อยๆ จนกว่า the world will live as one ตลอดจนชั่วลูกชั่วหลาน


RIP – John Lennon







 

Create Date : 13 ตุลาคม 2553
0 comments
Last Update : 13 ตุลาคม 2553 5:06:12 น.
Counter : 5943 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ฟ้าดิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




ความจำสั้น ความฝันยาว.....
Friends' blogs
[Add ฟ้าดิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.