หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
 
ธันวาคม 2549
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
7 ธันวาคม 2549

ประวัติมวยไท่จี๋ตระกูลเฉิน ตอนที่3 (สายเสี่ยวเจี๊ยะ)

ตอนนี้เรามาว่าเรื่องทางสายเสี่ยวเจี๊ยะต่อดีกว่าครับ




- ผังไทจี๋ตระกูลเฉิน คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ -

ทางด้านอีกสายหนึ่งของตระกูลเฉิน คือท่านเฉินโหย่วเปิน
ท่านเฉินโหย่วเปิน ตระกูลเฉินรุ่นที่14 เช่นเดียวกับ
ท่านเฉินฉางซิน (เป็นญาติคนละพ่อคนละแม่กัน)
ลำดับสายตระกูลดังนี้ครับ

ย้อนกลับไปที่ท่านเฉินหวังถิง รุ่นที่ 9
มีลูกชายอีกคน ที่ไม่ใช่ท่านเฉิน หลู่ซินคือ

>>>รุ่นที่ 10 เฉินโส่วเล่อ



ท่านเฉินเจ้าเป่ยเล่าว่า
"ในช่วงราชวงศ์หมิงใกล้ล่มสลาย (1368-1644)
บ้านเมืองปั่นป่วยวุ่นวาย มีการปล้นฆ่ากันทั่วไป
มีเศรษฐี ในอำเภอเดียวกันกับ ตระกูลเฉินคนหนึ่ง
จากหมู่บ้าน ไป่ผิงโกว ชื่อ หวังจุนป้อ ร่ำรวยมาก
สมบัติของท่านหวัง เป็นที่หมายตาของโจรนับร้อยจากชานตง
หวังได้ยินข่าวนี้ จึงไปขอให้ท่านเฉินโส่วเล่อช่วย


ระหว่างทางที่ท่านหวังเดินทางไปหาท่านเฉินโส่วเล่อ
บังเอิญ พบบุตรชายสองคนของท่านก่อน
คนโต คือ ท่านเฉิน เซินลู่ คนรอง คือเฉินซุนลู่
ซึ่งมีฉายาว่า เทพฟ้าใหญ่ และ เทพฟ้ารอง



ทั้งสองรับอาสาจะช่วยเหลือ ทั้งคู่เป็นฝาแฝด อายุ16ปี
และมีฝีมือ ในทางหมัดมวย จึงเดินทางไปยังหมู่บ้าน
ไป่ผิงโกว กับ เศรษฐีหวัง
พวกเขาเตรียมแผนการรับมือ ทุกอย่างเรียบร้อย
คืนนั้นเอง เหล่าโจรก็บุกเข้ามา และถูกจัดการได้อย่างรวดเร็ว

ชาวบ้านในตำบลเวน ประทับใจกับการที่ หนุ่มทั้งสองฆ่าโจรมาก
ถึงกับ แต่งเป็นงิ้ว ชื่อเรื่อง "จอมยุทธ์คู่ปราบโจร"
ซึ่งมีการนำเอามาแสดงบ่อยๆ ในงานเทศกาลของหมู่บ้าน


ท่านเฉินโส่วเล่อ มีลูกชาย4คน คนหนึ่งในพี่น้องแฝดคือ

>>>รุ่นที่ 11 เฉินซุนลู่


มีลูกชายสามคน คนกลางคือ

>>>รุ่นที่ 12 เฉินจิงเป่ย





ท่านเฉินเจ้าเป่ยเล่าว่า
" ในช่วงรัชสมัยเจียชิง (1796-1821) ของราชวงศ์ชิง
ท่านเฉินจิงเป่ย ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือยอดเยี่ยม
ได้เดินทางไปกับขบวนคุ้มกันสินค้าในชานตงหลายปี
ตลอดระยะเวลานั้น ไม่เคยมีใครกล้าช่วงชิงสินค้า
ที่ท่านรับผิดชอบ ท่านได้รับฉายาว่า
"เก้ย ชานตง"หมายถึง ปราบทั่วชานตง"

วันหนึ่งขณะท่านเฉินจิงเป่ยย่างเข้าวัยกลางคน
ท่านกำลังข้ามถนน ก็เห็น มีนักมวยคนหนึ่ง
กำลังสาธิตวิชาดาบอยู่ ชายคนนั้นคือ หวังติงเต้า
เขาตั้งฉายาตัวเองว่า "เก้ย เก้ย ชานตง"
หมายถึง ผู้ปราบ ผู้ปราบทั่วชานตง
หวังติงเต้า ประกาศว่า ไม่มีใครจะแตะเขาได้
ระหว่างที่เขามีดาบอยู่ในมือ

ท่านเฉินจิงเป่ยได้ยินดังนั้น
จึงเดินฝ่าฝูงชน ถือตระกร้าเข้าไปใบหนึ่ง
พอไปถึงตัวหวัง ก็ครอบตะกร้าลงบนหัวหวังติงเต้าเสียเฉยๆ
ทุกคนในที่นั่นต่างพากันหัวเราะอย่างขบขัน
หวังติงเต้า โกรธมากแต่ก็รู้ว่า ตนเอง
ฝีมือไม่อาจเทียบกับอีกฝ่ายได้ จึงต้องข่มใจไว้
ฝึกฝนตัวเองรอวันที่จะแก้แค้น

หลายปีผ่านไป เมื่อเฉินจิงเป่ยอายุ 80 ปี
หวังติงเต้ากลับมาอีกครั้ง และท้าประลองกับท่านจิงเป่ย
ท่านจิงเป่ย พยายามจะไกล่เกลี่ยไม่อยากสู้ด้วย
แต่หวังติงเต้าไม่ยอม กล่าวว่า เขาจะจะมาสู้กับท่านพรุ่งนี้เช้า

กลางดึกคืนนั้น เฉินจิงเป่ยกับคนรับใช้
ลอบออกจากหมู่บ้านไป เพื่อหวังจะให้
หวังติงเต้า อารมณ์เย็นลงเสียก่อน

แต่หวังติงเต้ารู้ทัน จึงติดตามไปถึงวัดกวนอูในลั่วหยาง
หวังเห็นคนรับใช้ นั่งพักอยู่ด้านนอก ส่วนเฉินเจียงเป่ย
อยู่ภายใน จึงตรงเข้าไปในวัดแล้วล๊อกประตูจากด้านในเอาไว้
จากนั้นก็เริ่มจู่โจมเฉินเจียงเป่ยทันที
ท่านเฉินหลบหมัดของหวัง ซึ่งพลาดไปถูกป้ายหิน
ทันใดนั้น ท่านเฉินก็หัดศอกสวนกลับเข้าที่ซี่โครง
ของหวังติงเต้า หวังทรุดลงเลือดพุ่งออกมาจากปาก
และสิ้นใจตาย

การประลองครั้งนี้ทำให้ท่านเฉินผู้ชราเหนื่อยมาก
คนรับใช้ต้องประคองท่านกลับเฉินเจียโกว
ท่านเฉินจิงเป่ย เสียชีวิตในอีกไม่กี่วันต่อมา
ท่านได้รับการยกย่อง และเคารพนับถืออย่างกว้างขวาง
และ เป็นอจ.ของ เฉินซิงว่าน <<< ไม่รู้ว่าเป็นใคร..? หาชื่อไม่เจอครับ

ปล. ในสายเจ้าเป่า มีอาจารย์รุ่นที่ 4 ชื่อ
เฉินจิงเป่ย เป็นอจ.ชื่อดัง เช่นกัน

อายุ 82 ช่วงเวลาก็อาจจะอยู่ในรุ่นเดียวกับ
ท่านเฉินจิงเป่ยได้ จนมีความเป็นไปได้
ที่จะเป็นท่านเดียวกัน

หากเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่า เป็นหลักฐานอีกข้อ
ที่บ่งบอกว่ามีคนเรียนไทจี๋ ในตระกูลเฉิน
มาก่อนยุคท่านเฉินฉางซิน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่มีตอนนี้ ยังไม่สามารถยืนยันได้
ว่า อจ.เฉินจิงเป่ย ของทั้งสองสายเป็นคนเดียวกันหรือไม่

ท่านเฉินจีงเป่ย มีลูกชายสามคน คนหนึ่งคือ

>>>รุ่นที่ 13 เฉินกงเจ้า



ท่านเฉินกงเจ้า นั้นเป็นที่รู้จักกันว่าท่านมีฝีมือเยี่ยม
แถมยังมีคุณธรรมสูงส่ง
จักรรพรรดิ์เฉียนหลง ดำริจัดงานเลี้ยงในวัง
เพื่อเป็นเกียรติให้กับชายชราผู้มีคุณธรรมสูง
มีชายชรามากกว่า 1000 คนจากทั่วประเทศ
ได้รับการคัดเลือกให้ไปร่วมงาน
ท่านเฉินกงเจ้าเป็นหนึ่งในนั้น

พอท่านกลับมาเฉินเจียโกว ข้าหลวงของเหอหนาน
จัดงานฉลองให้ท่านอีก เพื่อแสดงความยินดีที่ได้รับเกียรติ
จากจักรพรรดิและ สร้างชื่อให้จังหวัด
ในงานมีการจุดดอกไม้ไฟกันอย่างยิ่งใหญ่
ปัญหาก็คือ ดันพิเรนทร์ไปจุดใกล้กับวัวกระทิง ทำเอาวัวตื่น..!

เจ้าวัวเลยวิ่งลุยไล่ขวิดเข้ามาในงานเลี้ยงด้วยความตกใจ
แขกเหรื่อวิ่งหนีเตลิด กรีดร้องกันวุ่นวาย
เห็นได้ชัดว่าเจ้าวัวโชคร้าย กำลังจะพุ่งเข้าเสียบ
พุงกะทิท่านข้าหลวงผู้โชคร้ายกว่า
ทันใดนั้น ชายชราอายุ 80 ก็กระโดดเผ่นโผนโจนทะยานข้ามโต๊ะ
พุ่งไปตีวัวตัวนั้นตาย ก่อนที่มันจะถึงตัวข้าหลวง
ทำเอาทุกคนทึ่งกันมาก

- -" ท่านอาจจะกลัวว่า ถ้าข้าหลวงตาย
ท่านจะต้องเป็นคนจ่ายค่าอาหารเองก็ได้
5 5 55 ล้อเล่นครับ ขออภัย

เรื่องนี้เป็นเรื่องดังมากในเมืองเวนเสี้ยน
ท่านเฉินกงเจ้า เป็นบิดา และ อจ. ของคู่แฝด
อีกคู่ ของตระกูลเฉิน ท่านเฉินโหย่วเปิน และ ท่านเฉินโหย่วเหิง

- คิดว่าคงเป็นกรรมพันธุ์ มีแฝดหลายคู่จริงๆในตระกูล
จากทางสายลูกหลาน ของ เทพฟ้าใหญ่ และ เทพฟ้ารอง


ท่านเฉินกงเจ้ามีบุตรสองคน คือท่าน

>>>รุ่นที่14 เฉินโหย่วเหิง ปู่ของท่านเฉินซิน

ท่านเฉินโหย่วเหิงอายุสั้น จมน้ำตายในทะเลสาป
ถงติงเมื่ออายุ เพียง 30
ลูกๆของท่านทั้งสอง ซึ่งเป็นฝาแฝด
คือท่านเฉินจี่เซิน และเฉินจงเซิน
ตอนแรกเรียนมวยจากท่านปู่คือท่านเฉินกงเจ้า
และบิดา ท่านโหย่วเหิงหลัง ท่านเสีย
จึงเรียนกับท่านโหย่วเปินต่อ

ส่วนทางด้านลูกชายอีกคน ของท่านเฉินกงเจ้า
ซึ่งเป็นอจ.ผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
ขอมวยไทจี๋ตระกูลเฉิน คือท่าน

>>>รุ่นที่14 เฉินโหย่วเปิน

ประวัติแบบทางการของสายตระกูลหลัก
กล่าวว่า ท่านได้ตัดท่ายาก อย่างการกระโดด และฟาจิ้งออกไป
รวมทั้งปรับท่ามวยให้เล็กแคบลง
กลายเป็นมวยชุดใหม่ ปัจจุบันรู้จักกันในนามเสี่ยวเจี๊ยะ

แต่ทางสายเสี่ยวเจี๊ยะ ของตระกูลเฉินเอง
เล่าต่างกันออกไป เรื่องทางสายเสี่ยวเจี๊ยะมีอยู่ว่า
ท่านเฉินเกิงหยุน ลูกชายของท่านเฉินฉางซิน
ต้องการจะติดตาม ท่านพ่อ ออกเดินทาง
ในการทำงาน เป็นผู้คุ้มกันสินค้า

ก็เลยขอให้ท่าเฉินโหย่วเปิน ช่วยสอนมวยหลักสูตรเร่งรัดให้
ท่านเฉินโหย่วเปิน จึงคัดเฉพาะ ส่วนที่เป็นหัวกะทิ ของมวยสิบสามท่า
แยกออกมาฝึกให้ ท่านเฉินเกิงหยุน
เพื่อจะได้ทันใช้งานในเวลาอันรวดเร็ว

ซึ่งภายหลัง มวยชุดใหม่นี้ เรียกกันว่า ต้าเจี๊ย
หรือ แบบใหญ่ ซึ่งถ่ายทอดกันมา
ในสายหลักของท่านเฉินฟาเคอ ท่านเฉินเจ้าเป่ย
และกลายมาเป็นเล่าเจี๊ยในปัจจุบัน
ส่วนของเดิม เรียกกันว่า เสี่ยวเจี๊ย หรือ แบบเล็ก

ต่อมา ศิษย์คนหนึ่งของท่านเฉินโหย่วเปิน
ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าเป็นลูกหลานใครในตระกูลเฉิน
แต่ทางตระกูลเฉินนับเป็น คนตระกูลเฉิน คือ

>>>รุ่นที่15 ท่านเฉินชิงผิง




ทางตระกูลเฉินกล่าววา ครอบครัวของท่านยากจน
จึงได้แต่งงานไปอยู่หมู่บ้านเจ้าเป่าใกล้กับเฉินเจียโกว
ท่านดัดแปลงเสี่ยวเจี๊ยะและสอนให้ชาวเจ้าเป่า
ต่อมา ศิษย์ของท่าน หลี่จิงเหยียน ได้คิดดัดแปลง
เป็น ฮูลี่เจี๊ยะ หรือไทจี๋แบบสายฟ้า หรือแบบฟ้าคำรนขึ้น

ท่านเฉินจื่อหมิง ลูกหลานตระกูลเฉินรุ่นที่18 ผู้เขียนหนังสือ
"The Art of Chen Family Taijiquan
Transmitted Through Generations"

ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1932 ได้เขียนไว้ว่า
"ท่านเฉินชิงผิง เป็นศิษย์ของทั้งท่านเฉินโหย่วเปิน และ ท่านจางเอี้ยน"
จางเอี้ยน นั้นเป็นอาจารย์สายเจ้าเป่ารุ่นที่ 6 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
มีมวยไทจี๋ในเจ้าเป่า มาก่อนที่ท่านเฉินชิงผิงจะไปสอน

ในบันทึกอื่นๆ กล่าวว่า เหยิน ฉางชุน อจ.ของท่านตู้เหวียนฮว่า
เป็นศิษย์ของท่านเฉิน จงเซิน ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเฉินโหย่วเปิน

ท่านเฉินซินยังกล่าวอีกว่า หลี่จิงเหยียน (ผู้คิดค้นไทจี๋สายฟ้าคำรน)
เรียนมวยจาก เฉินโหย่วหลุน และ เฉินจงเซิน
พอมาปนกับ ที่ท่านเฉินจื่อหมิงกล่าวว่า
ท่านหลี่เป็นศิษย์ท่านเฉินชิงผิง
ทางตระกูลเฉินเลยสรุปเสียเลยว่า
ท่านหลี่ เรียนจากเฉินเจียโกวก่อน
จึงไปเรียนกับท่านเฉินชิงผิงที่เจ้าเป่า

ซึ่งเรื่องของท่านเฉินชิงผิง
ขัดแย้งกับประวัติทางสายเจ้าเป่าอย่างมาก
เพื่อไม่ให้ตีกันมากไปกว่านี้ ผมจะยกไปกล่าวถึง
ตอนเขียนประวัติสายเจ้าเป่าแล้วกันครับ

กลับมาดูทางด้านลูกๆของท่านเฉินโหย่วเหิงนั่นคือ

>>>รุ่นที่ 15 ท่านเฉินจี่เซิน และ ท่านเฉินจงเซิน(1809-1871)
ผมขอเล่ารวมกันไปเลยนะครับ





ทั้งสองเป็นฝาแฝดอีกคู่ ของตระกูลเฉิน
ในยุคนั้น อจ.ไทจี๋ฉวนที่มีชื่อในเฉินเจียโกวมี 3ท่าน
คือ เฉินจี่เซิน เฉินจงเซิน และ ท่านเฉินเกิงหยุน

อจ.แฝดทั้งสอง เรียนมวยจาก ท่านปู่คือ ท่านเฉินกงเจ้า
ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ต่อมาเรียนจากพ่อ คือท่านโหย่วเหิง
พอท่านพ่อท่านจมน้ำตาย ก็เรียนจากท่านเฉินโหย่วเปินต่อ
ทั้งสองมีรูปร่างสูงใหญ่ สอบคัดเลือกของท้องถิ่น
ได้ขั้นบัณฑิตบู๊ กันทั้งสองคน ตั้งแต่อายุ 20

ในช่วงกบฏไท่ผิงเริ่มขึ้น ในจังหวัดกวนตง
ผู้นำกบฏคนหนึ่ง คือ หยางฟู่ชิง
มีฉายาว่า "ราชาหัวโต" ซึ่งมีฝีมือร้ายกาจมาก
กล่าวกันว่าสามารถถือปืนใหญ่ได้ทีละสองกระบอก
กองทัพกบฏ บุกนานจิง และแยกไปทางเหนือของแม้น้ำเหลือง
รัฐบาลชิงพ่ายแพ้ในการต่อสู้กับพวกกบฏ
ตัวแม่ทัพของรัฐบาลที่ส่งมา เผ่นหนีไป
ดังนั้นพวกชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านต้องช่วยเหลือตัวเอง

เรื่องนี้มีเขียนอยู่ในหนังสือของ อจ.Wu Wenhan อจ.สายอู่ ชื่อ
"The Complete Book of the Essence and Applications
of Wu (Yuxiang) style Taijiquan".

หนังสือบอกว่า มีเอกสารราชการสองฉบับ
ที่กล่าวถึงการป้องกัน อำเภอฮุ่ยชิง
(ซึ่งเฉินเจียโกวตั้งอยู่) ในการต่อต้าน กบฏไท่ผิงในปี 1853.

ฉบับหนึ่งเรียกว่า "บันทึกเหตุการณ์ กองทัพกบฏไท่ผิงโจมตีอำเภอฮุ่ยชิง" (Taiping Jun Gong Huaiqing Fu Shilu)เขียนโดย เถียน กุ้ยหลิน
ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบ การป้องกันเขตตะวันตกของเมือง ในอำเภอหุ้ยชิง

อีกฉบับคือ "บันทึกประจำวัน การป้องกันฮุยชิง" (Shou Huai Rizhi)
เขียนโดย อี้ จือจี้ (เป็นอาจารย์ในโรงเรียนรัฐบาลในฮุ่ยชิง)
ทั้งสองคนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับมวยไทจี๋
จึงค่อนข้างเชื่อถือได้

ในบันทึกของเถียน กล่าวไว้ว่า วันที่ 29 เดือน 5
ท่านหัวโต นำกองทัพข้ามแม่น้ำเหลืองมายัง
เวนเสี้ยน เหอหนาน ที่ซึ่งเฉินเจียโกวตั้งอยู่



ทางตระกูลเฉินเล่าว่า ทัพของพวกไท่ผิงใกล้เข้ามาทุกที
ชาวบ้านในเฉินเจียโกวจึงรวบรวมกำลังกัน
ต่อสู้เพื่อปกป้องพืชผลของหมู่บ้าน

คืนนั้นท่านเฉินจี่เซิน เฉินจงเซิน ทำพิธีบุชา เผากระดาษทอง
แล้วพันไว้ที่ปลายไม้ โบกพัดควันเพื่อขับไล่ปีศาจ
จากนั้นท่านและ ผู้นำตระกูลเฉินคนอื่นๆก็นำทัพชาวบ้านออกศึก

เฉินจี่เซิน และเฉินจงเซินนั้น เป็นนักขี่ม้าผู้ชำนาญ
เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น ท่านเฉินจี่เซิน เฉินจงเซินเผชิญหน้ากับ
หยางหัวโตในสนามรบ ทั้งหมดต่อสู้กัน
และท่านเฉินจี่เซิน และ เฉินจงเซิน ฉุดราชาหัวโต
ร่วงจากหลังม้า ด้วยการใช้เทคนิคของพลองเกาะติด
ดึงหยางฟู่ชิงตกลงมา
-- คงเพราะหัวโตเกินไป เป้าใหญ่ --

คนอื่นในทัพชาวบ้านเห็นว่าอะไรเกิดขึ้น
รีบตรงเข้ามาช่วย ใช้ดาบตัดหัว หยางฟู่ชิงได้สำเร็จ
เมื่อพวกบฏไร้หัวหน้า จึงแตกทัพหนีลงใต้ไป

- ตรงนี้มีข้อแตกต่างเล็กน้อย จากในบันทึกที่บอกว่า
หลังจาก หยางฟู่ชิงตาย พวกกบฏโกรธมาก
บุกไปถึงหมู่บ้านเจ้าเป่า และเผาทุกสิ่งทุกอย่าง
ตลอดรายทาง ตั้งแต่ เหอเน่ย และ หมู่บ้านรอบๆ เป่าเฟิง
ไม่มีทหารมาช่วยเหลือในพื้นที่นั้น
โชคดี ที่ท่านเฉินจงเซิน เฉินจี่เซิน และคนอื่นๆ หนีรอดมาได้

เรื่องนี้นับเป็นความชอบอันยิ่งใหญ่ จักรพรรดิให้รางวัล
เฉินจี่เซิน เฉินจงเซิน ด้วยการแต่งตั้งเป็นขุนนางขั้น4
แต่ท่านไม่สนใจจะรับราชการ ที่ทำไปเพราะต้องการ
ปกป้องหมู่บ้านเท่านั้น จักรพรรดิจึงส่งป้ายหินใหญ่
มายังเฉินเจียโกว เพื่อสลัก และประกาศวีรกรรม
ของท่านในวันนั้น นั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไมรูปของท่าน
จึงสวมชุดข้าราชการชิง



ท่านเฉินจงเซิน นั้นเป็นคนใจกว้าง
ทำงานเพื่อสังคม สง่างาม และเป็นสุภาพบุรุษ
นอกจากการที่ท่าน นำกำลังท้องถิ่นของเฉินเจียวโกว
ร่วมกับท่านเฉินเกิงหยุน และเฉินจี่เซิน
ในการต่อสู้กับพวกกบฏไท่ผิงจนได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่แล้ว
คนยังจดจำได้ว่าท่านใช้หอกเหล็ก ที่เรียกว่า
I-ping hu t'ieh tien kang-mao
เป็นหอกที่ปลายเป็นรูปคลื่นแบบงูเลื้อย
ซึ่งเป็นหอกแบบของเตียวหุยแห่งสามก๊ก
***นอกจากนั้น ยังมีบางกระแสกล่าวกันว่า
ท่านเป็นคนคิดค้น มวยชุด ซินเจี๊ยะขึ้นด้วย


หากประวัติของท่านจะดูดีไปหมด ก็ไม่ต้องแปลกใจ
เพราะท่าน เป็นบิดาของ ท่านเฉินซินนั่นเอง
5 5 5 5

ท่านเฉินจงเซิน มีบุตรชายสองคน คือ
ท่านเฉิน เหยา และ ท่านเฉินซิน
ลูกชายคนโตคือท่าน


>>>รุ่นที่16 เฉินเหยา



พี่ชายของท่านเฉินซิน เรียนมวยกับบิดา
ท่านเฉินจงซิน ท่านได้รับการบันทึกไว้ว่า
เป็นผู้มีฝีมือไทจี๋ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคยมีมา
พลังฝีมือของท่าน ถึงระดับที่คนส่วนใหญ่ได้แต่ฝัน
กล่าวกันว่า ท่านเฉินฟาเคอก็เคยเรียนมวยจากท่านด้วย
สมัยนั้น ยังไม่มีการแบ่งเป็น สายหลัก สายเล็กเหมือนเดี๋ยวนี้

ครั้งหนึ่ง ท่านเฉินเหยาจิบชาอยู่หน้าสถานีตำรวจ
ท่านมีปากเสียงกับคนกลุ่มใหญ่
พวกนั้นรุมร้ายท่าน แต่กลับถูกท่านทุ่มลงกับพื้น
หมดทั้งกลุ่ม

ท่านชอบไปประลองกับพวกการ์ดในเมืองบ่อยครั้ง
และ สามารถทุ่มคนพร้อมๆกันได้หกเจ็ดคน

กล่าวกันว่า พลังการฟังของท่านสูงมาก
ท่านสามารถเคลื่อนไหวผิวหนัง
ให้สะท้อนพลังกลับคืนสู่คู่ต่อสู้ได้

ท่านผ่านการสอบของท้องถิ่น
ได้เป็นบัณฑิตบู๊ ตั้งแต่อายุ 19 ฝึกมวยปีหนึ่งๆ
เป็นหมื่นๆรอบ จนมีฝีมือยอดเยี่ยมตั้งแต่อายุ20
ท่านเป็นคนรูปร่างเตี้ย ผอมบาง
คนมักไม่คิดว่าท่านมีฝีมือ
สุดท้ายท่านได้ตำแหน่งเป็นโส่วเป้ย
(เทียบเท่าผู้ปกครองเขต)

ลูกชายอีกคนของท่านเฉินจงซินคือ

>>>รุ่นที่16 ท่านเฉินซิน (1849-1929)



ท่านเฉินซิน เรียนมวยกับบิดาพร้อมกับพี่ชายตั้งแต่เด็ก
แต่อาจเพราะพี่ชายท่านมีพรสวรรค์มากกว่า
บิดาเลยให้ท่านเลิกเรียน ไปเรียนแต่หนังสือแทน
อย่างไรก็ตาม ทางเสี่ยวเจี๊ย กล่าวว่า เป็นเพราะ
ท่านเฉินซินมีสติปัญญาปราดเปรื่อง บิดาเลยให้เรียนหนังสือ

ดังนั้น แม้ท่านจะมีความเข้าใจ ในหลักการและวิธีการ
ของมวยไทจี๋เป็นอย่างดี จากการซักถามจากพี่ชาย
แต่เรื่องฝีมือแล้ว ท่านไม่อาจเทียบกับพี่ชายได้เลย

ภายหลัง พี่ชายท่าน เฉินเหยา มีตำแหน่งราชการ
ฐานะมีหน้ามีตา ขณะที่ท่านเป็นครูสอนหนังสือยากจน
ท่านจึงเขียนหนังสือขึ้น 4 เล่ม คือ
"Geneology of the Chen Family'(Chen Shi Jiacheng),
"Taijiquan Guide for Beginners"(Taijiquan Yinmeng Rulu)
"336 Boxing Manual"(San San Liu Quanpu)รวมทั้งเล่มที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ
"Illustrated Explanations of Chen Family Taijiquan"
(Chen Shi Taijiquan Tushuo)


ท่านใช้เวลาเขียนหนังสือเล่มนี้อยู่ถึง12ปี
แบ่งเป็นสี่บท มีอักษร 200000-300000 คำ
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่ง ในหนังสือ ที่ท่านเฉินซิน
ไม่ได้ตีพิมพ์ขณะที่ยังมีชีวิต



ท่านติดฝิ่นงอมแงม และยากจน รวมทั้งไร้ซึ่งทายาท
ตอนท่านอายุมาก ป่วยและใกล้ตาย จึงเรียกหลานชาย
เฉินชุนหยวนมาพบ และมอบ หนังสือ
"Illustrated Explanations of Chen Family Taijiquan"
ให้และกล่าวว่า

"นี่เป็นผลิตผลทั้งชีวิตของฉัน ตีพิมพ์มัน และมอบให้ผู้ที่เหมาะสม
หรือไม่ก็เผามันซะ เพื่อให้มั่นใจว่า มันจะไม่ตกไปอยู่ในมือ
ของคนที่ไม่รู้ค่า หรือ อวดดี"


เพราะความยากจน หลังจากท่านเฉินซินตายไป
ร่างของท่านจึงถูกเก็บไว้ในบ้าน นานหลายปีโดยไม่ได้ฝัง

เฉินชุนหยวนต้องการเงินเพื่อจะทำสุสานให้ท่านเฉินซิน
จึงไปขอให้เพื่อน คือ ตู้ อวี้เม่ย และ หลิว อิงเซียน
ช่วยตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้

ดังนั้น ท่านเฉินพ่านหลิงประธานวิทยาลัยศิลปะการต่อสู้เหอหนาน
หานจื่อปู้ ประธานหอเอกสารเหอหนาน
หวังจื่อหมิน และไป่อวี้เช็ง แห่งสำนักพิมพ์บ้านไคหมิง
กวน เป่ยอี้ ผู้อำนวยการ พิพิธภัณฑ์ เหอหนาน และ
จาง เจียเหมา ได้รวบรวมเงิน 200 หยวนเพื่อให้
สร้างสุสานให้ท่านเฉินซิน และภายหลังได้เพิ่มให้อีก
เป็น800 หยวน ต่อมาในปี 1933 หนังสือเล่มนี้
จึงได้ ตีพิมพ์ออกมา หนึ่งพันเล่ม



ดูบางส่วนของหนังสือได้ที่ลิงค์นี้ครับ
//www.martialtaichi.com/TaiChi%20Articles6-1.htm


ปล. ตอนนี้ลูกหลานทางสายเสี่ยวเจี๊ย
ยกย่องให้ท่านเฉินซินเป็นอจ.ใหญ่
แต่ข้อมูลจากหลายแหล่ง
รวมทั้งจากท่านอู๋ถูหนาน บอกว่าท่านไม่เป็นมวย
จากคำบอกเล่าของท่านเอง

ซึ่งก็เป็นไปได้สองทาง คือ
  • 1. ไม่เป็นมวยจริง แต่คนรุ่นต่อมายกย่อง
    2. เป็นมวย แต่ตอนท่านอู๋ถูหนานไปนั้น
    ท่านเฉินซิน เห็นเป็นคนทางปักกิ่ง เลยกลัวๆ
    บอกว่าไม่เป็นเอาไว้ก่อน


ส่วนตัว ผมคิดว่ามีแนวโน้มในทางไม่เป็นมวย
หรือ เคยเรียนมวยมาบ้าง แต่ไม่ได้ฝึกฝนจนเก่งกาจ
ตอนเขียนหนังสือ ท่านก็ใช้พื้นความรู้ไทจี๋ดั้งเดิม
ศึกษาตำราโบราณจนชำนาญ
ผนวก ความรู้ทางหนังสือ ...ปรัชญาจีน
รวมทั้งสอบถามความรู้เพิ่มเติมจากพี่ชาย
กลั่นกรองมาเป็นตำรา

>>>รุ่นที่ 17 ท่านเฉินเข่อจง 1908-1960



ท่านเป็นศิษย์ที่ติดตามท่านเฉินซินยาวนานที่สุด
ท่านต้องพบกับความยากลำบากจากพวกเรดการ์ด
ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ทำให้สุขภาพย่ำแย่
และตายด้วยโรคหัวใจ ท่านเป็นอาจารย์ของ
ท่านเฉิน ป้อเซียง รุ่นที่ 18

>>>รุ่นที่ 17 ท่านเฉินจื่อหมิง



เป็นศิษย์ท่านเฉินซินเช่นกัน ท่านเขียนหนังสือ
"Chen shi shi Quan Taijiquan Shu" ในปี1932
อ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ ภาษาจีน
//www.pachentaiji.com/index56.html



ท่านเดินทางไปทำการค้าที่มองโกลเลีย
ได้พบกับอจ.มวยมากมายและไม่เคยแพ้ใคร
ปัจจุบันยังมีอจ.สายท่านอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก

กลับมาทางทายาทท่านเฉินซินต่อ
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ท่านเฉินซินไม่มีลูก
เมื่อท่านอายุมากจึงรับเด็กหนุ่ม หลานชายซึ่งเป็นญาติ
ในตระกูลเฉินคนหนึ่งมาอยู่ด้วย เพื่อจะได้มีคนทำพิธีศพให้
คือท่าน เฉินชุนหยวน จึงนับเป็นทายาทใกล้ชิดท่านเฉินซินที่สุด

>>>รุ่นที่17 ท่านเฉินชุนหยวน มีลูกชายคนเดียวคือ

>>>รุ่นที่18 ท่านเฉินหงหลี่ ท่านมีลูกชายคน และลูกสาวอีกคนคือ

>>>รุ่นที่19 ท่านเฉินลี่เซียน 1922-1983



ภาพท่านเฉินลี่เซียน ผลักมือกับ ท่านเฉินลี่ชิง

- ลูกสาวของท่านเฉิงหงลี่ น้องสาวของท่านเฉินลี่เซียนคือ

>>>รุ่นที่19 เฉินลี่ชิงที่โด่งดัง



อจ.เฉินลี่ชิงเกิดในปี 1914 ที่เฉินเจียโกว
ท่านเรียนมวยกับ บิดา ท่านเฉินหงหลี่ และท่านปู่
คือท่านเฉินชุนหยวนพร้อมๆกับพี่ชายตั้งแต่เด็ก
ต่อมาท่านได้เรียนมวยยาว 108ท่า
จากอจ.เซียจุนเซ็ง ที่ซีอาน
ซึ่งได้รับมาจากท่าน เฉินเส้าลี่ซึ่งเป็นศิษย์ท่านเฉินฟาเคอ
มวยชุดนี้กล่าวกันว่า เป็นไท่จี๋ชุดดั้งเดิม ที่ท่านเฉินหวังถิงคิดขึ้น

ปล. แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าไม่ใช่
ความจริงแล้วเป็นถงเป่ยฉวนชุดหนึ่ง
ซึ่งคนแถบนั้นฝึกกันมาเป็นร้อยปีแล้ว

ท่านเป็นอจ.หญิงคนแรก ที่มีชื่ออยู่ในสายตระกูลเฉิน
โดดเด่นจากการใช้ดาบง้าว
ท่านเป็นผู้เผยแพร่สายเสี่ยวเจี๊ยะให้กว้างขวาง
ปัจจุบัน อจ.สายเสี่ยวเจี๊ยะล้วนเรียนมาจากท่าน
เกือบทั้งหมดรวมทั้ง อจ.เฉินเป่ยซานและ เฉินเป่ยจู
หลานชาย หลานสาว

กลับมาทางท่านเฉินลี่เซียน ท่านมีลูกชายคือ

>>>รุ่นที่20 อจ.เฉินเป่ยซาน



เกิดในปี 1962 ที่เฉินเจียโกว เรียนมวยจากพ่อ และอาหญิง
คือ อจ.เฉินลี่ชิง ท่านเชี่ยวชาญทุกวิชาของไทจี๋เฉิน
รวมทั้งอาวุธต่างๆซึ่งทางสายเสี่ยวเจี๊ยะมีเยอะเป็นพิเศษ
อย่างกระบี่ กระบี่สองมือ(กระบี่ยักษ์ถือด้วยสองมือ)
ดาบ พลอง หอกยาว กระบองคู่ ดาบง้าวใบไม้ร่วง
หอกหลิวฮัว และ ไป่หยวน กวน
ท่านสนใจในการค้นคว้าทฤษฎีไทจี๋เป็นพิเศษ
ในช่วงก่อนปี 1988 อจ.เฉินสอนไทจี๋ที่เหอหนาน แสะซานสี่
หลังจากนั้นท่านจึงเริ่มสอน ในญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา
ปัจจุบัน ท่านพักอยู่ที่โตเกียว

ปล. เคนจิก็เรียนเสี่ยวเจี๊ย มาจากสายท่านนี่แหละครับ
5 5 5

อจ.เฉินลี่เซียนยังมีลูกสาวอีกคนคือ

>>>รุ่นที่20 อจ.เฉินเป่ยจู



อจ.หญิงคนที่สอง ที่มีชื่ออยู่ในสายตระกูลเฉิน
อจ.เป่ยจู เรียนมวยจากบิดาตั้งแต่เล็ก
และต่อมาก็เรียนจากท่าน ท่านเฉินลี่ชิง
ท่านเป็นอจ.ตระกูลเฉินคนแรก ที่จบการศึกษาขั้นสูง
จากมหาวิทยาลัย อจ.เป่ยจูเป็นแชมป์ของประเทศจีน
สามสมัยประเภท เฉินไทจี๋ และกระบี่ไทจี๋
ปัจจุบัน ทำงานอยู่ที่ ศูนย์การบริหาร กังฟูประจำจังหวัดเหอหนาน

นอกจากนี้ ยังมีอจ.ดังๆอีกมากมาย
ทั้งที่เป็นคนตระกูลเฉิน แต่ไม่ใช่เป็นลูกหลานสายตรง
และ อจ.แซ่อื่น โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังใหม่ครับ

เฮ้อ...จบซะทีครับ ยาวสุดๆ
**************



Create Date : 07 ธันวาคม 2549
Last Update : 8 ธันวาคม 2549 9:34:25 น. 6 comments
Counter : 5069 Pageviews.  

 
อยากเล่นมวยเป็นมั่งอะ


โดย: joe IP: 125.24.138.235 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:21:15 น.  

 
เราอยากเล่นมวยให้เก่งๆจังเลย


โดย: อิอิ IP: 61.91.167.34 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:32:32 น.  

 


โดย: หุหุ IP: 61.91.167.34 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:36:30 น.  

 
อิอิ หุหุ 55+ เหอเหอ เหอะเหอะ เอิ้กเอิ้ก .



โดย: 55 IP: 61.91.167.34 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:38:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลของตระกูลเฉิน ขอคาราวะ 3 จอกจากใจ


โดย: เฉินเหม่ย IP: 203.156.94.13 วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:21:30:41 น.  

 
มาลองกะมวยไทย ดิ


โดย: อยาก เจอ IP: 182.52.25.95 วันที่: 11 กรกฎาคม 2556 เวลา:16:22:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]