Everyday is special day
 
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
29 มกราคม 2552

ตอนที่ 7 อู่ต่อเรือแห้งคืออะไร

สวัสดีครับ

นี่ก็เขียนมาเป็นตอนที่เจ็ดแล้ว ครับใครติดตามอ่านมาตั้งแต่ตอนที่หนึ่ง มาลงชื่อหน่อยครับ

จาก ตอนที่หกความเห็นที่เก้ามีท่านหนึ่งท้วงติงมาว่า น่าจะเป็นรูปที่เรือจอดอยู่ในอู่ลอยมากกว่าที่จะเป็นอู่แห้ง ขอบคุณากครับสำหรับการท้วงติง วันนี้ผมก็เลยมาเขียนเรื่องอู่แห้ง จะว่าไปแล้วอู่ลอยก็เป็นอู่แห้งแบบหนึ่งครับ เดี๋ยวค่อยๆเขียนอธิบายไปครับ


อันดับแรกต้องมานิยามก่อนว่า อู่แห้ง คืออะไร อู่แห้ง ก็คือช่องแคบๆที่สามารถเปิดให้น้ำเข้าได้ เพื่อนำพาหนะทางน้ำเข้ามาในช่องดังกล่าว แล้วสูบน้ำออกให้แห้ง เพื่อการสร้าง ซ่อมบำรุง ยานพาหนะทางน้ำครับ

คำว่าอู่แห้ง เป็นการแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Drydock จะแปลว่าอู่ไม่เปียกก็กะไรอยู่ ก็จริงอยู่ว่าระหว่างทำงานมันก็ไม่เปียก แต่ปล่อยน้ำเข้ามาแล้วมันก็เปียก พูดไปก็ทำให้ตัวเองและคนอื่นสับสน ไม่พูดดีกว่า เอาเป็นว่าเรียกว่า อู่แห้ง นี่หละดีแล้วเล่นมั่วมากๆไม่ดี เดี๋ยวงง


อู่แห้งแบ่งออกเป็น ประเภท คือ

1.แบบขุด
2.แบบลอย

ในรูป เรือ USS IOWA อู่ในอู่แห้งที่ Norfolk รัฐ Virginia ครับ


1. อู่แห้งแบบขุด (Graving)

ก็มีลักษณะตามชื่อคือ มีการหลุมกว้างยาวลึกตามขนาดเรือที่ต้องการรองรับ แล้วเสริมผนังหลุมสามด้านด้วยคอนกรีต ส่วนอีกด้านที่เหลือจะมีประตูเปิดปิดให้น้ำเข้าเพื่อนำเรือเข้าหรือออกจาก อู้แห้งชนิดนี้ เมื่อต้องการเปิดอู่ให้เรือเข้าก็จะเปิดประตูให้น้ำเติมเต็ม เรือก็สามารถเข้ามาได้ เมื่อเรือเข้ามาถึงจุดที่ต้องการแล้วจึงปิดประตู นักประดาน้ำจะดำไปดูตำแหน่งเรือเพื่อให้สัญญาณเพื่อจัดเรือให้อยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากนั้นก็จะวิดน้ำออก เอ้ยไม่ใช่แบบนี้เหนื่อยมาก เขาสูบน้ำออกจนกระทั่งอู่แห้ง และแล้วงานซ่อมบำรุงก็เริ่มได้ครับ นอกจากซ่อมแล้ว การสร้างเรือ หรือทำความสะอาดเรือจากเพลียงหรือทาสีใหม่ ก็สามารถทำในอยู่นี้ได้ด้วยเช่นกันครับ

ในภาพเป็นอู่แห้งในท่าเรือ Lyttleton ประเทศนิวซีแลนด์ครับ ท่าเรือนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก เป็นเวลามากกว่าหนึ่งร้อยปีมาแล้วครับ

นี่เป็นอู่แห้งในประเทศสิงคโปร์ครับ ทราบกันดีว่าประเทศนี้มีความสามารถในการต่อและซ่อมบำรุงเรือสูง ประเทศหนึ่งครับ เรือยกพลขึ้นบกลำใหม่ที่กองทัพเรือไทยสั่งก็จะต่อขึ้นที่สิงคโปร์นี่หละ ครับ

2. อู่แห้งแบบลอย (Floating)
อู่แบบนี้ไม่อยู่บน ดินแบบอู่ขุดครับแต่จะลอยอยู่ในน้ำที่ลึกพอสมควรเพราะต้องจมตัวเองลงไปในน้ำ ครับ อู่นี้ถูกสร้างมาให้สามารถรับน้ำเข้าไปทำให้ส่วนล่างของอู่จมลงใต้ระดับผิว น้ำ เรือก็สามารถเข้าไปได้ เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็จะสูบน้ำออกจากตัวอู่ทำให้ทั้งอู่และ เรือลอยน้ำขึ้น ทั้งหมดอยู่เหนือผิวน้ำครับ และแล้วงานก็เริ่ม

ข้อดีของอู่ลอยคือ
1. สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยการลาก ไม่มีเครื่องยนต์ในตัวอู่นะ
2. สามารถขายต่อได้

ส่วนอู่แบบขุดจะใช้สำหรับสร้างหรือซ่อมบำรุงก็สะดวก ครับเพราะสามารถขนของไปสร้างง่ายและรองรับน้ำหนักได้มากกว่าอู่แบบลอย เพราะการสร้างมีเครื่องมือมากมายและต้องเชื่อต่อกับแหล่งพลังงานและวัตถุดิบ ด้วยครับ แต่ข้อเสียคืออู่แบบนี้เคลื่อนที่ไม่ได้ครับ

ลาตอนที่เจ็ดไปด้วยภาพการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาครับ CVN-70

จบล่ะครับ เรื่องอู่แห้ง


Create Date : 29 มกราคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2552 9:20:31 น. 0 comments
Counter : 2117 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

AVAVA
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add AVAVA's blog to your web]