Group Blog
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
22
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
ปัญญา สัมปทา ความสมบูรณ์หรือถึงพร้อมด้วยปัญญา
ปัญญา สัมปทา



พูดถึงเรื่องปัญญา สัมปทา ความสมบูรณ์หรือถึงพร้อมด้วยปัญญา นี่เป็นข้อที่ลี้ลับสัก หน่อย ที่ว่าในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า สิ่งที่บุคคล ปรารถนา หรือความหวังมีอยู่หลายอย่าง เช่น ปรารถนาให้อายุยืนนาน

ปรารถนาให้ตนและพวกพ้องอายุยืนนาน ปรารถนาทรัพย์ ยศ ให้แก่ตนและญาติพี่น้อง ปรารถนาสวรรค์ อย่างนี้เป็นต้น

ความ ปรารถนาเหล่านี้ เป็นความปรารถนาที่ให้สำเร็จได้โดยยาก พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมหรือหลักที่จะให้สม ปรารถนาเอาไว้ 4 อย่าง คือ
1. ศรัทธา สัมปทา มีศรัทธาสมบูรณ์
2. สีล สัมปทา มีศีลสมบูรณ์
3. จาคะ สัมปทา มีจาคะสมบูรณ์
4. ปัญญา สัมปทา สมบูรณ์ด้วยปัญญา

โดย ทั่วไปก็จะพูดถึงปัญญาในการทำมาหากิน หรือ อะไรต่ออะไรต่างๆ ลองมา ดูปัญญา สัมปทาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยตรง ตามนัยพระพุทธพจน์ พระ ไตรปิฎกเล่ม 21 จตุกกนิบาต ข้อ 61

ปัญญา สัมปทาในธรรมที่เป็นเหตุให้สมหวัง 4 อย่าง เป็นข้อสุดท้ายมีพุทธาธิบายว่า

บุคคล เมื่อมีจิตถูกอภิชฌาวิสมโลภะ แปลว่าความโลภอยากได้ของผู้อื่น ความละโมบใน ทางทุจริต บุคคลเมื่อมีจิตถูกอภิชฌาวิสมโลภะ, พยาบาท, ถีนะมิทธะ ง่วง งุน, อุทธัจจะ กุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ, และวิจิกิจฉา ครอบครองหรือ ครอบงำแล้ว ย่อมจะทำสิ่งที่มิใช่หน้าที่ อกิจฺจํ กโรติ ทำสิ่งที่ไม่ใช่ หน้าที่ และพลาดในสิ่งที่เป็นหน้าที่ กิจฺจํ อปราเธติ

โปรด สังเกตอย่างหนึ่งว่า นิวรณ์ 5 นี้ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ฆราวาส จะ เปลี่ยนคำว่า กามฉันทะ ความพอใจในกาม มาเป็นอภิชฌาวิสมโลภะ มาเป็นความ โลภในทางทุจริต แต่ถ้าทรงแสดงแก่ภิกษุก็จะแสดงเป็นกามฉันทะ ความพอใจใน กาม เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง พอทรงแสดงแก่ฆราวาส ทรงยักย้ายพระธรรมเทศนาให้ เหมาะสมในฐานะที่เป็นธรรมราชา และธรรมเทศนาโกศล ฉลาดในการแสดงธรรมและทรง ยักย้าย เปลี่ยนกามฉันทะ มาเป็นอภิชฌาวิสมโลภะ ส่วนพยาบาท ถีน มิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉานั้นเหมือนกันทั้ง 4 ข้อหลัง

เมื่อ เป็นเช่นนี้ ก็ย่อมจะพลาดจากยศและสุข ยศนี้มีหลายอย่าง พอได้ยินคำว่า ยศ คนส่วนมากก็นึกถึงแต่อิสริยยศ ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง บางแห่ง ก็มีกล่าวไว้ 3 คือ อิสริยยศ ความเป็นใหญ่ เกียรติยศ ความเป็นผู้มี เกียรติ และบริวารยศ มีบริวารดี

แต่บางอย่างกล่าวถึงยศไว้ 5 อย่าง คือ

อิสริยะ ความเป็นใหญ่
โภคะ โภคทรัพย์ หรือทรัพย์ส
สัมมานะ การได้รับความนับถือจากประชาชน
กิตติ เกียรติ เป็นคนมีเกียรติ
วัณนะภณนะ การได้รับสรรเสริญ

ใน พระพุทธพจน์ที่ว่า ยศย่อมเจริญในบุคคลผู้หมั่นขยัน มีสติ อุฏฐานวโต สติ มโต มีการงานสะอาด เป็นคนสำรวมระวัง ใคร่ครวญแล้วจึงทำ ไม่ประมาท ยศ ย่อมเจริญแก่บุคคลเหล่านี้ คำว่ายศท่านหมายถึง 5 อย่างตามที่กล่าวมา นี้ ไม่ได้หมายถึงความเป็นใหญ่ เป็นเจ้าคนนายคน อย่างที่เข้าใจกันเพียง อย่างเดียว

เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมพลาดจากยศและความ สุข อริยสาวก คือสาวกของพระอริยะ รู้ว่าอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นต้น เป็น อุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิต ซึ่งละอภิชฌาวิสมโลภะ เป็นต้นนั้น เสีย เมื่อละได้แล้วเขาจึงเรียกอริยสาวกนั้นว่าเป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญา หนาแน่น เป็นผู้เห็นทางแห่งพระนิพพาน อาปาถทโส นี่คือปัญญาสัมปทา

ถ้า ท่านนักศึกษาทางธรรม เมื่อเห็นพระพุทธพจน์จาก ที่มีผู้รวบรวมเรียบ เรียงมาให้ ถ้าเขาอ้างหลักฐานที่มาก็ควรจะตามไปดูถึงต้นตอของพุทธพจน์ว่า ท่านทรงอธิบายอย่างไร จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะ ส่วนมากท่านก็พูดไว้ สั้นๆว่า สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา สีลสัมปทาถึงพร้อมด้วยศีล จา คะสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ปัญญาสัมปทาถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ว่า ไม่มีคำอธิบายว่าข้อนั้นๆมีความหมายอย่างไร แต่จะมีอยู่ในพระไตรปิฎก พระ พุทธาธิบายก็มี พุทธาธิบายอยู่ในนั้น แต่บางทีท่านผู้เรียบเรียงหนังสือ ธรรม ท่านก็ไม่มีเวลามากในการเรียบเรียงพระพุทธพจน์ให้ตลอด อาจจะให้แต่ หัวข้อมา สำหรับผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่ศึกษาไปหลายๆปีแล้วก็ควรจะตาม ไปดู ถ้ามีเวลามีโอกาสควรจะตามไปดูว่าเรื่องนี้มีพุทธาธิบายอย่าง ไร ปัญญา สัมปทา อย่างที่กล่าวมานี้ ก็รู้สึกว่าละเอียดสุขุมลึกซึ้งพอ สมควรทีเดียว แต่ถ้าเรียนไปตามหัวข้อ ผู้อธิบายก็ไม่เคยเห็นพระพุทธาธิ บาย ก็จะอธิบายไปตามความเข้าใจของตน

การได้ปัญญาทำให้ ได้ความสุข ที่ว่า สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ การได้ปัญญาทำให้ได้ความสุข และ เป็นความสุขที่เกิดจากปัญญา บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐที่สุด ปญฺญาย ติตฺตินํ เสฏฺฐํ ตณฺหา น กุรุเต วสํ คนที่อิ่มด้วย ปัญญานั้น ตัณหาทำเขาไว้ในอำนาจไม่ได้ นี่คืออานิสงส์ของการอิ่มด้วยปัญญา

ฉะนั้น ก็ ควรจะเพิ่มพูนปัญญา แสวงหาปัญญา สดุดีปัญญา สรรเสริญปัญญา คลุกอยู่กับ เหตุให้เกิดปัญญาและจะได้ปัญญามาเป็นไฟส่องทางชีวิต





Create Date : 21 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2554 10:03:12 น.
Counter : 457 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]