บ้านที่มีความรักและความอบอุ่นคือจินตนาการของคนไทยยามนี้ !
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
Timorization : มองเขา-คิดถึงเรา






วันนี้นำบทความของอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุขที่เขียนลงใน นสพ.รายสัปดาห์มติชนมาลงให้อ่านกันเกี่ยวกับปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

แนะนำผู้เขียน : อาจารย์สุรชาติ บำรุงสุขเป็นคนเดือนตุลาอีกคนหนึ่ง ปัจจุบันสอนอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารและอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่าง ๆ




Timorization :มองเขา-คิดถึงเรา!

โดย ดร. สุรชาติ บำรุงสุข

"ถ้ารบด้วยวิธีการรับทางยุทธศาสตร์นั้น โดยทั่วไปมักจะเลี่ยงการรบแบบแตกหักที่เสียเปรียบก่อน จนเมื่ออยู่ในสภาพที่ได้เปรียบแล้ว จึงเริ่มแสวงหาการรบแตกหัก"

ประธานเหมา เจ๋อ ตุง กล่าวอ้างถึงคำสอน

ของนักการทหารต่างประเทศ

ธันวาคม 1936



มองเปรียบเทียบ

การต่อสู้เรียกร้องเอกราชเพื่อก่อตั้งประเทศใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เดิมนั้นจะมีอยู่ 3 กรณีที่สำคัญได้แก่ การเรียกร้องเอกราชของชนมุสลิมในมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ การต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวติมอร์ตะวันออก และการจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของชาวอาเจะห์ประเทศอินโดนีเซีย

จากกรณีทั้งสาม จะเห็นได้ว่ามีเพียงกรณีของชาวติมอร์ตะวันออกเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประเทศติมอร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศล่าสุดในอาเซียน ส่วนในอีกสองกรณีคือ การต่อสู้ในมินดาเนาและในอาเจะห์นั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ดังนั้น หากพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อสร้างสิ่งที่วงการวิชาการเรียกว่า comparative perspectives หรือ "ทัศนะเชิงเปรียบเทียบ" แล้ว ก็น่าสนใจที่จะนำเอากรณีทั้งสามในข้างต้นมาพิจารณาคู่ขนานกับปัญหาการต่อสู้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แม้จะมีเพียงกรณีของติมอร์ตะวันออกเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องเอกราช แต่ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว (หรือยังไม่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน) ก็น่าจะมีส่วนทำให้เกิดข้อพิจารณาเชิงเปรียบเทียบ เพราะจะคิดง่ายๆ ว่า ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะเฉพาะ จนไม่เหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นไม่ได้

เพราะการมีทัศนคติในลักษณะเช่นนั้น จะทำให้การมองปัญหาของผู้คนในรัฐและสังคมไทย ติดกับอยู่ในความเป็น "ลักษณะเฉพาะ" จนมองไม่เห็นการคลี่คลายและความเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบ

นอกจากนี้ การขาดทัศนะเชิงเปรียบเทียบ จะทำให้เราขาดการมีสำนึกต่อปรากฏการณ์ในลักษณะของบทเรียนที่ต้องรับรู้ (และเรียนรู้ด้วย) หรือที่ภาษาอังกฤษในทางทหารชอบใช้คือ "lessons learned" กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การขาดทัศนะดังกล่าว จะทำให้สิ่งที่ควรจะรับรู้ในความเป็นบทเรียนนั้น กลายเป็น "บทลืม" (หรือผู้เขียนอยากจะเรียกว่าเป็น "iessons unlearned") ที่ถูกปล่อยให้ผ่านเลยไปกับการเดินทางของเวลา และจนวันหนึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถขยายตัว จนกลายเป็น "วิกฤตแห่งชาติ" ได้โดยง่าย เช่นที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศอื่น

ดังปัญหาติมอร์ในกรณีของอินโดนีเซีย ที่ขบวนการเรียกร้องเอกราช ซึ่งมีกำลังพลอันไม่อาจเปรียบเทียบได้กับความเข้มแข็งทั้งปริมาณและคุณภาพของกองทัพอินโดนีเซียเลย แต่ทำไมพวกเขาจึงสามารถประสบความสำเร็จในการต่อสู้ดัง "แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์" จนนำไปสู่การก่อตั้งประเทศติมอร์ได้

การพิจารณาเปรียบเทียบเช่นนี้อย่างน้อยที่สุด ก็เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การสร้าง "องค์ความรู้" ในการแก้ปัญหา และเพื่อให้ตระหนักว่าอะไรคือสิ่งที่กำลังเดินทางมารอรัฐและสังคมไทยอยู่ข้างหน้า



Timor Model

สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในโปรตุเกสในเดือนเมษายน 1974 ทำให้อำนาจของรัฐบาลโปรตุเกสในการปกครองดินแดนในอาณานิคมของตนต้องอ่อนแอลง และผลจากการนี้ นำไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มต่างๆ ในติมอร์ตะวันออก จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองขนาดย่อมขึ้น และพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายคือพรรคเฟติลิน (FRETILIN) ได้ใช้ในโอกาสนี้ประกาศเอกราชในเดือนพฤศจิกายน 1975

รัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการประกาศเอกราช ก็ตัดสินใจส่งกำลังเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกในวันที่ 7 ธันวาคม 1975 และประกาศการผนวกดินแดนส่วนนี้เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศในวันที่ 14 สิงหาคม 1976 ซึ่งส่งผลให้ขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชทั้งหลาย หันไปสู่การทำสงครามกองโจรในชนบทต่อสู้กับการยึดครองของกองทัพอินโดนีเซียในเวลาต่อมา

สงครามกลางเมืองในติมอร์ตะวันออกดำเนินไปอย่างรุนแรง และจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่สำคัญก็คือ การยกระดับของปัญหาการต่อสู้นี้ให้เข้าสู่เวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวทีของสหประชาชาติ ประกอบกับขบวนการต่อสู้มีลักษณะที่ชัดเจนทั้งในแง่ขององค์กรและผู้นำ ไม่ได้อยู่ในสถานะของการเป็นองค์กรปิด ที่ไม่รู้ว่าใครคือผู้นำ หรือขบวนการใดเป็นองค์กรนำ

แต่การเคลื่อนไหวก็ไม่สามารถขยายวงกว้างได้ในเวทีสากล เพราะปัญหานี้ผูกพันอยู่กับเงื่อนไขของสงครามเย็น ที่สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก ยังคงให้ความสนับสนุนรัฐบาลทหาร เพราะยุทธศาสตร์ถูกวางน้ำหนักไว้กับการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ภายในอินโดนีเซีย

แต่ความสำเร็จที่สำคัญก็คือ เมื่ออินโดนีเซียต้องประสบกับปัญหาทางวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 ทำให้ฐานะของรัฐบาลทหารต้องอ่อนลงอย่างมาก จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือภาพสะท้อนถึงการเปลี่ยนท่าทีของรัฐบาลตะวันตกต่ออินโดนีเซียด้วย

กล่าวคือ รัฐบาลตะวันตกที่เคยสนับสนุนรัฐบาลทหารให้สู้กับคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น ได้หันไปสนับสนุนกลุ่มประชาธิปไตย และต้องการเห็นการเมืองอินโดนีเซียเป็น "การเมืองเปิด" ในยุคหลังสงครามเย็น (สงครามเย็นยุติในเวทีระหว่างประเทศในปี 1989/1990)

ในอีกด้านหนึ่ง การหันไปสนับสนุนให้เกิดขบวนการประชาธิปไตยเช่นนี้ ทำให้ตะวันตกหันไปสนับสนุนการให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งภาพเหล่านี้ถูกนำไปสร้าง "ภาพลบ" ของรัฐบาลอินโดนีเซียในเวทีสากลจนรัฐบาลอินโดนีเซียตกเป็น "จำเลย" อย่างหนักและไม่อาจแก้ตัวได้เท่าใดนัก

ตัวแบบของความสำเร็จจากกรณีติมอร์ตะวันออก ซึ่งอาจจะเรียกว่า "Timor Model" ชี้ให้เห็นว่าความสำเร็จของการต่อสู้ไม่ใช่เรื่องของการใช้กำลังอาวุธ เพราะดังได้กล่าวแล้วว่านักรบกองโจรในติมอร์ตะวันออกเทียบไม่ได้เลยกับกองทัพอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยุทโธปกรณ์ หรือขีดความสามารถในการรบก็ตาม

แต่สิ่งที่ขบวนการเรียกร้องเอกราชมีความเหนือกว่ารัฐบาลอินโดนีเซียก็คือ การใช้การเคลื่อนไหวในเวทีระหว่างประเทศเป็นดั่ง "อำนาจกำลังรบทวีคูณ" โดยใช้กิจกรรมที่ในภาษาความมั่นคงร่วมสมัยเรียกว่า "ปฏิบัติการสารสนเทศ" กระทำกับรัฐบาล และทั้งยังอาศัยการเคลื่อนไหวและการสนับสนุนจากกลุ่ม NGOs ระหว่างประเทศ เช่น

การใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนที่เกิดจากการปฏิบัติการอย่างสุดโต่งของทหารบางหน่วย หรือจุดอ่อนจากความเชื่อของบางคนที่มองว่า การใช้มาตรการรุนแรงจะช่วยทำให้นักรบกองโจรเกิดความกลัว หรือในขณะเดียวกันก็เป็นการบอกแก่ประชาชนให้ยุติการให้ความร่วมมือกับกลุ่มกองโจร

ผลในความเป็นจริงดูจะแตกต่างจากความคาดหวังดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง การกระทำด้วยมาตรการตอบโต้เช่นนี้ ทำให้ประชาชนยิ่งออกห่างจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ชาวบ้านในพื้นที่มองว่า ทหารอินโดนีเซียเป็นภัยคุกคามมากกว่าบรรดานักรบกองโจร ซึ่งหากพิจารณาย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ของสงครามการก่อความไม่สงบแล้ว สิ่งที่เป็นมาตรการ "ไม้แข็ง" ที่รัฐบาลอินโดนีเซียใช้ในติมอร์ตะวันออก ก็ไม่แตกต่างกับสิ่งที่กองทัพฝรั่งเศสเคยใช้ปฏิบัติการในแอลจีเรีย หรือโครงการฟีนิกซ์ของหน่วยข่าวกรองสหรัฐอเมริกาที่ใช้ในเวียดนามใต้มาแล้ว

ผลด้านกลับของปฏิบัติการในลักษณะเช่นนี้ทำให้ประชาชนในพื้นที่มองว่า รัฐเป็นศัตรูของพวกเขาไปโดยปริยาย เพราะรัฐเองก็มักจะอ่อนด้อยในการตอบโต้การโฆษณาทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม และยิ่งฝ่ายตรงข้ามสามารถยกระดับของปัญหาให้ขึ้นสู่เวทีนานาชาติ ด้วยการโฆษณาที่มุ่งเน้นประเด็นในเรื่องของการปราบปราม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียก็ยิ่งเป็น "ผู้ร้าย" ในสายตาของประชาคมระหว่างประเทศ

จนแม้คำชี้แจงของรัฐบาลก็จะถูกต่อต้านว่าเป็นเพียง "การแก้ตัว" เท่านั้นเอง



บทสรุป

ดังนั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่า "ตัวแบบติมอร์" ใช้การเคลื่อนไหวทางการทหารเป็นจุดเปิด และไม่ต่างอะไรกับการล่อให้รัฐบาลอินโดนีเซียใช้กำลังทหารที่เหนือกว่าเข้าปราบปราม เพราะจิตวิทยาความมั่นคงของรัฐทั้งหลายนั้น ไม่แตกต่างกัน ที่จะต้องตอบโต้กับปัญหาความรุนแรงที่คุกคามรัฐด้วย ความรุนแรงที่มากกว่า โดยหวังว่าจะสยบปัญหาเช่นนี้ได้ในเบื้องต้น เพราะข้าศึกเป็นเพียงกองโจรที่ไม่ได้มีจำนวนอะไรมากนักโดยไม่ได้ตระหนักว่าสงครามการทหารในพื้นที่เป็นเพียงการเปิด "เวทีสงครามการเมือง" เพื่อยืนยันให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นถึงการต่อสู้ของขบวนการทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสงครามกลางเมืองนี้

ในอีกด้านหนึ่งสงครามการทหารนี้ เปิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้รับชัยชนะในการยุทธ์ หากแต่เป็นการเริ่มต้นเปิดตัวเพื่อการปลุกระดมทางการเมืองในหมู่ประชาชนต่างหาก ซึ่งก็ไม่ต่างกับบทเรียนของสงครามประชาชนในเวทีอื่นๆ ที่ระยะเวลาของสงครามจรยุทธ์ คือเงื่อนไขในมิติของเวลาที่ใช้เพื่อปลุกระดมให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ

นอกจากนี้ สงครามกลางเมืองในติมอร์ตะวันออกยังมีมิติของศาสนาและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะติมอร์ตะวันออกส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ อันเป็นผลจากการเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส ในขณะที่สังคมอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และทั้งยังรวมถึงความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์อีกด้วย ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ได้เป็นปัจจัยอย่างดีสำหรับขบวนการเรียกร้องเอกราช ที่จะใช้ในการสร้างความรู้สึกชาตินิยม และการต่อต้านรัฐบาลกลาง

ดังนั้น เมื่อระยะเวลาทอดนานไปหลังจากการเปิด "สงครามการทหาร" ภายในติมอร์ตะวันออก จนสามารถยกระดับของปัญหาขึ้นสู่เวทีสากล ก็เปิด "สงครามการทูต" ในประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลต้องพ่ายแพ้ในเวทีการสงครามที่สำคัญที่สุดก็คือ การแพ้ใน "สงครามการเมือง" ซึ่งในท้ายที่สุดก็คือ การตัดสินใจของประชาชนอันเป็นผลมาจากการคิดคำนวณของรัฐบาลจาการ์ตา (หรือถูกบังคับให้ตัดสินใจ) ลงประชามติ

ฉะนั้น บทเรียนอันสำคัญที่ "ตัวแบบติมอร์" บอกแก่เราก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ปัญหาการต่อสู้ภายในถูกยกระดับขึ้นสู่สากล และถูกบังคับให้ต้องลงประชามติแล้ว รัฐบาลกลางจะเป็นผู้แพ้อย่างแน่นอน

การต่อสู้ในแนวทางเช่นนี้ ก็คือแบบแผนการต่อสู้ที่เรียกได้ว่าเป็น "กระบวนการทำให้เป็นติมอร์" หรือ "Timorization" และก็ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่กำลังถูกทำให้เกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยด้วย!

=================================













Create Date : 26 ตุลาคม 2548
Last Update : 26 ตุลาคม 2548 14:09:14 น. 11 comments
Counter : 486 Pageviews.

 
รูปสวยดีอะ


โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:13:08:01 น.  

 
รูปทะเลที่ไหนคะ สวยดีค่ะ


โดย: Black Tulip วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:13:25:37 น.  

 
Good article, khrab.
just come to say hello, from Hochiminh, khrab.


โดย: กุมภีน วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:13:32:40 น.  

 
ขอบคุณสำหรับ บทความดีๆนะครับ ว่างๆจะแวะมาเยี่ยมอีกครับ


โดย: ฉี่เฉี่ยวถัง วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:13:36:58 น.  

 
ทะเลสวยค่ะ

ขอบคุณที่ไปอวยพรนะคะ


โดย: rebel วันที่: 26 ตุลาคม 2548 เวลา:20:28:26 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าค่ะ ^^



...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:7:36:28 น.  

 
ไม่ค่อยสบายเหรอคะ
พักผ่อนเยอะๆ นะคะ
หายาสามัญกินด้วยก็ดีค่ะ

หายเร็วๆ นะคะ ^^...


โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie ) วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:8:38:27 น.  

 
^
^
พี่คนเดินดินก็ไม่สบายเหรอคะ
หายเร็วๆนะคะ


โดย: rebel วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:9:52:33 น.  

 
จขบ ไม่สบายไปแล้วเหรอคะ
พักผ่อนเยอะๆละกันค่ะ จะได้หายไวๆ
จุ๊บก็พยายามนอนเยอะๆอยู่เหมือนกัน
เมื่อเช้าเลยตื่นสายอีกแล้วค่ะ

ข้อความวันนี้ ยังไม่ได้อ่านเลย เดี๋ยวค่ำๆมาอ่านใหม่ค่ะ


โดย: Black Tulip วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:10:45:57 น.  

 
นอกจากนี้ การขาดทัศนะเชิงเปรียบเทียบ จะทำให้เราขาดการมีสำนึกต่อปรากฏการณ์ในลักษณะของบทเรียนที่ต้องรับรู้ (และเรียนรู้ด้วย) หรือที่ภาษาอังกฤษในทางทหารชอบใช้คือ "lessons learned"

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การขาดทัศนะดังกล่าว จะทำให้สิ่งที่ควรจะรับรู้ในความเป็นบทเรียนนั้น กลายเป็น "บทลืม" (หรือผู้เขียนอยากจะเรียกว่าเป็น "iessons unlearned") ที่ถูกปล่อยให้ผ่านเลยไปกับการเดินทางของเวลา และจนวันหนึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถขยายตัว จนกลายเป็น "วิกฤตแห่งชาติ" ได้โดยง่าย เช่นที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศอื่น


มาตามหา การเพิ่ม จิตสำนึก ที่ว่า ค่ะ


โดย: ประกายดาว วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:10:46:56 น.  

 
สวัสดีครับคุณอินทรีทองคำ

ขอบคุณครับ

-----------------------------------------

สวัสดีครับคุณจุ๊บ

รูปนี้ไปจิ๊กมาจากเวบพันทาวใกล้ ๆ นี่แหละของพวกชมรมถ่ายภาพครับ อาการหวัดตอนนี้ก็เริ่มมึนและทานยาแล้วครับคงต้องรอสักสองวันคงหายครับ

-----------------------------------------------------------

สวัสดีครับคุณกุมภีน

ขอบคุณครับ รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

----------------------------------------------------

สวัสดีครับคุณฉี่เฉี่ยวถัง

ขอบคุณที่ยังคงติดตามต่อเนื่องครับ

-----------------------------------------------

สวัสดีครับคุณแข

เมื่อวานเพิ่งขำคุณ วันนี้กรรมตามสนองครับเริ่มมีอาการมาสองวันแล้ว แต่บอกกับตัวเองว่าต้องหาย แต่วันนี้ต้องอาศัยยาแล้วครับ

--------------------------------------------

สวัสดีครับคุณโบว์

ขอบคุณที่ห่วงใย และทานยาแล้วครับ กลัวจะทรุดหนักเลยทานดีกว่า ปกติไม่ค่อยไปหาหมอครับ ชอบรักษาด้วยตัวเอง คงจะโดนฝนด้วยในช่วงนี้ครับ

-------------------------------------------

สวัสดีครับคุณประการดาว

เรืองที่จะเพิ่มจิตสำนึกอย่างไร ถ้าหากทิศทางการแก้ปัญหายังเป็นแบบตาบอดคลำช้างและยังเถียงกันไม่จบอยู่อย่างนี้ก็คงต้องทำใจแล้วละครับ

-----------------------------------------------------


โดย: คนเดินดินฯ วันที่: 27 ตุลาคม 2548 เวลา:12:22:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนเดินดินฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]








ปณิธาน

การเดินทางของชีวิตของทุกผู้คน
ทุกคนต่างต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่จะมีสักกี่คนที่จะก้าวไปถึง
เมื่อเราก้าวถึงจุดนั้น
ขออย่าลืมการแบ่งปันและเจือจาน
แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เราจะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ดีงาม

เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง
ได้ใช้ชีวิตของเขา
ตามศักยภาพและความตั้งใจของเขา
ตราบเท่าที่เขาต้องการ







เดินไปสู่ความใฝ่ฝัน


ชีวิตหนึ่งร่วงหล่นไปตามกาลเวลา
คลื่นลูกใหม่ไล่หลังคลื่นลูกเก่า
นั่นคือวัฏจักรของชีวิตที่ดำเนินไป

เยาว์เธอรู้บ้างไหม
ว่าประชาราษฎรนั้นทุกข์ยากเพียงใด
เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เหลืออยู่
เธอเคยมีความใฝ่ฝันที่แสนงามบ้างไหม

สักวันฉันหวังว่าเธอจะเดินไปตามทางสายนี้
ที่อาจดูเงียบเหงาและโดดเดี่ยว
แต่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน
ฉันก็ยังมีความหวัง
ว่าผู้คนในประเทศนี้
จะตื่นขึ้นมา
เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขา
ที่ถูกย่ำยีมาช้านาน
และฉันหวังว่าเธอจะเดินเคียงคู่ไปกับพวกเขา

เพื่อสานความใฝ่ฝันนั้นให้เป็นความจริง
สัญญาได้ไหม
สัญญาได้ไหม
เยาว์ที่รักของฉัน


***********



ขอมีเพียงเธอเป็นกำลังใจ




ทอดสายตามองออกไปยังทิวทัศน์ข้างหน้า
แลเห็นต้นหญ้าโบกไสว
เห็นดอกซากุระบานอยู่เต็มดอย
ความงามที่อยู่ข้างหน้า
เป็นสิ่งที่ฉันจะเก็บมันไว้
ยามที่จิตใจอ่อนล้า...

ชีวิตยามนี้แม้ผ่านมาหลายโมงยาม
แต่จิตใจข้างในยังคงดูหงอยเหงา
หลายครั้งอยากมีเพื่อนคุย
หลายครั้งอยากมีคนปรับทุกข์
และหลายครั้งต้องนั่งร้องไห้คนเดียว

รางวัลสำหรับชีวิตที่ผ่านมา
มันคืออะไรเคยถามตัวเองบ่อย ๆ
ความสำเร็จ...เงินตรา...เกียรติยศชื่อเสียง
มันใช่สิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า
ถึงจุดหนึ่งชีวิตต้องการอะไรอีกมากไปกว่านี้

หลายชีวิตยังคงดิ้นรนต่อสู้
เพื่อปากท้องและครอบครัว
มันเป็นความจริงของชีวิตมนุษย์
ที่ต้องดำรงชีพเพื่อความอยู่รอด
มีทั้งพ่ายแพ้ มีทั้งชนะ
แต่ชีวิตต่างต้องดำเนินไป
ตามวิถีทางของแต่ละคน

ลืมความทุกข์ ลืมความหลังที่เจ็บปวด
มองออกไปข้างหน้า
ค้นให้พบตัวตนของตนเองอีกครั้ง
แล้วกลับไปสู้ใหม่
การเริ่มต้นของชีวิตจะต้องดำเนินต่อไป
จะต้องดำเนินต่อไป

ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต....




@@@@@@@@@@@




การเดินทางของความรัก

...ฉันเดินไปด้วยหัวใจที่ว่างเปล่า
สมองได้คิดใคร่ครวญ
ความรักในหลายครั้งที่ผ่านมา
ทำไมจึงจบลงอย่างรวดเร็ว

ฉันเดินไปด้วยสมองอันปลอดโปร่ง
ความรักทำให้ฉันเข้าใจโลก
และมนุษย์มากขึ้น
และรู้ว่าความแตกต่าง
ระหว่างความรักกับความหลงเป็นอย่างไร?

ฉันเดินไปด้วยดวงตาที่มุ่งมั่น
บทเรียนของรักในครั้งที่ผ่าน ๆ มา
มันย้ำเตือนอยู่เสมอว่า
อย่ารีบร้อนที่จะรัก
แต่จงปล่อยให้ความสัมพันธ์
ค่อย ๆ พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เรียนรู้และทำเข้าใจกันให้มากที่สุด

ก่อนที่จะเริ่มบทต่อไปของความรัก...




*******************



จุดไฟแห่งศรัทธาและความมุ่งมั่น

เข้มแข็งกับอ่อนแอ
สับสนหรือมุ่งมั่น
จะยอมแพ้หรือลุกขึ้นท้าทาย
กับชีวตที่เหลืออยู่
ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่ใจเราจะกำหนด

ไม่ใช่เพราะอิสระเสรี
ที่เราต้องการหรอกหรือ?
ที่มันจะนำทางชีวิต
ในห้วงเวลาต่อไป
ให้เราก้าวทะยานไป
สู่วันพรุ่งที่สดใส

มีแต่เพียงคนที่รู้จักตนเองอย่างดีพอเท่านั้น
จะสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
เมื่อผ่านการสรุปบทเรียน
จากปัญหาต่าง ๆ ที่ประสบ
เราก็จะมีความจัดเจนกับชีวิตมากขึ้น
และการเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ
ในอนาคตก็จะเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยสำหรับเรา
ในการที่จะก้าวผ่านไป



ด้วยศรัทธาและความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในใจ
ที่จะต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ
หนทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ย่อมอยู่ไม่ไกลห่างอย่างแน่นอน

*********************



ก้าวย่างที่มั่นคง

บนทางเดินแคบ ๆ ที่เหลืออยู่
หากขาดความมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไป
ชีวิตก็คงหยุดนิ่งและรอวันตาย
แม้ทางข้างหน้าจะดูพร่ามัว
และไม่รู้ซึ่งอนาคต
แต่สิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
คือก้าวย่างไปอย่างมั่นคง
และมองไปข้างหน้าอย่าเหลียวหลัง
เก็บรับบทเรียนในอดีต
เพื่อจะได้ระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดอีกในอนาคต

"""""""""""""""""""""""""""""""""



ใช้สามัญสำนึกทำงาน

ไม่มีแผนงานที่สวยหรู
ไม่มีปฏิบัติการใดที่สมบูรณ์แบบ
ในยามนี้มีเพียงการทำงานด้วยการทุ่มเท
ลงลึกในรายละเอียดเท่านั้น
จึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาของงานลงได้
บางครั้งโจทย์ที่เจออาจยากและซับซ้อน
แต่เมื่อลงไปคลุกคลีอย่างแท้จริง
โจทย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

""""""""""""""""""""""""""""""""



เรียบ ๆ ง่าย ๆ


อย่ามองสิ่งต่าง ๆ ด้วยแว่นสีที่ซับซ้อน
เพราะในโลกนี้มีเพียงสิ่งสามัญที่เรียบง่าย
สำหรับคนที่สงบนิ่งเพียงพอเท่านั้น
จึงจะแก้โจทย์และปัญหาต่าง ๆ
ด้วยกลวิธีที่เรียบ ๆ ง่าย ๆ
ไม่ซับซ้อนและตรงจุดได้อย่างเพียงพอ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ใจถึงใจ

บนหนทางไปสู่ความสำเร็จ
บนหนทางของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
มีเพียงคนที่เข้าใจในสภาพจิตใจของคนทำงานเท่านั้น
จึงจะสามารถนำทีมงานไปสู่เป้าหมายได้
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน








Friends' blogs
[Add คนเดินดินฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.