บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2548
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ธันวาคม 2548
 
All Blogs
 
วิเคราะห์โลกด้วยภูมิปัญญาตะวันออก (3)






วิเคราะห์โลกด้วยภูมิปัญญาตะวันออก (3)

โดย ยุค ศรีอาริยะ 28 พฤศจิกายน 2548 17:55 น.


ประวัติศาสตร์แบบอนัตตา

นักศึกษาคนหนึ่งยกมือขึ้น ถามผมต่อว่า

"ผมเห็นด้วยว่า หลักหยาง-หยินของจีน สามารถอธิบายการเคลื่อนตัวของประวัติศาสตร์ได้ดี เช่นกัน แต่ผมก็ยังไม่เข้าใจว่า เราจะก้าวพ้นการอธิบายประวัติศาสตร์ด้วยมิติของสงครามไปได้อย่างไร"

ผมตอบว่า

"ใช่ ประวัติศาสตร์มีเรื่องราวของสงครามอยู่ และมีความสำคัญที่เราต้องศึกษาและเรียนรู้ ทั้งข้อดี และข้ออ่อน"

แต่การเรียนรู้แบบตะวันตก และวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ภาพยนตร์ เกมต่างๆ มักเน้นเรื่องของสงคราม และการใช้ความรุนแรง จนเกินไป

ผมยกตัวอย่างว่า

"ประวัติศาสตร์ไทย ถูกย่อภาพเหลือเพียงเรื่องสงครามเท่านั้น ความจริงแล้ว ประเทศไทยโบราณ มีช่วงแห่งสันติยาวนานมากกว่าช่วงแห่งสงครามหลายเท่านัก"

หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า

ไทยในสมัยโบราณมีฐานวัฒนธรรมแบบหยิน โดยมีการสร้างรัฐศาสนาขึ้น โดยนำเอาปรัชญาพุทธแบบของพระเจ้าอโศกมาใช้เป็นฐานในการดำเนินชีวิต

รัฐไทยจึงไม่ได้ดำรงอยู่ในฐานวัฒนธรรมแห่งสงคราม นานๆ ที จะมีสงครามสักครั้งหนึ่ง ซึ่งแตกต่างอย่างยิ่งกับชาวยุโรป

วัฒนธรรมแบบ Westernization ไม่เคยมองสงครามในมิติด้านลบ แต่มองในมิติด้านบวก เป็นหลัก จึงไม่เคยนำภาพความทุกข์ยากของผู้คนในยามสงครามมานำเสนอ ภาพเหล่านี้ถูกกลบด้วยภาพของวีรชนผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เสียสละชีวิตเพื่อสร้างชาติเป็นสำคัญ

จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ที่ชาวยุโรปทำสงครามรบพุ่ง ฆ่าฟันกันเอง นี่คือที่มาของมหาภารตะของชาวยุโรป ที่ชาวยุโรปทำสงครามฆ่ากันเอง จนในปัจจุบัน ชาวยุโรปเริ่มเห็นอันตรายของสงคราม และได้ก่อเกิดกระแสวัฒนธรรมต่อต้านสงครามขึ้นในยุโรป

แต่ที่แปลกคือ ระบบการศึกษาของไทยเรา ยังเดินตามวัฒนธรรมตะวันตกแบบเดิมๆ

และที่สำคัญ ในเมื่อศาสตร์ตะวันตกปัจจุบันถือว่า อารยธรรม หรือระบบวัฒนธรรม ก่อตัวขึ้น เมื่อเกิดนครรัฐ และอาณาจักรขนาดใหญ่เท่านั้นทำให้เรื่องประวัติศาสตร์เริ่มด้วยเรื่องราวของสงคราม

เพราะก่อนจะเกิดรัฐขนาดใหญ่ ต้องเกิดสงครามก่อน

"สงคราม" จึงกลายเป็นที่มาของประวัติศาสตร์ "อารยธรรม"

และนี่คือ ที่มาของการให้ความชอบธรรมแก่สงครามอีกแบบหนึ่ง

นักศึกษาอีกคนหนึ่งถามขึ้นว่า

"แล้วจะมีวิถีการอธิบายโลกแบบอื่นได้อีกหรือ"

ผมตอบว่า

"มี" และกล่าวต่อว่า

"ถ้าเราอธิบายประวัติศาสตร์ใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติ ไม่ใช่เริ่มที่กำเนิดอาณาจักรขนาดใหญ่ เราจะเห็นและเข้าใจประวัติศาสตร์อีกแง่หนึ่ง กล่าวคือ เราจะเห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์ และความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ"

พูดแบบสรุป เราจะเห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันว่า มนุษย์ ที่แท้มีแม่คนเดียวกันทั้งหมด แม่คนนี้ก็คือ ธรรมชาติ นั่นเอง

นี่คือ ประวัติศาสตร์แห่งอนัตตา

การเข้าใจประวัติศาสตร์แบบนี้ จะทำลายความเชื่อแบบตะวันตก ที่แยกสิ่งมีชีวิตออกจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต และการแบ่งศาสตร์ออกเป็น 2 สายคือ วิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

นักศึกษาท่านหนึ่งบอกว่า

"ผมไม่เข้าใจว่า การแยกโลกเป็นมีชีวิต ไม่มีชีวิต ผิดอย่างไร"

ผมตอบว่า

"คุณจะเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าลองสมมติว่า เราเดินไม่ได้ และดำเนินชีวิตคล้ายกับต้นไม้ต้นหนึ่ง"

เราจะพบภาพว่า ต้นไม้มีชีวิต และพัฒนาได้ เนื่องจากต้นไม้มีรากติดกับดิน และอาศัยการบริโภคอาหารจากดิน และน้ำ

ที่สำคัญ ต้นไม้อาศัยแสงแดดในการสังเคราะห์อาหาร

ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีแสงแดด ไม่มีชีวิตของต้นไม้

ดังนั้น "ชีวิต" กับ "ไม่มีชีวิต" คือสิ่งเดียวกันที่แยกออกจากกันไม่ได้

ถ้าเราเข้าใจเรื่องต้นไม้แล้ว ลองมองย้อนกลับมาที่ตัวเรา และถามตัวเองว่า ชีวิตเราแยกออกจากธรรมชาติได้จริงๆ หรือ

อาหารที่เรากิน อากาศที่เราหายใจ ล้วนคือสิ่งไร้ชีวิตที่หล่อเลี้ยงชีวิต

ดังนั้น ความเชื่อตะวันตกที่ว่า มนุษย์ต้องเอาชนะธรรมชาติ และโลกที่แบ่งเป็นชีวิต และไร้ชีวิตคือ อวิชชาใหญ่

พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ทุกสิ่งในธรรมชาติ ไม่ว่า "มี" หรือ "ไม่มี" ชีวิต ประกอบประสานกัน และเอื้ออาทรต่อกัน

การดำรงอยู่ของทุกอย่างคือ เงื่อนไขของกันและกัน

นี่คือ หลักอิทัปปัจจยตา ที่ถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา

ที่สำคัญ การดำรงอยู่ของแต่ละสิ่งนั้น ไม่มีตัวตน (ที่เป็นอิสระ) ที่แยกได้เป็นชิ้น เป็นส่วน หรือ ทุกอย่างประกอบกันเป็นหนึ่งเดียว

นี่คือ หลักอนัตตา ของพุทธ

ผมเคยกล่าวไว้ว่า ที่จริงแล้วมนุษย์มีแม่ 2 คนนะ

แม่คนแรกคือ แม่ผู้ให้กำเนิด เวลาเราเกิด เราจะเกิดในครรภ์ของแม่คนนี้ ในครรภ์ของแม่ก็จะมีอาหาร อากาศ และสิ่งที่เอื้ออำนวยทุกอย่างให้เราเติบโต แต่พอเราโตพ้นออกมาจากครรภ์แม่ แต่เรายังมีแม่อีกคนหนึ่งคือ ธรรมชาติ ธรรมชาติทั้งหมดไม่ต่างจากครรภ์ของมารดา ที่ให้อาหาร ให้อากาศ และเอื้ออาทรต่อชีวิตเล็กๆ ของเรา ให้เราดำรงอยู่ เติบโต และพัฒนา

ศาสตร์ตะวันตก มองธรรมชาติว่า "ไร้ชีวิต" "ไม่มีค่า" หรือมีค่าเพียงเพื่อสนองความต้องการของเราเท่านั้น

ศาสตร์แบบตะวันออก สอนให้เรารัก"แม่" ธรรมชาติ ดูแลธรรมชาติ เพราะเธอคือแม่ของเรา และรักเพื่อนมนุษย์ เพราะทุกคน ไม่ว่าผิวสีอะไร มีกำเนิดที่ไหน ก็ล้วนแต่เป็นพี่น้องกัน

วัฏสงสารแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

นักศึกษาคนหนึ่งถาม

"ผมเข้าใจเรื่อง ประวัติศาสตร์แบบอนัตตา และแบบอัตตาแล้ว แต่ผมยังไม่เข้าใจว่า ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์แบบอนัตตา แล้วจะอธิบายกฎของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างไร"

ผมตอบว่า

"ถ้ามนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ สังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นก็เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ก็น่าจะเป็นกฎของชีวิต และสังคมในเวลาเดียวกันด้วย"

เต๋าสอนว่า ฐานแห่งธรรม คือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างหยินกับหยาง และการพลิกไปผันมาระหว่างหยินกับหยาง (ซึ่งผมกล่าวถึงแล้วในช่วงต้น)

นี่คือ กฎพื้นฐานของพัฒนาการ

แต่ยังมีแนวคิดตะวันออก ที่ช่วยอธิบายพัฒนาการประวัติศาสตร์อารยธรรมแต่ละแห่ง อีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เช่นกัน

โดยบังเอิญ ที่โต๊ะนั่งสอนหนังสือ มีแจกัน และดอกไม้ปักอยู่

ผมจึงหยิบดอกไม้ขึ้นมา และถามว่า

"อะไร คือ กฎแห่งดอกไม้"

นักศึกษาช่วยกันตอบ แต่ตอบได้ไม่ได้ตรงนัก

ผมก็ตอบว่า

นี่คือ กฎแห่งวัฏสังสาร มีช่วงเกิด ช่วงขยายตัว ช่วงแก่ และช่วงตาย

กฎนี้ คือ กฎโบราณมาก

ชีวิตเราทุกคนก็อยู่ในกฎนี้ มีใครเล่าที่ก้าวพ้นได้

แต่กฎนี้ก็ไม่ตายตัวว่า จะต้องก้าวไปตามจังหวะ เสมอไป บางคนพอเกิดมาลืมตามองโลก ก็ตาย พระท่านเรียกว่า อนิจจัง

หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง "อนิจจัง" คือความไม่สามารถดำรงอยู่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง และมีสภาวะพลิกผันเกินคาดเกิดขึ้นได้เสมอ

ระบบอารยธรรมของมนุษย์แต่ละชุดที่ก่อเกิดขึ้นในแต่ละแห่ง ก็ไม่ต่างจากดอกไม้ เคลื่อนไปแบบมีจังหวะ (หรือ เวลา) มีช่วงเกิด ช่วงขยายตัว ช่วงรุ่งเรืองเต็มที่ ช่วงวิกฤต และช่วงตาย

นี่คือ การเข้าใจระบบอารยธรรมผ่านมิติของเวลา

ศาสตร์ตะวันออกโบราณจะให้ความสำคัญของมิติเวลามาก อย่างเช่น จะทำอะไร ก่อนอื่นต้องรู้ว่า ควรจะทำสิ่งนั้นเมื่อใด ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จ และความล้มเหลว

นอกจากนี้ ศาสตร์ตะวันออกจะให้ความสำคัญเรื่องของตำแหน่งแห่งที่ ความอุดมของพื้นที่ และขนาด (Space) ราวกับว่า ทั้งมิติของเวลาและสถานที่เป็นมิติที่เกี่ยวเนื่องและแยกออกจากกันไม่ได้

ตัวอย่างเช่น

แหล่งที่จะกำเนิดอารยธรรมขนาดใหญ่ได้ต้องมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอย่างยิ่ง อย่างเช่นตามแหล่งลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่

ยุคสมัยประวัติศาสตร์จะแปรเปลี่ยนไปตามขนาดพื้นที่ ช่วงเกิดก่อ-ขนาดก็จะเล็ก ช่วงขยายตัว-ขนาดก็จะเริ่มขยายใหญ่ ช่วงรุ่งเรือง-ขนาดก็จะใหญ่ที่สุด พอช่วงวิกฤต-ขนาดก็จะหดตัวลง และช่วงตาย-ขนาดก็จะเล็กลงไปอีก

ประวัติศาสตร์อารยธรรมที่ผ่านมาพอแยกได้เป็น 3 ระดับ

ระดับแรกคือ ระดับชุมชน และชนเผ่า

ระดับที่สองคือ ระดับอาณาจักร (ศาสนา และการเมืองโบราณ)

ระดับที่สามคือ ระดับระบบโลก (ทุนนิยม และสังคมนิยม)

ระบบอารยธรรมที่ก่อตัวขึ้นก็มีความสลับซับซ้อน ขึ้นต่อขนาดของสังคม ยิ่งสังคมมีพื้นที่ของขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะมีระบบที่ซับซ้อนมากขึ้น

อารยธรรมขนาดใหญ่ก็จะมีโครงสร้างทางชนชั้น และระบบการปกครองที่ซับซ้อนเกิดขึ้น

ในเวลาเดียวกัน ทุกระบบที่เกิดขึ้น จะคล้ายกับภาพดอกไม้ มีศูนย์กลางของระบบ และส่วนรอบนอกเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นก็จะมีความแตกต่างหลากหลายกันทางวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมในแต่ละจุดแม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ทำให้มีความหลากหลาย ที่เป็นตัวของตัวเอง

นี่คือ การมองโลกผ่านมิติของตำแหน่งแห่งที่ และขนาด (หรือ Space)

กล่าวแบบสรุป นี่คือ การใช้มิติของเวลาและสถานที่มาวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ ที่สำคัญคือ

ในแต่ละช่วงเวลา (เกิด ขยายตัว แก่ และตาย) ก็จะมีเหตุปัจจัยหลากหลายประกอบกันที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไป อย่างเช่น

ในช่วงเกิด ก็จะมีปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการเกิดของสิ่งนั้น

ช่วงขยายตัว ก็จะมีปัจจัยดันให้ระบบวัฒนธรรมขยายตัวไปทุกๆ ด้าน

พอถึงช่วงแก่ ก็จะมีปัจจัยมากมายที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การถดถอย หรือ หดตัว

พอถึงช่วงตาย ก็จะเป็นช่วงที่พลิกผันใหญ่ หรือเรียกว่า ช่วงเปลี่ยนผ่าน การตายก็คือการเกิดใหม่

แนวคิดนี้มาจากหลัก อิทัปปัจจยตา ของพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าการเปลี่ยนแปลงต้องประกอบด้วยเหตุปัจจัยมากมายประสานกัน

กล่าวอย่างสรุปคือ

เราสามารถอธิบายพัฒนาการทางสังคม 3 ระดับ

ระดับแรก คือ การมองพัฒนาการในภาพรวม โดยใช้หลักหยิน และหยางที่พลิกผันไปมา

ระดับที่สอง คือ การอธิบายพัฒนาการในแต่ละประเทศ และระดับระบบโลกผ่านวัฏจักร (เกิด ขยายตัว แก่ และตาย)

ระดับที่สาม คือ อธิบายผ่านมิติความสลับซับซ้อนของระบบ ซึ่งมีทั้งทางด้านราบ คือระบบอารยธรรม ทุกระบบมักจะมีศูนย์กลางของระบบ และส่วนรอบนอกเป็นชั้นๆ

นอกจากนี้ ทางด้าน (สูงต่ำ) ระบบก็จะมีโครงสร้าง และผลประโยชน์ทางชนชั้น รวมทั้งการเกิดขึ้นของระบบการปกครองซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของระบบ

ในระดับที่สามนี้ ผมคิดว่า ฐานคิดและฐานวิเคราะห์ของตะวันตกน่าจะมีประโยชน์ และจะช่วยการวิเคราะห์ได้ (ยังมีต่อ)

==============================

พบกับบทความ "จิตสำนึกแห่งทางเลือกในยุคทักษิณครองเมือง" เขียนโดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย ในกลุ่มบล็อกปรัชญาการเมืองได้เลยนะครับ






Create Date : 01 ธันวาคม 2548
Last Update : 1 ธันวาคม 2548 11:57:07 น. 6 comments
Counter : 696 Pageviews.

 


ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ

รออ่านต่ออยู่นะคะ


โดย: มัชฌิมา วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:10:15:19 น.  

 
จบประวัติศาสตร์มาก็นานแล้ว แต่ระบบแนวคิดแบบนี้ เพิ่งเคยเจอค่ะ....แล้วจะแวะมาอ่านเรื่อยๆ ค่ะ

ขออนุญาตแอดบล็อกนะคะ


โดย: ju (กระจ้อน ) วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:11:04:28 น.  

 
วันนี้กำลังมึนตัวเลขเลยค่ะ
ยังไม่ได้เนื้อเรื่อง แต่ภาพรู้สึกจะมีเหมือนกันนะคะวันนี้ ^^



...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:11:52:35 น.  

 
ก็เรียนภาษารัสเซียแหละค่ะ


โดย: rebel วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:12:57:52 น.  

 
มาอ่านต่อค่ะ


โดย: Batgirl 2001 วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:13:58:48 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและมาอ่านค่ะ


โดย: ป้ามด วันที่: 1 ธันวาคม 2548 เวลา:15:27:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.