สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
=สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ^_^ สุดแต่ใจจะไขว่คว้า=
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า” ชื่อโรคที่หลายคนเริ่มคุ้นหูจากคำเล่าลือว่า เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเครียดเศร้า และมีแนวโน้มทำให้คิดฆ่าตัวตาย! ที่สำคัญจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าในปัจจุบันก็มีมากถึง 5-7% ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว

        แม้จะเป็นอีกหนึ่งโรคฮิตที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยคิดสั้นปลิดชีพตัวเอง แต่หลายคนกลับไม่รู้ตัวว่ากำลังป่วยด้วยโรคซึมเศร้าอยู่

       โอกาสนี้เราเลยขอพาคุณไปเจาะ ลึกถึงเรื่องราวของโรคซึมเศร้า ว่าแท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุใด เมื่อเป็นโรคแล้วผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร และเราจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร กับคุณหมอคนสวยอดีตนางสาวไทยปี 2542 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ หรือคุณหมอเบิร์ท จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลศรีธัญญา

       “สาเหตุการฆ่าตัวตาย ที่พบได้บ่อย และคนไม่ค่อยทราบกันคือ เรื่องของโรคซึมเศร้า เนื่องจากมีคนจำนวนมาก ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งหากป่วยแล้วปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รักษา ก็จะส่งผลให้คนไข้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้” คุณหมออภิสมัยเกริ่นนำถึงภัยร้ายแรงของโรคซึมเศร้า

       ต้นตอสำคัญมาจากพันธุกรรม!

       “อาการที่เด่นชัดของโรคซึมเศร้าคือ อาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อารมณ์เศร้า ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่น อาจจะมีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว อยู่ๆ ก็อยากหงุดหงิด ซึ่งจุดนี้บางคนคิดว่าเมื่อไปเจอเรื่องราวมรสุมชีวิต เลยกลายเป็นโรคซึมเศร้า แต่จริงๆ ไม่ใช่ ปัจจุบันทางการแพทย์เราเชื่อว่า โรคซึมเศร้านี้ เมื่อคนเราเกิดมา ร่างกายก็มียีน (Gene) ติด ตัวมาอยู่แล้ว ดังนั้นหากพ่อแม่เป็นโรคซึมเศร้า หรือปู่ ย่า ตา ยาย เป็นโรคซึมเศร้า คนๆ นั้นก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่แฝด ถ้าฝาแฝด คนใดคนหนึ่งเป็น แฝดอีกคนก็จะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 50% หรือมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

       ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงไม่ใช่ ว่าชีวิตต้องเจอกับมรสุมอะไร คนไข้หลายคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มักจะบอกกับหมอว่า ชีวิตก็ดี งานก็ดี ลูกก็ดี แต่ไม่รู้ทำไมอยู่ๆ ถึงเศร้าขึ้นมา คำตอบก็คือ ยีน ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดนี่แหละ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน เพราะบางคนที่มียีนอยู่แล้ว ติดตัวมาแต่เกิด และเมื่อโตขึ้นก็ไปเจอมรสุมชีวิตอีก มันก็ยิ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นให้อาการป่วยแสดงออกมา” จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลศรีธัญญาอธิบายถึงต้นตอของโรค

       สัญญาณบอกเหตุโรคซึมเศร้า

       หลังบอกถึงสาเหตุหลักของโรคแล้ว คุณหมอนางงามอธิบายต่อถึงสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าว่ามีด้วยกัน 9 ประการ ซึ่งหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าอาจถูกเจ้าโรคซึมเศร้ามาเยือนเข้าแล้ว

       1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
       2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
       3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
       4. รู้สึกอ่อนเพลีย
       5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
       6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง
       7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
       8. ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
       9. ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้เช่นกันว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า

       ทั้งนี้อาการของโรคซึมเศร้า ต้องมี 5 ใน 9 อย่างนี้นาน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน”

       สาวๆ หลายคนเชียวค่ะที่มีปัญหาหงุดหงิดหรือซึมเศร้าระหว่างมีประจำเดือน จึงมักเกิดคำถามว่าอาการซึมเศร้าเมื่อมีรอบเดือนนั้น คือ อีกสัญญาณบอกเหตุของโรคซึมเศร้าหรือไม่ จิตแพทย์สาวอธิบายให้โล่งใจว่า

       “การมีประจำเดือนก็มีส่วนทำ ให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่กรณีนี้อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ เราต้องกลับไปดูเกณฑ์ 9 ข้อ ว่าเราเข้าเกณฑ์ 5 ใน 9 นั้นมั้ย นั่นคือ ถ้ามีอาการซึมเศร้าแค่ช่วงมีรอบเดือนแล้วหาย มันยังไม่เข้าเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเกณฑ์การเป็นโรคซึมเศร้าต้องเป็นต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ถ้าซึมเศร้าระยะเวลาน้อยกว่านั้น คือ เป็นเฉพาะตอนมีประจำเดือนแค่ไม่กี่วัน อันนั้น เป็นผลที่เกิดมาจากฮอร์โมน(Hormone)”

       ร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย …แต่รักษาได้ไม่ยากเย็น
       “ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็น จำนวนมาก ประมาณ 5-7% ของประชากรเลยทีเดียว แต่โรคนี้ก็รักษาได้ง่ายมากรักษา 2 สัปดาห์ก็เห็นผลชัด ซึ่งบางคน 2 สัปดาห์ก็กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติแล้ว แต่หากไม่รักษาอาจจะชีวิตพัง เช่น หย่าร้างกับคู่ ต้องออกจากงาน หรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย

       การรักษาโรคซึมเศร้ามี 3 องค์ประกอบด้วยกัน อย่างแรกคือ ยา ที่จะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ องค์ประกอบที่ 2 นั่นคือ การทำจิตบำบัดให้คนไข้ เช่นคนไข้มีปัญหาที่การควบคุมอารมณ์ ก็แก้ที่การควบคุมอารมณ์

       นอกจากนี้องค์ประกอบที่ 3 คือ เรื่องของสังคม ก็มีส่วนช่วยบำบัดฟื้นฟูมาก เช่น คนไข้ที่เมื่อมารักษากับแพทย์ กลับบ้านไปแล้วมีกิจกรรมทำ กลับไปเรียนหนังสือตามปกติ ไปทำงานมีเพื่อนฝูงตรงนี้จะยิ่งทำให้คนไข้ฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ไว เทียบกับคนที่กินยา แต่เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร แม้จะกินยาเหมือนกันแต่ว่าผลในการบำบัดรักษาฟื้นฟูจะแตกต่างกัน คือ กลุ่มที่เก็บเนื้อเก็บตัว ผลการรักษาจะไม่ดีเท่าไหร่” คุณหมอเบิร์ท อธิบายให้ทราบถึงแนวทางการรักษา พร้อมบอกถึงวิธีเตรียมตัวรับมือกับโรคซึมเศร้ามาว่า

       “โรคซึมเศร้าจะมีเกณฑ์ว่ามัก เริ่มเป็นตอนอายุ 25 ปี แล้วก็จะเป็นไประยะยาวเลย แม้จะรักษาแล้วก็ยังต้องเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เหมือนโรคเบาหวาน ความดัน ที่ต่อให้ไม่มีอาการแล้วก็ต้องทานยาควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ แต่โรคนี้ก็มีข้อดีตรงที่ เมื่อเข้ารับการรักษาแล้ว สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ เป็นคนเก่ง เรียนถึงปริญญาโท ปริญญาเอก เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในสังคมได้หมด

       ดังนั้นสำหรับการรักษา หากกินยาจนครบ หมอจะให้หยุดยา แต่ก็ยังต้องเฝ้าสังเกตอาการ เพราะมันอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ เหมือนอย่างโรคมะเร็ง พอเราฆ่าเชื้อมะเร็งหมดไป เราก็ต้องเฝ้าดูอาการว่ามะเร็งมันจะกลับมาเป็นซ้ำหรือเปล่า โรคซึมเศร้าก็เป็นลักษณะนั้น ดังนั้นการรับมือกับโรคนี้คือ หมั่นสังเกตอาการที่บอกไป 9 อย่าง อย่าละเลยจนให้ถึงกับว่าคนๆ หนึ่งต้องออกจากงาน หย่าร้างกับสามี ตีลูกโดยไม่มีเหตุผล เพราะแม่ที่เป็นลูกซึมเศร้า เลี้ยงลูก ลูกก็มีปัญหา ฉะนั้นหากเจอสัญญาณอันตราย การเป็นโรคนี้แต่เนิ่นๆ อย่ารอจนเขามีความคิดฆ่าตัวตาย ควรรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาให้เร็วที่สุด” คุณหมออภิสมัยให้ข้อมูลทิ้งท้าย 

ที่มา:ผู้จัดการ

ยารักษาโรควึมเศร้า


1. ยา Fulox 20
ชื่อสามัญ  Fluoxetine [hydrochloride] [fluoxetine [hydrochloride] , fluoxetine hydrochloride]



รูปแบบยา  ยาเม็ด

ยานี้ใช้สำหรับ 
รักษาภาวะซึมเศร้า
รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder)
รักษาอาการตื่นตระหนกเฉียบพลัน (panic attack)
รักษาโรคการกินที่ผิดปกติ (eating disorder)
ช่วยบรรเทาอาการต่างๆจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual dysphoric disorder)
อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่นๆได้ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีใช้ยา

    ยานี้ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละครั้งในเวลาเช้าหรือรับประทานวันละ 2 ครั้งในเวลาเช้าและกลางวัน หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
    ยานี้อาจทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงหรืออาจมีความคิดฆ่าตัวตายได้โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษาหรือทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนขนาดยา ดังนั้นท่านควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอและมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
    ยานี้อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะและควบคุมเครื่องจักร
    แจ้งแพทย์หากท่านกำลังรับประทานยา cisapride, procarbazine, tryptophan, pimozide, thioridazine หรือยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) เช่น isocarboxazid, phenelzine, selegiline และ tranylcypromine อยู่ เนื่องจากการจะเปลี่ยนจากการใช้ยากลุ่มดังกล
    ยานี้อาจใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 4-5 สัปดาห์จึงจะเริ่มเห็นผลการรักษา ดังนั้นไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
    ไม่ควรหยุดรับประทานยานี้ทันทีเนื่องจากจะทำให้เกิดอาการถอนยาได้
    หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยานี้

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

ประวัติแพ้ยา fluoxetine
ใช้หรือกำลังจะใช้ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร
ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร


อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีดังนี้ อาการแพ้ เช่น ผื่นที่ผิวหนัง ผื่นคันหรือลมพิษ อาการบวมของหน้า คอ ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ แขน เท้า ข้อเท้า และขาส่วนล่าง หายใจลำบาก อาการคล้ายจะเป็นไข้หวัด เช่น มีไข้ หนาวสั่น ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ชัก ประสาทหลอน ความคิดสับสน ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์เปลี่ยนแปลงหรือมีความคิดฆ่าตัวตาย นอนลำบาก เลือดออกผิดปกติหรือมีรอยช้ำ อ่อนเพลียหรือเหนื่อยผิดปกติ อาเจียน

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
มีดังนี้ คลื่นไส้ สมรรถภาพทางเพศลดลง ปากแห้ง เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก

2.ยา   Prenarpil 2 mg.

ชื่อสามัญ  Clonazepam

รูปแบบยา  ยาเม็ด

ยานี้ใช้สำหรับ 
ยานี้ใช้เพื่อควบคุมหรือรักษาการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก (epilepsy)
ยานี้ใช้เพื่อรักษาโรคตื่นตระหนก (panic disorder)
ยานี้ใช้เพื่อช่วยบรรเทาความวิตกกังวล (anxiety)
ยานี้อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่นๆ ดังนั้นหากมีข้อสงสัยจึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร

วิธีใช้ยา

    ยานี้อยู่ในรูปแบบยาเม็ด ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละสามครั้ง หรือใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
    รับประทานยานี้ได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร แต่ควรเหมือนกันทุกครั้งที่รับประทาน และควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
    หากรับประทานยานี้ก่อนอาหารแล้วเกิดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ควรรับประทานพร้อมอาหารหรือนม
    ห้ามรับประทานยานี้มากกว่า บ่อยกว่า หรือเป็นระยะเวลานานกว่าที่แพทย์สั่งให้ใช้
    ห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 4 เดือน
    ไม่ควรหยุดใช้ยาเองทันที ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการหยุดใช้ยา
    ห้ามสูบบุหรี่ระหว่างการใช้ยานี้
    ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร
    ยานี้อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ดังนั้นจึงไม่ควรลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงอย่างรวดเร็ว
    การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการใช้ยานี้อาจทำให้มีอาการมึนงงหรือง่วงซึมมากขึ้น



สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
ประวัติการแพ้ยา clonazepam หรือยาอื่นๆ
ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
การผ่าตัดและศัลยกรรม ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดทางทันตกรรมและการทำฟัน
ประวัติการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพย์ติด
การมีหรือเคยมีความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ปอด ตับหรือไต
การเป็นหรือเคยมีประวัติเป็นโรคต้อหิน (glaucoma) ภาวะการชัก (seizures) โรค Bipolar disorder โรคจิต (psychosis) โรคซึมเศร้า (depression) โรคหรืออาการทางจิตอื่นๆ โรคพาร์กินสัน (Parkinsons disease) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายแรง (myasthenia gravis) โรคทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
เคยมีประวัติหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
โดยทั่วไปถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีดังนี้ มีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ บวมตามอวัยวะต่างๆ เช่น ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น สับสน ซึมเศร้า มีอาการประสาทหลอน เช่น เห็นหรือได้ยินเสียงที่ไม่มีจริง อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น ก้าวร้าว ตื่นเต้น การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป ดวงตาเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว กระตุก การเคลื่อนไหวลำบาก เดินอย่างงุ่มง่าม นั่งเฉยๆ ไม่ได้เนื่องจากมีอาการสั่น ชัก หายใจหรือกลืนลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีไข้ ตาหรือผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอย่างผิดปกติ

3.ยา  Servin

รูปแบบยา :  ยาเม็ด

ยานี้ใช้สำหรับ :
รักษาโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ หรือเบื่ออาหาร

วิธีใช้ยา :
ยานี้ใช้สำหรับรับประทาน ให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
รับประทานยาพร้อมดื่มน้ำตาม 1 แก้ว
ห้ามหยุดใช้ยาเอง ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
ยานี้อาจทำให้มีอาการง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานกับเครื่องจักรกลหลังจากรับประทานยา
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างที่รับประทานยานี้อยู่

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ :
ประวัติแพ้ยา mianserin [hydrochloride] หรือยาอื่นๆ
ใช้หรือกำลังจะใช้ยาอื่นๆทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร
ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
หากท่านกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด หรือการทำทันตกรรมใดๆ ควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าท่านกำลังใช้ยานี้อยู่

ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา : 
โดยทั่วไปถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา :
1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

    ไข้สูง เจ็บคอ หมดสติ กล้ามเนื้อยึดตึง สีผิวซีด ตัวเหลืองตาเหลือง

2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ

    ง่วงซึม ความคิดสับสน เห็นภาพไม่ชัด ปากแห้ง ท้องผูก เหงื่อออก ถ่ายปัสสาวะลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ผื่น ปวดข้อ น้ำหนักเพิ่ม เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น




Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2556 1:15:35 น. 0 comments
Counter : 31588 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bestyx
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]





เป็นคนเรียบง่าย สบาย ๆ ..คิดอะไรได้ช้า.. คิดไม่ค่อยทันคนอื่น...เขียนอะไรไม่ค่อยเป็น... เลยต้องหาสิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นเขียน มาเก็บรวบรวมไว้อ่าน เพื่อให้ตนเองได้ฉลาดขึ้น เป็นคนที่ไม่ชื่นชอบหรือหลงใหลสิ่งใดเป็นพิเศษ ..แต่ก็ค้นหาหาไปเรื่อยๆ.. จนกว่าได้จะพบเจอ....แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งค้นหาก็ .."ยิ่งยาก".. ที่จะพบ เพราะโลกกว้างใหญ่เกินไปที่มนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งจะเรียนรู้ได้หมด

Friends' blogs
[Add bestyx's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.