เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
สารอาหารที่จำเป็นเมื่อตั้งครรภ์

สารอาหารที่จำเป็นเมื่อตั้งครรภ์
ในบทที่ผ่านๆ มาเราได้นำเสนอเกี่ยวกับอาหารไปบ้างแล้วโดยการให้เพิ่มมื้ออาหารสำหรับคนที่กินได้น้อย
แต่วันนี้ จะมีสูตรที่ทำใด้ลูกน้อยของคุณแข็งแรง คลอดออกมาสมส่วน รับรองได้เลย
สำหรับคุณแม่ที่กินได้แยะอญุ่แล้วคงไม่มีปัญหาอะไรแต่สำหรับท่านที่กินได้น้อยแนะนำให้เพิ่มมื้ออาหารนะครับ
อาหารในแต่ละมื้อต้องมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ถั่ว แป้ง ผัก ผลไม้ และไขมัน
บางคนคิดว่า ไขมันไม่จำเป็นละมั้งเพราะจะทำให้แม้อ้วนเปล่าๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว มันจำเป็นสำหรับลูกน้อยในครรภ์
นอกจากสารอาหารทั้ง 5 หมู่ที่กบ่าวมาแล้วยังต้องมี สารอาหารที่จำเป็นอีกบางตัวได้แก่

กรดโฟลิคคืออะไร

กรด โฟลิค (Folic acid) เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามิน บี ที่ละลายน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูป สารประกอบชนิดอื่น ๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น โฟเลต (Folate) โฟลาซิน (Folacin) เป็นต้น กรดโฟลิคมีหน้าที่ในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม ควบคุมการสร้างกรด อะมิโน (Amino acids) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการสร้างและการแก่ตัวของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวในไขกระดูก กรดโฟลิคเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดูดซึมที่บริเวณลำไส้เล็ก จากนั้นจะถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและสุดท้ายจะถูกขับออกจากร่างกายไปกับปัสสาวะในรูปของโฟเลท

ใครกัน ที่เสี่ยงต่อการขาดกรดโฟลิค

กลุ่ม ที่เสี่ยงต่อการขาดกรดโฟลิคมากที่สุด คือ หญิงตั้งครรภ์ คนที่รับประทานกรดโฟลิค ไม่เพียงพอ กลุ่มทารก เด็กที่กำลังเจริญเติบโตและผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๆ

อาการแสดงสำคัญของการขาดกรดโฟลิค

1. โลหิตจางที่มีขนาดเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่าปกติ (Megaloblastic Anemia) ภาวะโลหิตจางชนิดนี้เกิดขึ้นเพราะมีการปล่อยเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่ ออกมาในกระแสเลือด เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงที่ไม่โตเต็มที่ไม่เพียงพอ (เม็ดเลือดแดงที่โตไม่เต็มที่ จะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงปกติที่โตเต็มที่แล้ว)

2. ความพิการทางสมอง (Neural tube defect) เป็นความผิดปกติในการสร้าง หลอดประสาท มีผลต่อไขสันหลังและสมอง เกิดขึ้นในระยะแรกของการพัฒนาเป็นตัวอ่อนในครรภ์ ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงในตัวอ่อน เพื่อพัฒนาเป็นไขสันหลัง ประสาทและสมอง ขณะเดียวกันกระดูกส่วนสันหลังจะค่อย ๆ เจริญออกมาล้อมรอบไขสันหลัง ซึ่งในช่วงที่ร่างกายกำลังพัฒนานี้ เกิดความผิดปกติขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาได้ ภาวะรุนแรงที่สุด คือ สมองทั้งหมดขาดหายไป (Anencephaly) ที่พบบ่อยที่สุด คือ กระดูก สันหลังไม่ยื่นมาเชื่อมเป็นวงแหวน เพื่อจะโอบล้อมไขสันหลัง ทำให้ของเหลวในไขสันหลังดันช่องกระดูก สันหลังที่ปิดไม่สนิทนี้โป่งออกมา เรียกว่า Spina Bifida ซึ่งความพิการทางสมองนี้ เกิดจากการขาดกรดโฟลิคในช่วงก่อนตั้งครรภ์และช่วงแรกของการตั้งครรภ์

3. ภาวะมีสารโฮโมซีสเตอีนสูงเกินปกติ (Homocysteinemia) ภาวะนี้เกิดเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของปริมาณสารโฮโมซีสเตอีนในกระแสเลือด เชื่อว่าโฮโมซีสเตอีนนี้ จะยับยั้ง Cross-linking ระหว่างการสร้าง elastin และ collagen เพิ่มการสร้าง prostaglandin ในเกร็ดเลือดและหลอดเลือด มีการกระตุ้น coagulation factors จนมีการทำลายหลอดเลือดในที่สุด ซึ่งการเพิ่มขึ้นของโฮโมซีสเตอีนนี้จะมี ความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ไขมันอุดตันในหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะ เลือดแข็งตัวเป็นก้อนอุดตันทางเดินของกระแสเลือดในเส้นเลือดบริเวณรอบนอกตาม แขนขาและอาจส่ง ผลให้เกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูง โรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน

ผู้ที่รับประทานผักจะได้รับกรดโฟลิคเพียงพอ แต่ผู้ที่เลือกรับประทานอาจได้รับกรดโฟลิค ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเพื่อให้แน่ใจว่าสตรีที่ตั้งครรภ์หรือกำลังเริ่มตั้งครรภ์ได้รับกรดโฟลิ คเพียงพอ ก็อาจรับประทานวิตามินเสริม วันละ 400 มิลลิกรัม กรดโฟลิคเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ ร่างกายจะขับส่วนที่เหลือออกไปทางปัสสาวะ การเสริมกรดโฟลิคหรือการรับประทานกรดโฟลิคสูง จึงไม่ควรกังวลว่าจะมีการสะสมในร่างกาย แต่ในผู้ที่รับประทานกรดโฟลิคมากกว่า 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน อาจทำให้ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของการตรวจเลือดเพื่อดูภาวะขาดวิตามิน บี12 (pernicious anemia) ได้

การปรุงอาหารประเภทผักนั้น ควรทำให้สุกเร็ว ๆ เพราะความร้อนทำลายกรดโฟลิคได้ถึงร้อยละ 80-90 และการเก็บผัก ผลไม้สดไว้นานเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียกรดโฟลิคได้เช่นกัน

ความสำคัญของแคลเซียม

กลไก การทำงาน ของร่างกายมนุษย์ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาแคลเซียมเป็นสำคัญ นอกจากเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูกและฟันแล้ว แคลเซียมยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของคนเราหลายต่อหลายระบบเช่น ระบบประสาทที่ต้องอาศัยแคลเซียมเป็นแร่ธาตุจำเป็นในการ-นำกระแสประสาทของ เซลล์ในระบบประสาท กระบวนการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจที่ต้องทำงานตลอดเวลาเช่นกัน นอกจากนี้แคลเซียมยังเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด อีกทั้งเป็นตัวนำสารอาหารที่สำคัญผ่านเข้าออกเซลล์ และที่สำคัญที่สุดแคลเซียมยังเป็นองค์ประกอบหลักของกระดูก รวมทั้งยังทำหน้าที่เป็นสารป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย

แคลเซียมเข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับ การทำงานของแคลเซียมจะเริ่มจากเมื่อร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารก็จะ ถูกกรดในกระเพาะทำให้แคลเซียมแตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้น จากบริเวณลำไส้ส่วนต้น ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้นแคลเซียมจะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้ว ไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

โดยปกติแม้กระดูกจะ ไม่ยืดตัวให้เห็นแต่จะมีแคลเซียมผ่านเข้า-ออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 มิลลิกรัม ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียมที่อยู่ในกระดูกจะถูกดึงออกพร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไปพร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณแคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย

โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ใน การที่จะรักษาระดับแคลเซียมในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าระดับแคลเซียมที่ปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดยแคลเซียมส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและแคลเซียมที่ใช้เพื่อการซ่อมแซม กระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียมในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่ายเงินออมก็มากขึ้น เงินออมนี้ก็เปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เสีย สมดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินออมก็จะร่อยหรอลงไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอเพียงต่อความพยายาม รักษาระดับแคลเซียมให้ปกติ จึงต้องมีการละลายแคลเซียมจากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้แคลเซียมในกระดูกค่อยๆ ลดลงๆ ท้ายที่สุดระดับแคลเซียมปกติหรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่น เอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสมแคลเซียมของ ร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในระดับที่แตกต่างกันดังนี้

• เด็กแรกเกิด-9 ขวบ มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน

• เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 100-150 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน

• ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 200-400 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน

• ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 50-100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน

• ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสมแคลเซียมได้ 0 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งหมายความว่าหลังจากอายุ 30 ปี ไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป จึงต้องมีการเติมแคลเซียมให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก

ความต้องการของแคลเซียม
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนแปลงตามวัยและสภาวะต่างๆ ของร่างกาย

ทารก เด็ก และวัยรุ่น เป็นช่วงที่มีการสร้างกระดูกมากที่สุด ทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น จึงเป็นช่วงสำคัญในการสะสมมวลกระดูกสำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูก ให้มีปริมาณสูงสุด

วัยหนุ่มสาว ในช่วงอายุ 19-30 ปี ยังมีการสะสมมวลกระดูกอีกเล็กน้อย จึงจะถึงปริมาณสูงสุด

วัย ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เป็นช่วงที่มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนในช่วง 5 ปีแรก มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว

หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ร่างกายมีการปรับตัวโดยการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น และดึงแคลเซียมออกจากกระดูกน้อยลง ดังนั้นปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในกลุ่มนี้จึงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากหญิงก่อนตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะกินแคลเซียมในปริมาณน้อยกว่าที่ แนะนำ ดังนั้นในระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงต้องกินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอตามที่แนะนำ เพื่อการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดี

เมื่อทราบแล้วก็ควรที่จะรับทานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างลืมว่าเรายังมีอีกหนี่งชีวีตที่ต้องดูแล













Create Date : 15 ธันวาคม 2552
Last Update : 15 ธันวาคม 2552 8:24:06 น. 0 comments
Counter : 1111 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.