Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
23 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
9.โครงสร้างธุรกิจแบบPartnership 2 แบบ

โครงสร้างธุรกิจรูปแบบที่สองนี้คือ ​Partnership ซึ่งในภาษไทยก็เทียบเคียงได้กับ"ห้างหุ้นส่วน"นั่นเอง รูปแบบ Partnershipนี้ คือรูปแบบโครงสร้างธุรกิจที่ประกอบด้วยหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และโครงสร้างธุรกิจรูปแบบ ​Partnership นี้ก็ยังแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 รูปแบบ คือ General Partnership (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) และ Limited Partnership (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ฟังดูยุ่งใช่มั้ยคะ แต่จริงๆแล้วไม่ยุ่งค่ะ


**General Partnership**
หลักการโดยกว้างแล้ว General Partnership นี้ใกล้เคียงกับรูปแบบ Sole Proprietorship ที่เบลล์กล่าวถึงในบทที่แล้วมากๆค่ะ คือกฎหมายจะถือว่าเจ้าของกิจการ(หุ้นส่วนทุกคน) เป็นบุคคลเดียวกับกิจการ ดังนั้นทั้งภาระหนี้สิน ทั้งภาระภาษีจากรายได้ของกิจการจะถือเป็นความรับผิดชอบ"ส่วนตัว"ของหุ้นส่วนด้วย คือ

- กำไรของกิจการจะถูกกระจายตามสัดส่วนเพื่อนำไป"รวมคำนวน"กับเงินได้ส่วนบุคคลของเจ้าของกิจการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าขาดทุน ก็นำส่วนขาดทุนไปหักออกจากฐานภาษีได้

- และในกรณีที่กิจการมีหนี้ และเงินในกิจการมีไม่พอที่จะชำระหนี้ เจ้าของกิจการ(หุ้นส่วนทุกคน)ก็ต้อง"ควักเนื้อ" คือควักกระเป๋าส่วนตัวมาจ่ายหนี้ของกิจการจนครบค่ะ ดังนั้นหากธุรกิจประสบปัญหา นอกจากหุ้นส่วนทุกคนของโครงสร้างธุรกิจแบบนี้จะมีความเสี่ยงที่ต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งก้อนแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่อาจต้องควักกระเป๋าเพิ่มอีก เพื่อนำเงินมาจ่ายชำระหนี้จนครบค่ะ ฟังแล้วสยองนะคะ


**Limited Partnership**
ส่วนรูปแบบ Limited Partnership โดยสาระสำคัญหลักก็คือหุ้นส่วน"บางคน"สามารถมีความรับผิดชอบหนี้สินแบบ "จำกัด" (Limited Liability) ค่ะ คือหุ้นส่วนบางคนไม่ต้อง"ควักเนื้อ"ก็ได้ ความเสี่ยงอย่างมากก็คือเงินที่ลงทุนไปนั้นอาจสูญไปทั้งก้อน แต่ไม่ต้องควักเนื้อเพิ่มถึงแม้กิจการจะยังมีหนี้สินอยู่

แต่ในโครงสร้างรูปแบบ Limited Partnership นี้ ยังไงก็ต้องมีหุ้นส่วนแบบ General Partnership ที่จะยอมรับผิดชอบหนี้สินแบบ "ไม่จำกัด"รวมอยู่ด้วยอยู่ดีค่ะ คือมีหน้าที่ต้องจ่ายชำระหนี้ของกิจการจนหมด ซึ่งอาจต้องเดือดร้อนกระเป๋าส่วนตัวด้วย

คุณผู้อ่านคงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมฟังดูไม่เสมอภาคเลย แล้วใครจะยอมเป็นหุ้นส่วนที่จะเสียสละรับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัดนี้ จริงๆแล้วความสมดุลของอำนาจของรูปแบบนี้ย่อมมีอยู่ค่ะ กฎหมายอเมริการะบุว่าหุ้นส่วนพวกที่รับผิดชอบหนี้สินแต่เพียง"จำกัด" นี้จะไม่มีสิทธิในการบริหาร เรียกว่าออกได้แต่ทุน แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงหรือตัดสินใจในการจัดการธุรกิจค่ะ ต้องปล่อยให้หุ้นส่วนที่ยอมรับผิดชอบหนี้สินแบบ"ไม่จำกัด"บริหารไป และถ้าทางรัฐเห็นว่าหุ้นส่วนพวกแรกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยเมื่อไร หุ้นส่วนพวกนี้จะถูกจัดให้กลายพันธุ์เป็นพวกหลัง คือต้องร่วมรับผิดชอบหนี้สินแบบ"ไม่จำกัด"ทันที

รูปแบบ Limited Partnership นี้มีเพื่อเอื้อให้เจ้าของกิจการแบบ General Partnership สามารถเพิ่มทุนได้ง่ายขึ้น เพราะสามารถดึงเงินจากนักลงทุนภายนอกมาอัดฉีดได้ง่าย โดยให้การเป็นหุ้นส่วนเป็นข้อตอบแทน และก็ไม่ต้องห่วงว่าจะสูญเสียอำนาจในการบริหาร ฟังดูสมเหตุสมผลแล้วใช่ไหมคะ

โครงสร้างรูปแบบPartnership ทั้ง 2 แบบนี้ ไม่อนุญาตให้คนต่างชาติที่ไม่มีกรีนคาร์ดจดทะเบียน เจ้าหนี้คงข้ามนำ้ข้ามทะเลมาตามทวงหนี้เราไม่ไหว

ข้อคิดปิดท้ายวันนี้เป็นเรื่องของความรับผิดชอบค่ะ การเป็นเจ้าของกิจการอาจเลือกจำกัดความรับผิดชอบหนี้สินได้ แต่การเป็นเจ้าของชีวิต ถ้าเราคิดจะจำกัดความรับผิดชอบชีวิตตัวเองเมื่อไร ชีวิตคงเฉาหรืออาจพังพินาศเอาได้ง่ายๆนะคะ "When you blame others, you give up your power to change."~Author Unknown ถ้าเรามัวแต่คอยโทษผู้อื่น (ในเรื่องที่เราไม่สบอารมณ์) ก็เท่ากับเรายอมที่จะสูญเสียอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง(ให้เรื่องที่ไม่สบอารมณ์นั้น เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็น) คุณผู้อ่านเห็นด้วยไหมคะ


Create Date : 23 กันยายน 2552
Last Update : 19 ตุลาคม 2552 13:00:24 น. 5 comments
Counter : 15109 Pageviews.

 

วันนี้ทำดีถวายในหลวงหรือยังครับ
โจ...พลังชีวิต
คลิกเพื่อไปเติมพลังชีวิตจ้า
//powerup.bloggang.com


โดย: พลังชีวิต วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:22:00:56 น.  

 
ลักษณะของห้างหุ้นส่วนในตอนนี้ เหมือนจะเหมือนกับของไทย. เมื่อก่อนเป็นที่นิยม เพราะจัดการง่าย ไม่ต้องยุ่งกับเอกสารมากเหมือนบริษัท แต่เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทได้เปลี่ยนให้สามารถจดทะเบียนได้ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จดได้ในวันเดียว และก็เอื้อประโยชน์เพิ่มขึ้น ดูเหมือน หจ. จะได้รับความนิยมน้อยลง เพราะประเด็นเรื่องการหักภาษีที่ไม่คุ้มค่าเท่าบริษัทแทน

ด้านการทำธุรกิจ ยังไง เพื่อนร่วมทุนก็สำคัญมาก จริงๆ ผมว่า การต่อว่า นั้นไม่ผิดอะไร แต่ต้องเรียกว่า จะคุยกันยังไง เพื่อให้ ไม่เสียความรู้สึกทั้งสองฝ่าย และอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมที่จะทำตาม การโทษคนอื่นก็ไม่ดี แต่การโทษตัวเอง ก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อทำงานเป็นทีม ความผิดใด ก็ถือว่าเป็นความผิดของทีม

เสียดายก็แต่เมืองไทยจดบริษัทแบบบุคคลเดียวไม่ได้ ทั้งๆที่ในความเป็นจริง มีบริษัทมากมายที่เปิดบริษัทโดยเอาชื่อญาติเข้าเพียงหนึ่งหุ้นให้ครบรายชื่อเพียงเท่านั้นเอง


ปล. ผมส่งข้อความหลังไมค์ไป แต่คิดว่าปกติคุณเบลไม่ได้เช็คใช่ไหมครับ : )


โดย: Scalopus+ IP: 124.120.29.9, 203.144.144.165 วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:22:32:28 น.  

 
ตอบคุณพลังชีวิต
แวะไปเติมพลังที่บล็อกpowerupเรียบร้อยแล้วค่ะ

ตอบคุณ Scalopus+
ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่แบ่งปันความรู้กันนะคะ

- เบลล์เองก็เป็นตัวเติมเต็มในบริษัทญาติโยมเหมือนกัน มีตั้งหุ้น1หุ้นเลยเชียวนะคะ :p การที่กฎหมายไทยเปลี่ยนมาอนุญาตให้สามารถจดทะเบียนบริษัทจำกัดได้ด้วยคน3คนก็ดีนะคะ เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

- เห็นด้วยในเรื่องของการรับผิดชอบร่วมกันเป็นทีมค่ะ ตอนหลังๆเบลล์จะมาแบ่งปันความเห็นเรื่องการเป็นหุ้นส่วนกันกับเพื่อนนะคะ ขอบคุณที่จุดประกายหัวข้อเรื่องให้เขียนค่ะ

- ในอเมริกา การจดทะเบียนกิจการแบบSole Proprietorshipก็ไม่ถือเป็นบริษัท(company)เหมือนกันค่ะ

- เบลล์ไม่ค่อยเช็คหลังไมค์ ต้องขออภัยทุกคนเลย ชอบแบบทอล์กโชว์ออกไมค์มากกว่าค่ะ ได้อารมณ์เหมือนการเสวนาดี แต่ยังไงก็ขอบคุณที่เตือนนะคะ ไว้จะแวะไปเช็คเป็นระยะๆค่ะ


โดย: Belle Chen วันที่: 23 กันยายน 2552 เวลา:23:42:30 น.  

 
แวะมาสวัสดีค่ะ >_<


โดย: zeedhama วันที่: 24 กันยายน 2552 เวลา:22:15:57 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ อ่านแล้วเข้าใจขึ้นมากเลย


โดย: Stimpers IP: 124.120.125.194 วันที่: 19 ตุลาคม 2563 เวลา:21:21:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Belle Chen
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




* SME Entrepreneur of a jewelry business in USA
* Entrepreneurial and Lifestyle Writing Hobbyist
* Cheese, Chocolate, Coffee Enthusiast
Friends' blogs
[Add Belle Chen's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.