📚 โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม ◜◡‾)
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2561
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
8 กรกฏาคม 2561
 
All Blogs
 

โหราศาสตร์กับพระพุทธศาสนา




#โหราศาสตร์กับพระพุทธศาสนา

เนื่องจากข้าพเจ้ามีความสนใจชอบศึกษา หาความรู้เหี่ยวกับวิชาโหราศาสตร์และพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ มีมิตรสหายตลอดจนผู้ใหญ่ที่น่านับถือ บางท่านถามเสมอว่า โหราศาสตร์ไม่ขัดกับหลักพระพุทธศาสนาหรือ เคยตอบไปตามความเห็นอัตโนมัติว่า ตามหลักการแล้วไม่ขัดกันเลย ถ้าท่านผู้ใดมีความรู้ในหลักของวิชาโหราศาสตร์ และของพระพุทธศาสนาบ้างตามสมควรแล้ว จะต้องเห็นจริงด้วย เพราะเดินคนละหลัก 
.
หลักการของวิชาโหราศาสตร์ ได้กล่าวมาตอนตต้นแล้วว่า แบ่งอออกเป็น 3 ภาค
.
ภาคแรก ว่าด้วยวิธีการคำนวณหาจุดเคลื่อนย้าย และตำบลที่อยู่ของดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีกฎเกณฑ์การคำนวณที่แน้นอนตายตัวกลายเป้นวิทยาศสาสตร์ไปแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนจากการคำนสณหหาจุดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา เป็นต้น
.
ส่วนภาค2 ว่าด้วยการพยากรณ์นั้น เดิมก็เกิดจากคววามสังเกตุของมนุษย์ สังเกตุเห็นดาวนพพระเคราะห์ในท้องฟ้าโคจรมาทำมุมกันเองงกับโลกตรงราศีนั้นๆ เกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม สงคราม เกิดโรคระบาดทำให้คนตายเป็นจำนวนมากๆ ก็จดบบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ. เหล่านั้นไว้ทำกันเป็นทอดๆ มาหลายชั่วอายุคน จนเห็นเหตุการณ์แน่ขัดว่า ดาวนพเคราะห์เมื่อโคจรมาถึงตรงจุดนั้น ต้องเกิดเหตุอย่างนั้นอย่างนั้นอย่างที่เคยเกิดมาแล้วอีก จึงเกิดเป็นวิชาพยากรณ์ขึ้นคือ วิชาสถิติพยากรณ์นั่นเอง หลังจากสังเกตุเห็นปรากฎการณ์ต่างๆ เกิดแก่โลก ประเทศ บ้านเมืองมาเป็นเวลาช้านาน โดยอิทธิพลของดาวพระเคราะห์แล้ว ก็สังเกตุเห็นเหตุการณ์ร้ายดีก็เกิดขึ้นแก่บุคคลด้วยเช่นเดียวกัน แต่บุคคลย่อมได้รับอิทธิพลของดวงดาวผิดแผกกันไป เพราะเมื่อเราเกิดมาในโลกได้รับวัตถุธาตุจากการแสส่งของดวงดาวไม่เหมือนกัน
.
ภาคสุดท้ายก็ว่าด้วยพิธีกรรมต่างๆ ก็เป็นเรื่องของการให้ทำความดี งดทำชั่ว เว้นจากบาปอกุศลทั้งปวง ส่วนหลักการแห่งพระพุทธศาสนานั้นคือ หลักแห่งความจริงของสภาวะธรรมต่างๆ เช่น อริยะสัจจ์สี่ หลักกรรมทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชัว เป็นหลักวิทยาศาสตร์อันแท้จริง จึงไม่ขีดหลักการของโหราศาสตร์อย่างใด หรือนัยหนึ่งถ้จะเปรียบเทียบโดยอุปมาว่า พระพุทธศาสนาสั่งสอน ให้เชื่อในหลักกรรม ไม่รับรู้การกระทำของพระเจ้า แต่โหราศาสตร์เท่ากับกล้องส่องดูกรรมอีกชั้นหนึ่งเท่านั้น เดินกันคนละทาง คนละสาย ไม่ขัดแย้งกัน
.
สมัยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระชนม์อยู่ก็รับรองในวิชาโหราศาสตร์ โดยอนุมัติให้สาวกศึกษาวิชาโหราศาสตร์ได้ ดังจะขอยกเรื่องราวมาเล่าได้ฟังในตอนสำคัญ ทั้งนี้เพื่อประกอบความเห็นอัตโนมัติดังกล่าวมาแล้ว
.
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาอยู่ ณ.เมืองปาวา อันเป็นที่สะดวกสบายในการโคจรบิณฑบาต พร้อมด้วยพระอัครสาวก พระอสีติสาวกและพระสากสามัญ ๕๐๐ รูป สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองปาวา ให้บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก ครั้นเมื่อปวารณาออกพรรษาแล้ว เป็นสมัยเข้าเขตเหมันต์ฤดูควรแก่การจาริก พระสงฆ์สามัญ ๑,๐๐๐ รูป ได้ไปทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อไปสู่รุกขมูลเสนาสนะบำเพ็ญเพียรภาวนาสืบไป เมื่ิอไดรับพระพุทธานุญาตแล้วพระสงฆ์ ๑๐๐ รูปนั้นก็พากันออกจากเมืองปาวา จารึกไปถึงราวป่าแห่งหนึ่ง แล้วตกลงต่างแยกกันออกเป็นหมู่ๆละ ๕ รูป เพื่อไปสู่ชนบทตามความปราถนาของหมู่สงฆ์นั้นๆ พระสงฆ์หมู่หนึ่ง ๕ รูปพากันจาริกไปถึงป่าชัฎแห่งหนึ่ง ก็ไปพบโจรเข้า ณ.ที่นั้น พวกโจรเห็นหมู่พระสงฆ์เดินมา ก็เข้าใจว่ามีทรัพย์สินเงินทองติดตัวมาด้วย ก็พากันเข้าสะกัดกั้นตีชิงทรัพย์สิ่งของ พระสงฆ์หมู่นั้นต่างก็พากันวิ่งหนีโจรเพื่อเอาตัวรอด แต่พระสงฆ์นั้นก็ไม่มีสิ่งใด และเมื่อเปิดบาตรดูก็มีแต่สังฆาติเก่าๆผืนเดียว โจรเหล่านั้นเมื่อไม่ได้สิ่งของอันใด ก็พาหลีกไปสู่ที่อื่น เมื่อพวกโจรไปหมดแล้ว พระสงฆ์ที่หลบหนีไปก็กลับมาดูพระสงฆ์องค์ที่หนีไปไม่ได้ ก็มาพบเห็นพระสงฆ์รูปนั้นถึงแก่มรณภาพเสียแล้ว ณ.ที่นี้
.
ครั้นแล้วพระสงฆ์ที่ยังคงเหลือ ๔ รูปก็ชวนกันกลับเมืองปาวา นำความไปแจ้งแก่พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐาก พระอานน์ก็นำความที่โจรตีพระภิกษุรูปนั้นให้ถึงมรณภาพ ขึ้นกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาตรัสแก่พระอุตตมรามเถรผู้เป็นพระอสีมหาสาวกที่มีปรีชาในทางโหราสาสตร์ว่า ดูกรอุตตมรามเถร พระภิกษุปุถุชนไปรุกขมูลไปพบโจรเข้าที่กลางทาง โจรตีตายเพราะเหตุไมรู้ฤกษ์ยามไปถูกยามจรไม่ดีเข้าแล้ว ก็มักเป็นเหตุให้ถึงอุปัทวันตรายเสียในกลางทาง ถ้าไปถูกยามจรที่ดีก็ไปสวัสดี(ปลอดภัย)มีชัยในข้างหน้า นึกสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นดังปราถนาควรที่พระสงฆ์จะเรียนรู้ฤกษ์ยามและคัมภีรฺโหราศาสตร์ไว้คุ้มตัว เมื่อมีกิจธุระไปในที่ใดๆก็จะได้ไปโดยสะดวก และการนี้ไม่เกี่ยวข้องกับสิกขาบทไม่ต้องอาบัติ พระอุตตมรามเถรรับพระพุทธฎีกาแล้ว ก็มาสั่งสอนพระภิกษุปุถุชนและพระโสดาบันบุคคลและหมู่ชายหญิง ทั้งหลายที่ปราถนาจะเเรียนรู้วิชาโหราศาสตร์ ให้ได้เล่าเรียนคัมภีร์โหราศาสตร์และฤกษ์บน มีคัมภีร์จักรทีปนีโหราศาสตร์ ขั้นต้นเป็นต้นอาทิฯ
.
อนึงมีคำกล่าวติเตียน เป็นสมณดังฤามาเรียนรู้นักขัตฤกษ์อันเป็นทางพาหิรวิชา(วิชาภายนอก)ฉะนี้ มีข้ออรรถาธิบายว่า เดิมมีมูลเหตุเพราะพระภิกษุทั้งหลายไปเจริญสมณธรรมอยู่ในอรัญญิกเสนาสนะ(ที่พักในป่า) มีพวกโจรมาถามว่า วันนี้พระจันทร์เสวยฤกษ์อะไร ครั้งนั้นพระภิกษุตอบว่าไม่รู้ โจรก็หาคนเหล่านั้นมิใช่สณะ จึงมิรู้นักขัตฤกษ์ คงจะเป็นพวกโจรคอยเที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ กล่าวแล้วพวกโจรก็กลุ้มรุมทำร้ายประหารพระภิกษุั้งหลายเหล่านั้นจนถึงบาดเจ็บ บางรูปก็ถึงตาย แล้วก็หลีกเร้นไปที่อื่น เรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มีภาคเจ้า พระองค์ทรงมีพุทธดำรัวให้เรียกประชุมพระภิกษุสงฆ์แล้วจึงตรัสอนุญาตว่า "ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตบัดนี้ ให้ภิกษุอันจะไปเจริญสมณธรรมในอรัญญิกเสนาสนะ(ที่พักในป่า) พึงเรียนรุ็นักขัตฤกษ์ตามจะเรียนได้ทั้งสิ้นก็ดี โดยเอกเทศก็ดี สำหรับอรัญญิกวัตร(บริเวณป่า) เพื่อรักษาตนให้พ้นจากโจรภยันตราย



คัมภีร์จักรทีปนี ถือเป็นคัมภีร์ชั้นครูบาอาจารย์ ผู้ใดต้องการเรียนวิชาโหราศาตร์ ต้องมีความรู้จำได้แม่นยำจากคัมภีร์นี้ก่อน เพราะเป็นหลักของการพยากรณ์ คงไม่ผิดพลาด เพราะรจนาโดยพระอรหันต์ ซึ่งจิตใจขงม่านพ้นจากสรรพกิเลส และสะอาด สว่าง สงบ ท่านรจนไว้เป็นตอนๆ เช่น พระเคราะห์ประจำราศี ลัคนาประจำราศี พระเคราะห์กุมลัคนา และอยู่ในที่เป็นสองต่อไปจนถึง ๑๒ แต่เนื่องจากเป็นเวลาล่วงเลยมาแล้วถึง ๒,๕๐๐ ปีเศษ คงจดจำคักลอกกันต่อๆมา อาจวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากของเดิมบ้าง
.
#คัดลอกตัดทอนจากหนังสือเกร็ดวิชาโหราศาสตร์
หมายเหตุ : ทั้งเล่มหาชื่ออาจารย์ผู้เขียนไม่พบ จำขออนุญาตถ่ายรูปหน้าปกลงแทน เป็นการขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่เมตตา เขียนตำราให้อ่านเป็นความรู้
.
》 By : คุณยายกลิ่นโสมSmiley





 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2561
0 comments
Last Update : 8 กรกฎาคม 2561 1:11:35 น.
Counter : 584 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณยายกลิ่นโสม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add คุณยายกลิ่นโสม's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.