ปฐพีหอม: แม่เล่าว่าแผ่นดินมีกลิ่นหอม ต้องถนอมกล่อมเกลาเฝ้ารักษา แม่สอนลูกทุกคนที่เกิดมา ให้รู้ค่าแผ่นดินถิ่นเกิดกาย

 
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 สิงหาคม 2552
 

เราไม่สามารถเขียนเรื่องราวของชีวิตได้อย่างหมดสิ้น







เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น



การเขียนเรื่องสั้น
เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกมีความยาวประมาณ 1000-10000 คำ ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยใช้จินตนาการของตนเองอย่างสมจริงสมจัง มีขนาดสั้น ตัวละครไม่มาก ดำเนินเรื่องด้วยความรวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายเดียวโดยอาศัยศิลปะการเขียนที่ชวนให้น่าอ่านและมีคติธรรมแทรก

j. Berg Esenwien ได้กล่าวถึงลักษณะเรื่องสั้นที่ดีไว้ว่า
1. ต้องมีพฤติการอันสำคัญอันเป็นต้นเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว
2. ต้องมีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในท้องเรื่องแต่เพียงตัวเดียว
3. ต้องมีจินตนาการหรือมโนภาพให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย
4. ต้องมีพล๊อตหรือการผูกเค้าเรื่องให้ผู้อ่านฉงนหรือสนใจ
5. ต้องมีความแน่นหรือเขียนอย่างรัดกุม
6. ต้องมีการจัดรูป ลำดับพฤติการณ์ให้มีชั้นเชิงชวนอ่าน
7. ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกอย่างใดอย่างนึง

ชนิดของเรื่องสั้น
การเขียนเรื่องสั้น แยกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้
1. ชนิดผูกเรื่อง (plot Story) คือเรื่องสั้นที่มีโครงเรื่องซับซ้อนและจบลงในลักษณะที่ผู้อ่านคาดไม่ถึง
2. ชนิดเพ่งเล็งที่จะแสดงลักษณะของตัวละคร (Character Story) คือเรื่องสั้นที่เน้นตัวละครเป็นใหญ่หรือเน้นให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่อง โดยต้องการแสดงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวละครเป็นสำคัญ
3. ชนิดถือเป็นฉากเป็นสำคัญ (Atmosphere Story) คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนบรรยายฉากหรือสถานที่หรือแห่งนั้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก ทำให้ผู้เกิดความรู้สึกคล้อยตามอารมณ์และและความคิดของตัวละคร
4. ชนิดที่แสดงแนวความคิดเห็น (Theme Story) คือ เรื่องที่ผู้เขียนมีอุดมคติหรือต้องการชี้ให้เห็นข้อคิดหรือสัจธรรมของชีวิต
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ได้เสนอการเขียนเรื่อสั้นไว้ว่า “พึ่งประสบการณ์อ่านให้มาก นึกอยากเขียน เพียรฝึกฝน สนใจมนุษย์ จุดหมายเด่น เฟ้นภาษา หาเชื้อเพลิงและสำเริงอารมณ์”


วิธีเขียนเรื่องสั้น
วิธีเขียนเรื่องสั้นให้น่าอ่านชวนให้ติดตามควรมีรายละเอียดต่อไปนี้คือ
1. เค้าโครงเรื่อง (plot) คือ การสร้างเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาเริ่มเรื่องและจบเรื่อง การสร้างโครงเรื่องนี้มีหลัก 3 ประการคือ
1.1 โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข มีการผูกปมที่ซับซ้อน
1.2 ในการดำเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทำให้เรื่องสนุก หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้อ่านรอคอยต่อไป
1.3 ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (cli-max) เป็นการจบหรือปิดเรื่อง

2. ตัวละคร
2.1 สร้างตัวละครให้สมจริง
2.2 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครอาจบรรยายหรือเป็นบทที่ตัวละครพูดเอง
2.3 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครต้องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบเรื่อง
2.4 ตัวละครไม่มากเกินไป

3. ฉาก เป้นสถานที่หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบรรยากาศต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเรื่อง
3.1 เลือกฉากให้เหมาะสมกับเรื่อง และดำเนินเรื่องตามบรรยากาศที่ถูกต้อง
3.2 ผู้เขียนต้องเขียนฉากที่ตนรู้จังดีที่สุด เพราะจะได้ภาพที่แจ่มชัด

4. บทสนทนา มีข้อปฏิบัติคือ
4.1 ไม่พูดนอกเรื่อง
4.2 เป็นคำพูดนอกเรื่อง
4.3 เป็นคำพูดง่ายต่อการเข้าใจ เหมาะสมแก่ฐานะของตัวละคร
4.4 รู้จักหลากคำ ไม่ใช้คำซ้ำซาก

5. การเปิดเรื่อง เป็นหัวใจของการเขียนเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านติดตามต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปิดเรื่อง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ
5.1 สร้างเหตุการณ์หรือการกระทำให้เกิดความสนใจ น่าตื่นเต้น
5.2 เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนาที่มีถ้อยคำแปลกในความหมายและเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่องต่อไป
5.3 เปิดเรื่องโดยการพรรณนา พรรณนาฉาก หรือบรรยายฉากที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ

6. การดำเนินเรื่อง ต้องคำนึงถึงคือ
6.1 ควรดำเนินเรื่องไปสู่จุดหมายโดยเร็ว
6.2 ปมของเรื่องควรมีความขัดแย้ง 1 แห่ง แล้วค่อยๆคลายปมทีละน้อย สมดังความปรารถนาของผู้อ่านที่รอคอย

7. การปิดเรื่อง เป็นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้อ่านจะทราบว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง คือ
7.1 จบลงโดยที่ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจ คาดไม่ถึง
7.2 จงลงด้วยความสมปรารถนา หรือสิ้นหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในการเขียนเรื่องสั้นนั้น จะเลือกเขียนในแนวใดก็ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้และอารมณ์ของแต่ละคนที่จินตนาการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักการเขียนเรื่องสั้นเป็นแบบแผนนัก ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่าจะมีแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้น อันเปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตนเองมากกว่า


อ้างอิงจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงใจ ไทยอุบุญ ,ทักษะการเขียนภาษาไทย , สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2543 (267-271)






Create Date : 05 สิงหาคม 2552
Last Update : 5 สิงหาคม 2552 13:20:27 น. 2 comments
Counter : 465 Pageviews.  
 
 
 
 
ข้อมูลดีจังคะ ต้องนำไปประยุกต์ใช้บ้างแล้ว
 
 

โดย: บุปผาลีลาวดี วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:19:44:31 น.  

 
 
 
ถ้าเรื่องราวชีวิตจริงที่อยากแบ่งปันให้เพื่อร่วมโลกมีกำลังใจหนูจะส่งไปที่ไหนดีค่ะ jenny_kute@hotmail.com แนะนำด้วยค่ะ
 
 

โดย: ปลายฟ้า IP: 202.29.60.211 วันที่: 16 สิงหาคม 2552 เวลา:13:01:58 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นายหัวฟู
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ปฐพีหอม งานที่มีการเขียนลงบน WEB SITE แล้วส่งผ่านอินเตอร์เนตนั้นถือว่าเป็น สิ่งเขียนซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของงานวรรณกรรม ดังนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (มาตรา 15) หากผู้ใดต้องการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อ มิฉะนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (มาตรา 27) การดัดแปลงงานจากอินเตอร์เนตเป็นภาษาไทย จึงต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็นการคุ้มครองอัตโนมัติ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้สร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์
[Add นายหัวฟู's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com