AyAtAnA - Blog of many 'ION'
Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
1 เมษายน 2553
 
All Blogs
 

จาก Ore wa Otoko da ถึง Nodame Cantabile

ขออนุญาตทำตัวเชยอีกสักครั้ง เนื่องจากเพิ่งได้ดู Nodame Cantabile ไม่นานนี้เอง ในขณะที่คนอื่นเขาดูกันจบไปเป็นปีแล้ว ที่เพิ่งมาดูก็เพราะมีคนแนะนำว่าให้ผม 'หามาดูให้จงได้' ก็เลยได้ดูทั้งสองภาค คือ ภาคแรกที่ญี่ปุ่น กับ ภาคสองที่ยุโรป



ดูแล้วอดให้เปรียบกับอีกเรื่องหนึ่งไม่ได้ นั่นคือเรื่อง Ore wa Otoko da (ข้าคือลูกผู้ชาย) ที่บ้านเราในยุคนั้นใช้ชื่อไทยว่า เคนโด้ ซึ่งก็บังเอิญได้มาดูใหม่แบบย้อนยุคอีกทีในเวลาไล่เลี่ยกันทั้งสองเรื่องสองยุค

เคนโด้ นั้นสร้างขึ้นในช่วงปี 1971 ส่วน Nodame Cantabile เพิ่งทำกันในปี 2006 นี่เอง ทั้งสองมีอายุห่างกัน 35 ปี แต่ดูแล้วรู้สึกเหมือนทั้งสองเรื่องยังคงสายพันธุ์เดิมไม่เปลี่ยนแปลง



จริงๆแล้วผมไม่ได้เป็นนักดูละคร หรือ Series ตัวยง เพียงแต่ดูแบบกระท่อนกระแท่น เรื่องที่ดูในช่วงไล่เลี่ยกับ เคนโด้ นั้นก็เป็นพวก ยอดหญิงและศึกชิงเจ้ากีฬาทั้งหลาย เช่น ยอดหญิงสิงห์สนาม วอลเล่ย์บอล ว่ายน้ำ โบว์ลิ่ง เบสบอล ยิมนาสติค ฯลฯ รวมทั้งพวกอภินิหารก่อนหน้านั้น เช่น โกลด้า (Magma Taishi) แล้วก็พวก Ultra ที่มาแสดงกันทั้งบ้านเลย จนมาเบื่อตอนไอ้มดแดงไม่รู้จบ ที่มีไม่รู้กี่ตัวต่อกี่ตัวจนชักจะยาวเกินไป แล้วก็มีประเภทการ์ตูน เช่น หน้ากากเสือ หุ่นอภินิหาร Mazinger-Z Yamato อะไรเทือกนั้น



ถ้าเป็นหนังชีวิตช่วงนั้นต้อง Sanshiro (เล่นโดย Muga Takewaki)



ก่อนที่เขาจะมาเล่นเรื่อง สองชีวิต (Futari no Sekai - เรื่องของสองสามีภรรยาช่วยกันเปิดร้านขายข้าวแกงกะหรี่)





เริ่มโตก็ต้องนี่เลย พยัคฆ์สาวนักสืบ (Play Girl - ซึ่งโป๊มากๆแล้วสำหรับยุคนั้น ใส่กระโปรงสั้นจู๋ เตะกันกางเกงในแลบ แต่ดันฉายช่วงหัวค่ำ..)



แล้วความสนใจในวัยนั้นก็เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นแทน พร้อมๆกับการมาของโทรทัศน์สี (พิมพ์ไม่ผิดครับ โทรทัศน์สี) และหนังจีนกำลังภายในที่เข้ามาแทน ทำให้เรื่องหลังสุดที่ดูคือ โอชิน

ดังนั้นข้อคิดต่อไปนี้จึงออกไปในแนว Suki-Ideology (แปลว่า เป็นความคิดเห็นแบบลวกๆ) ของคนที่ไม่ได้เป็นแฟนตัวยง

ผมเห็นว่า ทั้ง เคนโด้ และ Nodhame เป็นละครที่มีเนื้อหาหลักคือ การแข่งขัน การฝ่าฝันอุปสรรคให้ได้สิ่งที่ตนเองตั้งใจไว้เหมือนๆกัน หนทางไปสู่เป้าหมายนั้นมีอุปสรรคมากมาย แต่การแก้ไขไม่ได้ใช้แค่ความสามารถส่วนตัว พรสวรรค์ หรือความมุมานะเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคคลอื่นในทีมร่วมด้วย

โคจิ โคบายาชิ ตั้งชมรมเคนโด้คนเดียวไม่ได้ จิอากิก็จะเป็น Conductor ที่ดีได้ก็ต้องให้คนทั้งวงร่วมมือและยินดีร่วมใจด้วย และในหลายฉากหลายตอนเมื่อมีการร่วมกันทำงาน การเสียสละก็เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เป้าหมายส่วนรวมที่ยิ่งใหญ่กว่าลุล่วง ความสุขส่วนตัวต้องรอไว้ก่อน ฉากพวกนี้ดูไปน้ำตาซึมกันได้ไม่รู้ตัว

แนวทาง ข้าเก่งคนเดียวจึงใช้ไม่ได้ผล ตรงนี้จะต่างกับแนวความคิดทางตะวันตก ที่มักจะอาศัย ความเก่งฉกาจของพระเอกแต่ผู้เดียว โดยมีกองเชียร์อีกซีกโลกคอยลุ้นอยู่ในห้องควบคุมพร้อมจอเรดาร์และคอยโห่ร้องยินดี เมื่อพี่พระเอกของเราทำภาระกิจสำเร็จ

แม้ว่าละครทั้งสองจะห่างกันยาวนาน แม้ว่า เคนโด้ จะไม่อลังการตื่นตาเท่า Nodame Cantabile แต่ข้อความที่สื่อออกไปยังคงเดิม และดูเหมือนผู้สร้างละครญี่ปุ่นจะจงใจสอดแทรกปรัชญาเหล่านี้เข้าไปอยู่ตลอดมา และคงจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป ... ทำไม

สำหรับญี่ปุ่นแล้ว ผมว่า การแข่งขันและต่อสู้ เป็นอะไรที่ทำให้ชีวิตมีพลังและเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ รูปแบบอาจโจ่งแจ้งและน่ากลัวเหมือนสงครามโลก หรือ อาจซ่อนอยู่ในรูปสงครามเศรษฐกิจและการค้า ที่ญี่ปุ่นไม่เคยเลิกรบ จนหาญกล้าไปซื้อกิจการสัญญลักษณ์กล่องดวงใจของอเมริกา อย่าง Columbia Pictures และ Universal Pictures ในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อฟองสบู่ของญี่ปุ่นแตก เหมือนถูกซ้ำเติมและลงโทษยาวนาน จนวันนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่โตแต่ไม่ตาย ปีนี้ (2010) คนจะว่างงานอีกเพียบ จากอัตราการว่างงานที่เดิมก็สูงอยู่แล้ว

หรือนี่คือ สิ่งที่ทำให้หนัง ละคร และเกมโชว์ ยังต้องสื่อสารและกระตุ้นผู้คนอยู่อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน

ย้อนกลับมาเรื่องเบาๆบ้าง สิ่งที่น่าสังเกต คือ ผมว่านางรองดูดี (ไม่ใช่สวยนะครับ) กว่านางเอก ทั้งเรียวโกะ (แสดงโดย Ogawa Hiromi) ในเคนโด้



และ มิกิ คิโยระ (แสดงโดย Asami Mizukawa) ใน Nodame Cantabile



ที่ว่าดูดีก็คือ ทั้งคู่ดูเป็นสาวมั่น และนิ่งกว่านางเอก ตรงนี้มีข้อสันนิษฐาน คือ อาจเป็นเพราะญี่ปุ่นซึ่งเคยมีการแบ่งฐานะชายหญิงอยู่นานกว่าสองร้อยปี (สมัยโชกุน Tokugawa 1603-1867) ยังคงให้ผู้ชายเป็นตัวหลักที่มีบุคลิกเข้ม และอาจเป็นเพราะผู้สร้างต้องการให้บุคลิกนางเอกตัดกับบุคลิกของพระเอกอย่างชัดเจนก็เป็นได้ นางเอกเลยกลายเป็นคนที่ค่อนข้าง Emotion มาก (อารมณ์สวิงมากๆ ขี้งอน ขี้แง ขี้อ้อน ขี้โมโห)



ส่วนนางรองนั้นไม่เหมาะจะมาเป็นนางเอกแบบคิคุอโนเนะ เพราะบุคลิกที่ นิ่ง พูดน้อย ต่อยหนัก กระด้าง (เป็นประเภท ตบก่อน ถามทีหลัง ซึ่งมักจะเป็นที่ถูกใจชายไทยไม่ทราบชื่อโดยทั่วไปยิ่งนัก.....อันนี้ไม่รู้จริงๆว่าทำไม )

ข้อคิดในหนังมักจะแทรกและซ่อนอยู่ในประโยคธรรมดาๆทั้งหลาย หรือในเหตุการณ์ธรรมดาๆ ที่ได้พบเจอเพื่อจะได้ไปฉุกคิดในภายหลัง เหมือนกับจะพยายามสื่อว่า บางทีปัญหาที่ขบไม่แตกน่ะ คำตอบมันอาจจะอยู่รอบๆตัวเรา รอให้เราสังเกตและนำมันมาประยุกต์ใช้ก็ได้ ถ้าทำใจให้ว่าง จะคิดออกเอง

มาถึงตรงนี้ ไม่บังอาจเปรียบเทียบละครของญี่ปุ่นกับของประเทศอื่น เพราะ ถ้าคนอินเดียไม่ชอบละครที่ไม่มีนางเอกเปิดพุงเต้นระบำ วิ่งร้องเพลงข้ามเนินเขาสามลูกฉันใด คนญี่ปุ่นก็คงไม่ชอบละครแนว กรี๊ด-ตบ กรี๊ด-ตบ แบบบางเรื่องที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา ฉันนั้น ศิลปเพียงสะท้อนวัฒนธรรมเท่านั้น..ไม่ได้เป็นตัวชี้นำ

การกลับมาดูละครในครั้งนี้ นอกจากจะได้ความรู้ด้านดนตรีเพิ่มขึ้นจาก Nodame และยังได้รำลึกความรู้สึก(โบราณ)เดิมๆแล้ว ยังมีของแถมเป็นรอยต่อ ที่ทำให้ผมข้ามไปยังอีกสื่อหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ

เพราะด้วยความที่ Nodame มาจาก Manga (เคนโด้ก็มาจาก Manga ชื่อเรื่องเดียวกัน) และในระหว่างผมสนใจเรื่องอาหารและข้าวกล่องซึ่งมีอยู่ใน Manga เช่นกันนั้น ทำให้ผมได้ึึึึึึึึึึึึึึึึึึึึึึึึมีโอกาสอ่านเรื่องอื่นๆไปด้วย และทำให้เข้าไปในอีกสื่อหนึ่งที่อยากเขียนถึง มันคือ Manga นั่นเอง




 

Create Date : 01 เมษายน 2553
2 comments
Last Update : 1 เมษายน 2553 17:14:22 น.
Counter : 3342 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 1 เมษายน 2553 9:15:20 น.  

 

แวะเข้ามาดูให้หายคิดถึง Chiaki ซะหน่อย คนอะไรก็ไม่รู้ โคตรหล่อออออจัง

 

โดย: mariabamboo 16 เมษายน 2553 15:20:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Kalaman
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Think Thinker Thinkest
Friends' blogs
[Add Kalaman's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.