📚 โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม ◜◡‾)
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
21 พฤษภาคม 2564
 
All Blogs
 
(ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่) ตอน 2.

 
 ปัญหาโหร :  เรื่อง (ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่) 2.
---------------------------------------------  อรุณ ลำเพ็ญ
 

หน้าปัญหาโหรนี้ จะเปิดเป็นประจำทุกเล่มเพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่บรรดานักโหราศาสตร์ ริเริ่ม และกำลังเรียนรู้ในโหราศาสตร์ มักเกิดปัญหาขัดข้องในการเรียน การอ่าน ตำรับตำราทั้งหลายขึ้น แล้วมักไม่รู้จะถามใคร 

ถ้าท่านเกิดปัญหาในการเรียนโหราศาสตร์นี้  โปรดจดหมายถามมาที่บรรณาธิการ พยากรณ์สาร และโปรดส่งซองจ่าหน้าถึงตัวท่านด้วย  เพราะการจะตอบปัญหาทุกปัญหาในหน้าพยากรณ์สาร  อาจไม่สะดวกจะได้ตอบเป็นส่วนตัวให้ท่าน  ปัญหาใดที่น่าสนใจและประโยชน์แก่ส่วนรวมก็จะตอบในหน้าพยากรณ์สาร  

ผู้ตอบมิได้คิดจะตั้งตนเป็นสัพพัญญูอยู่ในโหราศาสตร์  เพียงปราถนาดีที่จะเป็นเพื่อนและพี่เลี้ยงให้นักโหราศาสตร์ที่เพิ่งเข้ามาสู่วงการโหราศาสตร์จะได้แก้ปัญหาได้ ปัญหาใดที่ผมไม่รู้ก็จะพยายามไถ่ถามผู้รู้หาคำตอบมาให้ แต่ถ้าปัญหาใดสูงสุดเกินสติปัญญาก็จนใจตอบไม่ได้ 

 

 ปัญหาโหร : เรื่อง (ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่) 2.
---------------------------------------------         อรุณ ลำเพ็ญ


ต่อจากตอนที่แล้ว

ตามที่กล่าวว่าเวลาสัมพันธ์อยู่กับตำบลที่และฤดูกาลนั้น  จะได้ยกเอาความสัมพันธ์กับตำบลที่มากล่าวเป็นประการแรกว่าสัมพันธ์กันอย่างไร  แต่ก่อนมาทุกๆประเภท ประเทศทั่วโลกต่างใช้เวลาสมมุติตามตำบลที่ของตน  เช่นที่กรุงเทพฯ ก็ใช้เวลาของตำบลบริเวณพระราชวังเดิมคือที่ตั้งกองทัพเรือเดี๋ยวนี้  เพราะเป็นสถานที่ๆ ได้ทำการวัดดวงอาทิตย์เพื่อตั้งเวลา  เวลาเที่ยงของกรุงเทพฯ หรือของทั่วราชอาณาจักรสมัยนั้นก็คือ เวลาที่ดวงอาทิตย์สมมุติเดินผ่านเส้นชี้ทิศเหนือใต้ ของตำบลพระราชวังเดิม  เมื่อเป็นเช่นนี้เวลาภายในประเทศเดียวกัน  ถ้าใช้เท่ากัน เวลาของตำบลอื่นที่อยู่ ทางตะวันออกหรือตะวันตก ของพระราชวังเดิมก็เป็นเวลาที่ไม่ถูกต้อง  เพราะอาณาเขตต์ของประเทศไทย ถ้าวัดไปตามตะวันออก ตะวันตก ก็กว้าง ๗๖๐  กิโลเมตร  เช่นที่กรุงเทพฯ กำลังเที่ยง  ที่จังหวัดจันทบุรีจะเป็นเวลาบ่าย ที่จังหวัดเพชรบุรีจะยังไม่เที่ยงฉะนี้เป็นต้น  

ส่วนเวลาจะผิดกันเท่าไหร่ก็แล้วแต่ระยะทาง ซึ่งนับตรงไปตามตะวันออก ตะวันตกจะห่างกันมากหรือน้อย  ส่วนตำบลที่อยู่ตรงเหนือใต้ของกรุงเทพฯนั้น คงเท่ากับกรุงเทพฯ เช่นที่อ่างทอง และสงขลาจะเที่ยงพร้อมกับกรุงเทพฯ 

ในประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอาณาเขตกว้างขวาง มีสถานีเวลาหลายแห่งประเมศนั้นก็ย่อมใช้เวลาต่างๆกัน เป็นภาคๆไป  เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมเกิดความไม่สะดวกต่อการติดต่อคมนาคมแม้แต่ในประเทศของตนเอง  ทีนี้เมื่อทำการติดต่อประเทศที่ต้องอาศัยเวลา เช่น การโทรเลข เดินรถ เดินเรือ ก็เพิ่มความสับสนพัวพันมากขึ้น  ต่างกำหนดการเอาแน่ไม่ได้ว่าใครใช้เวลาของตำบลอย่างใดอย่างไร  การนัดหมายเวลาต่างๆ ก็มักประสบความไม่แน่นอน โต้เถียงกันซึ่งเป็นการยากต่อการปฎิบัติ  ยิ่งโลกมีความเจริญในการคมนาคมอย่างในสมัยนี้แล้ว  การนัดหมายเวลาย่อมเป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง 

   
เนื่องจากเหตุยุ่งยากเหล่านี้ นานาประเทศจึงได้ประชุมหารือกันในเรื่องกำหนดแบ่งภาคของเวลามาหลายครั้ง  แต่เป็นที่ตกลงกัน จึงในคราวมีการประชุมสาสากลอุทกนิยม ( International  Hydrographiic  Bureau )  ณ.กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๖๒   ซึ่งประเทศไทยอันเป็นสมาชิกของสภานั้นก็ได้ส่งผู้แทนไปเข้าประชุมด้วย  ที่ประชุมของสภานี้จึงได้ตกลงกันให้แบ่งเขขต์หรือภาคของเวลาออกเป็นส่วนๆ ทั่วโลก  ประเทศใดตกอยู่ส่วนใด ก็รับใช้เวลาของส่วนนั้นตลอดไป โดยเอาแผนที่โลกมาขีดแบ่งเป็นส่วนๆไปตามทิศเหนือและใต้ มีความกว้างส่วนละ ๑๕ องศาของลองจิจูด หรือ ถ้าจะนับเป็นเวลาก็เป็นส่วนละ ๑ ชั่วโมง  นิยมเรียกว่าแผนที่เวลาอัตรา ( Zone time ) ส่วนประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสภาสากลอุทกนิยม จะรับใช้ด้วยก็ตามใจสมัคร  และการบัญญัติในข้อนี้ไม่ใช่การบังคับ เป็นแต่การตกลงยินยอม 

เมื่อประเทศใดเกิดความไม่สะดวกด้วยประการใดๆ ในภาคของเวลาที่บัญญัติให้ใช้นี้ จะขอเปลี่ยนใช้เป็นอย่างอื่นก็ได้ และเมื่อแจ้งไปยังสภาสากลอุทกนิยมแล้ว  เขาก็แจ้งไปยังนานาประเทศให้ทราบโดยทั่วกัน ด้วยประการฉะนี้  การติดต่อในเรื่องเวลาอันเคยเป็นการยุ่งยากก็หมดไป 

การแบ่งประชุมภาคของเวลาในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ตกลงยกให้หอตรวจดาวที่เมืองกรีนิช  ประเทศอังกฤษเป็นจุดแรกแห่งการกำหนด  คืออให้นับตำบลนั้นเป็น ๑ ชั่วโมง  การที่ยกให้ตำบลใดในโลกนี้เป็นจุดแรกประเทศทั้งหลายหาได้มีการเสียเปรียบกันอย่างใดไม่   และการที่ยกให้เมืองกรีนิช เป็นจุดแรกนั้นย่อมเป็นความสะดวกต่อนานาประเทศทั้งหลายเป็นจำนวนมาก เพราะเกือบทั่วโลกได้อาศัยปฎิทินของอังกฤษซึ่งบอกอาการโคจรของดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์และดาวทั้งหลายบนท้องฟ้า  และการการคำนวณในปฎิทินนั้ก็ใช้เวลของเมืองกรีนิชเป็นมาตราฐาน เขาพิมพ์ออกจำหน่ายทุกๆปี  ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า Nautical  almane  ทหารเรือไทย เราเรียกว่าปฎิทินเดินเรือ  จากปฎิทินนี้เราสามารถจะรู้อาการโคจีวัตถุบนท้องฟ้า ไได้ทุกขณะ การเดินเรือในทะเลซึ่งต้องอาศัยการวัดดวงอาทิตย์และดาวเพือหาที่ของเรือและต้องอาศัยปฎิทินชนิดนี้ทั้งสิ้น  ส่วนประเทศไทยที่ทำปฎิทินชนิดนี้ของตนเองขึ้นใช้ ก็ไม่เสียผลอย่างใด คงใช้ได้ โดยไม่มีข้อติดขัด 

ก่อนที่จะได้กล่าวต่อไปขอทำความเข้าใจเสียก่อนว่าโลกพิภพเรานี้เป็นลูกกลมแต่จะกลมโดยเหตุใดนั้นนั้นไม่ใช่ความมุ่งหมาย ที่จะกล่าวในเรื่องนั้น เมื่อเชื่อว่าโลกกลมแล้ว วงรอบของโลกในทางตะวันออก ตะวันตกก็จะเป็นวงกลม และแบ่งออกเป็น ๓๖๐ องศา ส่วนตามตำราเรขาคณิต เมื่โลกถูกแบ่งออกเป็นภาคๆ  ภาคละ ๑๕ องศา หรือ ๑ ชั่วโมง  รอบโลกจึงเป็น ๒๔ ชั่วโมง  และเมื่อกำหนดให้เมืองกริเป็ยจุดแรกคือ  ๐  ชั่วโมง  ก็ย่อมจะรุ้ว่าตำบลใดเวลาจะช้า หรือเร็วกว่ากรีนิชเท่าใด  ประเทศใดที่อยู่ทางตะวันออกของเมืองกรีนิชเวลาของประเทศนั้นก้ย่อมเร็วกว่ากรีนิช  คือดวงอาทิตย์จะผ่านประเทศนั้นก่อนและเวลาของประเทศที่อยู่ทางตะวันตก ของกรีนิชก็ย่อมช้ากว่า เพราะดวงอาทิตย์จะผ่านภายหลัง 

เมื่อได้แบ่งภาคของเวลาออกบนแผนที่โลกแล้ว  ประเทศไทยก็มาตกอยู่ในเขตต์ระหว่างเส้นลองจิจูด ๙๗ องศากึ่ง กับ ๑๑๒ องศากึ่ง ตะวันออกขิงกรีนิช ถ้านับเป็นเวลาจะเร้วกว่ากรีนิซ  ๗  ชั่วโมง แต่ที่เร็วกว่า  ๗  ชั่วโมงนั้นไม่ใช่ทั้งประเทศ คือเฉพาะที่เส้น  ลองจิจูด  ๑ๆ๕  องศา เท่านั้น  ตำบลนี้ในประเทศไทยก็อยู่ใก้เคียงกับเส้นเหนือได้ที่ผ่านที่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานี  ข้าพเจ้าได้ยกเอาแผนที่ในภาคนี้ซึ่งเป็นประเทศไทยมาแสดง ไว้จะเห็นได้ว่า มีอาณาเขตต์สุดทางตะวันตก ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงสุดทางตะวันออกที่จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นระยะห่างกันนับตรงไปทางทิศตะวันออกตะวันตกราว  ๔๒๐ ไมล์  จึงเป็นอันได้ความว่าเวลาที่เราใช้กันอยู่ขณะนี้ เป็นเวลาของที่ใก้ลจัวหวัเอุบลราชธานี และเมื่อเอาไปใช้ถึงแม่ฮ่องสอนก็ย่อมคลาดเคลื่อนไปทุกหนทุกแห่ง ถ้าจะนับเวลาในกรุงเทพฯ คือตำบลที่ทำการตรวจอยูขณะนี้ที่พระปรางค์วัดอรุณ  จะเร็วกว่ากรีนิชอยู่  ๖  ชั่วโมง  ๔๑  นาที  ๕๘.๒  วินาที  แต่ตามที่กล่าวมาแล้วว่าเราถูกกำหนดเวลาเร้วกว่ากรินิ๙ถึง  ๗  ชั่วโมง  ฉะนั้นเวลากรุงเทพฯ ที่เราใช้อยู่จึงเร้วไป  ๑๘  นาที ๑.๘ วินาที นี่เป็นความคลาดเคลื่อนประเการที่ ๑  ซึ่งสัมพันธือยุ่กับตำบลที่

เมื่อประเทศไทยได้ยอมรับใช้เวลาตามข้อตกลงข้อตกลงสภาสากลอุทกนิยมแล้ว จึงได้มีประกาศ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงการใช้เวลา ดังได้คัดข้อความในพระราชกฤษฎีกามาไว้ต่อไปนี้ 

ประกาศพระราชกฤษฏีกาให้ใช้เวลาอัตรา 
" มีพระราชบรมโองการในพระบาทสมเด็จ พระรามธิบดีศรีสินทรทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว " ดำรัสเหนือเกล้า สั่งว่า 
ด้วยวิธีการนับเวลาที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้  แต่โบราณมาก็ใช้นาฬิกาแดด ถือเอาเวลาอาทิตย์อยู่ตรงกลางฟ้าระหว่างขอบฟ้าทิศตะวันออกกับตะวันตกเป็นประมาณ  ที่เรียกว่า มัชฌันติกสัย เป็นตัวกำหนดใช้ในที่นั้น  แล้วอาศัยดูเงาอาทิตยืเป็นประมาณอย่างหยาบๆ ว่า  เช้า  สาย  เที่ยง บ่าย  เย็น  เป็นเวลาที่ต่างกันด้วย  ๒ ฤา  ๓  ชั่วโมง  เช่นนั้นแล้ว ถ้าแม้ว่าเวลาจะผิดกันไปสักชั่วโมงหนึ่ง  ก็ยังไม่ใคร่รุ้สึกว่าผิดเวลามากนัก  เวลานาฬิกาแดดจึงไม่เสมอเท่ากันทุกวันไปได้ 




#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเอง   ได้ที่ ... Baankhunyai.com
#เรียนดูดวงฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโสม
#อ่านดวงสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#Byคุณยายกลิ่นโสม




Create Date : 21 พฤษภาคม 2564
Last Update : 22 พฤษภาคม 2564 15:49:57 น. 0 comments
Counter : 652 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณยายกลิ่นโสม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add คุณยายกลิ่นโสม's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.