BAKERY หอมกรุ่น กับสาระด้านภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน สนใจด้านเบเกอร์รี่ 0891859921
Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 เมษายน 2556
 
All Blogs
 

การทดสอบทางผิวหนังในโรคภูมิแพ้

การทดสอบในโรคภูมิแพ้

(AllergySkin Testing)

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้นั้นต้องอาศัยทั้งประวัติการเจ็บป่วยทั้งในปัจจุบันและอดีต ประวัติครอบครัว การตรวจร่างกาย มาประกอบกันเพื่อวินิจฉัยได้ตรงโรคที่สุดนอกจากนี้ยังช่วยแยกโรคที่อาจไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้แต่เป็นโรคทางกายอื่นๆได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามในบางครั้งประวัติ และการตรวจร่างกายไม่ชัดเจนต้องอาศัยผลการทดสอบทางห้องปฏิบัติการและการทดสอบพิเศษสำหรับโรคภูมิแพ้โดยตรง เช่น

1.การทดสอบทางผิวหนัง มีหลายวิธี เช่นการสะกิดผิวหนัง การฉีดยาเข้าในชั้นผิวหนัง การแปะสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง

2.การเจาะเลือดหาภูมิต่อต้านต่อสารก่อภูมิแพ้

3.บางโรคต้องอาศัยการทดสอบกับสารก่อภูมิแพ้ของผู้ป่วยแต่ละรายโดยตรงยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เกิดอาการแพ้หลังรับประทานอาหารการให้รับประทานอาหารที่คิดว่าแพ้ทีละน้อยอย่างเป็นขั้นตอนจะเป็นวิธีมาตรฐาน (goldstandard) ในการวินิจฉัย

การทดสอบทางผิวหนังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดได้ผลรวดเร็ว แม่นยำ อันตรายน้อยและที่สำคัญเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีอื่นๆมาก ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการทดสอบชนิดนี้เท่านั้น


ประโยชน์ในการทดสอบทางผิวหนังในโรคภูมิแพ้

1.เพื่อวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ร่วมกับอาการทางคลินิก

2.เพื่อใช้ศึกษาทางระบาดวิทยาของการเกิดโรคภูมิแพ้ในประชากรกลุ่มต่างๆ

3.เพื่อใช้ในการติดตามผลของการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าใต้ผิวหนัง


อายุที่สามารถทำการทดสอบได้

โดยทั่วไปสามารถทดสอบได้ทุกเพศทุกวัย แต่ผลการทดสอบจะแม่นยำมากในผู้ป่วยที่อายุ > 6 เดือนขึ้นไป ในกรณีผู้สูงอายุอาจพบผลลบลวงได้มาก เพราะความไวของผิวหนังน้อยลงนอกจากนี้อาจมีโรคประจำตัวหรือยาที่รับประทานเป็นประจำรบกวนการเกิดปฏิกิริยาของผิวหนังต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ


เตรียมตัวอย่างไรก่อนการทดสอบ

ก่อนการทดสอบทางผิวหนัง ควรปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก ทุกครั้งเนื่องจากมีขั้นตอนในการเตรียมตัวและปัจจัยรบกวนผลในการทดสอบหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดผลบวกลวง หรือผลลบลวงได้ทั้ง 2กรณี ดังนั้นการเตรียมตัวที่ดีของผู้ป่วยประกอบด้วย

1.งดยาทุกชนิดโดยเฉพาะยาแก้แพ้ยาแก้เมารถเมาเรือ ยาลดความซึมเศร้าบางประเภท ยาแก้หวัดบรรจุเสร็จ(ทิฟฟี ดีคอลเจนฯลฯ) อย่างน้อย 3-7 วัน แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องใช้ยาบางชนิดเป็นประจำเช่นยาเบาหวาน ยาโรคหัวใจ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาพ่นสเตอรอยด์ทางปาก-จมูกในโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด อาจพิจารณาใช้ได้ถ้าไม่แน่ใจกรุณาปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก หรือแพทย์ที่จะทำการทดสอบก่อนเสมอ

2.ไม่ควรทาโลชั่นบำรุงผิวบริเวณแขนทั้ง2 ข้างในวันที่จะทำการทดสอบ เพราะจะทำให้น้ำยาทดสอบไม่เกาะติดที่ผิวหนังและเสียเวลาในการล้างออกก่อนทำ

3.ไม่ต้องงดน้ำ-อาหารก่อนมาทดสอบ

4.ยาทาผิวหนังประเภทสเตอรอยด์ควรงดก่อนเช่นกันเพราะถ้าทายามาเป็นระยะเวลานาน อาจมีผลรบกวนปฏิกิริยาของการทดสอบได้เช่นกัน


ส่วนประกอบของน้ำยาทดสอบทางผิวหนัง

น้ำยาทดสอบที่ใช้เป็นสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้นำมาสกัดให้บริสุทธิ์มีหลายชนิด แต่ชนิดที่ใช้ภายในโรงพยาบาลแพทย์รังสิตเป็นชนิดที่คนไทยส่วนมากจะเกิดการแพ้บ่อยๆเช่น สารสกัดบริสุทธิ์จากไรฝุ่น ซากแมลงสาบ ขนและรังแคสัตว์เลี้ยง เกสรพืชเชื้อราชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีน้ำยาที่สกัดจากอาหารบางประเภทเช่น ถั่วลิสง เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไข่ นมวัว เหล่านี้เป็นต้น น้ำยาที่เลือกใช้เป็นน้ำยาที่มีขั้นตอนการผลิตมาตรฐานมีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และเป็นน้ำยาที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่(ไม่หมดอายุ)


วิธีทดสอบทางผิวหนัง

1.วิธีสะกิดผิวหนัง(skin prick test) เริ่มจากการทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำการทดสอบด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อรอจนแห้ง หลังจากนั้นหยดน้ำยาสารสกัดสารก่อภูมิแพ้บริสุทธิ์ลงบนผิวหนังบริเวณดังกล่าว ตามด้วยการใช้เข็มฉีดยา หรือวัสดุแหลมปลายตัน (lancet)สะกิดผ่านหยดสารก่อภูมิแพ้เบาๆ แล้วซับน้ำยาส่วนเกินออกทิ้งไว้ 15-20 นาที ถ้าพบตุ่มนูนมากกว่า 3 มม.และมีรอยแดงรอบๆแสดงว่าการทดสอบให้ผลบวก

2.วิธีฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง (intradermal skin test)ใช้ในกรณีทำการทดสอบด้วยวิธีสะกิดแล้วได้ผลไม่ชัดเจน หรือในกรณีต้องการความไวมากขึ้นในผู้ป่วยที่ต้องการทดสอบการแพ้ยา ทำโดยใช้น้ำยาสกัดสารก่อภูมิแพ้ซึ่งมีความเข้มข้นน้อยกว่าน้ำยาสกัดที่ใช้แบบสะกิดประมาณ 100-1,000 เท่า ฉีดเข้าในชั้นผิวหนังจนเกิดตุ่มนูนขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวรอผล 15-20 นาที เช่นกัน วิธีนี้จะให้ความไวกว่าวิธีสะกิดแต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ เจ็บกว่าวิธีสะกิด และอาจเกิดการแพ้รุนแรงแบบเฉียบพลัน(anaphylaxis) ได้ประมาณ < 1 % ดังนั้นการทดสอบวิธีนี้ไม่เหมาะในผู้ป่วยที่กำลังมีอาการอยู่เช่น กำลังหอบรุนแรงอยู่ หรือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้รุนแรงเฉียบพลันมาก่อน

3.การแปะสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง (patch test) การทดสอบชนิดนี้ใช้ในโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังชนิดผื่นสัมผัสและการแพ้ยาบางประเภท เป็นการทดสอบโดยหยดหรือป้ายสารก่อภุมิแพ้ที่เตรียมไว้แล้วลงบนแผ่นอลูมิเนี่ยมกลมเล็กที่มีขายสำเร็จรูป(finn chamber)ที่วางอยู่บนเทปใสแล้วปิดลงบนผิวหนังในบริเวณที่เหมาะสม ทิ้งไว้ 48 ชั่วโมงจึงอ่านผล ต่อจากนั้นอ่านผลอีกครั้งหลังเปิดไว้ 24 ชั่วโมง


นพ.ภก.สุรสฤษดิ์ ขาวละออ

อายุรแพทย์ทั่วไป

อายุรแพทย์เฉพาะโรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกันคลินิก

ศูนย์โรคภูมิแพ้โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท




 

Create Date : 03 เมษายน 2556
0 comments
Last Update : 5 เมษายน 2556 14:14:22 น.
Counter : 1526 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


คุณนายจอมยุ่ง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พบกับคนทำเบเกอร์รี่ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ฯ
รับสอนทำเบเกอร์รี่จากผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปี
สนใจเข้าเยี่ยมชมได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Myhomemade/412983252121844?fref=ts
http://www.twitter.com @surasarit
Friends' blogs
[Add คุณนายจอมยุ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.