Group Blog
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
22
23
25
26
27
28
30
 
 
29 พฤศจิกายน 2554
All Blog
The Pursuit of Happyness




The Pursuit of Happyness คือเรื่องจริงที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ของวีรบุรุษนักขายฝีมือดีที่สุด ที่กลายเป็นตำนานของอเมริกา ตีแผ่หนทางพิชิตความจนของ เซลล์แมนฝีมือเลิศ คริส การ์ดเนอร์ (รับบทโดย วิล สมิธ) ที่ครั้งหนึ่งต้องแบกภาระเป็นหางเสือ นำทางให้ครอบครัวพ้นจากภาวะยากจน แต่เพราะพิษเศรษฐกิจรุมเร้าเกินเยียวยา ลินดา (เทนดี้ นิวตัน) ภรรยาของคริสจึงทิ้งเขา และลูกชายวัย 5 ขวบ คริสโตเฟอร์ (จาเดน คริสโตเฟอร์ ไซร์ สมิธ) ให้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจติดลบเพียงลำพัง

คริสกลายเป็นคุณพ่อหม้ายลูกติด ที่ต้องกัดฟันสู้กับความจนอย่างรุนแรง บ่อยครั้งที่เขาต้องกระเตงลูกชายตัวน้อย ออกเร่ร่อนเหมือนคนจรจัด กับเงินติดกระเป๋าเพียง 1 ดอลลาร์ แต่เพราะใจสู้ บวกกับความฉลาด เขาสู้ยิบตาเพื่อหางานที่ให้ค่าจ้างสูงขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของลูกชายสุดที่รัก ..หลังจากรับรู้รสชาติของความจนถึงขีดสุด วันหนึ่ง หนทางสู่ความสุขของ 2 พ่อลูกก็ปรากฏขึ้น.. เมื่อคริสเดินผ่านหน้าบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ เขาสังเกตเห็นว่า ทำไมคนที่นี่ถึงมีรอยยิ้มที่มีความสุข ในขณะที่เขาทุกยากแสนสาหัส คริสเกิดไอเดียใหม่ "..เขาควรทำงานเกี่ยวกับการเงิน" คริสจึงมุ่งมั่นสู่การเป็น “โบรคเกอร์” ในบริษัทโบรกเกอร์อันทรงเกียรติแห่งหนึ่ง เขาใช้มันสมอง มาพลิกแพลงเป็นกลเม็ดการขายได้อย่างน่าทึ่ง และด้วยพลังแห่งความรักที่มีต่อลูก กลายเป็นแรงฮึดมหาศาล ที่นำพาคริสไปสู่การเป็นสุดยอดเซลแมน ที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์อเมริกา...



--------------------------------------------------------------------------------

โคลัมเบีย พิคเจอร์ส ภูมิใจเสนอ ผลงานภาพยนตร์คุณภาพเรื่องยิ่งใหญ่แห่งปี 2550 ตัวเต็งเวทีออสการ์ กับการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของพระเอก วิล สมิธ ใน The Pursuit of Happyness กำกับโดย กาเบรียล มัคซิโน่ (The Last Kiss และ Remember Me, My Love) เขียนบทโดย สตีเว่น คอนราด (Wrestling Ernest Hemingway, The Weather Man, Chad Schmidt) อำนวยการสร้างโดย ท๊อด แบล็ค และ วิล สมิธ

The Pursuit of Happyness นำแสดงโดย วิล สมิธ (Hitch, Independence Day, Men in Black, Bad Boys, I, Robot, Ali, Enemy of the State) และ จาเดน คริสโตเฟอร์ ไซร์ สมิธ ลูกชายในชีวิตจริงของเขา พร้อมด้วย เทนดี้ นิวตัน (Crash, Beloved, The Truth About Charlie, Mission Impossible 2, Interview With a Vampire, Jefferson In Paris)

The Pursuit of Happyness กำกับภาพโดย ฟีดอน ปาปาไมเคิล, ASC. (Identity, Moonlight Mile, Patch Adams, Mouse Hunt, Million Dollar Hotel, Phenomenon, While You Were Sleeping, Walk the Line, Sideways) ออกแบบงานสร้างโดย เจ ไมเคิล ริว่า (The Color Purple, Charlie’s Angels, Evolution, Dave, Six Days Seven Nights, Congo, Lethal Weapon, Bad Boys, Spider-Man 3) ลำดับภาพโดย ฮิวจ์ส วินบอร์น (Crash, Sling Blade) ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย ชาเรน เดวิส (Dreamgirls, Antwone Fisher, Ray, Nutty Professor II: The Klumps, High Crimes, Rush Hour, Dr. Dolittle) ประพันธ์ดนตรีประกอบโดย แอนเดรีย กูเออร์ร่า (Hotel Rwanda)
ฉากพ่อที่อยู่ในสภาพตกอับ และจนตรอกกระทั่งต้องพาลูกชายวัย 5ขวบเข้าไปนอนในห้องน้ำสาธารณะของสถานีรถไฟฟ้า(Subway)



และ ฉากลูกชายพูดกับพ่อ ขณะที่กำลังนอนในที่พักอนาถาสำหรับคนเร่ร่อน



“ที่แม่ทิ้งเราไป เพราะผมเป็นต้นเหตุใช่มั้ย?” ...ถึงตรงนี้หลายๆท่านคงเดาได้แล้วว่า งวดนี้เราจะมาคุยกันถึงหนังอิงชีวิตจริงของ คริส การ์ดเนอร์-โบรคเกอร์ระดับโลก นั่นคือเรื่อง The pursuit happyness (ยิ้มไว้ก่อนพ่อสอนไว้)







ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วให้คิดถึง คู่พ่อลูกที่กอดคอกันตกระกำลำบากในหนังคลาสสิคเรื่องThe bicycle thief จะผิดกันก็ตรงที่ เรื่องนั้น พ่อดิ้นรนเพียงเพื่อ



การอยู่รอดของครอบครัว ในสภาวะที่บ้านเมืองแร้นแค้นหลังย่อยยับจากสงคราม



แต่ The pursuit happyness คือ พ่อที่ดิ้นรนเพื่อความ “รวย” ในสังคมวัตถุนิยมสุดโต่ง โดยมีชีวิตครอบครัวเป็นเดิมพัน!



ครับ...วัตถุนิยมสุดโต่ง หรือความปรารถนาแนว American Dream อาจเริ่มมาตั้งแต่ยุคโคลัมบัสค้นพบโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) ยุคสร้างชาติของจอร์จ วอชิงตัน(ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ) หรือในยุคของโธมัส เจฟเฟอสัน(ประธานาธิบดีคนที่ 3) ที่ คริส การ์ดเนอร์ยังจำได้เสมอ ถึงคำขวัญของท่านที่ว่าด้วย เสรีภาพ และการแสวงหา(ไล่ล่า)ความสุข



ซึ่งคำว่า “ความสุข”ในที่นี้ตามความคิดของอเมริกันชน และผู้คนบนโลกบริโภคนิยม ก็คงไม่มีอะไรอื่นนอกจาก “ความร่ำรวย” ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นเรื่องแสนเข็ญในยุคตื่นทอง (ตั้งแต่ ค.ศ.1849) และ ยุค ก่อนสงครามกลางเมือง (ค.ศ.1861 – 1865)



ที่แผ่นดินอเมริกายังเปิดกว้างสำหรับทรัพยาการมนุษย์ เพื่อมาร่วมสร้างชาติ



ดินแดนแห่งนี้จึงเสมือนเป็นโอกาสแห่งความร่ำรวยโดยเสมอภาค เพราะไร้ระบอบอำนาจเก่า หรือระบอบเจ้าขุนมูลนายที่จะคอยฉุดรั้ง ใครที่มีแรงฮึดบวกพลังทะเยอทะยานก็น่าจะสร้างความมั่งคั่งได้ จะพบว่าวรรณกรรมอเมริกัน ยุคคริสศตวรรษ



ที่ 19 มักจะเป็นไปในแนว “คุณธรรมบวกความมุมานะ นำไปสู่ความร่ำรวย”



ตราบจนเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจหายนะครั้งใหญ่ (Great Depression)



ค.ศ.1929-1941 ความเป็นอยู่ของผู้คนต่างตกต่ำย่ำแย่กันถ้วนหน้า นวนิยายในยุคฝืดเคืองจึงมักออกไปในแนวประชดเสียดสี กระทั่งก่นด่า ความล้มเหลวเละเทะของAmerican Dream เช่น The Great Gatsby ของ ฟรานซิส สต็อก หรือ The Grapes of Wrath(ผลพวงแห่งความคับแค้น)ของ จอห์น สไตนเบค



จวบจนสู่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1960) สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่ทั้งชนะสงครามและบอบช้ำน้อยที่สุด ซ้ำยังกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี่ และมีธุรกิจที่พากันขยายตัวอย่างเต็มที่ กระทั่งก้าวสู่ยุค 1990... ในขณะที่ทรัพยากรของโลกมีจำกัด แต่ความทะยานอยากของผู้คนต่างไม่หยุดยั้ง ...American dream จึงย่อมได้มาด้วยการยื้อแย่งช่วงชิง แม้แต่ฉกฉวยกันในทุกรูปแบบ โดยละเลยกับคำว่า “คุณธรรม”ที่เคยเป็นหลักสำคัญสำหรับผู้คนที่ต้องการสร้างเนื้อสร้างตัว



ความสุข-ความมั่งคั่งที่เขาปรารถนาจึงต้องแลกด้วย ความจริงใจ-มิตรภาพ-ครอบครัว โดยได้ความล้มละลายทางจิตวิญญาณเป็นสิ่งตอบแทน มันจึงเป็นเพียงเป็นความสุขฉาบฉวยในโลกบริโภคนิยม หนำซ้ำยังแพร่ขยายกลายเป็นการต่อสู้แย่งชิงทรัพยากรของประเทศอื่นๆ เพื่อความเป็น “มหาอำนาจ”ของตนเองชั่วนิรันดร์



แท้แล้ว มันก็คือกิเลส ที่มาในคราบของความสุขจอมปลอม ที่ผิดเพี้ยน เช่นเดียวกับคำว่า Happyness แทนที่จะเขียนให้ถูกต้องว่า Happiness







เหมือนดังที่ คริส การ์ดเนอร์(วิลล์ สมิธ) ที่เทเงินจนหมดหน้าตักเพื่อกว้านซื้อเจ้าเครื่องสแกนความหนาแน่นของกระดูก( Portable Bone density scanner) เพราะมั่นใจว่ามันจะขายดีระเบิดเทิดเทิง และนำความร่ำรวยมาสู่ครอบครัวอย่างรวดเร็ว แต่ผลปรากฏว่า...มันไม่เวิร์คอย่างที่คิด แม้ว่าจะพอขายได้ แต่ก็ยากราวเข็นครกขึ้นภูเขา เพราะคุณหมอทั้งหลายต่างส่ายหน้า เพราะไม่เห็นว่ามันจะวิเศษไปกว่าเครื่องเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลมีอยู่แล้ว



เมื่อคาดการณ์ผิดพลาด ชีวิตครอบครัวจึงถึงคราวระส่ำระสาย...ค่าใช้จ่าย และหนี้สินสารพัดจึงดาหน้าเข้ามาให้ปวดกบาลได้ทุกวัน ในขณะที่ลินดา(แฮนดี้ นิวตั้น)ภรรยาผู้ต้องทิ้งงานแม่บ้าน กลายเป็นสาวโรงงานที่ควงถึงสองกะ เริ่มจะถอดใจ



ที่ทุกๆวันสามีก็ได้แต่แบกเครื่องสแกนออกเดินเร่ขายตั้งแต่เช้า เพื่อถือเครื่องบ้านั่นกลับมาอย่างกระเป๋าแห้งหน้าเหี่ยว



แล้วก็ถึงจุดที่หมดความอดทน เมื่อคริสออกไอเดียว่าปรารถนาอยากร่ำรวยด้วยการเป็นโบรคเกอร์ในตลาดหุ้น เธอจึงประชดเข้าให้ “งั้นทำไมไม่ไปเป็นนักบินอวกาศซะหละ!” ฝ่ายผัวถึงกับน้อยใจ “ นี่...คุณจะพูดกับผมอย่างนี้ไม่ได้นะ”



ซึ่งก็น่าเห็นใจทั้งคนเป็นผัว ที่ขณะนั้นคงต้องการกำลังใจอย่างเหลือเกิน และน่าเห็นใจคนเป็นเมีย ที่อยากเห็น ผัวของตนหางานอะไรก็ได้ที่มั่นคง และมีรายได้ประจำพอที่จะไม่อดอยาก



แต่แล้วในที่สุดต่างคนก็ต่างไปจริงๆ ด้วยแนวคิดที่ต่างกันสุดขั้ว(เมียทนเลี้ยงผัวต่อไปไม่ไหว ส่วนผัวก็น้อยใจเมีย ที่ทำไมไม่อดทนอีกหน่อย เพื่อการสู่ดวงดาวแห่งความสำเร็จของผัว) ส่วนปัญหาเรื่องลูกชายคนเดียว ก็ไม่ใช่ว่าแม่จะไม่รัก แต่เมื่อพ่อยืนยันหนักแน่นว่า “เธอจะไปก็ไป แต่ลูกต้องอยู่กับฉัน” เธอจึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะไปขวาง ในขณะที่อีกใจก็คงจะโล่งอก ที่พ่อที่รักและหวงแหนลูกอย่างเขา น่าจะดูแลลูกชายได้ดีกว่าเธอ (ที่คงค่อนข้างเป็นคนที่อุทิศให้ลูกได้ไม่มากเท่า)



เมื่อลินดาเดินจากไป ภาระทั้งหมดจึงถูกโยนโครมจนเต็มทั้งสองบ่า ...



บิลค่าใช้จ่ายสารพัด…สรรพากรอายัดเงินที่เพิ่งได้มา...โดนขังแทนค่าปรับ...โดนไล่ออกจากบ้านเช่า...ต้องพาลูกไปพึ่งข้าววัด...นอนในบ้านอนาถาและ...ในส้วมสาธารณะ



เมื่อได้เห็นภาพสองพ่อลูกที่ตกระกำลำบาก ขนาดแทบไม่เชื่อเลยว่า บ้านเมืองอันแสนรุ่งโรจน์อย่างอเมริกา จะมีรัฐสวัสดิการที่แสนบรมห่วย (ซึ่งแน่นอน...นี่คือสังคมที่ไร้ญาติขาดมิตร และอยู่กันแบบ “ตัวใครตัวมัน”อย่างแท้จริง...)







นายคริส การ์ดเนอร์ นับว่าเก่งบวกเฮงจริงๆที่ก้าวสู่ความสำเร็จ โดยได้เป็นหนึ่งเดียว ใน 20คนที่เข้ารอบ จากผู้คนเป็นพันๆที่ตกรอบแรก)



แต่หากวันนั้น ...เขาพลาดหวัง(ซึ่งมีโอกาสเป็นเช่นนั้นสูง) หรือหากเกิดถอดใจระหว่างทาง...อะไรจะเกิดขึ้น? มองในแง่ดี เขาคงปลงและหางานสุจริตเพื่อพอมีรายได้เลี้ยงลูก



หรือมองในแง่ร้าย…พ่อลูกคู่นี้อาจตกเป็นข่าว ฆ่ายกครัว!( Extended suicide)



ซึ่งเกิดขึ้นเสมอในอเมริกา(ในบ้านเราก็เป็นข่าวบ่อย) ที่ผู้นำครอบครัว เกิดจิตตก เชื่อว่าตนเองไร้ค่า พ่ายแพ้ชีวิต และจนตรอกถึงที่สุดแล้ว จึงดับชีพตนเองหลังจากปลิดชีวิต



ลูกรัก เพื่อจะได้ไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น เหตุเพราะว่า...ความรู้สึกอับจนในชีวิต(Hopeless) และไร้ที่พึ่ง (helpless) บวกกับความเครียดที่สะสมอย่างเรื้อรัง



จนร่างกายและจิตใจแปรปรวน ได้ทำลายความคิดสร้างสรรค์ และแปรผันให้เกิดความก้าวร้าว(

Aggressive Drive
) จนอยากทำลายตนเอง หนำซ้ำยังมีความต้องการพาคนที่ตนรักและผูกพันไปอยู่ด้วยกัน...ในภพหน้า






หากไม่ได้วิเคราะห์อะไรให้ลึกซึ้งมากมาย The pursuit happyness ก็คือหนังประเภทHow-To ที่น่าชื่นชมอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่การเสริมสร้างพลังใจให้แก่ผู้ท้อถอย และเรียนรู้วิธีคิดในแง่บวก เพื่อพลิกผันความระทดท้อไปสู่ความสุขสำเร็จในชีวิต โดยไม่มัวอาวรณ์กับอดีต ไม่หวาดกลัวสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และแก้ปัญหาในปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตอันสดใสเรืองรอง



...วิกฤตในชีวิตครั้งนี้ ไม่ว่าพ่อจะถึงเป้าหมายหรือไม่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่ลูกชายได้รับและจะประทับใจไปตลอดชีวิตก็คือ ...ความอดทน บากบั่น ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตาของผู้ที่เป็นพ่อ ซึ่งนั่นก็คุ้มแล้ว ที่จะกลายเป็นพลังใจอันล้นเหลือให้แก่ลูก



ในยามที่เขาเติบใหญ่ และพานพบกับอุปสรรคในชีวิต ......







ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูล .....



* สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล (อเมริกา)... อาจารย์กุลวดี มกราภิรมย์



* รู้แพ้เพื่อชนะ ..... น.พ.ชูทิตย์ ปานปรีชา





Create Date : 29 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2554 0:19:32 น.
Counter : 357 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]