Group Blog
 
<<
เมษายน 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
13 เมษายน 2548
 
All Blogs
 

ไปเยี่ยม Palo Alto (ตอน 1)



สวัสดีปีใหม่ของไทยนะครับทุกท่าน ไม่ได้เข้ามาอัพเดทเสียหลายวัน เพราะจำต้องตัดขาดจาก คอมพิวเตอร์เดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างเมืองเสียพักหนึ่ง แต่ก็ดีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการพักผ่อนไปด้วย และก็ได้มีเรื่องมาเล่าให้ฟังกันอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ

เรื่องก็คือมหาวิทยาลัย Stanford เขาส่งตั๋วเครื่องบิน พร้อมทั้งจองโรงแรมอย่างดีให้พัก (Sheraton Palo Alto) เพื่อให้ผมเดินทางจากชิคาโกไปเยี่ยมโรงเรียนที่เมือง Palo Alto (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า The High Tree ) ตั้งแต่เช้าวันพฤหัส ฯ จนกว่าจะกลับก็ห้าทุ่มวันอาทิตย์ โดยจุดประสงค์ของเขาก็เพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่เรียกว่า Graduate Diversity Admission Weekend (GDAW) สำหรับนักเรียนที่ได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนปริญญาเอกจากStanford (โดยเฉพาะเน้นนักเรียน minority) และคิดว่าคงมีบาง department ที่ถือโอกาสส่งตั๋วเชิญนักเรียนคนอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ minority- เป็นคนขาว) ให้เข้ามาร่วมกิจกรรมและ visit ภาควิชาด้วย

ครั้งนี้ได้มีโอกาสสังเกตพบวัฒนธรรมที่แตกต่างของ Stanford กับโรงเรียนอื่นๆ (ตัวอย่างเช่น Chicago) หลายอย่างทีเดียว ผมรู้สึกว่า Stanford เอาใจนักเรียนใหม่ ค่อนข้างมาก เมื่อผมลงจากเครื่องบินก็มีคนมาต้อนรับ พร้อมทั้งทักทายชื่อได้ถูกต้องทีเดียว (แต่ก็ไม่แปลกถ้าได้ทราบว่าในการรับน้องใหม่ Freshman ของที่นี่ รุ่นพี่ที่ทำหน้าที่ต้อนรับ จะต้องท่องจำชื่อและรูปถ่ายของเด็กใหม่ได้ทุกคน) การบริการต่าง ๆ ก็เอาอกเอาใจยอดเยี่ยมมาก ทั้งอาหาร ที่พักอาศัย กิจกรรมสันทนาการ ปาร์ตี้ ดนตรี เพราะจุดมุ่งหมายหลักของเขาคือการต้องการทำให้นักเรียนรู้สึกประทับใจและเลือกเรียนที่ Stanford ในยุคที่การแข่งขันเพื่อแย่งเด็กเก่งระหว่างโรงเรียนมีสูง โรงเรียนต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้นักเรียนที่ดีที่สุดมาอยู่กับตัว เพราะตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากร (input) ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับคุณภาพของสถาบันการศึกษา (อันนี้สำคัญนะครับ สำหรับนักศึกษาระดับ grad student ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จคือคุณภาพของเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน เพราะนักเรียนจะเรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้นมากกว่าเรียนรู้จากคณาจารย์ด้วยซ้ำไป)

จากการที่ผมได้พูดคุยกับนักเรียนคนอื่น ๆ พบว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นนักเรียนที่เก่งมากทีเดียว เท่าที่ทราบก็เขามักจะได้โรงเรียนอันดับหนึ่งทีตนเองต้องการทั้งสิ้น โรงเรียนคู่แข่งของ Stanford ที่พวกเขากำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะเลือกไปที่ไหน ในทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะเป็น MIT, Berkeley, Caltech และอื่น ๆ ส่วนในทางสาย Social Sciences หรือ Humanities ก็คงจะเป็น Harvard, Berkeley, Chicago (แต่ในทางความเป็นจริง ต้องยอมรับว่าเงินทุนอุดหนุนนักศึกษาของชิคาโก โดยเฉลี่ยยังสู้ Stanford ไม่ได้- มีเด็กนักเรียนมาเรียนที่ Chicago โดยไม่เอา Stanford เหมือนกันครับ แต่คนนั้นเขาได้เงินจาก Chicago ถึง $30,000/ปี ซึ่งเป็นกรณีพิเศษมาก ปล.ส่วนตัวผมคิดว่าชิคาโก strong กว่า Stanford ในด้าน Social sciences-Humanities นะ ในแง่อาจารย์ ชื่อเสียงสถาบัน แต่เรื่องคุณภาพนักเรียนแรกเข้าคิดว่าสแตนฟอร์ดอาจจะเหนือกว่า เพราะมีปัจจัยดึงดูดนักเรียนดีกว่า) นักเรียนปริญญาเอกของ Stanford ทุกคนจะได้รับ Financial Aid Package เต็มที่ โดยจะไปเน้นหาเงินจากนักเรียนปริญญาโท-ตรีซึ่งค่าเทอมแพงมาก และการบริจาคเงิน รวมทั้งผลประโยชน์จากการลงทุนต่าง ๆ แทน แต่เชื่อว่าในอนาคตนักเรียนปริญญาตรีที่ Stanford ก็อาจจะได้รับ Financial Aid ที่ดีที่สุด เพราะเขามี Campaign for Undergraduate Education ที่หาเงินได้กว่า 1 พันล้านดอลล่าร์ สำหรับใช้ในการสนับสนุนนักเรียน ป.ตรี โดยเฉพาะ และขณะนี้ทำได้สำเร็จแล้วด้วย Stanford เป็นตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนที่ฉลาดในการใช้ทรัพยากร เพื่อพัฒนาคุณภาพของอาจารย์และนักเรียนให้ขึ้นมาอยู่ในระดับชั้นนำของโลกในระยะเวลาไม่นานนัก

ในช่วงสามสี่วันนี้ เขาก็ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่นพาชมมหาวิทยาลัย ชมหอพักมหาวิทยาลัย ชมเมืองซานฟรานซิสโก พาโลอัลโต พบปะพูดคุย รับประทานอาหารกับอาจารย์ทั้งในระดับ department และระดับผู้บริหารอื่น ๆ เช่น President, Provost (นาง คอนโดรีซา ไรซ์ เคยดำรงตำแหน่งนี้ก่อนจะไปรับตำแหน่งในรัฐบาลบุช 1) ผมรู้สึกว่าบรรดาคณาจารย์ของ Stanford ตั้งแต่อาจารย์ธรรมดาไปถึงระดับผู้ใหญ่ ให้ความเป็นกันเองกับนักเรียนมาก อย่าง President John Hennessy กับ Provost John Etchemendy ก็เดินไปทักทาย จับมือ แนะนำตัวเองกับนักเรียนใหม่อย่างไม่ถือตัว ซึ่งอาจจะเป็นวัฒนธรรมของชาวแคลิฟอเนียร์ที่ง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่เหมือนคนฝั่ง East หรือ Midwest และในงานเลี้ยงค๊อกเทลผมก็ได้พูดคุย เดินไปมากับอาจารย์จาก department ต่าง ๆ หลายท่าน บางท่านมาทราบภายหลังว่าเป็นอาจารย์ระดับใหญ่ ๆ ของ department เขาทีเดียว

ผมได้รับฟังการโฆษณาชวนเชื่อของบรรดาคณาจารย์ Stanford เรื่องโรงเรียนของเขาว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ เอาใจใส่นักเรียนอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ค่อนข้างจะเห็นด้วย เพราะเขาได้ลงทุนกับนักเรียน graduate student มากจริง ๆ และถ้ารับนักเรียนเข้ามาแล้ว ก็ไม่ค่อยมีนโยบายจะกดดันให้นักเรียน ต้องออกไปกลางคัน (อาจจะขึ้นอยู่กับ department ด้วย เท่าที่รู้ Electrical Engineering ของเขามีการสอบ Qualify ที่ค่อนข้างหนักและโหด อาจจะเปรียบได้กับ Economics Core Exam ของ ชิคาโกที่ขึ้นชื่อว่าทำให้คนสอบตกกันเยอะ)

เท่าที่ผมได้พูดคุยกับว่าที่เพื่อนร่วมโปรแกรม หลาย ๆ คนยังตัดสินใจไม่ได้ระหว่าง Stanford กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น Harvard, Berkeley ในกรณีที่ได้เงินทุนใกล้เคียงกัน แต่หลายคนหลังจากที่ผ่านกิจกรรมนี้ไปแล้ว ก็ค่อนข้างจะโน้มเอียงไปในทาง ที่จะเลือก Stanford คิดว่าปัจจัยสำคัญคือ ชื่อเสียงโดยรวม เงินทุนที่ดี โอกาสในการทำวิจัย อากาศที่ดี และอื่น ๆ แต่จะรู้ผลอีกทีก็คงจะหลังวันที่ 15 เมษายน นั่นแหละ ว่าใครจะตัดสินใจอย่างไร สำหรับตัวผม ไม่ได้มีตัวเลือกอะไรมากนัก เพราะสมัครแค่ที่นี่กับ Columbia NYC (ได้ตอบรับ แต่ไม่ได้เงินเลย เพราะเขาถือว่าเป็นนักเรียนได้ทุนจากไทยอยู่แล้ว) และโรงเรียน safety อีกไม่กี่แห่ง แต่ก็ปักใจอยู่แล้วว่าคงจะย้ายมาที่นี่แหละ (ความต้องการหนีหนาว และความชอบบรรยากาศของ SF, Bay Area เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผม) การมาเยี่ยมครั้งนี้ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็ถือว่ามาเก็บข้อมูล ในขณะที่หลายคนค่อนข้างเครียดว่าจะเลือกอะไรดี (ความทุกข์ของคนเก่ง เหอะ ๆ ต้องปวดหัวในการเลือกโรงเรียน รักพี่เสียดายน้อง)

ไว้ตอนหน้าจะเล่าเรื่องเก็บตกอื่น ๆ เช่นเรื่อง ไปเจอเพื่อนเก่านักเรียนไทยที่ Stanford ไปเจออาจารย์ที่ปรึกษา ณ Starbuck ไปจัดรายการวิทยุ (ชุมชน) และก็ที่สำคัญก็คือประสบการณ์จากการไปวิ่งในย่านนั้นที่ประทับใจมากทีเดียว (วิ่งขึ้นเขา) เดี๋ยววันหลังมาเล่าให้ฟังใหม่ ตอนนี้ตีสามแล้ว ขอราตรีสวัสดิ์ก่อน

สงกรานต์นี้เพื่อน ๆ เมืองไทยคงจะสนุกกันดี คงจะได้รดน้ำดำหัวพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่กัน นะครับ




 

Create Date : 13 เมษายน 2548
19 comments
Last Update : 14 เมษายน 2548 22:43:57 น.
Counter : 1100 Pageviews.

 

ผมได้คุยกับเพื่อนนักเรียนไทยของผมคนนึง เค้าเรียนอยู่ Stanford รู้สึกเค้าจะรู้จักคุณ B.F.Pinkerton แล้วนะครับ เร็วจริงๆ

 

โดย: เด็กชายรอยยิ้มโทรศัพท์และน้ำตา 13 เมษายน 2548 20:19:01 น.  

 

happy songkran day na ka. :) :) :)

wow... stanford sounds like it's REALLLLLLLLY nice~~~ (and the warmth!!! hahah.. let's not talk about THAT. ^^%)

i'm sure you'll have such a great time there. :) :) :)

 

โดย: no-i IP: 66.237.132.175 13 เมษายน 2548 21:36:12 น.  

 

คุณเด็กชายฯ จริงเหรอครับ ผมยังไม่ได้เจอใครเลยนะนอกจากเพื่อนเก่า คิดว่าคงจะรู้จักชื่อเฉย ๆ มั้ง แต่ยังไม่ได้เจอกัน (เข้าใจว่าเป็นคนที่รุ่นน้องที่ชิคาโก เขาติดต่อไปให้)

คุณ noi เหอะ ๆ ก็น่าจะดีนะครับ แต่ไม่รู้คงแล้วแต่คน เพื่อนผมย้ายไปอยู่ California บอกว่าอากาศดีเกินไปน่าเบื่อ ทำงานไม่ได้ ฮาๆๆ เป็นแบบนี้ก็มี แต่วันนี้อากาศที่นี่ดีใช้ได้นะ ตอนเช้าไปวิ่งมา =) ใกล้สอบ qual แล้ว สิเนี้ย? โชคดีนะครับ

 

โดย: B.F.Pinkerton 13 เมษายน 2548 22:52:19 น.  

 

สวัสดีวันสงกรานต์ครับผม

ไม่เห็นเอารูปมาให้ดูบ้างเลย

 

โดย: นายกาเมศ 13 เมษายน 2548 23:27:05 น.  

 

เดี๋ยวๆ รอ ตอนหลังละกัน จะเอารูปมาลงให้ดู
ปล. ไม่เห็นเจอ ตุ้ยเลย ..มันไปอยู่แถว ๆ นั้นแท้ ๆ สงสัยได้เจอกันในไทยแหง ๆ

 

โดย: B.F.Pinkerton 13 เมษายน 2548 23:35:01 น.  

 

ผมนั่งตั้งใจอ่านเลยคับ ยังกะฟังญาติเล่าสิ่งที่เขาไปเจอที่เมืองนอกให้ผมฟัง ขอบคุณคับ แล้วจะมานั่งหน้าจอรอตอนต่อไปนะคับ

 

โดย: yyswim 13 เมษายน 2548 23:49:42 น.  

 

BFP ต่องเก่งมากๆ แน่ๆ
ดีใจด้วยจริงๆ นะ

รีบๆ มาเล่าต่อเร็วๆ ล่ะ อยากรู้อยากเห็น อิอิ

 

โดย: ซีบวก 14 เมษายน 2548 2:48:15 น.  

 

The weather in the Bay Area over the past weekend was gorgeous, wasn't it? I just happened to be there for a personal trip myself. Too bad, I didn't have much time to see many of my friends at Berkeley as I spent most of the time around downtown San Francisco (almost decided to see Evita the musical before the show left San Francisco).

From what Khun BFP described, it's quite interesting that Stanford had new students over for a visit on a university level. The campus here, as I understand, does this sort of visitation also, but it is done on a departmental level, not university-wide (this is also true for many other universities admitting Ph.D. students in sciences--the departments are in charge).

I don't know much about humanities and social sciences, but I know that one of the important reasons students in sciences choose their school is a possibility that they will be able to do research of their interest that is well funded, not necessarily the reputation of the school, given that all the schools of their choice are pretty much in the same league). So the fact that this small private school in Southern California has been attracting a lot of bright students over the years has much to do with its faculty and how much research money they bring in, thus giving the school an opportunity to be extremely selective although David Baltimore will not be hanging out and shaking hands with perspective grad students.

And personally, as much as I enjoy visiting the Bay Area, Southern California still has its unique vibes for me. :)

 

โดย: CIT IP: 131.215.11.205 14 เมษายน 2548 4:46:31 น.  

 

You know what, I'm impressed :). You never told me that you have your own blog. Well,I found out anyway :P ho ho. Happy Thai New Year to you and your family. I'm thinking of going back to Thailand this year to collect some data as well. Hopefully, I'll see you and P'.... there.

 

โดย: your secret admire from Cambridge IP: 128.135.133.5 14 เมษายน 2548 8:19:26 น.  

 

เค้าต้อนรับนักเรียนดีจังนะคะ ยิ่งอากาศดี ยิ่งน่าเรียนเข้าไปใหญ่เลยอ่ะ :-)

โชคดีๆๆๆ ขอให้ทุกอย่างดีนะคะ

แฮปปี้สงกรานต์ค่า

 

โดย: yodmanud^ying IP: 203.209.96.88 14 เมษายน 2548 10:54:26 น.  

 

yyswim - ก็นึกว่าเขียนให้ญาติพี่น้องอ่านนั่นแหละครับ เพราะพ่อแม่ญาติพี่น้องผมก็เข้ามาอ่านบล๊อกนี้เหมือนกัน

ซีบวก - ไม่เก่งหรอก ซีบวกเก่งกว่าตั้งเยอะ จะจบปริญญาเอกแล้วด้วย

CIT- ถ้ามีเวลาก็อยากไป pasadena , LA เหมือนกันครับ อยากไปแวะเยี่ยม CIT ด้วย โรงเรียนสุดยอดขนาดนี้ ต้องไปเยี่ยมสักหน่อย เทอมนี้ผมเรียนกับอาจารย์ที่จบเอกจากที่นั้นด้วยนะ อาจารย์ที่ปรึกษาผมที่ Stanford ก็จบตรี EE จาก CIT (อยากสมัครเอกที่นั่นเหมือนกัน แต่โง่เลขไปหน่อย คงไม่รุ่ง) ตอนนี้มี Colin Camerer ที่น่าสนใจ

Cambridge - ของแบบนี้ถ้าถึงเวลา มีวาสนามันก็รู้ก็เห็นเอง ไปบังคับกันไม่ได้ หรอก อิอิ คงได้เจอกันที่เมืองไทยนะ ไม่ค่อยเห็นใน msn เลย มาฝากข้อความไว้ในบล๊อกก็ได้ คุยกันในนี้ อยากไป cambridge เหมือนกัน

yodmanud^ying - ขอให้เดินทางกลับ london โดยสวัสดิภาพนะครับ

 

โดย: B.F.Pinkerton IP: 68.21.7.157 14 เมษายน 2548 11:38:51 น.  

 

ทึ่งมากกว่าการเอาใจใส่นักศึกษาของStanford และทึ่งยิ่งขี้นไปอีกกับ Campaign for Undergrad Education ที่หาเงินได้กว่า 1 พันล้านดอลล่าร์ สำหรับใช้ในการสนับสนุนนักเรียน ป.ตรี โดยเฉพาะ

 

โดย: ปริเยศ IP: 61.90.58.51 14 เมษายน 2548 21:29:51 น.  

 

มาสาดน้ำวันสงกรานต์ค่ะ ปะแป้งด้วย เย็นชุ่มฉ่ำๆ ^^






...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 15 เมษายน 2548 12:45:19 น.  

 

มาเยี่ยมจ้ะ

สวัสดีปีใหม่ไทยนะจ้ะ

 

โดย: เกือกซ่าสีชมพู 15 เมษายน 2548 18:50:57 น.  

 

ปริเยศ-นั่นนะสิครับ ทำไมหาเงินเก่งจัง
สวัสดีปีใหม่ คุณ blueberry_cpine & คุณเกือกซ่า ฯ ด้วยนะครับ อาจจะได้ไปเที่ยว San Diego สักวัน

 

โดย: BF IP: 68.21.7.157 16 เมษายน 2548 10:33:01 น.  

 

SF น่าอยู่จริงๆ อากาศดี ไม่หนาวเหมือนชิคาโก้ ตอนอยู่ LA ขับรถไปเที่ยวแทบทุกเดือนเลยค่ะ

พิพิธภัณฑ์และแกลอรี่ก็มีให้ดูเยอะ ว่างๆก็ไปเที่ยว Salsalito เดินเล่นเพลินๆ

ขอให้มีความสุขและประสบความสำเร็จที่ซานฟรานค่ะ

 

โดย: estrella 16 เมษายน 2548 20:20:35 น.  

 

จริง ๆ ก็อ่านความเห็นท่าน มานานเหมือนกัน และรู้สึกว่า ท่านนี้ มีความรู้ดี ความคิดความอ่าน น่าสนใจ ดูจะเป็นผู้ใหญ่มาก อ่านความเห็นท่านแล้ว ก็ได้ความรู้หลายอย่าง ต้องขอบคุณไว้ ณ โอกาส นี้ ผมเคยไปเที่ยวที่มหาวิทยาลัยที่ท่าน กำลังตัดสินใจไปเรียนมาครั้งหนึ่ง สถานที่สวยงามจริง ๆ ยังได้ไปเสียตังค์ ขึ้นหอระฆังของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย แต่ผมไม่มีโอกาสได้ไปเรียนที่นี่หรอก เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานไม่แข็งแกร่งพอ คือ ไม่เก่งแบบท่านครับ ยินดีด้วยครับ ท่านต้องเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปครับ

 

โดย: Pol IP: 130.126.30.162 16 เมษายน 2548 23:04:04 น.  

 

คุณ estrella ครับ ผมก็เห็นด้วย จริง ๆ เพื่อนได้พาขับรถไปเที่ยว Salsalito เหมือนกัน บรรยากาศดีมากเลยชอบครับ

คุณ Pol ..ไม่ต้องเรียกท่านก็ได้ครับ ไม่ใช่ ส.ส.สักหน่อย ฮาๆๆ อยู่ในบล๊อกผมนี่คุยเหมือนเพื่อนกันครับ ไม่ต้องมีฟอร์ม (ส่วนใหญ่ก็เพื่อน ๆ กันทั้งนั้น)

 

โดย: BF IP: 68.21.7.157 17 เมษายน 2548 0:22:42 น.  

 

Khun BFP, Pasadena welcomes visitors anytime.

P.S. What an interesting way to address others--ท่าน? Highly formal. Unnecessary?

 

โดย: CIT IP: 131.215.11.205 19 เมษายน 2548 8:05:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.