เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหืดในเด็ก

    สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหืดในเด็ก

โรคหืด หรือ หอบหืด เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้ประมาณ 10-13% ทั่ว โลก และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นทุกปี อาการของผู้ป่วยเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ โดยที่หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็ง บวม และมีการสร้างเสมหะมากขึ้นกว่าปกติ  เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นโรคที่ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาให้เร็วเพื่อลดโอกาสในการเกิดความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นและภาวะแทรกซ้อน

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหืดในเด็ก

สาเหตุของโรคหืดคืออะไร
    โรคหืดมีสาเหตุจากพันธุกรรมและสิ่งกระตุ้นต่างๆ เด็กที่มีอาการหอบหืดร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้หรือโรคหืดในครอบครัวจะมี โอกาสเป็นโรคมากกว่าเด็กปกติ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการของโรคมักเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองเกสรจากพืช เชื้อรา สะเก็ดรังแคสัตว์ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหืดของเด็กมีอะไรบ้าง
    ผู้ปกครองมักสงสัยว่าผู้ป่วยเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่มีอาการหายใจหอบเหนื่อยเวลาติดเชื้อในทางเดินหายใจเช่นไข้หวัด จะเป็นโรคหืดหรือไม่ จากข้อมูลการศึกษาในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยเด็กส่วนหนึ่งที่มีอาการหอบเหนื่อย เมื่อมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจในช่วงอายุไม่เกิน 5 ปี เมื่อโตขึ้นอาการจะหายไปและไม่ได้เป็นโรคหืดในผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้จะมีโอกาสสูงต่อการเป็นโรคหืด ได้แก่ มีพ่อและ/หรือ แม่เป็นโรคหืด เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นเช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แพ้อาหาร ตรวจพบสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ มีอาการหอบโดยไม่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วย และการตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil ในเลือดสูง

จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคหืด

    การวินิจฉัยโรคหืดในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถทำการทดสอบสมรรถภาพปอดได้แพทย์จะวินิจฉัยโรคจะใช้การซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลักประวัติที่สำคัญคือการมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นและประวัติอาการของโรคหืดที่สำคัญได้แก่ อาการหายใจมีเสียงวี้ด ซึ่งเกิดจากหลอดลมตีบ หายใจลำบากหายใจเร็วโดยมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อทางเดินหายใจหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้และตอบสนองต่อการได้รับยาขยายหลอดลม สำหรับเด็กที่มีอาการหืดไม่รุนแรงอาจมีอาการเพียงวิ่งเล่นแล้วเหนื่อยหรือไอ ไอมากตอนกลางคืน-เช้ามืด เมื่อเป็นหวัดจะไอหายช้ากว่าปกติสำหรับเด็กโตจะใช้การทำการทดสอบสมรรถภาพปอดมาช่วยการวินิจฉัยโรคหืดร่วมกับประวัติและการตรวจร่างกาย  เช้า มืด เมื่อเป็นหวัดจะไอหายช้ากว่าปกติ สำหรับเด็กโตจะใช้การทำการทดสอบสมรรถภาพปอดมาช่วยการวินิจฉัยโรคหืดร่วมกับ ประวัติและการตรวจร่างกาย

จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กมีอาการหอบหืดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดบ้าง

                การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้มีอาการของโรคภูมิแพ้ทั้งโรคหืดและจมูกอักเสบภูมิแพ้จะทำได้ 2 วิธีคือการสะกิดผิว (skin test) และการเจาะเลือดเพื่อหาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ (specific IgE)

     โดยทั้ง 2 วิธีนี้สามารถทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ละอองเกสรจากพืช เชื้อรา และสามารถทำในผู้ป่วยเด็กได้ เพื่อประโยชน์ในการทราบข้อมูลสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้มีอาการ และหลีกเลี่ยงได้ถูกต้องรวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการฉีดวัคซีนภูมิแพ้




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2555
0 comments
Last Update : 29 สิงหาคม 2555 19:06:28 น.
Counter : 1758 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.