<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
1 กันยายน 2550

ไวยากรณ์ เรื่องส่วนประกอบของประโยค 2

Section two The Adverbial Adjuncts หน่วยขยายภาคแสดง

1. คำจำกัดความ
หน่วยขยายภาคแสดง เป็นคำหรือวลี (กลุ่มคำ) สำหรับขยายหรือจำกัดขอบเขตของภาคแสดงในประโยค คำที่ถูกขยายหรือถูกจำกัดขอบเขต เรียกว่าคำหลัก (中心词/中心语) หน่วยขยายภาคแสดง มีหน้าที่ใช้คำบอกเวลา บอกสถานที่ บอกขอบเขต บอกคู่กรณี บอกวัตถุประสงค์ บอกสถานภาพ บอกอาการ บอกระดับ ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ พรรณนาหรือจำกัดความคำหลัก

2. ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยขยายภาคแสดงกับคำหลักเป็นดังนี้
หน่วยขยายภาคแสดง + คำหลัก (ประธานหรือกรรม)

3. คำหรือกลุ่มคำ (วลี) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดงได้ มีดังนี้
3.1 คำกริยาวิเศษณ์ adverb 他很忙。
3.2 วลีบุพบท prepositional phrases 我在北京学习汉语。
3.3 คำกริยานุเคราะห์ auxiliary verbs 我要去中国。
3.4 คำนาม nouns 他明年毕业。
3.5 คำกริยา verbs 他称赞地说:“真不错。”
3.6 คำคุณศัพท์ adjective 快走。
3.7 คำสรรพนาม pronouns 这个字怎么念?
3.8 วลีประธาน-ภาคแสดง subject-predicate phrases 他态度温和地接待了我。
3.9 วลีคำขยาย-คำหลัก endocentric phrases 他非常热情地回答了我问题。
3.10 ตัวเลข-คำลักษณนาม numeral-measure phrases 我两天就看完了这本书。
3.11 วลีคำสันธาน coordinative phrases 他认真努力地学习汉语。
3.12 วลีคำบอกตำแหน่ง/ทิศทาง locality phrases 你们屋里坐吧。
3.13 วลีคำตายตัว set phrases 他目不转睛地看着我。

4. ข้อควรระวังในการใช้หน่วยขยายภาคแสดง
4.1 หน่วยขยายภาคแสดง ห้ามวางไว้หลังคำกริยา
我学习汉语在首都师范大学。
我在首都师范大学学习汉语。
อธิบาย ในภาษาไทยเราจะบอกว่า ฉันเรียนภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยครู แต่ในภาษาจีน จะแปลตรงตามตำแหน่งเช่นนั้นไม่ได้ ไวยากรณ์ภาษาจีน หน่วยขยายภาคแสดงต้องวางไว้หน้าคำกริยา (ส่วนขยายวางไว้หน้าส่วนที่ถูกขยาย) ดังตัวอย่างข้างต้น 在首都师范大学เป็นการนำโครงสร้างวลีบุพบทบอกสถานที่มาใช้เป็นหน่วยขยายภาคแสดง จึงต้องวางไว้หน้าภาคแสดงที่เป็นคำกริยา 学习

我说对她,我打算回国。
我对她说,我打算回国。
อธิบาย ในภาษาไทยเราจะบอกว่า ฉันบอกกับเขาว่า I said to her… แต่ในภาษาจีน จะแปลตรงตามตำแหน่งเช่นนั้นไม่ได้ ตัวอย่างข้างต้น 对她เป็นการนำโครงสร้างวลีบุพบทมาใช้เป็นหน่วยขยายภาคแสดงเพื่อขยายคำกริยา说 จึงต้องวางไว้หน้าคำกริยา

我起床今天早上7点。
我今天早上7点起床。
今天早上我7点起床的。
อธิบาย ในภาษาไทยเราจะบอกว่า ฉันตื่นนอนตอนเจ็ดโมงเช้า I got up at seven o’clock this morning แต่ในภาษาจีน จะแปลตรงตามตำแหน่งเช่นนั้นไม่ได้ ตัวอย่างข้างต้น今天早上7点เป็นการนำคำบอกเวลามาใช้เป็นหน่วยขยายภาคแสดงเพื่อขยายคำกริยา จึงต้องวางไว้หน้าคำกริยา起床 หรือวางไว้หน้าประธาน我ก็ได้ โดยในกรณีหลัง ต้องเติม的ไว้ท้ายประโยคเพื่อเน้นว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาในอดีต ที่ผ่านไปแล้ว

我每天都复习功课,我做这样,所以成绩很好。
我每天都复习功课,我这样做,所以成绩很好。
อธิบาย คำสรรพนามชี้เฉพาะที่ใช้แสดงวิธีการเช่น这样、那样 เมื่อนำมาใช้เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ควรวางไว้หน้าคำกริยา เช่น
他想这样。 我问那样。
他这样想。 我那样问。

玛丽学得很好,我应该学习从玛丽。
玛丽学得很好,我应该向玛丽学习。
อธิบาย ในภาษาไทยเราจะบอกว่า เรียนรู้จาก... learn from somebody คำว่าจากในที่นี่เมื่อใช้กับภาษาจีน ไม่ใช่从แต่เป็น向 นอกจากนี้ การลำดับคำในภาษาจีนก็เช่นกัน 向玛丽เป็นโครงสร้างคำบุพบท ใช้ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดงในประโยค ต้องวางไว้หน้าคำกริยา学习

我应该练习说汉语多。
我应该练习多说汉语。
อธิบาย ในภาษาไทยเราจะบอกว่า ฝึกพูดภาษาจีนมากๆ speak Chinese a lot จะแปลตรงตัวเป็นภาษาจีนเช่นนี้ไม่ได้ ในประโยคข้างต้น 多ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง มีหน้าที่ขยายคำกริยา说 ตามหลักไวยากรณ์จีน หน่วยขยายภาคแสดงต้องวางไว้หน้าคำหลักของภาคแสดง

这儿下雨很少,可是我的家乡下雨很多。
这儿很少下雨,可是我的家乡常常下雨。
อธิบาย ในภาษาไทยเราอาจจะบอกว่า ฝนตกน้อย ฝนตกมาก rain rarely/rain a lot แต่จะแปลตรงตัวเป็นภาษาจีนเช่นนี้ไม่ได้ ในภาษาจีน很少เป็นคำที่ใช้เน้นระดับของปริมาณว่าน้อยมาก มีหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ต้องวางไว้หน้าคำกริยา ส่วน很多เป็นวลีคุณศัพท์ adjectival phrases ใช้เป็นหน่วยขยายภาคแสดงไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนเป็นคำกริยาวิเศษณ์常常แทน

我过了春节高高兴兴在一个朋友家。
我在一个朋友家高高兴兴地过了春节。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 高高兴兴เป็นคำคุณศัพท์ซ้อนพยางค์ มีหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ใช้ขยายคำกริยา过 ต้องใส่คำช่วยโครงสร้าง地ไว้หน้าภาคแสดง นอกจากนี้ โครงสร้างวลีบุพบท在一个朋友家 เป็นคำกำหนดขอบเขตให้กับภาคแสดงทั้งหมดซึ่งได้แก่高高兴兴地过了春节 จึงต้องวางไว้หน้าภาคแสดง

4.2 หน่วยขยายภาคแสดง ห้ามวางไว้หน้าประธาน
常常我想我的家乡。
我常常想我的家乡。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น คำกริยาวิเศษณ์常常ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ต้องวางไว้หลัง我หน้า想 ในไวยากรณ์ภาษาจีน เมื่อใช้คำกริยาวิเศษณ์ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ตำแหน่งของมันต้องอยู่หลังประธาน หน้าภาคแสดง เช่น
我先走。 他马上来。 别抽烟了。

4.3 ไม่ใช้หน่วยขยายภาคแสดง ในกรณีที่ควรใช้
我们明天8 : 30出发长城。
我们明天8 : 30向长城出发。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 出发 เป็นอกรรมกริยา (intransitive verb不及物动词) จะมีกรรมอยู่ด้านหลังไม่ได้ จึงต้องเติม向ไว้หน้า长城 ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างวลีบุพบท แล้ววางไว้หน้าคำกริยา出发
我洗澡孩子。 我道歉他。
我给孩子洗澡。 我向他道歉。

4.4 ตำแหน่งของหน่วยขยายภาคแสดงกับคำกริยานุเคราะห์
我要一定学好汉语。
我一定要学好汉语。
อธิบาย เมื่อใช้คำบุพบท一定เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ต้องวางไว้หน้าคำกริยานุเคราะห์ ได้แก่ 一定 + คำกริยานุเคราะห์ + ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา
你得一定来。 他愿意一定参加。
你一定得来。 他一定愿意参加。

我常常应该复习学过的汉字。
我应该常常复习学过的汉字。
อธิบาย เมื่อใช้คำบุพบท常常เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ต้องวางไว้หลังคำกริยานุเคราะห์เช่น 要、想、应该 ได้แก่ คำกริยานุเคราะห์ +常常 + ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา

我跟我的朋友要一起去桂林旅游。
我要跟我的朋友一起去桂林旅游。
อธิบาย ในประโยคนี้ วลีบุพบท跟我的朋友一起ทำหน้าที่เป็นหน่วยขยายภาคแสดง ต้องวางไว้หลังคำกริยานุเคราะห์要 ได้แก่
คำกริยานุเคราะห์ +หน่วยขยายภาคแสดงที่เป็นวลีบุพบท + ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา
我给她应该写信。 他在家里想休息。
我应该给她写信。 他想在家里休息。

4.5 คำกริยาวิเศษณ์บอกความปฏิเสธ ห้ามวางไว้หลังหน่วยขยายภาคแสดง
我给她没买到那本书。
我没给她买到那本书。
อธิบาย ในประโยคนี้ วลีบุพบท给她เป็นหน่วยขยายภาคแสดง คำกริยาวิเศษณ์บอกความปฏิเสธ没/不ต้องวางไว้ข้างหน้า ได้แก่ 没/不+ วลีบุพบท + ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา
他跟我们一起没去。 我从图书馆没借书。
他没跟我们一起去。 我没从图书馆借书。

4.6 คำกริยาวิเศษณ์ที่เป็นคำตายตัว (固定搭配的副词Set adverbial phrases)
我和丽达都也去了。
我和丽达也都去了。
อธิบาย 也都 เป็นคำกริยาวิเศษณ์ตายตัว ที่มักใช้บ่อย โดย也ต้องวางไว้หน้าใน都ลำดับ คำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บ่อยอื่นๆ ยังมีอีกคือ 已经+不
我不已经记得了。
我已经不记得了。


Section three The Complements หน่วยเสริมภาคแสดง补语

1. คำจำกัดความ
คำอธิบายเพิ่มเติม ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำคุณศัพท์ เรียกว่าหน่วยเสริมภาคแสดง คำหรือวลีที่ได้รับการอธิบายเพิ่มเติมนั้น เรียกว่าคำหลัก中心词

2. ชนิดของหน่วยเสริมภาคแสดง
หน่วยเสริมภาคแสดงถูกแบ่งเป็นชนิดต่างๆ โดยจำแนกตามความหมายและโครงสร้างพิเศษ ได้ห้าชนิดดังนี้
หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ程度补语
หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์结果补语
หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน数量补语
หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง趋向补语
หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้可能补语 


1)หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ程度补语 complement of degree
1.1 คำจำกัดความ
คำอธิบายเพิ่มเติม ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำคุณศัพท์ เพื่ออธิบายเพิ่มเติมระดับหรือสถานภาพของการกระทำ degree or state of an action เรียกว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ

1.2 ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับกับคำหลักเป็นดังนี้
คำหลัก + 得+ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ
(คำช่วยโครงสร้าง得 แปลเป็นภาษาไทยจะตรงกับคำว่า ‘...จน…’ หรือ ‘...ได้…’)

1.3 คำหรือกลุ่มคำ (วลี) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับได้ มีดังนี้
1 คำคุณศัพท์ adjective 他学得好。
2 คำกริยาวิเศษณ์ adverb 我忙得很。
3 คำสรรพนาม pronoun 你考得怎么样。
4 วลีประธาน-ภาคแสดง subject-predicate phrases 我看得头疼。
5 วลีกริยา-กรรม verb-object phrases 他渴得喝了很多水。
6 วลีอธิบายเสริม complimentary phrases 我累得走不动了。
7 วลีคำสันธาน coordinative phrases 他长得又高又壮
8 วลีคำขยาย-คำหลัก-endocentric phrases 衣服洗得非常干净。
1.4 ข้อควรระวังในการใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ
๑ คำกริยาที่มีกรรมตาม ต้องกล่าวซ้ำ
我现在学汉语不太好,可是以后会学汉语很好。
我现在学汉语学得不太好,可是以后会学得很好。
我现在汉语学得不太好,可是以后会学得很好。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น คำว่า不太好และ很好 ต่างเป็นคำที่บ่งบอกระดับของการเรียน学 จึงต้องใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับในการอธิบาย
ในประโยคที่ใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับนั้น หากหลังคำกริยามีกรรมตาม ต้องซ้ำคำกริยา ใส่得ไว้หลังคำกริยาที่ซ้ำ แล้วจึงตามด้วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ ดังนี้
คำกริยา + กรรม + คำกริยาที่กล่าวซ้ำ + 得 + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ เช่น
唱歌唱得好。 看书看得快。
หากไม่ต้องการซ้ำคำกริยา ให้วางกรรมไว้หน้าคำกริยา ใส่得ไว้หลังคำกริยา แล้วจึงตามด้วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ ดังนี้ กรรม + คำกริยา + 得 + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ เช่น
歌唱得好。 书看得快。

๒ ขาดคำช่วยโครงสร้าง得
他跑那样快,我赶不上他。
他跑得那样快,我赶不上他。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 那样快เป็นคำบอกระดับของกริยาวิ่ง跑 นับเป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ ตามหลักไวยากรณ์ภาษาจีน ระหว่างภาคแสดงที่เป็นคำกริยา กับหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ ต้องคั่นกลางด้วยคำช่วยโครงสร้าง得 โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับเป็นดังนี้ ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา + 得 + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ
走很慢。 吃很多。
走得很慢。 吃得很多。

时间过了很快。
时间过得很快。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น ระหว่าง ระหว่างภาคแสดงที่เป็นคำกริยา过 กับหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ很快จะเป็นคำช่วยบอกสถานภาพของกริยา了ไม่ได้ ควรเป็นคำช่วยโครงสร้าง得

๓ คำกริยาวิเศษณ์บอกความปฏิเสธ不 ห้ามวางไว้หน้าคำช่วยโครงสร้าง得
有的饭馆儿的菜做得好吃,有的饭馆儿不做得好吃。
有的饭馆儿的菜做得好吃,有的饭馆儿做得不好吃。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น คำกริยาวิเศษณ์บอกความปฏิเสธ不ควงวางไว้หลังคำช่วยโครงสร้าง得 หน้าหน่วยเสริมภาคแสดง好吃 โครงสร้างในประโยคปฏิเสธ negative form of a sentence ของหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับได้แก่
ภาคแสดงที่เป็นกริยา + 得 + 不 + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ
不考得好。 不回答得对。
考得不好。 回答得不对。

๔ ใช้คำกริยาวิเศษณ์เกินความจำเป็น
她非常感动得说不出话来了。
她感动得说不出话来了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 感动เป็นคำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง 说不出话来เป็นหน่วยเสริม บอกระดับของคำว่า感动 ในไวยากรณ์ภาษาจีน ประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระดับ หน้าคำคุณศัพท์ที่เป็นภาคแสดงจะใช้คำกริยาวิเศษณ์บอกระดับเช่น非常、很、 ... อีกไม่ได้
我很累得走不动了。 天非常黑得很。
我累得走不动了。 天黑得很。



2)หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ 结果补语 complement of result
2.1 คำจำกัดความ
คำอธิบายเพิ่มเติม ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำกริยา เพื่ออธิบายเพิ่มเติมถึงผลของการกระทำ result of an action เรียกว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์

2.2 ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์กับคำหลักเป็นดังนี้
คำหลัก + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์

2.3 คำหรือกลุ่มคำ (วลี) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ได้ มีดังนี้
1 คำกริยา verb 我找到他了。
2 คำคุณศัพท์ adjective 他说得对。
3 วลีบุพบท pronoun 这列火车开往北京。

2.4 ข้อควรระวังในการใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์
๑ ไม่ใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ในกรณีที่ควรใช้
那些磁带别电视旁边放。
那些磁带别放在电视旁边。

别把那些磁带放在电视旁边。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น ไม่ใช้คำบอกผลลัพธ์在 เมื่อเราต้องการบอกว่า ผลของกระทำนำไปสู่สถานที่ใด ต้องอธิบายโดยใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ จากประโยคข้างต้น 电视旁边เป็นผล (หรือกรรม) จากกริยา放 จึงอยู่ร่วมกับคำบอกผลลัพธ์在 วางไว้หลังคำกริยา เพื่อบอกว่าผลของคำกริยานั้น นำไปสู่สถานที่ใด ประกอบกันเป็น放在电视旁边 โครงสร้างประโยคที่มีคำบอกผลลัพธ์และกรรมซึ่งเป็นสถานที่ได้แก่ คำกริยา + 在 + กรรมซึ่งเป็นสถานที่ locality object

昨天我在路上看了一个朋友。
昨天我在路上看见了一个朋友。
อธิบาย ในประโยคนี้ ไม่ได้ต้องการอธิบายคำกริยา看 แต่ต้องการเล่าว่า ประธาน我 ได้ผลลัพธ์อะไรผ่านคำกริยา看 ดังนั้นหลังคำว่า看จึงต้องเป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์见
他在楼下叫我,可是我没听。
他在楼下叫我,可是我没听见。

๒ ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา กับหน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ ไม่ควรแยกกัน
我还没翻译这些句子完。
我还没翻译完这些句子。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น完เป็นคำบอกผลลัพธ์ อธิบายถึงผลของคำกริยา翻译 ในไวยากรณ์ภาษาจีนกำหนดว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ต้องวางไว้ติดกับหลังหน่วยภาคแสดงที่เป็นคำกริยา ห้ามมีองค์ประกอบอื่นคั่นกลาง โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์ได้แก่ คำกริยา + หน่วยภาคแสดงบอกผลลัพธ์ + (了\ 过) + คำนาม
洗了衣服干净。 回答那个问题对。
洗干净了衣服。 回答对那个问题。

๓ ใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์เกินความจำเป็น
你说的话我都记住在脑子里了。
你说的话我都记住了。
你说的话我都记在脑子里了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 住และ在 ต่างก็เป็นเป็นคำบอกผลลัพธ์ของ记ทั้งสิ้น ในประโยคเดียวกัน ห้ามใช้คำบอกผลลัพธ์สองตัวพร้อมกัน
หมายเหตุ ในประโยคข้างต้นห้ามพูดว่า我都记住脑子里了เช่นกัน เนื่องจาก脑子里ไม่ได้เป็นกรรมของคำกริยา记 จึงไม่พูดว่า记脑子

3)หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน 数量补语 complement of quantity
3.1 คำจำกัดความ
คำหรือวลี ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำกริยา เพื่ออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนหรือความเปลี่ยนแปลงของการกระทำ เรียกว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน

3.2 หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนแบ่งเป็นสามชนิด
๑) หน่วยเสริมบอกจำนวนครั้งของกริยา动量补语 หมายถึงหน่วยเสริมเพื่อบอกจำนวนครั้งของกริยาหรือการกระทำ หน่วยเสริมบอกจำนวนครั้งของกริยาจะใช้คำนามที่บอกจำนวนกริยา动量词เป็นหลัก
ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งกริยากับคำหลักเป็นดังนี้ คำหลัก (ภาคแสดงที่เป็นกริยา)+ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งกริยา เช่น
去三次。 听两遍。
๒) หน่วยเสริมบอกระยะของช่วงเวลา หมายถึงคำบอกตัวเลขระยะเวลาของการเกิดกริยาหรือการกระทำ หน่วยเสริมบอกระยะเวลาจะใช้คำนามที่บอกลักษณะของคำสามานยนาม名量词เป็นหลัก
ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลาของกริยากับคำหลักเป็นดังนี้ คำหลัก (ภาคแสดงที่เป็นกริยา)+ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกตัวเลขระยะเวลา เช่น
说一个小时。 玩儿一天。
๓) หน่วยเสริมบอกจำนวนคำนามทั่วไป หมายถึงคำบอกมาตราส่วน ความสูงความกว้าง หน่วยเสริมบอกจำนวนคำนามทั่วไปจะใช้คำนามที่บอกลักษณะของคำสามานยนาม名量词เป็นหลัก
ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนคำนามทั่วไปกับคำหลักเป็นดังนี้ คำหลัก (ภาคแสดงที่เป็นกริยา)+ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งกริยา เช่น
小五岁。 高两米。


3.3 ข้อควรระวังในการใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน
๑ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน ห้ามวางไว้หน้าภาคแสดงที่เป็นคำกริยา
我三次去过长城。
我去过三次长城。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 三次เป็นวลีบอกจำนวนตัวเลข ที่แสดงจำนวนครั้งของกริยา ทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน ต้องวางไว้หลังภาคแสดงที่เป็นคำกริยา去และคำช่วยบอกสถานภาพ过 และวางไว้หน้าคำนาม长城
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนได้แก่ คำกริยา + (คำกริยานุเคราะห์) + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน + กรรมซึ่งเป็นคำนาม nominal object
两遍复习了课文。 三次吃过药。
复习(了)两遍课文。 吃(过)三次药。

来中国以前,我已经半年学习了汉语。
来中国以前,我已经学习了半年汉语。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 半年เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา แสดงให้เห็นว่าคำกริยา学习ได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเท่าใดแล้ว ในไวยากรณ์ภาษาจีน หน่วยเสริมบอกระยะเวลาประเภทนี้ ต้องวางไว้หลังคำกริยาและคำช่วย (了/过)
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลาได้แก่ คำกริยา + (คำกริยานุเคราะห์) + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา + (的) +กรรมซึ่งเป็นคำนาม nominal object
8个小时睡 (了) 觉。 1个钟头听 (了) 音乐。
睡 (了) 8个小时 (的) 觉。 听 (了) 1个钟头(的)音乐。

๒ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวน ห้ามวางไว้หน้ากรรมที่เป็นคำสรรพนาม
我找了三回她,都没找到。
我找了她三回,都没找到。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น บุรุษสรรพนาม她ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา找 ส่วน三回หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งของกริยา找 ในไวยากรณ์ภาษาจีน เมื่อในประโยคมีกรรมเป็นคำสรรพนาม หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งขอกริยา ต้องวางไว้หลังกรรมซึ่งเป็นคำสรรพนาม
โครงสร้างของประโยคที่มีกรรมเป็นคำสรรพนามและหน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งของกริยาได้แก่ คำกริยา + (คำกริยานุเคราะห์) + กรรมซึ่งเป็นคำสรรพนาม pronoun object + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกจำนวนครั้งของกริยา
看了一眼她。 打了一下他。
看了她一眼。 打了他一下。


๓ กรณีควรซ้ำคำกริยา
我已经在北京学汉语了三年。
我已经在北京学汉语学了三年。
我已经在北京学了三年汉语。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น คำกริยา学ตามด้วยกรรม汉语และหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา三年เมื่อมีกรรมอยู่ข้างหลังภาคแสดงที่เป็นคำกริยาและมีหน่วยเสริมบอกระยะเวลา โดยปกติต้องกล่าวซ้ำคำกริยา โดยให้วางหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา เอาไว้หลังคำกริยาที่กล่าวซ้ำ
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลาและกรรม ได้แก่ คำกริยา + กรรม + คำกริยาที่กล่าวซ้ำ + (คำช่วย) + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา
看电视了两个小时。 写作业了一个晚上。
看电视看了两个小时。 写作业写了一个晚上。
ขณะเดียวกัน จะไม่ใช้การกล่าวซ้ำคำกริยาก็ได้ แต่เปลี่ยนเป็นวางกรรมเอาไว้หลังหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา ได้แก่ คำกริยา + 了+ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา + (的) + กรรม
看了两个小时 (的) 电视。
写了一个晚上 (的)作业。


๔ กรณีไม่ควรซ้ำคำกริยา
我已经离开家离开一年了。
我已经离开家一年了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น คำกริยา离开 ข้างหลังแม้จะตามด้วยกรรม家และหน่วยเสริมภาคแสดงบอกระยะเวลา一年ดูเหมือนต้องกล่าวซ้ำคำกริยา แต่ที่ต้องระวังคือ离开ไม่เหมือนกับคำกริยาทั่วไป เนื่องจากคำกริยาที่มันแสดงถึงนั้น ไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ในกรณีเช่นนี้ คำกริยา离开 ไม่ต้องกล่าวซ้ำ
คำกริยาที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ离开 ยังมีอีกเช่น毕业、去 เป็นต้น
他毕业毕了三年了。 他去北京去了三天了
他毕业毕三年了。 他去北京去三天了

4)หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง 趋向补语 complement of direction
4.1 คำจำกัดความ
คำหรือวลี ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำกริยา เพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำนั้นๆ เรียกว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง

2.2 หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบ่งเป็นสองชนิด
๑) หน่วยเสริมบอกทิศทางแบบธรรมดา คือคำที่มีคำเสริมกริยา来、去、上、下、进、出、回、过 เป็นต้น
ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบธรรมดากับคำหลักเป็นดังนี้ คำหลัก + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบธรรมดา เช่น
走来。 开出。
๒) หน่วยเสริมบอกทิศทางแบบผสม คือคำเสริมกริยาที่นำ来、去、上、下、进、出、回、过 มาสมกัน กลายเป็น上来、下去、进去、出来เป็นต้น
ลำดับของตำแหน่งระหว่างหน่วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสมกับคำหลักเป็นดังนี้ คำหลัก + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสม1 + กรรมที่เป็นสถานที่ + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสม 2 เช่น
爬上山来。 走下楼去。

4.3 คำหรือกลุ่มคำ (วลี) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางได้ มีดังนี้
๑ คำกริยา verb 信已经寄走了、他上楼去了…
๒ วลีคำเสริม complement phrases汽车开过去了、雨下起来了…

4.4 ข้อควรระวังในการใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง
๑ กรรมที่เป็นสถานที่ ห้ามวางไว้หลังหน่วยเสริมบอกทิศทาง
她回去宿舍了。
她回宿舍去了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น หลังภาคแสดงที่เป็นคำกริยา回ตามด้วยคำเสริมบอกทิศทางแบบธรรมดา去 ดังนั้น กรรมที่บอกสถานที่宿舍 ควรวางไว้หลังกริยา หน้าคำเสริมบอกทิศทาง
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบธรรมดา ได้แก่ คำกริยา + กรรมที่เป็นสถานที่ + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบธรรมดา
回去家。 上来楼。
回家去。 上楼来。

我看见她走进去图书馆了。
我看见她走进图书馆去了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น หลังภาคแสดงที่เป็นคำกริยา走ตามด้วยคำเสริมบอกทิศทางแบบผสม进去 ขณะนี้กรรมที่บอกสถานที่图书馆 ต้องวางไว้คั่นกลางระหว่างคำเสริมบอกทิศทางแบบผสม (进图书馆去)
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสมและกรรมที่เป็นสถานที่ได้แก่ ภาคแสดงที่เป็นคำกริยา + คำเสริมบอกทิศทางแบบผสม1 + กรรมที่เป็นสถานที่ + คำเสริมบอกทิศทางแบบผสม2
我把书还回去图书馆了。 他爬上来山了。
我把书还回图书馆去了。 他爬上山来了。

๒ หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง ห้ามวางไว้หน้าคำกริยา
玛丽从中国到英国回了。
玛丽从中国回到英国了。
อธิบาย เมื่อต้องการบอกว่า ใครสักคน ไปถึงสถานที่ใดสักแห่ง ด้วยกริยาใดสักอย่าง ควรใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง ในประโยคข้างต้น到เป็นคำเสริมบอกทิศทางของ回 จึงต้องวางไว้หลังคำกริยา回

๓ หน่วยกรรม ห้ามวางไว้หลังหน่วยเสริมบอกทิศทางแบบผสม起来
刚才天气还很好,可现在突然下起来雨了。
刚才天气还很好,可现在突然下起雨来了。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น 起来เป็นคำเสริมบอกทิศทางแบบผสม เพื่อบอกว่ากริยา下เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ ในกรณีนี้ หน่วยกรรม雨ควรวางไว้คั่นกลางระหว่าง起กับ来
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสม起来และกรรมได้แก่ คำกริยา + 起+ กรรม + 来
看起来书。 跳起来舞。
看起书来。 跳起舞来。

๔ ประโยคที่มีหน่วยเสริมบอกทิศทางแบบผสม下去 ห้ามมีกรรม
虽然我遇到了很多困难,但是我还要学习汉语下去。
虽然我遇到了很多困难,但是汉语我还要学习下去。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น下去เป็นคำเสริมบอกทิศทางแบบผสม เพื่อบอกว่ากริยา学习ดำเนินต่อไป ในกรณีนี้ ภาคแสดงที่เป็นคำกริยาจะมีกรรมไม่ได้ หากจำเป็นต้องมีกรรม ต้องวางไว้หน้า หน่วยประธาน
โครงสร้างของประโยคที่มีหน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทางแบบผสม下去และกรรมได้แก่ กรรม + ประธาน + คำกริยา + 下去
我要读下去这本书。 你得做下去这项工作。
这本书我要读下去。 这项工作你得做下去。




5)หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้ 可能补语 complement of potentiality
5.1 คำจำกัดความ
คำหรือวลี ที่วางไว้หลังคำกริยาหรือภาคแสดงที่เป็นคำกริยาหรือคุณศัพท์ เพื่อบ่งบอกว่าในความคิดของผู้พูดหรือด้วยเงื่อนไขต่างๆ จะอนุญาตให้เกิดผลลัพธ์หรือเหตุการณ์ใดๆ ขึ้นหรือไม่ หรือการกระทำนี้จะทำให้ผลหรือเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เรียกว่า หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้

5.2 หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้มีสามรูปแบบ
๑) คำกริยา + 得/不 + หน่วยเสริมภาคแสดงบอกผลลัพธ์/หน่วยเสริมภาคแสดงบอกทิศทาง
เช่น 看得懂这本书。
听不清他的声音。
๒) คำกริยา + 得/不 + 了(liǎo)
เช่น 吃得了。 去不了。
๓) คำกริยา/คำคุณศัพท์ + 得/不得
เช่น 去得。 急不得。

5.3 คำหรือกลุ่มคำ (วลี) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้ มีดังนี้
๑) คำกริยา verb 他看得懂这本书。
我不开门了。
๒) คำคุณศัพท์ adjective 我看不清楚。
他回答得很正确。
๓) วลีคำเสริม complement phrases 他爬不上去了。
车开得进去。

5.4 ข้อควรระวังในการใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้
๑ ไม่ใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้ ในกรณีที่ควรใช้
刚来中国的时候,我还没听懂汉语。
刚来中国的时候,我还听不懂汉语。
อธิบาย ในประโยคข้างต้น สิ่งที่ประธาน我 ต้องการจะสื่อ คือผลที่เกิดจากอิทธิพลในความคิดของตนเอง นั่นคือ “ภาษาจีนของฉันไม่เก่ง” จึงทำให้ “听懂汉语” (ฟังภาษาจีนเป็น) เกิดขึ้นไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ควรบอกด้วยหน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้ รูปแบบการปฏิเสธคือการเติม不คั่นกลางระหว่างคำกริยา听กับคำเสริมบอกผลลัพธ์懂 ได้แก่ 听不懂
抽烟的害处不能说完。 屋子里不能坐下30人。
抽烟的害处说不完。 屋子里坐不下30人。

๒ ใช้หน่วยเสริมภาคแสดงบอกความเป็นไปได้ ผิดความหมาย
做不完作业,你出不去。
做不完作业,你不能出去。
อธิบาย ประโยคนี้ต้องการบอกสิ่งที่ “ควร” หรือ “ไม่ควร” กรณีนี้ไม่ควรเติมหน่วยเสริมภาคแสดง不去ไว้หลังกริยา出 แต่ควรสื่อความหมายโดยการใช้能/不能จึงจะถูกต้อง
应该讲礼貌,骂不了人。
应该讲礼貌,不能骂人。



Create Date : 01 กันยายน 2550
Last Update : 28 มกราคม 2551 13:41:43 น. 4 comments
Counter : 30683 Pageviews.  

 
นำไปอ่านและฝึกแต่งประโยค ขอบคุณค่ะ


โดย: Suwanee IP: 125.24.14.122 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:12:54:35 น.  

 
ขอบคุณคะ ได้เอาไปใช้ในการเรียนเยอะมากเลยคะ


โดย: ดีใจที่มีเว็บนี้ IP: 202.143.137.242 วันที่: 18 สิงหาคม 2551 เวลา:11:02:24 น.  

 
-*-อย่างนั้นแหละ


โดย: มึนดีนะ IP: 202.28.27.3 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:12:02:57 น.  

 
ขอบคุณเจ้าของบล็อกค่ะ อย่างสุดซึ้งเลย
จะสอบอ่านยังไงก็ไม่รู้เรื่อง โชคดีเจอเว็บนี้ค่ะ


โดย: เด็กน้อย IP: 124.122.67.20 วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:13:07:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

beer87
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




บทความแปลล่าสุด

"คุณเล่นบทมนุษย์ต่างดาวเป็นไหม"

ภาพของวานวานได้รับอนุญาต
จากเจ้าของลิขสิทธิ์ถูกต้อง

ปล.
บล้อก ของวานวานภาคไทย


บล้อก ของซานะภาคไทย


งานที่เพิ่งแปลเสร็จ


"สัญญารัก หิมะโปรย"
โดย TOMO














[Add beer87's blog to your web]