การบริหารแบบมีส่วนร่วม
  แนวการบริหารแบบสมดุลชีวิตกำลังมาแล้ว น่าสงสัยผู้บริหารในประเทศไทยหลายคน ที่ยังไม่ขยับความคิดเลยว่า แนวการบริหารแบบเดิมๆ 
ของตนตก Trend เสียแล้วนะ ผู้บริหารแนวงกๆ เค็มๆ บ้า KPI จิกหัวพนักงานใช้ เห็นคนเป็นหมากตัวหนึ่งบนกระดานแข่งขัน ไม่เห็นคนเป็นคน 
คงต้องสำรวจตนเองมากขึ้นได้แล้วชาวบ้าน และชุมชนในประเทศไทยคงไม่เสียรู้ปล่อยให้นายทุนต่างชาติมาสร้างโรงงานแล้วทิ้งมลภาวะ 
โดยผู้บริหารงกๆเค็มๆ ของไทยเราทำหน้าตาเฉยอ้างว่า “ก็ผมทำตามกฎหมาย” ได้อีกแล้ว

ข้อสังเกตที่ได้จากหนังเรื่อง อวตาร ในมุมของนักบริหาร ที่ผมคิดๆ เอาไว้คร่าวๆ เช่น


        ๑. การบริหารสมัยใหม่ ใช้แนวคิดเชิง “อยู่รอด+อยู่ร่วมกัน+อยู่อย่างมีความหมาย” ไม่ใช่ ฉันรอดคนเดียว ฉันมีเงิน พรรคพวกฉันร่างกฎหมายเอง
ฉันมีปืน ฉันมีอำนาจ ฯลฯ “ฉันอยากได้อะไร ฉันต้องได้” ซึ่งคำพูดแบบเห็นแก่ตัว หรือมองไม่เห็นตนเอง มองไม่เห็นคนอื่น ปรากฏในหนังเรื่อง “อวตาร”
นี้บ่อยมาก เนื้อหาในหนัง แสดงให้นึกถึงว่าพวกเราชาวโลกเป็นตัวประหลาด เป็นสัตว์ที่เรียนรู้ได้ยาก ทำลายดาวโลกของตนเองแล้วยกพวกมาบุกรุกดาว
“แพนโดร่า” ที่มีแร่ธาตุราคาแพง และมี “วัฒนธรรม” (Culture) ซึ่งเจ้านายงกๆ เค็มๆ มองไม่เห็นความสำคัญ เพราะพวกชนเผ่าของดวงดาวแพนโดร่านั้น 
เรียนรู้และสมดุลกับธรรมชาติได้ดียิ่ง ทำให้นึกถึงภาพนายทุนที่บอกว่า ที่ดินตรงนี้เหมาะกับการทำโรงงาน แล้วก็ไล่ชาวนาออกไปจากผืนดินที่เหมาะกับ
การทำนาที่สุดในโลกออกไป ไล่ชาวประมงออกไป ไล่ชาวบ้านออกไป เพราะที่ตรงนี้สามารถส่งพลังงานไปให้คนในเมืองใหญ่ได้ใช้ แต่ชาวบ้านตรงนี้ต้อง
“เสียสละ” เจอมลภาวะหน่อยนะ

ในหนังอวตาร อดีตนางเอก Sigourney Weaver ได้บอกพวกผู้บริหารมืออาชีพว่า “แร่ราคาแพง ที่ต้องแลกมาด้วยการตัดไม้ใหญ่ การฆ่า 
หรือขับไล่ชนพื้นเมือง  มีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับชุดความรู้ที่เรากำลังจะได้จากธรรมชาติ” เพราะต้นไม้ใหญ่นั้น เปรียบเสมือนเครือข่าย (Network) 
ที่เชื่อมโยงกับต้นไม้ทุกต้นบนดวงดาวแพนโดร่า ธรรมชาติพัฒนาไปไกลกว่าวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะเข้าถึง การที่จะทำลายระบบนิเวศน์ตรงนั้น 
เพียงเพื่อขนแร่ธาตุราคาแพง เป็นแค่ความ “มักง่าย” หรือ “ฉลาดแต่ไม่เฉลียว”

สุดท้าย ผู้บริหารที่มาแนว Hard Side สุดโต่ง อ้าง KPI และ BSC ว่าต้อง “เอาแร่นั้นมาให้ได้” เป็นคำสั่งจากเจ้าของธุรกิจ “เราต้องได้ ในสิ่งที่เราต้องการ”
พวกเขาจึงส่งทหารรับจ้างเข้าไปกวาดล้างชนเผ่านาวี (Navi) ทั้ง เด็กคนชรา ผู้หญิงตายไปมากมาย 

นึกถึง ผู้บริหาร งกๆ เค็มๆ ที่ฉันต้องได้ตาม KPI ของฉัน บรรทัดสุดท้ายของฉัน คือ กำไร พนักงานคนไหนจะเดือดร้อน ทำงานกะติดกัน ฯลฯ 
พร้อมทั้งมีทัศนคติแบบ งกๆ เค็มๆ เช่น เจ็บป่วยก็ไปเบิกค่ารักษาเอา ใครทำไม่ได้ก็ลาออกไป มีคนอยากมาทำแทนมากมาย งานมาก่อนครอบครัว 
บริษัทต้องได้ตามเป้าหมายอย่ามาอ้างว่าลูกเมียไม่สบาย เงินของฉันแลกอวัยวะของเธอ (เจอสารพิษทั้งวันในโรงงาน) ฉันทำตามกฎหมาย 
สารพิษอยู่ในค่าที่กฎหมายอนุญาต ฯลฯ
๒. “Jack” ชื่อของพระเอกเป็นอดีตทหารนาวิกโยธิน แต่พิการขาทั้งสองข้าง ถูกส่งมาทำงานแทนพี่ชายที่เป็นนักวิทยาศาสตร์
ในโครงการ Avatar คือ ถอดวิญญาณของตนลงไปในร่างมนุษย์ผสมร่างชาวนาวี เพื่อเอาร่างที่เหมือนชาวนาวีนี้ไป “ล้วง” ความลับ 
ไปศึกษาพฤติกรรมของชาวนาวี หา “จุดอ่อน” เพื่อจะได้เอาไปวางแผนย้อนมาจัดการชาวนาวี นึกถึงฝรั่ง ญี่ปุ่นมากมาย ที่ทำเป็นมาวิจัย 
อาจารย์ แพทย์ ผู้สอนศาสนาฯลฯ ที่เราไม่มีทางรู้เลยว่า ใครมาล้วงข้อมูลเรา สุดท้ายสมุนไพรไทย ภูมิปัญญาไทย โดนต่างชาติ
เอาไปจดทะเบียน (Patent) อย่างที่คนไทย “ได้ ไม่คุ้มเสีย” แต่เผอิญ Jack เป็นคนที่มี “จิตวิญญาณ” ยิ่งเข้าไปใกล้ชิดชาวนาวี 
ก็เรียนรู้อะไรมากมาย เป็นแบบ “Learn how to learn” Jack พบว่า ชาวนาวี“เข้าใจ” ธรรมชาติ และมีวิถีชีวิตแบบสมดุลกับธรรมชาติมากๆ
ไม่ทำลายล้างแบบมนุษย์จากดาวโลก

Jack หลงป่าตอนกลางคืน จากที่เคยเรียนมา Jack จุดไฟ พอจุดไฟ เขาก็พบว่า มีหมาป่ามากมายรายล้อมเขา ด้วยความกลัว หรือที่ผมเรียกว่า 
เข้าโหมดต่อสู้ จิตเกิดอาการ ความคิดเฉโก ปรุงแต่ง มีอคติต่อสัตว์ที่เขาคิดว่าร้าย Jack กวัดแกว่งคบเพลิงไปมา ขับไล่เหล่าหมาป่า แต่ผลของ
การทำเช่นนั้นเป็นการเข้าใจธรรมชาติผิดหมดเลย เหล่าสุนัขก็เลยตกใจ เข้าโหมดต่อสู้เช่นกัน สุนัขป่า จึงรุมกัด Jack และบางตัวก็บาดเจ็บ 
จนกระทั่ง นางเอกชาวนาวี ก็เข้ามาช่วย และง่ายๆ เลย คือ “ดับไฟ” สุดท้ายหมาป่า ก็จากไป

                ๓. มีหลายฉากที่แสดงให้เรื่อง การเชื่อมโยง (Connect) เราฆ่าสัตว์หนึ่งตัวเท่ากับเราฆ่าตัวเราเอง เรากับธรรมชาติเชื่อมโยงกัน
ฉากพระเอกใช้หางเปียเชื่อมโยงกับเส้นผมของม้าป่า และขนของนกอินทรีป่า เป็นการเชื่อม“ใจ สู่ ใจ” ไม่ใช่แบบฉันเป็นนาย เธอเป็นบ่าว 
ในองค์กรของผู้บริหารงกๆ เค็มๆ ทั่วไป

ถ้าเป็นการบริหารสมัยใหม่เรียกว่า “เชื่อมใจกับพนักงาน” ไม่ใช่เอาเงินมาฟาด เอาโบนัสมาล่อ ซึ่งผู้บริหารยุคอุตสาหกรรม วัตถุนิยม 
จะไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ ไม่เน้นในมหาวิทยาลัยที่เขาจบมา เจ้านายคนก่อนๆ ที่งกๆ เค็มๆ ก็บ่มเพาะเขาให้ขาดปัญญาฐานใจอย่างแรง 
ดังนั้น ไม่แปลกที่หลายคนดูเรื่องนี้แล้วบอกว่า “ไม่เห็นมีอะไรเลย แค่ Special Effect เจ๋งแค่นั้นเอง”
ในขณะที่ เด็กๆ หลายคน ดูหนังเรื่องนี้แล้วบอกว่า รักต้นไม้จังเลย รักธรรมชาติจังเลย และหลายคน เริ่มเห็น “ความเห็นแก่ตัว” ที่ผู้บริหารงกๆ เค็มๆ กำลังทำลายธรรมชาติอยู่ทุกวันคนไทยมากมายไปเที่ยวน้ำตก ไปเดินป่า แต่ก็ไม่ได้ “เชื่อมโยง” ตนเองกับธรรมชาติเลย ไม่เข้าใจ (See) ตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติ แค่ไปเดินๆ เร่งๆ หาที่นอน หาอะไรอร่อยๆ กิน และสะใจได้ขี่ช้าง ล่องเรือ ปีนภูเขาสูงสำเร็จ ฯลฯ หลายคนเอาแต่ถ่ายรูป ขี่จักรยาน สนุกกับการพูดจาตลกโปกฮาในป่า ตั้งวงกินเหล้า ได้แค่ เปลี่ยนบรรยากาศวงเหล้าเท่านั้นเอง ฯลฯ พวกเขายังไม่ “เชื่อมโยง” เพราะยังไม่รู้จักเรื่อง “ปัญญาฐานใจ”

ในหนังเรื่องนี้ ชาวเผ่านาวีใช้คำทักทายว่า “I see you” ซึ่ง ถ้าแปลตรงๆ ว่า ฉันเห็นเธอ ก็คงไม่ได้ ความหมายที่แท้จริงฉันเห็นเธอ ในหนังกินความไปถึง ฉันเข้าใจเธอ ฉันเคารพความเป็นตัวเธอ เรา “เชื่อมโยง” กัน ในหนังจะมีฉากสวยๆ ที่ชาวนาวีจับมือร่วมกันทั้งเผ่า หรือพระเอก นางเอก ผูกเส้นผมของตนเองกับรากไม้ เพื่อ “เชื่อมโยง” กับธรรมชาติ

คนที่ศึกษาแนว เต๋า (Tao) และเซน (Zen) ดูหนังเรื่องนี้จะประทับใจมากๆ และจะเห็นได้ว่า โลกตะวันตก เข้าใจศาสตร์ และปรัชญาตะวันออกมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริหารงกๆ เค็มๆ ของไทยเรา ยังล้าสมัย ตามสถานการณ์โลกไม่ทัน ยังคงใช้ศาสตร์เดิมๆ ของตะวันตก ที่ชาวตะวันตกเริ่ม “คายทิ้ง” แล้ว




Create Date : 05 กรกฎาคม 2556
Last Update : 5 กรกฎาคม 2556 13:48:02 น.
Counter : 782 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

big_leely
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



แค่ ญ ที่อยู่บนโลก เบื่อบ้าง เหงาบ้าง

บ้าบ้าง พยายามหามุมใหม่ และไม่ยอมแพ้ต่อมหัตภัย 5555
New Comments
กรกฏาคม 2556

 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31