สติปัฏฐาน ๔


  สติปัฏฐานมี ๔ ประการ


(๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน:  การใช้กายเป็นที่ตั้งของสติ ตามดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้

-  เจริญสติ ตามดูลมหายใจเข้าออกให้รู้เท่าทันระยะ

-  เจริญสติให้รู้เท่าทันอาการเคลื่อนไหวของกายในอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

-  ทำสัมปชัญญะให้รู้เท่าทันอาการเคลื่อนไหวของกายในทุกอณูของการเคลื่อนไหว

-  ตั้งสติพิจารณาให้เห็นอาการ ๓๒ ในกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก มันข้น มันเหลว ไขข้อ

-  ตั้งสติพิจารณากายให้เห็นความเป็นไปของธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่มาประชุมเป็นร่างกาย โดยให้แยกธาตุแล้วสำเหนียกว่า นี่คือธรรมดาของร่างกาย

-  เจริญอสุภกรรมฐาน พิจารณาสรีระที่ตายตั้งแต่ใหม่ๆ จนเหลือแต่กระดูกผุพัง แล้วน้อมเข้ามาพิจารณาในตนเองให้เห็นว่าเป็นไปอย่างเดียวกัน โดยสำเหนียกว่า นี่คือธรรมชาติของร่างกาย



(๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน:  การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา รู้เท่าทันเวทนาโดยมีสติกำกับ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้

“ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า?  ภิกษุในธรรมวินัยนี้...

-  เสวยสุขเวทนาก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา

-  เสวยทุกขเวทนาก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนา

-  เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา

-  เสวยสุขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนามีอามิส  หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส

-  เสวยทุกขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนามีอามิส  หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส

-  เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส  หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม...

-  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง

-  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง

-  พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง

สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก  ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เสมอ”

ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารกล่าวสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่ายว่า  “เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน” คือ การตั้งสติตามดูความรู้สึกของเวทนาทั้ง ๓ คือ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ให้รู้เท่าทันทุกอาการจนแจ่มแจ้งในใจ และเพียงตั้งสติไว้แค่รู้ระลึกว่ามีเวทนาเท่านั้น โดยไม่เข้าไปยึดติดถือมั่นต่อสิ่งที่พบ ประสบ สัมผัส เห็น ได้ยิน ในเวลานั้นๆ



(๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน:  การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต รู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิตโดยมีสติกำกับ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้

“ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?  ภิกษุในธรรมวินัยนี้...

-  จิตมีราคะก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ  หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ

-  จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ  หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ

-  จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ  หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ

-  จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่  หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน

-  จิตเป็นมหรคตก็รู้ชัดว่าจิตเป็นมหรคต  หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหรคต

-  จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า  หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

-  จิตเป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิ  หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ

-  จิตหลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น  หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม...

-  พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง

-  พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง

-  พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง

-  พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก  ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอ”



(๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน:  การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม รู้เท่าทันธรรมโดยมีสติกำกับ ตามสภาวะที่ปรากฏแก่ใจตามความเป็นจริง






Create Date : 30 ตุลาคม 2561
Last Update : 30 ตุลาคม 2561 13:51:17 น.
Counter : 636 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2219950
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อาจจะเป็นคนคิดต่าง ไม่ค่อยเหมือนใคร แต่ก็มีความจริงใจให้กับทุกคนที่เข้าหาเสมอนะ
ตุลาคม 2561

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
30 ตุลาคม 2561