สารอาหารช่วงตั้งครรภ์สำคัญทุกไตรมาส

จะว่าไปแล้วเรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องใส่ใจเป็นอันดับหนึ่งค่ะ แต่ที่รู้กันอยู่แล้วว่า รับประทานให้ครบหลัก 5 หมู่นั้นเป็นเรื่องต้องทำ ทว่าในแต่ละไตรมาสนั้นมีความพิเศษอยู่ ช่วงไหนต้องเน้นเสริมอะไร เรามีดาวเด่นที่คุณแม่กินแล้วจะช่วยเสริมสร้างลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงมาแนะนำค่ะ

ไตรมาส 1 สารอาหารเพื่อการสร้างเซลล์

For Baby

เริ่มที่พัฒนาการของลูกน้อยในไตรมาสแรก เป็นช่วงที่ลูกกำลังก่อร่างสร้างเซลล์ขึ้นและเซลล์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เริ่มสร้างอวัยวะทั้งด้านร่างกาย โครงกระดูก แขน ขา รวมถึงอวัยวะภายใน หัวใจ ตับ ปอด สมอง ไต เมื่ออวัยวะต่างๆ ของลูกน้อยกำลังเริ่มฟอร์มตัวในช่วงนี้

For Mom

สำหรับคุณแม่จากร่างกายที่เป็นปกติเมื่อตั้งครรภ์แล้วระบบในร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งระบบการไหลเวียนของเลือด ร่างกายต้องใช้พลังงานและแบ่งสารอาหารเพื่อเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์
กรดไขมัน DHA โอเมก้า 3
เป็นสารอาหารสำคัญในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองลูกกำลังแบ่งเซลล์และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง สารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์สมองคือ กรดไขมัน DHA โอเมก้า 3 จะช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยในครรภ์

Food : ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย

กรดโฟลิกหรือโฟเลท
โฟเลทเป็นสารอาหารจำเป็นที่ช่วยพัฒนาระบบประสาท มีบทบาทที่สำคัญในการแบ่งเซลล์สร้างสมอง และกระดูกไขสันหลัง เรียกว่าป้องกันความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง (Neural Tube Defect) มีการศึกษาพบว่าคุณแม่ที่ขาดกรดโฟลิกจะมีโอกาสที่คลอดลูกแล้วมีความพิการทางสมองมากกว่าปกติ แต่หากคุณแม่ที่เคยคลอดลูก แล้วลูกมีความผิดปกติทางสมอง เช่น ไม่มีกะโหลกศีรษะ เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไปหากให้รับประทานกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนครบ 3 เดือน จะสามารถป้องกันความพิการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์ได้

Food : ผักใบเขียว บร็อกโคลี ผักโขม ผลไม้ อาหารประเภทถั่ว ธัญพืช ตับหมู ขนมปังโฮลวีท แต่ควรรับประทานสดๆ หรือไม่ปรุงนานเกินไป เพราะกรดโฟลิกจะสลายตัวเมื่อถูกความร้อนสูง

ไอโอดีน
ช่วงตั้งครรภ์ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ร่างกายจึงต้องการสารอาหารมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคคอหอยพอก เพราะสำหรับลูกน้อยแล้วหากได้รับไอโอดีนไม่เพียงพออาจจะทำให้สติปัญญาบกพร่องได้

Food : อาหารทะเล เกลือที่มีส่วนผสมของไอโอดีน


ไตรมาส 2 สารอาหารเพื่อขยายขนาดเซลล์

For Baby

เมื่อร่างกายเริ่มสร้างอวัยวะครบแล้วในช่วงไตรมาสที่สอง เดือนที่ 4-6 เซลล์ในร่างกายลูกน้อยจะเริ่มขยายขนาด อวัยวะต่างๆ ของลูกจะขยายขนาดขึ้น ลูกเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ มีเล็บ ผม ขนคิ้ว ส่วนสมองก็เป็นช่วงที่มีพัฒนาการมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกถึง 4 เท่า

For Mom

ช่วงนี้คุณแม่จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารเพิ่มขึ้นอีกวันละ 300 กิโลแคลอรี เพื่อให้เพียงพอกับการพัฒนาเซลล์ที่ขยายขนาดขึ้น ขณะเดียวกันขนาดของมดลูกของคุณแม่ก็เริ่มขยายตัวตามขนาดตัวลูก เราจะเห็นคุณแม่ท้องโตขึ้นก็ช่วงไตรมาสนี้ล่ะค่ะ ช่วงนี้พยายามทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสเข้าไว้เพื่อให้การสร้างอวัยวะไม่ชะงักนะคะ
เหล็ก
ช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์กำลังขยายขนาดของเซลล์ ร่างกายก็ต้องการอาหารในปริมาณมากเช่นกัน ขณะที่ร่างกายคุณแม่ก็ต้องการเลือดมากขึ้นเพื่อนำออกซิเจนและสารอาหารส่งต่อไปยังลูกน้อย ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด เพื่อช่วยสร้างให้มีจำนวนเม็ดเลือดแดงเพียงพอ ป้องกันอาการโลหิตจาง ภาวะซีดที่อาจจะเกิดกับคุณแม่ นอกจากนี้ควรได้รับวิตามินซีควบคู่ไปด้วย เพราะวิตามินซีช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว กีวี ฝรั่ง

Food : เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ ตับ ปลาทูน่า กุ้ง ไข่แดง งาดำ หรือผักใบเขียว


ไตรมาส 3 สารอาหารเพื่อการพัฒนาเซลล์

For Baby

เป็นระยะที่ลูกน้อยในครรภ์เริ่มขยายขนาดของตัวเพิ่มมากขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ลูกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสมองก็พัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุดในไตรมาสนี้ด้วยค่ะ ยิ่งช่วงใกล้คลอดประมาณเดือนที่ 8-9 ขนาดของลูกน้อยจะใกล้เคียงกับตอนที่คลอดออกมา สิ่งที่ตามมาช่วงนี้คือน้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นเพราะลูกน้อยในครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้นนั่นเองค่ะ

For Mom

นอกจากคุณแม่จะต้องรับประทานอาหารเพื่อเสริมสร้างร่างกายลูกน้อยแล้ว ยังเป็นช่วงที่ต้องเตรียมสารอาหารสำรองไว้เพื่อช่วยสร้างน้ำนมด้วย แต่หากช่วงนี้รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ควรแบ่งการรับประทานอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 5-6 มื้อ เคี้ยวให้ละเอียดและกินให้ช้า และควรมีอาหารว่างพกติดตัวไว้เสมอ เช่น กล้วย ส้ม ขนมปังกรอบ ถั่วอบแห้ง
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
เป็นสารอาหารที่ช่วยพัฒนาการของกระดูกและฟันให้กับลูกน้อย และยังมีส่วนช่วยลดการเกิดตะคริวให้คุณแม่ ซึ่งปกติคุณแม่ควรเริ่มสะสมแคลเซียมตั้งแต่ไตรมาสแรก แต่ช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด กระดูกและฟันของลูกจะถูกสร้างมากที่สุด คุณแม่จึงควรจะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงมากขึ้นกว่าเดิม โดยรับประทานวันละ 1,200 มิลลิกรัม

Food : ปลาเล็กปลาน้อย นม งา ถั่วเหลือง (มีวิตามินดี เพื่อจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี) แต่หากมีน้ำหนักเกินควรดื่มนมไร้ไขมัน

ผักและผลไม้
คุณแม่อาจจะมีอาการท้องผูกง่าย เพราะมดลูกไปกดทับลำไส้ ควรรับประทานผักและผลไม้ ที่มีกากใยเพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดริดสีดวงทวารได้ค่ะ เพราะหากคุณแม่เป็นริดสีดวง มีเลือดออกมาก นอกจากจะทำให้คุณแม่ไม่สบายตัวแล้ว อาจจะทำให้คุณแม่เกิดภาวะซีด ซึ่งกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ เพราะจำเป็นต้องใช้เลือดในการหล่อเลี้ยงมากค่ะ

รับประทานผักและผลไม้หลากหลาย หรือจะดื่มน้ำผัก ผลไม้ปั่นแทนได้ แต่ควรมีกากของผักผลไม้ผสมด้วยไม่ควรกรองทิ้ง ควรดื่มประมาณ 1 แก้วต่อวัน สำหรับคุณแม่ที่บางวันอาจรับประทานอาหารที่มีปริมาณผักน้อย

Food : มะขามหวาน ลูกพรุน โยเกิร์ต มะละกอ เป็นยาระบายธรรมชาติที่ช่วยผ่อนคลายปัญหาท้องผูกได้


กินให้ดี กินให้ถูกหลัก กินให้ครบ เท่านี้ร่างกายของทั้งคุณแม่คุณลูกก็แข็งแรงแล้วค่ะ


[ ที่มา.. นิตยสาร MODERNMOM Vol.13 No.151 May 2008 ]






Create Date : 21 มกราคม 2552
Last Update : 23 กรกฎาคม 2552 22:59:47 น.
Counter : 2721 Pageviews.

2 comments
  
ตอนท้อง ต้องทานแต่ของมีประโยชน์ ไม่ค่อยได้กินอย่างที่ชอบ แต่บำรุงซะจนตอนนี้น้ำหนักยังลดไม่ลงเลยค่ะ
โดย: AM NUCH วันที่: 21 มกราคม 2552 เวลา:22:08:46 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ
โดย: อ้อมกอดของความเหงา วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:12:10:41 น.

เจ้าแม่แฟชั่น
Location :
  Maldives

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



Group Blog
มกราคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
24
27
28
29
30
31
 
All Blog