Group Blog
 
<<
มีนาคม 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
20 มีนาคม 2548
 
All Blogs
 

ศึกชิงนักเรียนระหว่าง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอเมริกา (Princeton, Yale, MIT,Stanford) คนไทยมีเอี่ยวไหม?


ตั้งชื่อหัวเรื่องเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศประจำปีของการประกาศผลรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ฯ ในห้องไกลบ้านเขามีกระทู้สองภาคให้คนมาคุยกันว่าเข้ามหาวิทยาลัยที่ไหนได้บ้าง (ดูกระทู้) เป็นอย่างนี้ประจำทุก ๆ ปี ตั้งแต่ผมเริ่มเล่นมาอย่างเป็นทางการก็หลายปีมาแล้ว การตั้งกระทู้พูดคุยกันก็เป็นการช่วยกันแชร์ประสบการณ์ ความเครียด การลุ้นว่าจะได้ไปเรียนที่ไหนให้แก่กันและกัน นัยว่าดีกว่าการต้องนั่งลุ้นอยู่คนเดียว สำหรับผมมีความโปรดปรานในการเข้าไปสังเกตสังกาว่าเพื่อน ๆ ได้เรียนที่ไหนกันบ้างในแต่ละปี ตามประสาคนอยากรู้อยากเห็น

วันนี้จะเล่าจากประสบการณ์ของอีกฝั่งบ้าง คือฝั่งโรงเรียน เชื่อไหมว่าทาง admissions office ก็มีการลุ้นนักเรียนของเขาเหมือนกัน ไม่ว่าโรงเรียนไหน ก็อยากจะได้เด็กในกลุ่มที่ดีที่สุดให้เข้าไปเรียนในโรงเรียนของตัวเอง สาเหตุมีหลายอย่าง ง่าย ๆ คือยิ่งมีเด็กเก่ง ๆ เข้าไปมาก ก็จะสร้างผลสะเทือนให้กับหมู่เพื่อนนักเรียน (peer effect) ให้มีบรรยากาศทางวิชาการที่ดีขึ้น อีกอย่างการเรียนระดับ graduate นักเรียนเรียนรู้จากเพื่อนฝูงในชั้น ได้มากพอ ๆ กับ การเรียนจากอาจารย์ เพราะจะต้องใช้เวลาร่วมกันมากกว่า ยิ่งนักเรียนเก่ง ๆ มาช่วยกันเรียน มันก็จะยิ่งก้าวหน้าไปมาก นอกจากนั้นสาเหตุอีกอย่างที่โรงเรียนอยากได้เด็กเก่ง ๆ เข้าไปก็เพื่อชื่อเสียงของคณะ โอกาสจะได้ผลิตงานที่ดี เมื่อมีชื่อเสียงดี จบออกไปรายได้ดี ก็สามารถบริจาคเงิน (contribute)กลับมาให้โรงเรียนได้ เป็นลูกโซ่กันไป

ดังนั้นเพื่อที่จะให้ได้เด็กเก่ง ๆ มาอยู่กับตัวเองมากที่สุด โรงเรียนก็จะไม่ใช่แค่ตอบรับเฉย ๆ แต่จะแถมเงินและสวัสดิการต่าง ๆ ให้นักเรียนด้วย (เช่นค่าประกันสุขภาพ ค่าที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายจิปาถะ) ขึ้นอยู่กับว่าโรงเรียนมองเห็นว่านักเรียนคนนั้น ๆ มีค่าคู่ควรขนาดไหน เงินที่โรงเรียนจะจัดสรรให้ก็เป็นสัดส่วนในทำนองเดียวกันตามลำดับ อาจจะยกเว้นในกรณีโรงเรียนรวยมาก ก็จะให้เด็กเท่า ๆ กัน ทุกคน ว่ากันว่าสำหรับมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ คณะทำเงินอย่าง Business School, Finance, Engineering มีเงินให้เปล่าที่ไม่ใช่ค่าเทอมถึงเกือบสามหมื่นเหรียญ (หนึ่งล้านสองแสนบาท) ต่อปีทีเดียว !!!! โดยทั่วไปโรงเรียนใหญ่ ๆ ก็จะให้เงินประมาณ สองหมื่นเหรียญขึ้นไปต่อปี ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับสินทรัพย์ (endowment) ที่แต่ละโรงเรียนมี โรงเรียนรวยก็จะได้เปรียบกว่าโรงเรียนที่ไม่ค่อยมีสตางค์ อันนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมหาวิทยาลัยในอเมริกาที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยของประเทศอื่น อาจจะเป็นเพราะการทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นเอกชน และมีการแข่งขันกันในตลาดแรงงาน จะไม่เห็นปรากฎการณ์แบบนี้ในมหาวิทยาลัยของประเทศอังกฤษ หรือยุโรปอื่น ๆ สาเหตุนึงอาจจะเนื่องจากสินทรัพย์ที่มีอย่างมหาศาลของโรงเรียนในอเมริกา (มหาวิทยาลัยในอังกฤษที่พอจะติดอันดับบ้าง ก็คือ Oxford, Cambridge แต่ถ้าเอามูลค่าทรัพย์สินมาเทียบกันก็จะอยู่ประมาณที่ 15 ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในอังกฤษไม่ติดหนึ่งใน 150 อันดับ (อ้างอิง) )

นอกจากนั้น ก่อนถึงเวลาที่นักเรียนจะตัดสินใจเลือกโรงเรียนอย่างเป็นทางการ (15 เมษายน) โีรงเรียนต่าง ๆ ก็จะมีการจัดงาน open house แจกตั๋วเครื่องบินฟรีให้กับนักเรียน พร้อมที่พัก อาหาร ฟรี นำเที่ยวในเมืองอีกต่างหาก (ในกรณีโรงเรียนอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น ชิคาโก, ซานฟรานซิสโก บอสตัน นิวยอร์ก) เรียกว่าเอาอกเอาใจสร้างความประทับใจว่าที่นักเรียนกันเต็มที่ แต่บางกรณีก็มีการเล่นแผลง ๆ (prank)จากคู่แข่ง เช่นในงาน open house ของคณะวิศวกรรม สแตนฟอร์ด ปีหนึ่งของพวกนักเรียน college มีการนำเสนอวีดีโอ presentation นัยว่าทำนอง Road to Stanford แต่โดนนักเรียนจาก MITแกล้ง hack โดยการเข้าไปเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นรูปลูกศร ชี้ไปที่ MIT แทน เป็นต้น ก็สนุกสนานดี แต่ผู้รับผิดชอบคงอับอายอยู่บ้าง

ดังนั้นอาจจะพูดอีกอย่างได้ว่า จริงๆ แล้วการเรียนในระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยในอเมริกา เปรียบได้กับการที่โรงเรียนต้องจ่ายเงินจ้างให้เราเรียน เพราะถือว่าเป็น opportunity cost ของนักเรียนที่ต้องเสียไป ( ตัวอย่างเช่น สมมติเขาเลือกที่จะลาออกจาก Mckinsey เพื่อมาเรียนต่อ PhD ต้นทุนค่าเสียโอกาสของเขาก็คงสูงมาก)

ดังนั้นโรงเรียนจะต้องพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัยสำหรับเกมส์การแข่งขันแย่งชิงเด็ก เช่น 1) เปรียบเทียบระหว่างชื่อเสียงของคณะกับรายได้ที่จะให้นักเรียน โรงเรียนที่ดังกว่าแม้จะให้เงินน้อยแต่ก็อาจจะดึงดูดนักเรียนเก่งได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น ม.ชิคาโก ให้เงินค่อนข้างน้อยมาก เพราะถือว่ามีอาจารย์ระดับรางวัลโนเบลอยู่เยอะ ในขณะที่โรงเรียนคู่แข่งให้เงินมากกว่าอย่างมหาศาล 2) เปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนคู่แข่งว่าเขาให้เงินทุนกันเท่าไรอย่างไร เพื่อวางกลยุทธ์ เกมส์ครั้งนี้บางทีก็เล่นกันแรง ถึงขั้นเมื่อปีที่แล้วมีข่าวใหญ่เรื่องที่ทาง admissions office ของ Princeton แอบใช้คอมพิวเตอร์เจาะเข้าไปดูฐานข้อมูลของนักเรียนที่ได้รับการตอบรับจาก Yale 3) เปรียบเทียบกับทรัพยากรของคณะว่าควรจะลงทุนในการนี้อย่างไร จะลงทุนถูกต้องหรือไม่ เพราะมีปรากฏในหลาย ๆ กรณีว่า นักเรียนคนที่ได้ทุน เรียน ๆ ไปแล้วสอบไม่ผ่าน หรือเลิกราจากการเรียนไปด้วยสาเหตุอื่น ซึ่งถือว่าทำให้โรงเรียนเสียเงินลงทุนไปฟรี ๆ ดังนั้น Director of Admissions จะต้องพิจารณาให้ดี ก่อนจะตัดสินใจรับ ถ้าตัดสินใจผิดพลาดก็หมายถึงเงินหลาย ๆ หมื่นเหรียญที่เสียไปฟรี ๆ ในการลงทุน

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือในการพิจารณาทุนช่วยเหลือ ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในอเมริกาจะไม่มีการแบ่งแยกว่าเป็นนักเรียนต่างชาติหรืออเมริกัน ถ้าหากความสามารถ คุณสมบัติถึงเกณฑ์ ก็มีสิทธิได้รับเงินเช่นกัน และสัดส่วนของนักเรียนต่างชาติที่ได้รับเงินสนับสนุนอาจจะมากกว่านักเรียนอเมริกันเสียด้วยซ้ำไป ท่านอาจจะไม่ทราบว่าตอนนี้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในมหาวิทยาลัย เคยได้รับฟังจากศาสตราจารย์ของ ม.สแตนฟอร์ด คนนึงเล่าว่า ในช่วงหลัง 911 ทางการสหรัฐ ฯ เข้มงวดกับการอนุญาตให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนในอเมริกา ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดก็คือบรรดามหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั่นเองเพราะขาดแคลนแรงงานต่างชาติ (นักเรียน grad student ถือเป็นแรงงาน high skill แต่ low wage นะ) วงการวิจัยของอเมริกาก็ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างชาติราคาถูกพวกนี้เช่นกัน ดังนั้นต่อมาจึงได้รายงานให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงอันนี้ เพื่อให้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลง

นักเรียนจากประเทศจีน อินเดีย เขาเข้าใจตรงจุดนี้ ส่วนใหญ่จึงสมัครมาจากประเทศของตัวเองแบบเสื่อผืน หมอนใบ มาหวังทุนจากมหาวิทยาลัยอเมริกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงจะทำได้สำเร็จ ด้วยการทำงานอย่างหนัก ต่างจากนักเรียนไทยซึ่งไม่ค่อยเห็นว่ามีใครจะได้โอกาสมาเรียนต่อแบบสู้ชีวิตเท่าไร ส่วนใหญ่คนที่มาเรียนในมหาวิทยาลัยดี ๆ ก็มักจะได้ทุนจากที่ใดที่หนึ่งมาก่อน อาจจะเป็นเพราะ คะแนน GRE, TOEFL ของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังไม่สูงพอที่จะ qualify ทุน หรือยังไม่มีทักษะในการติดต่อเจรจากับทางมหาวิทยาลัยมากเท่ากับคนจีน อินเดีย ที่เขามีการติดต่ออาจารย์ต่าง ๆ เพื่อเสนอตัวไปเป็นผู้ช่วยวิจัย ขอทุน ฯลฯ จริง ๆ จะว่าไปแล้วค่าเทอมของมหาลัยในอเมริกาค่อนข้างแพงมาก (สมมติวิชาละสองพันเหรียญ ก็เท่ากับวิชาละแปดหมื่นบาท !!!) แต่ถ้าเราสามารถสมัครขอทุนได้ ก็จะประหยัดไปได้มากทีเดียว

คิดว่าน่าจะต้องพยายามประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้เข้ามาโดยช่องทางนี้มากขึ้น เป็นการประหยัดงบประมาณให้ประเทศชาติ แถมได้เข้าไปใช้ทรัพยากรของเขา ไม่ใช่รัฐบาล (ก.พ.) ไม่แนะแนว กลับส่งเสริมให้เอาเงินไปเสียให้เขาอย่างเดียวโดยไม่มีการวางแผน ทำไปตามมีตามเกิด แบบเดิม ๆ




 

Create Date : 20 มีนาคม 2548
30 comments
Last Update : 20 มีนาคม 2548 6:20:46 น.
Counter : 3864 Pageviews.

 

โห เจ๋งมาก เฉียบจริง ไม่นึกว่าเราจะกลายเป็น Comment แรกๆ แฮะ พอดีปีนี้มีรุ่นน้องที่ได้เข้า econ ของ princeton ได้ทุนอีกต่างหาก แต่รายนั้นเค้าเจ๋งจริง ปีนี้ไม่ค่อยมีเด็กไทยได้ U Top Ten มากส่วนใหญ่เอเชียจะเป็นจีนกับอินเดียซะมากกว่า แต่ก็นั่นแหละการสอบ verbal มันช่างแสนทรมาน

 

โดย: Paddington Y. IP: 202.57.178.26 20 มีนาคม 2548 0:46:13 น.  

 

Princeton ให้เงินเยอะนะ เขาจบจากที่ไหนมาเหรอครับ ? จริง ๆ verbal ก็ไม่ค่อยมีผลในทาง econ เท่าไร คิดว่า transcript จะสำคัญที่สุด (วิชาที่ลง เกรดที่ได้)

 

โดย: B.F.Pinkerton 20 มีนาคม 2548 0:54:22 น.  

 

อา ครับ เป็นแง่มุมที่น่าสนใจ

เรามักจะมองกันจากสายตาของผู้สมัครแต่อย่างเดียว

 

โดย: ฮ ฮฮ IP: 61.90.90.253 20 มีนาคม 2548 1:34:18 น.  

 

เป็นแง่มุมที่น่าสนใจจริงๆ

มีปุ่มโหวตมั้ย ?? จะได้โหวตให้

เหอๆๆๆ

 

โดย: ผมคือ... (นายกาเมศ ) 20 มีนาคม 2548 1:56:19 น.  

 

อ่านแล้ว..อึ้ง
นี่..มันอารายนักหนาเนี่ย แหะๆ ตามประสาคนไม่เก่ง เอ๋อ เบลอ และ..เรื่อยเฉื่อย
ทุน???
โอย แค่คิดก็งุนงงไปหมด
มะมีปัญญา แหะๆ เข้ามาอ่าน อยากรู้ง่ััะ ว่าเค้าทำไรกัน

เรียนให้รอดแต่ละปริญญา ไม่ต้องมีทุนมาค้ำก็--จะตายแย้ววว
อืมๆๆ พื้นที่ของคนเก่งจริงๆนะคะนี่ หาเรื่องเรียนทามมายย น่าจะอ่านไรๆงี้ก่อนเรียนเนอะ จะได้รู้ว่า ป.เอกเนี่ย มันมีไว้สำหรับชนชั้นสมองนี้ แง๊)))))))

เม้นท์ยาว เดี๋ยวเจอเหล่ เอิ้ก ไปดีก่า
แง่บบ...ไมโง่งี้นะเรา โอยย
ท้อแท้ จบ ไม่จบ จบ ไม่จบ งึมงัม (ขอโทษเจ้าของบ้านค่ะ บ้าไปแล้ว เหอๆ)

 

โดย: Poison_Rose 20 มีนาคม 2548 6:02:57 น.  

 

สงสัยงานนี้ คนโง่ไม่เกี่ยว

 

โดย: เหวียนสีเทียนจุ้น 20 มีนาคม 2548 9:32:07 น.  

 

ชอบเรื่องที่เขียนให้อ่านพวกนี้มากๆเลย

 

โดย: เกือกซ่าสีชมพู 20 มีนาคม 2548 9:44:36 น.  

 

เรื่องทุน...ถ้าผ่านปีแรกได้ก็มีโอกาสได้ทุนจากอาจารย์สูงแล้วล่ะ...

ก็เลยคิดไว้ว่าถ้ามีลูกแล้วจะส่งลูกมาเรียน...
ก็จะกัดฟันหาตังค์ส่งลูกช่วงปีแรก...หลังจากนั้นก็คงพอมีโอกาสได้ทุนจากแหล่งต่างๆ
...
แต่ก็ต้องอยู่ที่ลูกด้วยล่ะ ว่าจะเข้าตาคนให้ทุนรึเปล่า...
...
ว่าแต่..คิดไกลไปมั้ยเนี่ย...หึ หึ

 

โดย: ซีบวก IP: 128.180.49.225 20 มีนาคม 2548 10:03:38 น.  

 

ดีมากครับ
ผมอยากให้นักเรียนไทยที่เก่งๆสนใจที่จะไปโรงเรียนดีๆมากๆ
ผมเคยนึกเสียดายเสมอ เมื่อสำนักงานแนะนำด้านการศึกษาต่างๆหลายที่ พยายามแนะให้เด็กไปเรียนโรงเรียที่รับง่ายๆ
ทั้งๆที่เด็กสามารถทำได้ดีกว่านั้น
หากใครเก่งจริง โดยเฉพาะระดับที่จะหาทุนได้ดังว่า
ควรเปิดโอกาสให้ตัวเอง
การเตรียมตัวเพื่อสมัคร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

ส่วนคนเรียนไม่เก่ง ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร ชีวิตที่ประสบความสำเร็จมีได้หลายแบบ แต่สำหรับเยาวชน การเรียนเป็นส่วนสำคัญในวัยนี้ ผมเองก็ไม่ใช่คนเรียนเก่ง แต่ชื่นชมและสนับสนุนคนเรียนเก่งครับ

 

โดย: X-CU (X-CU ) 20 มีนาคม 2548 10:24:30 น.  

 

ตอนเรียนปริญญาตรี เคยใฝ่ฝันอยากหาทุนไปเรียนต่อกับเขาเหมือนกัน...

แต่ความพยายามไม่มากพอ..สุดท้าย..เรียนเมืองไทย..แต่ตั้งใจนำความรู้ที่ได้มาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมให้มากที่สุดค่ะ..

..อ่านเรื่องความสามารถของคนจีน และอินเดีย ที่มีความสามารถในการขอทุน..แล้วสะดุดใจเล็ก ๆ ค่ะ..
ทำให้คิดว่า..บางครั้งการได้ทุน..ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความฉลาดอย่างเดียว..แต่ต้องมีความพยายามด้วย
ไม่ได้ที่นี่..เอาใหม่..หาจนกว่าจะได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะคนจีนกับอินเดีย เขามีความพยายามมากกว่าเราหรือเปล่า ?!?

 

โดย: Hello_Hello 20 มีนาคม 2548 11:39:03 น.  

 

อืมๆ ได้รับรู้อะไรๆ เพิ่มอีก ...

 

โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) 20 มีนาคม 2548 13:14:11 น.  

 

พึ่งรู้แหะ มีแบบนี้ด้วยอ่ะ....

 

โดย: prncess 20 มีนาคม 2548 13:32:53 น.  

 

ตอบ B.F. Pinkerton รุ่นน้องที่ทำงานคนนั้นจบโทจาก LSE ค่ะ ได้ทุนที่ Princeton ประมาณปีละ 1 ล้านบาทภายใต้เงือ่นไขการเป็น TA ตอนปี 2 น่ะ แต่เท่าที่คุยกับเค้าใจจริงอยากเป็น aeronatic engineer แต่เค้าเรียน econ เพราะจะทำประโยชน์แก่ส่วนรวมได้มากกว่า รออ่านเรืองต่อไปอยู่นะ





 

โดย: Paddington Y. IP: 202.57.180.79 20 มีนาคม 2548 19:53:30 น.  

 

ประมาณ 25K อืมม เขาให้ประมาณนี้แหละ Princeton ถือว่าค่อนข้างให้เยอะเทียบกับพวก Big 5 อื่นๆ รู้ว่ามีคนไทยกำลังเรียนอยู่สองคน จบตรี MIT ทั้งคู่ ดีใจด้วยที่มีคนไทยเข้าไปเรียนอีกคน (ผมชอบอาจารย์ที่นั่นหลายคน) ที่ bookmark มี video ของ Princeton ด้วย

 

โดย: บีเอฟ IP: 68.21.7.157 20 มีนาคม 2548 20:26:20 น.  

 

Let me share some experience that I have had in the admissions process in a US school. My department is possibly one of the most liberal in the US in terms of both ideology and practice. Community participation is not just taught but is instituted in practice in many aspects of the departmental activities. Each year, the Master’s and PhD admissions committee ask a few current students to participate in the admissions process. Both the students and faculty read about 200-250 Master’s applications (for about 50 offers) and 100 PhD applications (for about 8-10 offers, without a waiting list). They then attach points to each application, rank them according their overall performance, and discuss this in a whole-afternoon admissions meeting. In this meeting, the faculty and students nominate the candidates whom they think should be admitted and given scholarships and the reasons for the nomination. The students appear to think less strategically than the faculty; they just nominate those with impressive records. The faculty, however, think further whether the candidates can work for them or the department, in addition to their impressive records. Any candidates that have the profiles that fit their current and future research projects are more likely to be nominated. A professor interested in doing research in India (if any!) is definitely interested in having a Indian student around.

Having been involved in both Master’s and PhD admissions, I have to say it is so much more political at the PhD level. Fewer people are admitted, of course, and most of them teach and do research for the faculty. Most of those admitted are given full funding. So, the faculty pay much more attention to the PhD admissions. There are many occasions in which even candidates with impressive records with external funding are not admitted. Top candidates to my department are likely to be admitted to other top schools; so funding is critical in attracting them. The admissions committees keep the records of the yield each year. (Our yield is about 90% for offers with full funding). They are really interested in those who decide to go somewhere else. As my department is interdisciplinary and the applicants come from diverse academic backgrounds, we tend to lose top candidates to other schools/departments in more traditional disciplines (Pol Sci, Econ). The department has recently changed its policy and attached TA and RA works to all funding offers. They no longer give offers without internal funding, unless the candidates can prove they have external sources of funding for at least two years. There was one instance in which a top candidate negotiated with a lesser-known school, so that she could get full funding with no strings attach. She did, and away she went.

Having full funding guaranteed for 3 or 4 years that covers tuitions and stipends is not enough for PhD students. It takes longer to get a PhD; you also need money to do your own research. Searching for fellowships is part of the PhD life. Although this could be tough, you learn so much from the experience. You need skills to write good proposals. I can’t recall how many proposals I have written in the past few years. I have learned so much from searching for research grants and fellowships. I do not know how many Thai students with full funding from the Thai government do this. But I see that how one could easily become content and does not explore other opportunities. The benefits of searching for fellowships in US schools are not just the money itself but also the knowledge about the funding systems and the skills that come with the experience. In fact, because of the experience, I have been hired to write a proposal as part of the fund-raising effort for our program. We will take this proposal around the country and the world to some foundations (like the Gates Foundation) to get some money (one million USD up). One experience leads to another, indeed.

 

โดย: ctb IP: 24.131.188.98 20 มีนาคม 2548 21:19:55 น.  

 

oops, sorry for the typos and errors.

 

โดย: ctb IP: 24.131.188.98 20 มีนาคม 2548 21:26:33 น.  

 

ขอบคุณครับคุณ ctb อ่านแล้วได้ความรู้มากเลย น่าสนใจมากจากประสบการณ์ตรง ของผู้ที่อยู่ในวงในของ admissions committee โดยตรง ผมสังเกตุดูว่ามี fellowship ออกมาอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาเขียน proposal อะไรกันอย่างไร เอาไว้ถึงเวลาคงจะได้ปรึกษาคุณ ctb อีกที

ปล. คุณ ctb เป็นนักศึกษาปริญญาเอก ณ สถาบันการศึกษาชั้นนำแห่งหนึ่ง มีประสบการณ์ทั้งฝั่งอังกฤษและอเมริกา

 

โดย: B.F.Pinkerton IP: 68.21.7.157 20 มีนาคม 2548 21:46:49 น.  

 

เข้ามาบล๊อกนี้ทีไร ไม่เคยเดินออกไปมือเปล่าครับ มีอะไรติดไม่ติดมือตลอดเลย


 

โดย: เด็กชายรอยยิ้มโทรศัพท์และน้ำตา 20 มีนาคม 2548 23:23:02 น.  

 

ลองเอาไปโพสต์ในไกลบ้านล่ะ เผื่อจะได้ฟังความเห็นน่าสนใจ ๆ ในวงกว้างมากขึ้น

//www.pantip.com/cafe/klaibann/topic/H3363932/H3363932.html

 

โดย: BFP (B.F.Pinkerton ) 20 มีนาคม 2548 23:43:46 น.  

 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากครับ

 

โดย: ปริเยศ (Pariyed ) 21 มีนาคม 2548 10:52:57 น.  

 

=) that's definitely an interesting article na ka. =D

thank you for writing and sharing it! :) I really hope that there'll be a lot of thais who'll be benefited by what you can share. :)

As for myself, so far I'm quite content with what I'm getting from the school (especially since I do not have to work for it at all. :P) But as P'ctb has alluded to, in a few years when I'm done w/ the courseworks and start the research state, I think I'll definitely try to reach out for some more fellowships.

When that time comes, I'll seek for your advice. ;)

 

โดย: no-i IP: 69.162.53.234 23 มีนาคม 2548 3:22:40 น.  

 

เรื่องทุนที่ให้ดูเหมือนจะปกตินะเพราะว่าที่อื่นๆก็คงให้ระดับนี้เป็นเงินไทยดูเหมือนจะมาก
แต่จริงๆพอจะจ่ายค่าบ้าน ค่าจุกจิกจิปาถะก็ไม่ค่อยจะเหลือเงินเก็บจริงๆเท่าไหร่หรอก
แถมงานคงหนักน่าดู ไม่ใช่ว่าเค้าจะไม่ใช้ เค้าก็ต้องรับมาให้คุ้มต้นทุนที่เสียไปอยู่แล้วล่ะ

 

โดย: Pacifist IP: 84.154.108.23 24 มีนาคม 2548 21:34:15 น.  

 

ไม่ครับ ที่พูดถึงนี่คือทุนแบบไม่มีข้อผูกมัดต้องทำ RA, TA อะไร เป็น fellowship ที่ให้เปล่า ๆ นะ (แบบที่คุณ no-i ได้)

ก็คงแล้วแต่โรงเรียน โรงเรียนเดียวกันแต่ department ต่างกันทุนก็ไม่เหมือนกัน ขนาดอยู่ใน department เดียวกัน แต่นักเรียนต่างกัน เงื่อนไขของทุนก็ยังต่างกันอีกต่างหาก เท่าที่เคยเห็นถ้าเขาอยากได้มาก ๆ ก็ให้ 30 K แบบไม่ต้องทำอะไรเลย สี่ปี่

 

โดย: BF IP: 68.21.7.157 25 มีนาคม 2548 0:43:57 น.  

 

Just Stop by (again)

As an english-system student, who hate and have to stand for it, i can say the funding systems of US and UK are different. From your information, I think US sytem is funded by 'big endownment'. It is from 'alumni system' and 'university investment strategy'. (I read an article long time ago saying that some universities might cut off the alum's name if they don't make a contribution. ('donation' might be more 'Thai-style')

UK universities' funding is different. Apart from Oxbridge, which are 'Royally Endowed in 12th century, other big universities try to fund the system by tuition and research. I don't know other universities exactly. However I can say mine.

This university has been striving for money through research in both academic (governmental support) and business (corporate support). In my department, all professors are working as a research fellow in one or more institution, mainly IFS, ELSE and CEPR. So the money would go to the researchers, instead of student as supports.
(Sound familiar to Thai system. But I'm quite sure, professors here are more calibered in research skill)


If I have time, I might come back to say a bit more details :)
(Any other opinions?)

PS
I leave my email here just in case that anybody might want to share ideas
(last_a_last@hotmail.com....just sign up for discussion)

 

โดย: If you know me, don't tell others IP: 144.82.106.46 25 มีนาคม 2548 5:39:40 น.  

 

ขอบคุณครับ คุณ If you know me.. คุณอยู่ มหาลัยที่ Jeremy Bentham ก่อตั้งใช่มะ ? แฟนผมก็จบที่เดียวกับคุณแหละครับ เหอะ ๆ แล้วมีโครงการจะสมัครต่อเอกในอเมริกาหรือเปล่า ? หรือว่าติดใจอังกฤษแล้ว (ผมอนุมานว่าคุณกำลังเรียนโทนะ หรือคุณเรียนเอกแล้ว?)

 

โดย: BF IP: 68.21.7.157 25 มีนาคม 2548 7:07:08 น.  

 

จริง ๆ เรื่องระบบการศึกษาอังกฤษ-อเมริกานี่น่าสนใจวิเคราะห์ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี และ graduate school ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกันมากทีเดียว มีจุดเด่น จุดด้อยต่างกัน ไว้มีเวลาอาจจะลองเขียนดูครับ ผมมีเพื่อน มธ เรียน PhD เคมบริดจ์ คิดว่าคุณก็คงรู้จักเขา เผื่อวาง ๆ อาจจะนัดไปเยี่ยมเคมบริดจ์กัน คิดว่าเป็นคนไทยคนเดียวที่ จบ เศรษฐศาสตร์ มธ แล้วกำลังเรียนเอกอยู่ตอนนี้ (ก่อนหน้านั้น อ.ชมพู่ ก็เรียนจบไปแล้ว)

 

โดย: BF IP: 68.21.7.157 25 มีนาคม 2548 7:19:56 น.  

 

Stopy by again...

I am thinking a lot about research degree. Frankly speaking, degree is not a challenging thing but just a guarantee for me. I have an experience of studying with english-style and american-style professors. I can say, english style is sly and pain-taking while american style is very 'student-friendly'.

I have a visiting professor from UMN (she is working at Chicago Fed as well, ex-colleague of Sargent) She is very helpful and friendly. For the same subject, 'the big guy', a co-leader of one of NBER research branch, is so 'killing'. (Lack of clear exposition, Write only some 'meaningful' equation and Rush the lectures, e.g. Dyn Prog is finished within 3 hours...the rest is on us. Imagine, 60% of SLP in a week by ourselves, aside from 'rushing as well' Microeconometrics). I traded off so many thing to study with these guy (including phd offer from somewhere else and full scholarship, hurrrr), it's quite disappointing :( (I think I should stop complaining now)

Anyways, I think doing research need an environment and funding which Thai academic society doesn't have. Poor us :(

Personally speaking, for me economics is a tool. Doing research is using a tool to deal with 'real life' and 'intellectual' problems. And also for me, it's not challenging to do empirical stuff for research topic. (That's why it's so hard to find my supervisor that keep the right balance between academic and return, though so many professors think my topic is challenging.)

Hopefully, I can make a few contributions to Thai academic society and country before leaving my academic life, though i enjoy it a lot.....there is no free lunch!!
(Though I have few research problems left in my head and want to complete it....but IR constraint is not satisfied for me from this present information. )

Cheers,

PS. About a Thai girl who is studying at Cambridge now, yes I know her. She is very lucky!! (She said that to me, and I know exactly why she say this....I also agree with her!! ha ha ha)

 

โดย: If you know me, don't tell others IP: 144.82.106.52 25 มีนาคม 2548 8:08:41 น.  

 

ผมจบเอกจากฮาร์วาร์ดครับ ได้ทุนวิจัยตอนนั้น30ล้านเหรียญต่อปี
งานวิจัยได้เข้าชิงรางวัลโนเบลเมื่อปีที่แล้ว

 

โดย: ขงเบ้ง IP: 58.10.115.38 28 มีนาคม 2549 2:38:22 น.  

 

^
^
^
โม้เปล่าหว่า

บทความนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ แต่สำหรับคนที่โง่เรื่องเกรดคงไม่มีปัญญาได้ทุนที่โน่นมั้ง แต่ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากไปเรียนต่อที่โน่น

เอางี้นะ สมมติว่า แรก ๆ เราก็สอบได้ทุนของกพ หรือทุนต่าง ๆ ในไทยไม่ได้ เพราะไม่ถนัดเรื่องทำข้อสอบ แต่ทำวิจัยค้นคว้าเก่ง มีเงินสำหรับค่าเทอมแรก ๆ หรือค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางไปที่โน่น แล้วก็ย่องๆ สมัครเป็นเบ๊ให้กับโปรเฟคเซอร์ อิ ๆ ได้ตังค์ด้วย ได้ความรู้ด้วย ไม่ง่ายกว่าเหรอ ขอโทษค่ะ ที่นอกเรื่องไปนิด
ที่อยากจะบอกน่ะ คือ ไม่ว่า เราไม่มีทุน ใช่ว่า เราไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ แต่ถ้าเรายังมีพยายามมีความตั้งใจจะเรียนต่อในระดับสูง ๆ ขึ้นไป โอกาสนั้นจะมาแน่นอน ถ้าเราฉลาดหาทางเลือกต่าง ๆ ส่วนใหญ่น่ะ คนไทยรู้จักแต่วงการทุนในไทยเท่านั้น ไม่ได้มองไปที่ทุนจากเมืองนอก เพราะไม่มีประชาสัมพันธ์ รู้กันในระดับวงการอาจารย์ที่จบจากเมืองนอกในไทยมากกว่า อาจารย์ที่ได้รับการติดต่อไปเมืองนอกบ่อยน่ะ ที่คณะเราเองก็ไปเมืองนอกบ่อยมาก แต่ไม่ส่งกระทบการเรียนการสอนที่เป็นหน้าที่หลักของท่านค่ะ

เพียงแต่ว่า ท่านไม่เคยเอามาเล่าให้นักศึกษาฟัง หรือให้โอกาสเสนอทางเลือกให้นักศึกษาได้รับทราบ เว้นแต่นักศึกษาคนนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับอาจารย์ ท่านก็ช่วยนักศึกษาคนนั้น ๆ โดยตรงเอง มันก็แปลกนะ เนอะ คณะเราน่ะ มีฐานะดีมาก พอมีทุนส่งไปเรียนเมืองนอกด้วยตัวเองได้

น่าอิจฉาคนที่มีความพยายามมากกว่าเราจัง เรามันโง่เอง

 

โดย: Lt Pam IP: 61.47.122.213 10 เมษายน 2549 18:16:05 น.  

 

ลูกเพิ่งได้รับ email จาก Princeton ให้ ไปสัมภาษณ์ มุ่งที่จะเรียนแพทย์ ไม่รู้จะดีใจไม้ เพราะค่าเรียนแพง แต่ตอนกรอกใบสมัคร ก็ให้ลูกบอกรายได้ไปตรงๆว่าไม่มีพอเรียนแน่ เลยสงสัยว่า เค้าจะให้ทุนเราตอนไหน ตอนสัมภาษณ์เสร็จ หรือ ตอน เข้าไปเรียนแล้วค่อยขอ ลูกจบ High Schook GPA เกิน 4

 

โดย: Prakul IP: 192.99.14.34 10 กุมภาพันธ์ 2559 22:56:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


B.F.Pinkerton
Location :
Midway United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Friends' blogs
[Add B.F.Pinkerton's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.