Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
ธุดงค์ คืออะไร.....ชาว PANTIPบางส่วนอาจไม่เข้าใจ....วัดพระธรรมกายจัดธุดงค์ในเมือง ได้อะไร เชิญอ่าน

เชิญชมบทความนี้กันค่ะ..........สาธุ

   
     
ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
   
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
   
 
   
การประพฤติ...ธุดงค์เป็นวิธีที่สามารถกำจัดกิเลสได้แบบเฉียบพลันทันตาเห็น และเป็นไปเพื่อความมักน้อยสันโดษ
 
   
รวมทั้งยังมีอานิสงส์ให้บารมี ๑o ทัศ เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้น
 
   
 
   
 
       
ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลส, เจตจำนงความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้
 
   
 
   
       ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปฉนั้น มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภ เพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฏ

       ธุดงค์ ในภาษาไทย ใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่า เดินธุดงค์ หรือ ออกธุดงค์ เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่า พระธุดงค์ ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทย ซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมาก เพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้น ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว, ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า, ไม่มีการใช้กลด, ไม่รับเงินเด็ดขาด เป็นต้น.
 
   
 
   
 
   
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
   
 
         
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
   
 
   
ธุดงควัตร 13 คืออะไร
 
   
 
   
       หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก ‘ธุดงค์’ และมักจะนิยมเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า ‘พระธุดงค์’
 
   
 
   
       ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
 
   
 
   
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
 
   
 
   
1.การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
 
   
2.การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
 
   
 
   
1.การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน
2.ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป
3.ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม
4.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร
5.ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

 
   
ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส
 
   
ธุดงค์ธรรมชัย 6 จังหวัด 365 กิโลเมตร ต้อนรับปีพุทธศักราชใหม่ 2555
ปัดเป่าผองภัย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
 
    
   
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
 
    
   
1.ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
 
   
2.ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
 
   
3.ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
 
   
4.ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
 
   
5.ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
 
   
6.ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน
 
 
   
       การถือธุดงค์บำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง
 
  
    
       อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระที่จาริกไป ตามสถานที่ต่างๆ อยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในที่ต่างๆ เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ
 
    
   
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
   
ธุดงค์ ธรรมทายาทวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์
 
 
   
 
พระในโครงการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ท่านถือธุดงค์ข้อไหนบ้าง ?
 
    
   
ตามพระวินัย ธุดงควัตรมีพุทธานุญาตไว้ 13 ข้อ พระในโครงการฯ ท่านถือธุดงควัตร 2 ข้อ คือ
 
    
   
1) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม
2) ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อเจ้าหน้าที่ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่
 
    
   
ทำไมมาเดินธุดงค์ในเมือง ไม่ไปเดินในป่า ? 
       
การเดินธุดงค์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
 
   
1. กระตุ้นให้เกิดกระแสการปฏิบัติธรรม ทำความดีในหมู่ประชาชน เพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อัปมงคลทั้งหลาย ให้หมดไปจากแผ่นดิน โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม
2. เป็นการเดินธุดงค์ตามเส้นทางที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านกำเนิด บรรลุธรรม เผยแผ่ธรรมครั้งแรก และละสังขาร เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า จะดำเนินตามปฏิปทาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านในการสร้างบารมี
   
   
พระจะเดินธุดงค์ไปไหนและจะไปพักกันที่ไหนบ้าง?
   
   
       พระธุดงค์จะไปปฏิบัติธรรมตามเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ ค้นพบวิชชาธรรมกาย ระหว่างวันที่ 2 – 25 มกราคม 2555 โดยเริ่มต้นเดินจากวัดพระธรรมกาย พักปฏิบัติธรรมในสถานที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนีได้แก่ สถานที่เกิด สถานที่บวช สถานที่บรรลุธรรม สถานที่สอนธรรมะ เรื่อยไปจนถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ แล้วเดินกลับมาที่วัดพระธรรมกาย รวมระยะทาง 365 กิโลเมตร (จังหวัด ปทุมธานี,นนทบุรี,อยุธยา,นครปฐม ,สุพรรณบุรี,กรุงเทพมหานคร )
 
     
การเดินธุดงค์แล้วได้อะไร , ทำไปทำไม
 
      
1.1 ฟื้นฟูจิตใจ  ผู้ประสบอุทกภัย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
1.2 รักษาธุดงควัตรของพระภิกษุ
1.3 ส่งเสริมศีลธรรมให้เกิดขึ้นระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
1.4 สร้างความสามัคคีกลมเกลียว ในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน
1.5 ปลูกฝังเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
1.6 ฟื้นฟูธรรมเนียมของพระพุทธศาสนา เมื่อรับกฐินแล้ว พระภิกษุจะออกเดินธุดงค์
 
   
1.7 ให้เกิดทัสสนานุตริยะ คือการเห็นอันประเสริฐแก่ผู้พบเห็นทั่วไป
1.8 สร้างความศรัทธาแก่ผู้ที่ยังไม่ศรัทธา และเพิ่มศรัทธายิ่ง ๆ ขึ้นสำหรับผู้ศรัทธาแล้ว
1.9 ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแห่งโลก
1.10 แสดงให้เห็นและตอกย้ำถึงความมีน้ำใจ ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ดังคำพูดที่ว่า
“มีทุกข์ไม่ทิ้งธรรม” ของคนไทย
 
 
   
ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
 
   
   
ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
 
       
       ธุดงค์เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การประพฤติธุดงค์จึงเป็นการดำเนินตามรอยพระอรหันต์และพระอริยเจ้าในกาลก่อนสำหรับธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์นี้ จัดขึ้นโดยดำริของพระเทพญาณมหามุนี(หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกายร่วมกับ ๒๕ องค์กรภาคี และ ๖ จังหวัด ที่ประสบอุทกภัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ
 
    
• เพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
• เพื่อฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม
• เพื่อสร้างบุญใหญ่และสิริมงคลให้แผ่นดินไทย
• เพื่อสืบสานธุดงค์วัดของพระภิกษุ
• เพื่อให้พระภิกษุฝึกสติ สมาธิ และความอดทน
• เพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน
• เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
• เพื่อฟื้นฟูธรรมเนียมการเดินธุดงค์หลังรับกฐินของพระภิกษุให้กลับคืนมา
 
   
       ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ มีการบุกเบิกเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยมีพระธุดงค์กว่า ๒oo รูป เดินธุดงค์เป็นระยะทางกว่า ๑๖ กิโลเมตร เส้นทางธุดงค์เริ่มจากวัดพระธรรมกายมีปลายทางอยู่ที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี ตลอดระยะทางมีประชาชนและเด็กนักเรียนกว่า ๑o,ooo คน เตรียมกลีบกุหลาบที่เด็ดจากดอกกุหลาบกว่า ๗o,ooo ดอกโปรยต้อนรับตลอดเส้นทางเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
 
     
       คำว่า"มหาปูชนียาจารย์"ที่กล่าวถึงข้างต้นหมายถึงพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษที่ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหมั่นฝึกฝนตนเองจนกระทั่งสามารถพิสูจน์ให้ชาวโลกได้รู้เห็นว่าพระพุทธศาสนาคือที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดจริงๆส่วน “เส้นทางมหาปูชนียาจารย์” หมายถึงเส้นทางซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ ๖ แห่ง ในประวัติศาสตร์ ชีวิตของหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อันได้แก่
 
   
   
๑ สถานที่เกิด ตั้งอยู่บนแผ่นดินรูปดอกบัว ณ ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน คณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการก่อสร้างอนุสรณ์สถานพระมงคลเทพมุนีไว้ ณ ที่แห่งนี้
 
      
๒ สถานที่ออกบวช วัดสองพี่น้อง ตั้งอยู่ริมคลองสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
 
   
๓ สถานที่บรรลุธรรม วัดโบสถ์(บน) บางคูเวียงตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
 
   
๔ สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายครั้งแรก วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
 
       
๕ สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
 
   
๖ สถานที่สืบสานวิชชาธรรมกาย (เพื่อสานต่อมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก) วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
 
    
   
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ศักราชแห่งความสุขสมหวัง ร่วมพิธีโปรยกลีบกุหลาบบนเส้นทางที่พระ ๑,๑๒๗ รูป
 
   
เดินธุดงค์ให้ชีวิตของเราราบรื่น รุ่งเรือง รื่นรมย์ ราวกับโรยด้วยกลีบกุหลาบตลอดปี ตลอดไป
 
   
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
 
     
       สถานที่สำคัญแต่ละแห่งบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์จะเป็นที่รวบรวมบันทึกประวัติการสร้างบารมีของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ตั้งแต่ปฐมวัย มัชฌิมวัย จนถึงปัจฉิมวัยและเป็นสถานที่ประดิษฐานหล่อทองคำแท้ของท่าน ซึ่งศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันหล่อขึ้น เพื่อแสดงถึงความเคารพรักและความกตัญญูต่อพระคุณอันไม่มีประมาณของท่าน 
   
       การสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ จะทำให้อนุชนรุ่นหลังมีโอกาสศึกษาชีวประวัติอันงดงามและคำสอนอันล้ำค่าของพระเดชพระคุณหลวงปู่ได้โดยสะดวกเมื่อเห็นภาพการดำเนินชีวิตของท่านและได้เรียนรู้คำสอนของท่านแล้ว จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา สืบไป ดังนั้นการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด 
   
       ด้วยเหตุนี้ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ นำโดยพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) จึงจัดให้มีการเดินธุดงค์ธรรมชัยของพระธุดงค์จำนวน ๑,๑๒๗ รูป อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๒๔ วัน การเดินธุดงค์ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์แล้ว ยังจะช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย จากมหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่สร้างความสูญเสียและความพลัดพรากแก่พี่น้องชาวไทยให้หมดสิ้นไป และยังเป็นการสร้างสิริมงคลให้เกิดขึ้นแก่ผืนแผ่นดินไทยอีกด้วย
  
       การขจัดปัดเป่าภัยพิบัติทั้งหลายด้วยอำนาจของพระรัตนตรัยนั้น ในสมัยพุทธกาลก็เคยปรากฏขึ้นเช่นกัน ดังเช่น เมื่อครั้งที่กรุงไพศาลีประสบภัยพิบัติครั้งใหญ่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและล้มตายเป็นจำนวนมากครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาให้เสด็จไปโปรดชาวเมืองไพศาลี ขณะเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ พร้อมเหล่าภิกษุ ๕oo รูป พระเจ้าพิมพิสารได้เตรียมหนทางเสด็จของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการประดับธงชัย โปรยด้วยดอกไม้ ๕ สี กั้นฉัตร ๒ ชั้น บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นระยะทางประมาณ ๕ โยชน์ แม้ชาวเมืองก็ยังร่วมมือกันทำความสะอาดถนนหนทาง พร้อมทั้งประดับประดาด้วยพวงดอกไม้อันประณีตงดงามเพื่อส่งเสด็จ
 
      
       เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงกรุงไพศาลี ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย ภัยพิบัติทั้งมวลก็มลายหายสูญสิริมงคลทั้งหลายบังเกิดขึ้นกับชาวเมืองไพศาลีโดยทั่วหน้ากัน
ขอบคุณบทความจากสมาชิก Bloggangค่ะSmiley



Create Date : 29 มีนาคม 2555
Last Update : 29 มีนาคม 2555 10:48:08 น. 1 comments
Counter : 3722 Pageviews.

 
ขออนุโมทนาบุญ กับผู้ที่ต้องการให้พุทธศาสนแผ่ขยายไปทั่วโลกนะครับ สาธุครับ


โดย: ประสานธรรม IP: 161.200.208.87 วันที่: 7 เมษายน 2555 เวลา:5:41:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุ่นอาวรณ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.