Group Blog
ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
19
21
22
23
24
26
27
28
29
30
 
All Blog
หลวงปู่โต๊ะ รุ่น "ชุนดูฮวาน
พระเครื่องกับประวัติศาสตร์

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย ราม วัชรประดิษฐ์




การสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลในประเทศไทยนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่มีความผูกพันอยู่กับเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบริบทของประวัติศาสตร์ ส่งผลให้กลายเป็น "หลักฐาน" ชิ้นสำคัญประเภทหนึ่งและแสดงให้เห็น "ความเชื่อและความศรัทธา" ที่มีต่อองค์พระซึ่ง แสดงให้เห็น ลักษณะสำคัญของสังคมไทย ตัวอย่างเช่น

พระ 25 พุทธศตวรรษ

จัดสร้างในปี พ.ศ.2500 เป็นที่ระลึก ในคราวพระพุทธศาสนาดำเนินมาได้ถึง "กึ่งพุทธกาล" โดยเชื่อว่าศาสนาของพระ โคตมะจะมีอายุถึงปี พ.ศ.5000 ผู้ริเริ่มดำเนินการจัดสร้างคือ ฯพณฯ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปจัดสร้าง "พุทธมณฑล" เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของโลก

พระพุทธชินราชอินโดจีน

จัดสร้างในปี พ.ศ.2485 เนื่องจากรัฐไทยสมัย ฯพณฯ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เกิดอุดมการณ์ชาตินิยมเรียกร้องดินแดน ที่ตกเป็นของฝรั่งเศสคืน จนเกิดสงครามกันขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2484 และเหตุการณ์ก็ ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนไทยเข้ากับญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นการบำรุงขวัญประชาชน ทาง "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" ได้มาทูลท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ให้ทรงเททอง หล่อรูปองค์พระพุทธชินราช ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงมีพระบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นแม่งาน มีนายช่างหรัส พัฒนางกูร (พัฒนช่าง) ช่างหล่อพระ ดำเนินการหล่อองค์พระ

มีการจัดสร้างจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ โดยมีการจัดส่งแผ่นทองคำ ทองเหลือง และทองแดง ให้พระเกจิอาจารย์ตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อลงอักขระเลขยันต์พระคาถาแล้วส่งกลับมายังวัดสุทัศน์ โดยเททองหล่อใน "พิธีเสาร์ห้านำฤกษ์" คือ วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ตามแบบโบราณ ที่เรียกว่าเสาร์ 5 เพื่อความเข้มขลังของวัตถุมงคล อีกด้วย

พระสมเด็จเชียงแสน แร่ดำ หลวงปู่โต๊ะ รุ่น "ชุนดูฮวาน"

เป็นพระผงสีดำ พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสน จัดสร้างโดยหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปี พ.ศ.2522 ส่วน "ชุนดูฮวาน" เป็นชื่อของนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับพระราชทานพระพิมพ์นี้จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งมาเป็นราชอาคันตุกะ ในไทย โดยอาราธนาคล้องติดตัว เมื่อกลับถึงเกาหลีนั้น ตามกำหนดการท่านต้องเข้าประชุมที่ทำเนียบ แต่ท่านเล่าว่ามีเหตุดลใจให้ท่านเข้าร่วมประชุมไม่ทัน ปรากฏว่ามีการก่อการร้ายเกิดระเบิดขึ้นในที่ประชุม ท่านจึงแคล้วคลาดอย่างหวุดหวิดและได้กล่าวถึงพุทธคุณของพระเครื่ององค์นี้ จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่น

เหรียญที่ระลึกปราบฮ่อ

"ฮ่อ" เป็นชาวจีนที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจู หลบหนีมาทางสิบสองจุไท เมืองพวน และแถบลาว ซึ่งเป็นดินแดนของสยาม ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาล ที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2417 พวกฮ่อเข้าโจมตี เวียงจันทน์ หนองคาย หลวงพระบาง หัวพันทั้งห้าทั้งหก ไทยจึงส่งกองทัพไปปราบ สู้รบกันอยู่หลายครั้งจนไทยชนะอย่างเด็ดขาด ในปี พ.ศ.2429-2430

รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเพื่อเป็นบำเหน็จแก่ผู้ไปราชการสงครามปราบฮ่อเมื่อปี พ.ศ.2427 มีอักษรตามแนวขอบเหรียญว่า "ปราบฮ่อ ๑๒๓๙ ๑๒๔๗ ๑๒๔๙" (เป็นจุลศักราชตรงกับ พ.ศ.2420, 2428 และ 2430) รัฐบาลสยามได้ว่าจ้างให้บริษัท บีกริม แอนด์ โก ผลิตที่ประเทศเยอรมนี โดยมีจำนวนเพียง 500 เหรียญ เมื่อปี พ.ศ.2436 และ ได้จัดส่งมายังประเทศสยามในปีถัดมา พระราชทานแจกเป็นระยะๆ โดยเริ่มพระ ราชทานครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2441 จำนวน 49 คน

นี่เป็นตัวอย่างของพระเครื่องในฐานะ "หลักฐานทางประวัติศาสตร์" ดังนั้น พระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ จึงมีความสำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องรางของขลังหรือตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวครับผม






Create Date : 16 ธันวาคม 2554
Last Update : 16 ธันวาคม 2554 19:55:13 น.
Counter : 710 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]