Advanced and Caring
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 

กระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาทจะเป็นอัมพาตหรือไม่


เพราะว่าเดี๋ยวนี้เรากลายเป็นมนุษย์ทำงานกันมากขึ้น แต่ว่ากลับดูแลตัวเองน้อยลง เช่น ทั้งปล่อยให้น้ำหนักเกิน ทำงานก้มๆ เงยๆ นั่งหลังค่อม หรือนั่งขับรถวันละหลายชั่วโมง


พฤติกรรมเหล่านี้แหละก่อภัยเงียบทำให้กระดูกสันหลังของเราแย่ลงเรื่อยๆ ถ้าหากปล่อยปละละเลยจนเกิดอาการปวดร้าวจากการกดทับเส้นประสาท แขนขาอ่อนแรง จะทำให้ก่อมหันตภัย ร้ายแรงกับร่างกาย นั่นคือเดินไม่ได้


วิธีการรักษาให้หายขาดก็ต้องทำการผ่าตัด แต่หากผ่าตัดไม่ถูกวิธีจะยิ่งก่อผลร้ายไปใหญ่



นายแพทย์ทายาท บูรณกาล ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูก สันหลังกรุงเทพ บอกว่า ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลัง และยึดด้วยสกรูไททาเนียมเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยแพทย์ส่วนใหญ่จะใส่โดยใช้ความชำนาญ ให้เอียงเฉียงทำมุมตามการคาดคะเนจากกายวิภาคของกระดูกสันหลังภายนอก โดยคาดการณ์ว่าแนวของสกรูจะไม่ทำอันตรายต่อเส้นประสาทซึ่งอยู่ใกล้กันเพียงแค่ไม่กี่มิลลิเมตร


แต่ก็พบว่าปีหนึ่งๆ มีผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลายรายที่สกรูออกนอกแนวกระดูกที่ถูกต้อง เช่น สกรูอยู่ในตำแหน่งต่ำหรือสูงไป หรือสกรูเอียงมากไปเพียง 5-10 องศา ผลที่เกิดขึ้นคือ สกรูโลหะจะเบียดทิ่มเข้าไปในเนื้อเส้นประสาท


"สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวตาม เส้นประสาทรุนแรงมากขึ้น หรือร้ายแรงกว่านั้นคือมีการฉีกขาดของเส้นประสาททำให้อ่อนแรง หรืออัมพาตถาวร"


นั่นจึงทำให้แพทย์ต้องหาทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


วันนี้โรงพยาบาลกรุงเทพจึงได้นำเครื่องฉายรังสีแบบ 3 มิติ หรือ "โอ-อาร์ม" (O-Arm) และเครื่องนำวิถีโดยคอมพิวเตอร์ หรือ "สเตลท์" (Stealth) ซึ่งเป็นเครื่องแรกในประเทศไทยมาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังและโรคสมองให้แม่นยำยิ่งขึ้น



นายแพทย์พุทธิพร เธียรประสิทธิ ผู้อำนวยการอาวุโสสถาบันโรคกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โอ-อาร์มจะใช้บันทึกภาพข้อและกระดูกสันหลังผ่านทางรังสี X-ray หลังจากผู้ป่วยได้รับยาสลบแล้วจะถูกจัดท่าให้อยู่ในสภาพพร้อมจะผ่าตัดในห้องผ่าตัด ภาพที่ได้จะเป็นภาพที่ชัดเจน และแสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังในขณะที่ผ่าตัด ช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดแผลขนาดเล็กในการวางเครื่องตรึงกระดูกสันหลังได้ด้วยความแม่นยำสูงสุด


โอ-อาร์มจะใช้ร่วมกับสเตลท์เพื่อที่จะนำข้อมูลจากภาพ 3 มิติที่ได้มาช่วยศัลยแพทย์ในการประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงบริเวณที่จะต้องรับการผ่าตัดได้แม่นยำ และรวดเร็วโดยไม่ต้องเปิดผ่านแผลใหญ่


เครื่องนี้ทำให้ศัลยแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งเนื้องอกในสมอง หรือจุดต่างๆ ในกระดูกสันหลังได้โดยมีความแม่นยำมากถึงระดับเศษส่วนของมิลลิเมตร ทำให้สามารถวางโลหะช่วยเชื่อมกระดูกทำได้แม่นยำขึ้น


"ทั้ง 2 เครื่องนี้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างดี และยังสามารถใช้งานร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ผ่าตัดได้ ช่วยให้ศัลยแพทย์โรคกระดูกสันหลังและสมอง สามารถเพิ่มระดับความแม่นยำ และลดเวลาการผ่าตัดได้อย่างมาก"


นอกจากนี้ ยังลดขนาดของแผลเจ็บปวดน้อยลง เสียเลือดลดลง และคนไข้สามารถฟื้นฟูร่างกายหลังการผ่าตัดใหญ่ได้ในระยะเวลา 2-3 วันโดยไม่ต้องพักเป็นสัปดาห์เหมือนการผ่าตัดแบบธรรมดา


และยังเพิ่มความปลอดภัย เพราะสามารถลดการรับรังสี X-ray ในการผ่าตัดลงได้ถึง 2 ใน 3 ทำให้ผู้ป่วย และแพทย์กับผู้ป่วยผ่าตัดได้รับรังสีน้อยกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา ประโยชน์เหล่านี้ทำให้การผ่าตัดโรคข้อและกระดูกสันหลังก้าวหน้าได้เร็วขึ้น


แต่ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีมาช่วยให้การผ่าตัดรักษาโรค กระดูกสันหลัง จะมีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้นก็ตาม แต่หนทางรักษาที่ดีที่สุดนั่นคือการดูแล และการป้องกันร่างกายของ เราเองก่อน


ฉะนั้น การหมั่นตรวจเช็กสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงอิริยาบถที่เสี่ยงต่อกระดูกสันหลัง ย่อมจะเกิดผลดีกว่าต้องมาผ่าตัดอย่างแน่นอน


หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันจันทร์ที่ 19 - วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553




 

Create Date : 29 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 29 กรกฎาคม 2553 13:36:55 น.
Counter : 1232 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


bangkokhospital
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bangkokhospital's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.