Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
22 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
ความรู้เรื่องหลอดไฟ

( บทความปรับปรุงใหม่ 22/9/2552 )



หลอดอินแคนเดสเซนต์ (incandescent)
หลอดไส้หรือหลอดอินแคนเดสเซนต์ มีทั้งชนิดแก้วใส และแก้วฝ้า ไส้หลอดทำจากทังสเตน(Tungsten) เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อน และให้แสงสว่าง
หลอดอินแคนเดสเซนต์ให้แสงสีเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้นมาก และเปลืองไฟมาก เนื่องจากสูญเสียพลังงานไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น ปัจจุบันแทบจะไม่มีใครใช้แล้ว

แต่ผู้จัดสรรโครงการที่อยู่อาศัย บางราย ยังคงใช้ให้ลูกค้าอยู่



หลอดฟลูออเรสเซนต์(Fluorescent T8)
หลอดนีออนหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์มีลักษณะหลอดยาวเป็นรูปทรงกระบอก ให้แสงสว่างนวลตา ให้สีของแสงหลายแบบ เช่น
สี warm white ให้แสงสีขาวอมเหลืองนวล ทำให้รู้สึกอบอุ่น สี cool white ให้แสงสีขาวอมฟ้า ให้ความรู้สึกเย็นสบายตา แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป และสี day light ให้แสงใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ ทำให้มองเห็นสีของ วัตถุใกล้เคียงกับสีจริง
หลอดฟลูออเรสเซนต์ต้อง ใช้งานร่วมกับบัลลาสต์(Ballast) และสตาร์ทเตอร์(Starter)
หลอดฟลูออเรสเซนต์โดยแฉลี่ยแล้วมีอายุการใช้งาน นานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ ประมาณ 8 เท่า และใช้พลังงานเพียง 20% ของหลอดอินแคนเดสเซนต์

ปัจจุบันมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ T5 ซึ่งประหยัดไฟฟ้าและให้แสงมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ T8 เดิม



หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์(Compact Fluorescent)
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หลอดตะเกียบ หรือหลอดผอมเป็นหลอดที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนหลอดอินแคนเดสเซนต์มีให้เลือกทั้งแบบ warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ 10 เท่า และใช้พลังงานเพียง 25% ของหลอดอินแคนเดสเซนต์
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มีลักษณะการวางหลอด 2 แบบ คือการวางหลอดในแนวตั้ง และการวางหลอดในแนวนอน
การวางหลอดในแนวตั้งปริมาณแสงจากหลอด จะลดลง 5-10 เปอร์เซนต์ เพราะอากาศร้อนจะถูกพัดขึ้นไปด้านบน แต่ถ้าวางหลอดในแนวนอนปริมาณแสงจะลดลงถึง 40 เปอร์เซนต์

ข้อเสียที่ควรระวังของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์คือ เมื่อหลอดไฟแตก สารปรอทที่มีอยู่ในหลอดส่วนหนึ่งจะระเหยกลายเป็นไอ และส่วนที่เป็นผงก็จะฟุ้งกระจาย ซึ่งเราอาจจะสูดดมเข้าไปได้ สารปรอทเป็นสารพิษที่จะทำลายไตและพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์และเด็กในวัยเจริญเติบโต




หลอดฮาโลเจน(Halogen)
หลักการทำงานทั่วไปของหลอดฮาโลเจนคล้ายกับหลอดไส้ และกินไฟมากแต่มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้
หลอดฮาโลเจนให้แสงสีขาวและให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับหรือให้แสงสำหรับการแต่งหน้า




สำหรับหลอดไฟทุกชนิด การเปิดปิดไฟบ่อยๆ นั้นมีผลกระทบน้อยนิดต่อการทำงานและอายุการใช้งานของหลอดไฟ ดังนั้น ควรปิดไฟทันทีเมื่อเลิกใช้




tags : Tube Light, Light bulb, ประเภทของหลอดไฟ, ชนิดของหลอดไฟ, การเลือกใช้หลอดไฟ

ภาษาอังกฤษน่ารู้
ฺีBulb : หลอดไฟฟ้า
Tube : หลอด, ท่อ

Copyright © 2012  //www.facebook.com/baansuansabuy,//baansuansabuy.bloggang.com

ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องบ้าน กับ บ้าน สวน สบาย ส่งปัญหาของท่านได้ที่ www.facebook.com/baansuansabuy, baansuansabuy@gmail.com

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับบ้านอื่นๆ ได้ที่ 
www.facebook.com/baansuansabuy



Create Date : 22 กันยายน 2552
Last Update : 25 พฤษภาคม 2555 7:42:30 น. 1 comments
Counter : 3744 Pageviews.

 
เป็นความรู้ใหม่มากค่ะ *_*


โดย: ปิ่นโต IP: 118.172.174.219 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:53:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

บ้าน สวน สบาย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




ถาม-ตอบ ปัญหาเรื่องบ้าน กับ บ้านสวนสบาย
ส่งปัญหาของท่านได้ที่
https://www.baansuansabuy.com/
baansuansabuy@gmail.com

"อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"
พุทธวจน
Friends' blogs
[Add บ้าน สวน สบาย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.