สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
1 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท

"กล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท"โรคร้าย!!รักษาผิด-มีสิทธิ์เจ็บตัวฟรี
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ชีวิตมนุษย์เงินเดือนนั่งทำงานในออฟฟิศ หรือแม้การนั่งขับรถอยู่บนท้องถนนเป็นเวลานานๆ ทำให้เหนื่อยล้าเกินกว่าจะออกกำลังกายเป็นประจำได้ เมื่อเวลาผ่านไปมักมีอาการปวดตามบ่า ไหล่ สะโพก ปวดร้าวถึงปลายมือ ปลายขา บางรายชาที่ปลายมือปลายเท้าด้วย ทุกข์ทรมานแสนสาหัส อาการเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า "โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท"

“โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทจะมีอาการปวดร้าว และชา ไปตามแขนหรือขา อาการคล้ายกับโรค หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังยังแยกสองโรคออกได้ไม่ 100% ถ้าซักประวัติละเอียดจะพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อนี้ จะมีอาการปวดบริเวณสะโพกนำมาก่อน และค่อยๆ ลามลงชาไปจนถึงปลายเท้า หรือปวดบริเวณคอ หัวไหล่ แล้วค่อยๆลามไปถึงปลายแขน อาการรุนแรงกว่าโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเสียอีก
บางรายจะปวดมากจนนอนไม่หลับ เวลาเปลี่ยนอิริยาบถเริ่มเดินแรกๆ มักจะปวดสะโพกลงขา แต่พอเดินๆ ไประยะทางหนึ่งจะค่อยๆ หายปวดขา ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอ เวลาขยับกล้ามเนื้อคอจะมีอาการปวดเสียวอย่างแรงเหมือนไฟฟ้าช็อตที่แขน อาการนี้คล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาก" นาวาอากาศเอก นพ.ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการศูนย์รวมการรักษากระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพ (Bangkok hospital comprehensive spine center) ให้ความชัดเจนในเรื่องนี้

 โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท อาการคล้าย "โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท" ต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ออกไป โดยการทำเอ็มอาร์ไอที่กระดูกสันหลังดูด้วยว่ามีโรคทางกระดูกสันหลังหรือไม่ ซึ่งพบบ่อยว่าทั้งสองโรคสามารถเกิดร่วมกันได้เสมอ และต้องระวังอย่านำผู้ป่วยที่ปวดอย่างรุนแรงไปผ่าตัดเร็วเกินไป เพราะการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้คลายตัวได้

กล้ามเนื้อที่พบบ่อยว่ามีการหนีบทับเส้นประสาทส่วนขา คือ กล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า พิริฟอร์มิส (Piriformis) จึงมีผู้ใช้ชื่อโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทขาว่า "พิริฟอร์มิสซินโดรม" (Piriformis Syndrome) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวตามขาเรื้อรัง ปวดสะโพกบริเวณที่นั่งทับ อาจจะมีอาการเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง และเดินไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายได้รับการทำเอ็มอาร์ไอ หวังว่าจะพบกระดูกทับเส้น แต่พบว่ากระดูกสันหลังปกติทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ที่โชคร้ายกว่านั้นคือ ผู้ป่วยบางรายผลเอ็มอาร์ไอมีหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยความปวดทำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่กระดูกสันหลังไป แต่ไม่หายปวด !! เป็นเพราะกล้ามเนื้อหนีบทับเส้นประสาท

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขา มีลักษณะคล้ายการปวดตามแนวของเส้นประสาท จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวินิจฉัยแยกโรค ”กล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท” ร่วมด้วยเสมอ หากรักษาโรคกล้ามเนื้อก่อนแล้ว จะทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ต้องถูกผ่าตัดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหา “ผ่าตัดแล้วไม่หายปวด” ดังกล่าวแล้วได้ โดยแพทย์ผู้ชำนาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation) จะเป็นผู้ที่ทำการรักษาสภาวะผิดปกตินี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ด้านเวชศาตร์ฟื้นฟู เพื่อแยกโรคทางกล้ามเนื้อออกเสียก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัด ทางการแพทย์เรียกการรักษาผู้ป่วยร่วมกันระหว่าง ศัลยแพทย์ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมทั้งแพทย์สาขาอื่นๆ นี้ว่าการรักษาแบบ คอมพรีเฮนซีฟ แอพโพรช
พญ.สุชีลา จิตสาโรจิตโต ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวเสริมว่า กล้ามเนื้อของมนุษย์มีประมาณ 600 มัด เปรียบเสมือนเป็นมอเตอร์ให้ร่างกายของมนุษย์ขับเคลื่อนไปได้ทำงานตลอดเวลาไม่มีพักจึงป่วยได้ โดยส่งสัญญาณอาการปวดร้าวตามร่างกายส่วนต่างๆ เพราะปกติกล้ามเนื้อของคนจะเสื่อมลงเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว แต่โชคร้ายแม้เอกซเรย์หรือเอ็มอาร์ไอก็ไม่สามารถเห็นอาการป่วยของกล้ามเนื้อนี้ได้

“กล้ามเนื้อของมนุษย์นั้น มีลักษณะเฉพาะตัวคือ แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นได้ หากอันใดอันหนึ่ง ทำงานไม่ปกติมีการตึงตัวหรือยืดหยุ่นน้อยลง ก็สามารถสร้างความเจ็บปวดขึ้นมาได้ ดังนั้นในการฟื้นฟูและการบำบัดนั้น ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก ต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด และคลายกล้ามเนื้อ เช่น การใช้ความร้อนทั้งแบบพื้นผิว หรือแบบลึกไปสู่กล้ามเนื้อชั้นลึก หรือแม้กระทั่งการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น หรือการฝังเข็มให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ" พญ.สุชีลา กล่าว

โรคร้าย! นี้ ไม่สามารถตรวจพบโดยเครื่องมือใดๆ และเป็นโรคที่เป็น “ยาดำ” แฝงตัวอยู่ในภาวะผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนเอวได้เสมอๆ ต้องระลึกก่อนลงมือผ่าตัด ไม่เช่นนั้น ผู้ป่วยอาจจะต้องเจ็บตัวฟรีๆ คือผ่าตัดแล้วแต่อาการปวดยังเหมือนเดิม




Create Date : 01 เมษายน 2556
Last Update : 1 เมษายน 2556 23:19:32 น. 0 comments
Counter : 1305 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.