ครอบครัวตัวออ. เที่ยวอุบล 4 วัน 3 คืน แวะมาเติมสีสันแห่งการท่องเที่ยวที่เมืองอุบล



หนึ่งปีที่เรามีนัดกันเสมอเนื่องจากวันนี้ 26 กุมภาพันธ์ เป็นวันเกิดของพี่อ้อ เริงฤดีนะ
ครอบครัวตัวออ.มักจะแพลนการท่องที่ยวไปเที่ยวยังที่ต่างๆ เสมอ
สำหรับปีนี้ 23-26 กุมภาพันธ์ 2566 เราแพลนมาที่จังหวัดอุบลราชธานี
ดังนั้นจีงเกิดทริปเรื่องราวดีดีในวันนี้ค่ะภาพเยอะ blog ยาวมาก
อยากรวมให้อยู่ในเอนทรีเดียว 4 วัน 3 คืน ชมเลยค่ะ



สำหรับใครที่กำลังมองหาห้องประชุม สัมมนา หรือทานอาหาร
ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว พร้อมกับบรรยากาศร่มรื่น
มีอาหาร เครื่องดื่มครบจบที่เดียว ปาปิลิโอ เฮ้าส์
เปิดเวลา 𝟎𝟖.𝟎𝟎-𝟐𝟏.𝟎𝟎 น.
☎️ 061-871-8716 / 098-131-9456
𝐆𝐏𝐒 : https://g.page/papilio-house?share
#papilio #papiliopanwahouse #ubonratchatani
#cafe #cafeubon #cafeubonratchathani
 










ขอขอบคุณพี่พี่ เพื่อนพี่อ้อมมากค่ะ



ออกจากร้าน PAPILIO คาเฟ่&เบเกอรี่สุดชิคของเมืองอุบล
มุ่งตรงไปที่อำเภอโขงเจียมค่ะ





แต่เมื่อเข้าเขตอำเภอโขงเจียมแวะไหว้พระที่วัดคูหาสวรรค์สักหน่อยค่ะ







พระพุทธรูปปางสมาธิ
พระประธานในพระธรรมเจดีย์ศรีไตรภูมิ วัดถ้ำคูหาสวรรค์



1.วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดที่สร้างโดยหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี
แม้ว่าท่านจะมรณภาพแล้วแต่ร่างกายไม่เน่าเปื่อย
ทางวัดยังคงเก็บรักษาร่างไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะ
ภายในวัดมีความโดดเด่นด้วยฆ้องขนาดใหญ่เจดีย์ และฆ้องยักษ์
และมีจุดชมวิวแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล บ้านเรือนเมืองโขงเจียมและลาว











วัดถ้ำคูหาสวรรค์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2521
โดยหลวงปู่คำคะนึง จุลมณี
หลวงปู่ที่อาศัยถ้ำซึ่งมีลักษณะเป็นชะโงกหินเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ภายหลังได้มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามากขึ้น
จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่บริเวณปากถ้ำและบริเวณวัดให้เหมาะสมสำหรับปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
อาทิ อาคารที่พักสงฆ์ หอระฆัง
แล้วด้วยจุดที่ตั้งวัดอยู่บนที่สูง
จึงมีการสร้างจุดชมวิวไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
จุดชมวิวนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลที่ไหลมาบรรจบกัน
ทิวทัศน์ในเขตประเทศ สปป.ลาว
และตัวเมืองอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี









บันไดพญานาคทางขึ้นวัดถ้ำคูหาสวรรค์



และก็มาถึงที่พัก

ดู





บ้านพักเฮือนงอยโขง
เป็นที่พักตากอากาศหลังเล็กๆ ใกล้จุดชมวิวแม่น้ำสองสี
ติดถนนริมโขง อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี
โฮมสเตย์ในบรรยากาศชิคชิคราคาบ้านบ้าน น่าพักมากค่ะ
มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ปาท่องโก๋ กาแฟโอวัลติน
พร้อมห้องน้ำในตัว



เฮือนงอยโขงที่พักหลักร้อยวิวสวยหลักล้าน
ในเขตเทศบาลบ้านหลังแรกตะวันออกสุดตรงจุดชมวิว #เฮือนงอยโขง
#ริมโขงที่พักใกล้ๆในอำเภอโขงเจียม #ที่พักริมน้ำสองสีที่โขงเจียม
#โรงแรมรีสอร์ทติดริมน้ำ #ห้องพักรายวันสวยๆ
#ที่พักใกล้แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอโขงเจียม



ขอขอบคุณพี่สองคนมากนะคะที่มาส่ง





จากนั้นเข้าสู่เข้าวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566
ตื่นมาหกโมงเช้ามารอพระอาทิตย์ขึ้นที่แม่น้ำสองสี
อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ใกล้ที่พักมาก เดินจากเฮือนงอยโขง ไม่ไกล











ณ วัดโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี



2.วัดโขงเจียม หรือวัดบ้านด่านเก่า อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูลบรรจบกัน ใกล้กับจุดชุมวิวแม่น้ำสองสี
นับเป็นวัดเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุให้ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างน่าสนใจ

















วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สารถีเราชื่อน้องกาญค่ะ สาวเสื้อม่วง



เริ่มท่องเที่ยวกันตามชุมชนตามใจฉันแต่กองทัพต้องเดินด้วยท้อง
ว่าแลเวแวะมากินมื้อเช้าที่ร้าน "กินก่อม" อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี





ร้านกินก่อมตั้งอยู่ที่ถนนแกล้วประดิษฐ์
เลขที่ 207 หมู่.1 อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
โทร.084-5853513
เปิดบริการในเวลา 06.00-20.00 น.
เป็นร้านอาหารที่ขายอาหารเช้า
มีทั้งกาแฟ สเต็ก
โจ๊ก ไข่กะทะ ก๋วยจั๊บ ข้าวต้มปลา ต้มเลือหมู ฯลฯ



พี่อ้อพี่อ้อมสั่ง ก๋วยจั๊บญวณ





คุณนายอุ้มสีชีสั่งไข่กะทะเจ้าค่ะพี่น้องก็อร่อยดีค่ะ
ผ่านมาอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
แวะมากินที่ร้าน "กินก่อม" นะคะพี่น้องชาวไทย





จากนั้นสาวสาวสาวครอบครัวตัวออ.มุ่งสผุ่สามพันโบกต่อไป
แต่นั่งพักแปบ 1 นะคะ ถนนโล่ง เที่ยววันธรรมดาดีอย่างนี้นี่เอง





สามพันโบก” ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า หมู่ที่ 4 ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
มีลักษณะเป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง
ในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งเกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ จนทำให้แก่งหินเหล่านี้กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง
และคำว่า “แอ่ง” ในภาษาอีสานหรือภาษาลาวจะเรียกว่า “โบก” จึงเป็นที่มาของคำว่า “สามพันโบก”





ค่าสองแถวไปส่งที่ท่าเรือ ขาไป 200 บาท ขากลับ 200 บาท
ค่าไกด์ชุมชนแล้วแต่จะให้ค่ะพี่อ้อเลยให้ไป 150 บาท













ในช่วงฤดูแล้งน้ำแห้งขอด “สามพันโบก” จะโพล่ขึ้นมาเหนือพื้นน้ำ
ให้เห็นคล้ายเป็นภูเขากลางลำน้ำโขง เป็นความAmazing ยิ่งกว่าเดิม
ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติกลางลำน้ำโขง
จึงทำให้หลายคนขนานนามให้ที่นี่เป็น “แกรนด์แคนยอนเมืองไทย” เลยทีเดียว
แอ่งหินและแก่งหินใน “สามพันโบก”
ที่ถูกน้ำกัดเซาะจะมีลักษณะและรูปทรงที่แตกต่างกันไปมากมายหลายหลาก
อาทิ รูปมิกกี้เม้าส์ รูปหัวใจ รูปดาว รูปเต่า รูปหนู รูปหัวสุนัข ฯลฯ



























3.จากนั้นมาทำบุญที่วัดปากแซง
ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า คนแก่ในหมู่บ้านว่า
บ้านปากแซงได้ตั้งขึ้นนานแล้วแต่ไม่ทราบว่าตั้งขึ้นตั้งแต่ในสมัยใด
แต่ทราบว่าหมู่บ้านใกล้เคียงในละแวกนี้ ได้อพยพออกจากบ้านปากแซง
ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ตามสภาพภูมิประเทศเพื่อทำการเกษตร
และสันนิษฐานว่าอาจอาจมาตั้งหมู่บ้านขึ้นหลังจากที่พรานเชรษฐบุตร
ได้มาพบพระพุทธรูปที่บริเวณหมู่บ้านนี้ เมื่อมีประชาชนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น
จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อต้นแซง (ขึ้นอยู่ตามลำห้วยแซง)
คือ “บ้านปากแซง”





พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากแซง
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร
ฐานกว้าง 1.19 เมตร
เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนคนไทย
และประชาชนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญในการนมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
ระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ประวัติการสร้างพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด



นึกถึงเนื้อเพลง...
กราบพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อแห่งวัดปากแซง
สาธุเด้อ..
ให้ลูกหลานอยู่ดีมีแฮง
เบิ่งแยงด้วยใจศรัทธา....











ออกจากวัดปากแซง มาพักเบรคชิลชิลที่ร้านกาแฟเบเกอรี่ & แคมปิ้ง
ที่พักสวยแคมปิ้งริมโขง บรรยากาศสวยที่นาตาลแคมปิ้ง





นาตาลแคมป์ปิ้ง ริมแม่น้ำโขงมาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม
ที่นี่นักท่องเที่ยวที่อยากมาเที่ยวติดธรรมชาติ แม่น้ำโขง โขดหิน
เพราะมีเต็นท์ให้เช่า(พร้อมกางให้) ที่มีพื้นที่ให้เช่ากางเต็นท์พร้อมอุปกรณ์ให้เช่า
และยังมีชุดหมูกระทะและชุดปิ้งย่างให้บริการ
พร้อมมีชุดเครื่องดื่มพร้อมน้ำแข็งฟรี
ที่สำคัญมีห้องน้ำและอาบน้ำที่สะอาด
และยังมีกิจกรรมล่องเรือชมโขง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.085-3110866 /098-1152152









จากนั้น 17.00 น. ถึงที่พัก แลโขง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี





แลโขง ริเวอร์ รีสอร์ท
เป็นที่พักบรรยากาศสุดชิลติดริมแม่น้ำโขง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

แลโขง ริเวอร์ รีสอร์ท (Laekhong River Resort)
เป็นโรงแรมยอดนิยมที่ใครมาเขมราฐต้องแวะมาพักที่นี่
เพราะบรรยากาศชิลชิล
แต่ที่สำคัญราคาจับต้องได้ในราคาที่ไม่แพงเลยอุ้มสีคอนเฟิร์ม
นับเเป็นที่พัก & ร้านอาหาร สุดชิคที่อยู่ริมแม่น้ำโขง
ในบรรยากาศสุดโรแมนติกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง
มีตักบาตรหน้าที่พักและปั่นจักรยานชมเมืองเก่า
ร้านกาแฟ เขมโขงคาเฟ่ กาแฟและเครื่องดื่มต่างๆที่คัดสรรค์คุณภาพเพื่อคุณ
จองที่พัก โทร 0871112836 หรือไลน์ ID:laekhong1 (มีเลข1ด้วย)













จากนั้นน้องบอล ไอ้หนุ่มผมยาวแห่งเขมราฐพาครอบครัวตัวออ.
ตะลอนเขมราฐยามเย็น ขอบน้ำใจน้องบอลมา ณ โอกาสนี้ด้วยจ้า





4.วัดกลาง หรือวัดชัยภูมิการาม
เลขที่ 37 บ้านเขมราฐ หมู่ที่ 7 ตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี



วัดชัยภูมิการาม หรือ วัดกลาง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดเก่าแก่ที่ภายในวัดมีสิมแบบมหาอุต (ประตูทางเข้าประตูเดียว)
ที่มีบันไดนาคสวยงามแปลกตา
เป็นที่ประดิษฐานของพระสิทธิมงคล พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ศิลปะล้านช้าง
และชมภาพเขียนสีจิตรกรรมฝาผนังแบบอีสาน
มาตอนเย็น
และผู้หญิงไม่ให้เข้าไปภายใน "สิม" น่ะค่ะ



วัดชัยภูมิการามหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดกลาง”
วัดกลางเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดแรกของเมืองเขมราฐ
สร้างมานานกว่า 200 ปี และเป็นที่เคารพของชาวเมืองเขมราฐ
ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2317
เมืองเขมราฐซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน เมื่อตั้งวัดขึ้นจึงตั้งชื่อว่า วัดชัยภูมิ
อาจารย์พิบูล ใจแก้ว อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหนือ กล่าวว่า
การสร้างวัดสันนิษฐานว่านำเอาวัฒนธรรมมาจากเวียงจันทน์ หลวงพระบาง
เป็นช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราชแห่งลาว
ราชอาณาจักรล้านช้าง
ซึ่งตรงกับไทยในสมัยพระเจ้าประสาททอง
พระเทพราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2180-2237
เนื่องจากวัดกลางเป็นวัดที่เก่าแก่แต่โบราณ
ก่อนที่จะมายกฐานะเป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี
ต่อมาได้รับการบูรณะอุปถัมภ์ท่านเจ้าเมืองเจ้าคณะเมืองและเจ้าแขวงเจ้าคณะอำเภอ
และเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 3
ญาท่านสา เจ้าคณะเมืองได้เข้าเฝ้าในรัชกาลที่ 3 ที่กรุงเทพ
ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าตั้งชื่อว่า วัดชัยภูมิการาม



วัดกลางเป็นวัดเก่าแก่ และเป็นวัดแรกของเมืองเขมราฐ สร้างมานานกว่า 200 ปี
ประมาณพ.ศ.2357
เมื่อคราวตั้งเมืองใหม่ สร้างโดย พระเทพวงศา(เจ้าก่ำ) ผู้ครองเมืองคนแรก
มีการสร้างพระอุโบสถ(สิม) โดยพระครูเขมรัฐฐานานุรักษ์ (ญาท่านลี)
ในปีพ.ศ.2440 โดยสร้างเป็นสิมแบบมหาอุต ที่มีรูปแบบเรียบง่าย
แต่ยังคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมดั้งเดิม
โดยฝีมือสกุลช่างชาวญวนและศิลปะพื้นถิ่นอีสาน
ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานก่ออิฐถือปูน
จะพบอาคารพานิชย์ ก่ออิฐถือปูน ในพื้นที่เขมราฐ ซึ่งเป็นยุคเดียวกันอยู่ 3 หลัง
สำหรับรูปปั้นบันไดขึ้น "สิม" ในล้านนา ล้านช้าง และลุ่มน้ำโขง
จะมีการนิยมปั้นรูป เหรา(เห-รา)เป็นสัตว์ในตำนานป่าหิมพานต์

เหราวัดกลางนั้นช่างฝีมือในสมัยก่อนสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย
ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้เหลือเพียงความงามที่บริสุทธิ์
ไม่มีเกร็ดหรือเปลวกนกอย่างช่างหลวง
แต่เป็นช่างพื้นเมืองที่สร้างด้วยความจริงใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนา
นับเป็นความงามอีกรูปแบบหนึ่งที่หาได้ยากในปัจจุบัน
หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นศิลปะแบบ Naïve (นาอีฟ)



สิมที่วัดชัยภูมิการามมีความโดดเด่น กล่าวคือ
มีรูปปั้นของ "เหรา" (อ่านว่าเห-รา)
ตรงบันไดประตูอุโบสถ วัดชัยภูมิการาม (วัดกลาง)
เป็นศิลปะของช่างพื้นถิ่นเมืองเขมราษร์ธานี
ที่มีความเรียบง่ายปราศจากลวดลายประดับอน่างใดเลย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ "เห-รา"
ของวัดกลางแห่งนี้
พญานาคที่อยู่ตรงบันไดทางขึ้น มี 5 หงอนไม่มีเกล็ด
เท้าด้านหลังเหยียบปลา
ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากรูปปั้นพญานาคทั่วไป





4.น้องบอลพามาสักการะพญานาคที่วัดโพธิ์ถ.กงพะเนียง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี











เช้าวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ แลโขง เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

















แลโขง ริเวอร์ รีสอร์ท
เป็นที่พักบรรยากาศสุดชิลติดริมแม่น้ำโขง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

แลโขง ริเวอร์ รีสอร์ท (Laekhong River Resort)
เป็นโรงแรมยอดนิยมวิวสวยที่ใครมาเขมราฐต้องแวะมาพักที่นี่
เพราะบรรยากาศชิลชิล
แต่ที่สำคัญราคาจับต้องได้ในราคาที่ไม่แพงเลยอุ้มสีคอนเฟิร์ม
นับเเป็นที่พัก & ร้านอาหาร สุดชิคที่อยู่ริมแม่น้ำโขง
ในบรรยากาศสุดโรแมนติกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง
มีตักบาตรหน้าที่พักและปั่นจักรยานชมเมืองเก่า
ร้านกาแฟ เขมโขงคาเฟ่ กาแฟและเครื่องดื่มต่างๆที่คัดสรรค์คุณภาพเพื่อคุณ
จองที่พัก โทร 0871112836 หรือไลน์ ID:laekhong1 (มีเลข1ด้วย)





เขมราฐ หมายถึง ดินแดนแห่งความเกษมสุข
เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
โดยมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุบลฯ
มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านบริเวณอำเภออำเภอเขมราฐ
เป็นอำเภอที่มีอาณาเขตติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร
ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือเป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่สำคัญ
โดยฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ประเทศสปป.ลาว







ประวัติอำเภอเขมราฐ แต่เดิมมีฐานะเป็นหัวเมืองเอกขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
มิได้ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานีเช่นเมืองอื่นๆ นอกจากนั้นเมืองเขมราฐยังมีเมืองขึ้นอีกหลายเมือง
อาทิ เมืองอำนาจเจริญ เมืองคำเขื่อนแก้ว ฯลฯ
สำหรับการตั้งเมืองเขมราฐปรากฏเอกสารที่เป็นหลักฐานว่าในปัพ.ศ.2357
ซึ่งเป็นปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ
ตั้งเมืองยโสธรขึ้น
อุปฮาด(ก่ำ) ซึ่งเป็นอุปฮาดเมืองอุบลราชธานี ไม่พอใจ
ที่ทำราชการกับพระพรหมราชวงศา (ท้าวทิศพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2
จึงอพยพไพล่พลไปหาทำเลที่เหมาะสมตั้งเมืองขึ้นใหม่
ซึ่งเป็นการสนองพระบรมราโชบายในการตั้งเมืองขึ้นใหม่ในช่วงระยะเวลานั้นๆ
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโศกกงพะเนียง ขึ้นเป็นเมืองเขมราฐธานี
ขึ้นตรงต่อรุงเทพฯ เมื่อปีพ.ศ. 2357
พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อุปฮาด (ก่ำ) เป็นพระเจ้าเทพวงศาเมือง
ตลอดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเมืองเขมราฐมีความสำคัญ
และขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครตลอดมา

ครั้นถึงปีพ.ศ.2371 เมื่อเสร็จสิ้นสงครามปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เสร็จสิ้นแล้ว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียม
ซึ่งเคยขึ้นตรงต่อเจ้าเมืองจำปาสักมาขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ
เป็นผลให้เมืองเขมราฐมีบทบาทมากขึ้น

ในราชการพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีการแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีกับมณฑลร้อยเอ็ด
เมืองอุทัยเขมราฐจึงมีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีมาจนถึงปัจจุบัน



ถนนคนเดินอำเภอเขมราฐ ตั้งอยู่ที่ถนนวิศิษฐ์ศรี ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ
จังหวัดอุบลราชธานี
ณ "ชุมชนเก่าแก่บนถนนวิศิษฐ์ศรี"
มีบ้านไม้เก่าๆ ให้พบเห็นลอดทั้งเส้นสาย
เป็นวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงความเป็นอยู่ และศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ของผู้คนริมฝั่งโขงในจังหวัดอุบลราชธานี
ด้วยจุดเด่นนี้จึงได้กำหนดให้บริเวณนี้เป็นตลาดถนนคนเดิน เขมราษฎร์ธานี
ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2556
ด้วยกลุ่มฮักนะเขมราฐและผู้บริหารเทศบาลตำบลเขมราฐ
โดยนางลัดดา เจษฎาพานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลเขมราฐ
มีแนวความคิดที่จะพัฒนาบ้านเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ
ที่เคยคึกคักในอดีตให้กลับมามีชีวิตชีวาดังเดิม





กิจกรรมของตลาดถนนคนเดิน
มีการจัดให้มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน ผ้าทอ เสื้อผ้าพื้นเมือง
สินค้าหัตถกรรมจากชาวบ้าน อาหารพื้นบ้าน ของที่ระลึกต่างๆ
มีการจำหน่ายโปสการ์ดภาพสวยๆ ทั้งอดีตและปัจจุบันของอำเภอเขมราฐ
มีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การแสดงชุดพื้นบ้านออกมารำโชว์
มีมุมถ่ายรูปบ้านเก่าแก่ในอดีต
โรงแรมสุขสงวน โรงแรมแห่งแรกของอำเภอเขมราฐ
รวมทั้งการจัดนิทรรศการภาพเก่าแก่ของอำเภอเขมราฐ
โดยกำหนดจัดงานถนนคนเดินจะมีขึ้นทุกวันเสาร์ของเดือน













5.วัดโพธิ์ ถนนกงพะเนียง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่องค์แสน
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองเขมราฐที่สร้างด้วยอิฐโบราณ
ถือด้วยน้ำเกสรดอกไม้และน้ำเปลือกไม้ตามภูมิปัญญาของคนโบราณ

ซึ่งเสาอโศก วัดโพธิ์
เป็นสัญลักษณ์ที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ประทานให้พระครูวรกิจโกวิท เจ้าอาวาสวัดโพธิ์
เพื่อเชิดชูเกียรติว่าได้เป็นผู้ทำคุณูประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
ทางด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
ซึ่งให้ไว้ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2542



พระพุทธเขมรัฐวรมงคล ณ วัดโพธิ์
เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแบบผสมผสานของพระพุทธรูปองค์ต่างๆ
อาทิ พระเจ้าใหญ่องค์แสน พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระพุทธโสธร และพระพุทธสิหิงส์
โดยการสร้างด้วยปูนปั้นโครงเหล็ก หน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร
อำนวยการสร้างโดย พระครูวรกิจโกวิท เจ้าอาวาสวัดโพธิ์
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระราชินีในรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
ที่ทรงได้เจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา









วัดโพธิ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2331 โดยแม่ชี (แม่ขาว) ที่หนีภัยสงครามมา
โดยนำผู้คนอพยพลงมาจากเวียงจันทน์
พร้อมด้วยลูกหลานญาติโยมลงมาตามลำน้ำโขง มายึดชัยภูมิแห่งนี้
ตั้งหมู่บ้านและวัดขึ้นในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี
เดิมวัดตั้งอยู่ที่ทําการศุลกากรและสถานีอนามัยในปัจจุบัน
ต่อมาชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปที่กลางป่ามีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้วยจึงย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน
และตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2516

พระเจ้าใหญ่องค์แสน ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.09 เมตร สูงรวมเกศ 1.59 เมตร
สร้างด้วยอิฐโบราณถือด้วยน้ำเกสรดอกไม้และน้ำเปลือกไม้
ตามภูมิปัญญาของคนโบราณ (สมัยนั้นไม่มีปูนซีเมนต์)
นับเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของชาวเขมราฐและจังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปลักษณะนี้มีเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งลำน้ำโขง
พระเจ้าใหญ่องค์แสนถูกสร้างขึ้นสมัยใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน
แต่มีการบันทึกคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า
มีประวัติพระเจ้าใหญ่องค์แสนอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติและเขียนว่า
"พระเจ้าใหญ่องค์แสนสร้างก่อนพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากแซง”











ออกจากไหว้หลวงพ่อแสนที่วัดโพธ์แล้วก็มาไหว้หลวงพ่อหมื่นที่วัดอูบมุงต่อค่ะ



6.วัดอูบมุง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อูบมุง หรือพระเจ้าใหญ่องค์หมื่น
พระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเขมราฐอีกองค์หนึ่ง





มาวัดนี้ได้ 3 เด้งเลยค่ะ
1.ได้มาไหว้หลวงพ่อหมื่น
(ตั้งใจมาไหว้ครบ 3 หลวงพ่อดังของเขมราฐ)
2.มาร่วมงานบุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่ (ช่วงเดือนมีนาคม) เป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง(วันสุดท้ายได้จับสลาก)
3.มาร่วมงานบวชพระ 4 รูป ถือว่าเป็นบุญของครอบครัวตัวออ.









วัดอูบมุง บ้านอูบมง หมู่ที่ 5 ตําบลเขมราฐ อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ตั้งเมื่อปีพ.ศ.2303 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อแีพ.ศ. 2541
พระเจ้าใหญ่อูบมุง (พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น) เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัดแต่พบเมื่อประมาณ 200 กว่าปีนี้เอง

ความเป็นมาในดินแดนแห่งนี้แต่ก่อนยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2349 มีท้าวศรีจันทร์ ศรีสุราชเป็นชาวอำเภอเขมราฐ
ได้อพยพมาพร้อมกับพรรคพวกจำนวนหนึ่ง
มาตั้งแหล่งทำมาหากินในบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอูบมุงแห่งนี้
และในครั้งนั้นมีการค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในป่ารกชัฏ
ประดิษฐานอยู่ในวัดร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก
และมี "อูบมุง" ก่อด้วยอิฐครอบองค์พระเอาไว้
ส่วนองค์พระมีปลวกขึ้นพอกจนถึงพระอุระ
ที่เรียกว่า “อูบมุง” สันนิฐานว่าคงจะมาจากคำว่า สถูป หรือ อูบ
จึงได้พากันเรียกว่า "พระอูบมุง" หรือ "พระเจ้าใหญ่อูบมุง" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และท้าวศรีจันทร์ ศรีสุราช พร้อมด้วยคณะได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นมาชื่อว่า บ้านอูบมุง
โดยเรียกตามชื่อพระพุทธรูปที่ค้นพบสืบมาจนทุกวันนี้



พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น
เป็นพระนาคปรกที่มีนาคปรกเหนือเศียรถึง 11 ตัว
นับว่ามากกว่าพระนาคปรกใดๆ
ด้วยความเชื่อและความศรัทธาของชาวบ้าน
ซึ่งมีความเคารพสักการะในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้
จึงเรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอเขมราฐอีกองค์หนึ่ง
ซึ่งคู่กับพระเจ้าใหญ่องค์แสนที่ประดิษฐานที่วัดโพธิ์เขมราฐ





บุญผะเหวด หรือบุญพระเวส หมายถึง บุญพระเวสสันดร
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ ชาวอีสานจะนิยมจัดขึ้นในเดือนสี่
นับเป็นบุญประจำปีในฮีตสิบสอง ดังที่ปราชญ์อีสานได้ประพันธ์ผญา (บทกลอน)
เกี่ยวกับการทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนสี่ไว้ว่า
“เถิงเมื่อเดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ตกเมื่อเดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มัทรี”
แปลว่า เมื่อถึงเดือนสามพระภิกษุสามเณรจะรอชาวบ้านทำบุญข้าวจี่
และเมื่อถึงเดือนสี่(ช่วงเดือนมีนาคม)

ชาวบ้านจะออกไปรวมตัวกันที่วัดเพื่อจัดตกแต่งประดับศาลาโรงธรรม
ประกอบด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และดอกไม้ตามฤดูกาลของภาคอีสาน
โดยนำมาร้อยให้สวยงาม เช่น ดอกทองกาว ดอกสะแบง ดอกพระยอม ดอกดอกปีป ฯลฯ
ส่วนผู้สูงอายุจะเตรียมทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ ธูปเทียนอย่างละพัน
และข้าวตอกดอกไม้เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องบูชาคาถาพัน
รอบศาลาโรงธรรมจะมีธงผะเหวดปักไว้ 8 ทิศ
ตามต้นเสามีขันกะย่องที่สานด้วยไม้ไผ่ผูกติดไว้เพื่อใช้ใส่ข้าวพันก้อน
และตั้งหอพระอุปคุตที่ด้านทิศตะวันออกของศาลา
ป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง
ในปัจจุบันประเพณีบุญผะเหวดของภาคอีสานนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน
เป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน
และเป็นการค้ำจุนพระพุทธศาสนา
บุญผะเหวดเป็นงานบุญในฮีตสิบสองที่ชาวอีสานจัดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน









ออกจากวัดอูบมุงครอบครัวตัวออ.ก็มุ่งสู่วัดบุ่งขี้เหล็ก อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดที่มีหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เป็นเจ้าอาวาส
และผู้สืบสานวิทยาคมจากพระเถราจารย์แห่ง สปป.ลาว
ศิษย์ยุคสุดท้ายของสมเด็จลุน แห่งประเทศสปป.ลาว
ภายในวัดโดดเด่นด้วยเจดีย์อริยเมตตรัย รูปทรงสูงใหญ่สวยแปลกตากว่าที่อื่นๆ
และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีขาว 56 องค์ ที่วางเรียงอย่างสวยงาม
ซึ่งทั้งหมดสร้างขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านบุ่งขี้เหล็ก
และผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร











วัดบุ่งขี้เหล็ก ตั้งอยู่ในตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีไฮไลท์ที่ต้องมาเช็คอินนั่นก็คือ เจดีย์ศรีอริยะเมตตรัย
ซึ่ง "เจดีย์ศรีอริยะเมตตรัย" เป็นเจดีย์ที่ค่อนข้างมีรูปทรงแปลกตา
ไม่เหมือนกับเจดีย์ที่อื่นๆ มีความสูงจากพื้น 97 เมตร
ผนังด้านนอกจะทาด้วยสีทองอร่าม ตั้งโดดเด่นอยู่กลางวัด
ภายในก็จะแบ่งเป็น 6 ชั้นด้วยกัน ที่เปรียบเหมือนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น
โดยทุกๆ ชั้นจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ต่างกันออกไป
รวมถึงชั้นบนยอดดาดฟ้า ยังเป็นที่ชมวิวสวยๆ ของสองฝั่งโขงด้วย



และที่โดดเด่นสุดสุดในวัดนี้นั่นก็คือ
พระพุทธรูปปางมารวิชัยสีขาว 56 องค์ วางเรียงกันอย่างสวยงาม
นับเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวมาแชะชิลกัน











7.วัดพระธาตุภูเขาเงิน ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
ซึ่งมีพระธาตุที่สวยงาม และบรรยากาศรายล้อมด้วยต้นไม้
เมื่อขับรถมาถึงทางแยกเส้นทางหลวง(ทล.2050)
ในช่วงบ้านบาก(หินค่าย) ตำบลหัวนา
เลี้ยวเข้าไปอีก 2 กิโลเมตรจะถึงวัดพระธาตุภูเขาเงิน
ภายในวัดมี "บันไดนาคเจ็ดเศียร" ขึ้นไปนมัสการ "พระธาตุภูเขาเงิน"











วัดพระธาตุภูเขาเงิน ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดมี “บันไดนาคเจ็ดเศียร” 80 ขั้น
ให้ขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ภูเขาเงิน ที่อยู่ด้านบน
ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างพระธาตุพนมของไทยเรา
และพระธาตุอิฮังซอง ในประเทศ สปป.ลาว



















ต่อจากนั้นแวะมาพักเบรคแบบชิลชิลที่ร้านบรรยากาศดี ฟาร์ม แอนด์ คาเฟ่
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ติดถนนใหญ่ ห่างจากแยกไฟแดงป้อมตำรวจ 600 เมตร
เปิดบริการทุกวันเวลา 07.30 -20.00 น.
โทร.0896599891
บรรยากาศดีและสุดชิคสมกับชื่อร้านมากค่ะ มีมุมถ่ายภาพเยอะมากนะคะ













เมื่อผ่านมาถึงอำเภอตระการพืชผล ก็แวะออนซอนตระการสักหน่อย
แวะมา "เบิ่ง" หอไตร มาออนซอนตระการ
หอไตรหนองขุหลุ หอไตรกลางน้ำสถาปัตยกรรมท้องถิ่น
ที่ต้องแวะเช็คอินนิดหนึ่งท้องฟ้าสีบูลเป็นใจมากอย่างแดดฝุดฝุด



หอไตรหนองขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
นับเป็นอาคารหอไม้งานสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นอีสาน
ใช้สำหรับเป็นที่เก็บหนังสือใบลานและตำราทางพระพุทธศาสนาของวัดศรีโพธิ์ชัย
ตั้งอยู่ใน "หนองขุหลุ" เพื่อป้องกันปลวกและแมลงกัดกินหนังสือใบลาน
อุ้มสีไปเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 น้ำในหนองขุหลุแห้งเหือดหาย
เห็นภูมิปัญญาเห็ความงามของหอไตรได้ชัดเจน



คำว่า “ขุหลุ” “ขุ”มาจากคำว่า “คุ”
ในภาษาอีสาน หมายถึง ถังสำหรับตักน้ำหรือใส่ของ
ส่วน “หลุ” แปลว่า ทะลุ
ขุหลุนั้นมีความเกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง คันธนาม
เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า คันธนามและแม่ได้หาบทองคำมาจากขุมคำ
จนมาถึงหนองน้ำแห่งหนึ่งเป็นหนองใหญ่ มีน้ำใสสะอาดทั้งสองจึงได้พักผ่อนเอาแรง
คันธนามได้บอกแม่ให้ไปตักน้ำหนองนั้นมาดื่ม นางได้เททองคำออก
แล้วนำคุไปตักน้ำ คุได้หลุดออกจากไม้คาน นางจึงได้เอาไม้คานลงควานหาคุ
หัวไม้คานไปโดนก้นคุหลุ (ทะลุ)
ภายหลังจึงเรียกหนองน้ำนั้นว่า หนองคุหลู และเพี้ยนมาเป็น หนองขุหลุ (ตำนานคันธนาม)

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า
ในอดีตกาลมีเจ้าขุนเมืองท่านหนึ่งเดินทางผ่านมาทางอำเภอตระการพืชผล
โดยเอาทองใส่คุหาบมาด้วยพอมาถึงที่บริเวณนี้คุที่ใส่ทองเอาไว้ได้ทะลุ
ทำให้ทองหล่นลงจนทำให้ดินแถวนั้นยุบลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่
ชาวบ้านในสมัยนั้นเลยเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า หนองขุหลุ



หอไตรหนองขุหลุ นับเป็นหอไตรกลางน้ำที่คงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี
และเป็นหอไตรกลางน้ำที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
หอไตรนี้ตั้งอยู่ในหนองขุหลุ สร้างขึ้นในราว พ.ศ.2459-2461
โดยหลวงปู่สิงห์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย และหลวงราษฎร์บริหาร (สด กมุทมาศ)
นายอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น
ท่านได้ปรึกษาหารือกันเรื่องตู้คัมภีร์ใบลานและตำราทางพุทธศาสนาของวัดศรีโพธิ์ชัย
ซึ่งมีจำนวนมาก
ทำให้ปลวกและแมลงกัดแทะจนตำราขาดเสียหายจึงคิดที่จะหาที่เก็บแห่งใหม่
และเห็นร่วมกันว่าควรสร้างหอไตรกลางน้ำขึ้น
ซึ่งจะเป็นวิธีการที่จะป้องกันปลวกและแมลงได้ และได้เลือกหนองขุหลุเป็นสถานที่ก่อสร้างหอไตร
เพราะเห็นว่าหนองขุหลุเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
จากนั้นจึงได้บอกกล่าวชาวบ้านให้หาไม้และวัสดุอื่นๆ
มาช่วยกันก่อสร้างหอไตรจนแล้วเสร็จ



ตัวอาคารหอไตรหนองขุหลุ เป็นสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่นอีสานที่มีความงามเรียบง่าย
โดยฝีมือช่างในท้องถิ่น
ซึ่งมีส่วนประกอบไปด้วย อาคารไม้ยกพื้นสูง รองรับด้วยเสาไม้ 25 ต้น
ทำจากไม้พรรณชาติเรียงเป็นแถว 5 แถว แถวละ 5 ต้น
ตัวอาคารเป็นเรือนไม้แบบเครื่องสับ หลังคามีสองส่วน คือ ส่วนบนเป็นทรงจั่ว
ส่วนชั้นล่างทำเป็นหลังคาปีกนก (พะไร) ปัจจุบันมุงกระเบื้องดินเผา
ส่วนประดับหลังคา คือ ตัวเหงาไม้แกะสลักรูปนาค ช่อฟ้า (โหง่) รวยระกา และคันทวย
แกะสลักเป็นลายก้านขด คล้ายเลข 1 ไทย
ซ้อนกันและหันหัวแย้งกันสามชั้น
โดยรอบอาคารตีไม้เข้าลิ้นในแนวตั้ง ทรวดทรงอาคารแผ่กว้าง
หลังคาสูงทิ้งชายคาลาดต่ำ ให้ความรู้สึกสงบนิ่งและสมดุล



หอไตรหนองขุหลุ นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่งดงามแล้ว
ยังนับเป็นปูชนียสถานที่เรียกกันว่า “ธรรมเจดีย์” ในปี 2547
หอไตรหนองขุหลุ ยังได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นจากกรมศิลปากรอีกด้วย



จากนั้นครอบครัวตัวออ.มาชมความงามจองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นต่อ
นั่นก็คือ สิม (ภาษาอีสานเรียกพระอุโบสถว่าสิม)
นี่คือ สิม วัดปัจฉิมมณีวัน
ตั้งอยู่เลขที่ 776 ตำบลนาสะไม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี



8.วัดปัจฉิมณีวัน หรือวัดบ้านนาไฮ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดจะมีอุโบสถสิมเก่าแก่ 1 หลัง อายุกว่า 100 ปี
ลักษณะศิลปะแบบช่างญวน ตัวสิม ใบระกา และทาสีทองทั้งหลัง



ที่นี่เป็นสิมที่มีอายุกว่า 100 ปี ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 9 เมตร
หลังคาทรงจั่ว แต่ก่อนมุงด้วยแป้นไม้
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสังกะสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีประตู 1 ช่อง หน้าต่าง 4 ช่อง
ประตูไม้วาดลวดลายไทยคล้ายลายประจำยาม เหนือซุ้มประตูวาดรูปยักษ์
ราวบันไดทางขึ้นปั้นเป็นรูปมังกร หน้าบันมีปูนปั้นลวดลายมังกรและไก่ฟ้า
ประดับด้วยงานปูนปั้นลักษณะศิลปะแบบช่างญวน
ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ
และเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสะดุ้งมาร









สิมวัดปัจฉิมมณีวัน....ห้ามผู้หญิงเข้าสิมนะคะ







ออกจากสักการะไหว้พระที่สิมวัดปัจฉิมมณีวันก็มุ่งไปวัดพระธาตุหนองบัวต่อเลยค่ะ







9.วัดพระธาตุหนองบัว จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดประจำปีมะเส็งที่อุ้มสีมาจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อไหร่ต้องมาวัดนี้เสมอ
เป๋นวัดที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ หรือพระธาตุหนองบัว
เจดีย์ธาตุขนาดใหญ่ที่จำลองแบบมาจากเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
ซึ่งสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2500
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบ 25 ศตวรรษของพุทธศาสนา
ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ให้ประชาชนได้สักการะบูชา

















ออกจากวัดพระธาตุหนองบัวมุ่งตรงไปเช็คอินเข้าที่พัก โรงแรม YUU HOTEL





𝙔𝙪𝙪 𝙃𝙤𝙩𝙚𝙡 & 𝘾𝙖𝙛𝙚 𝙐𝙗𝙤𝙣𝙧𝙖𝙩𝙘𝙝𝙖𝙩𝙝𝙖𝙣𝙞
ตั้งอยู่ถนนอุปราช ใกล้ทุ่งศรีเมือง ใจกลางเมืองอุบลราชธานี
โทร. 085-614 1111
ที่พักสวย บรรยากาศดี ราคาถูกไม่แพงอย่างที่คิด







พักที่นี่มีอาหารเข้าให้เลือกสั่งได้เลยนะคะ เริ่ดค่ะ
มาเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานี อย่าลืมนึกถึงโรงแรม YUU HOTEL & Cafe'







จากนั้นน้องปุ้ม จิราวัฒน์ อมรไชย มารับไปไหว้พระเจ้าใหญ่อินแปลงในตอนทุ่มหนึ่ง
ณ วัดป่าใหญ่ หรือวัดมหาวนาราม



10.วัดมหาวนาราม หรือเรียกกันง่ายๆ แบบชาวเมืองอุบลว่า "วัดป่าใหญ่"
เป็นวัดเก่าแก่ที่มีฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี



วัดมหาวนาราม เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองอุบลราชธานี
เดิมชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ ภายหลังเรียกว่า วัดป่าใหญ่
ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2322 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดมหาวนารามในปีพ.ศ.2484
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2514
ในสมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521

ตามหลักศิลาจารึกที่ฝังอยู่แท่นข้างหลังองค์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
ปรากฏว่าสร้างหลังจากสร้างเมืองอุบลแล้ว 41 ปี
สร้างโดยพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิศพรหม สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองคนที่ 2 หลังจากสร้างวัดแล้ว 2 ปี
พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์
ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปเป็นองค์ประธานและเป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขนานนามว่า พระเจ้าอินทร์แปลง มีความหมายว่า “พระอินทร์จำแลงแปลงกายมา”
ชาวอีสานเรียก “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง”
มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า พระอินทร์สร้าง ซึ่งเป็นนามมงคลทั้งสองความหมาย



เอาไว้ค่อยชวนพี่อ้อมมาไหว้พระเจ้าใหญ่อินแปลงในตอนกลางวัน



จากนั้นน้องปุ้ม จิราวัฒน์ พามากินร้านข้าวต้มชื่อดังของเมืองอุบล
ที่นักท่องเที่ยวหรือแม้แต่คนเมืองอุบลต้องแวะมากิน คนเพียบเลยค่ะ

ร้านข้าวต้มตี๋อำนวยโชคเมืองอุบล ร้านตั้งอยู่เส้นถนนสรรพสิทธิติดกับโรงเรียนอุบลวิทยาคม
เป็นร้าน Openair นั่งกินกันสบายแบบชิลชิล
อาอร่อย ออกเร็ว และอร่อยทุกจาน ส่วนที่จอดรถต้องจอดริมถนนนนะคะ

















แล้วน้องปุ้มขับรถฝ่ายสายลมหนาวที่ 19 องศา มาเดินถนนคนเดินใต้สะพานฝั่งวัดสุปัฐ
แวะถ่ายภาพน้ำพุวงเวียนดอกบัว
ทุกคนคงคุ้นชินตาใครมาฝั่งเมืองอุบลต้องผ่านวงเวียนนี้เสมอ



ถนนคนเดิน เลียบแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
ช่วงท่าน้ำตลาดใหญ่-ท่าน้ำวัดสุปัฏนาราม - สามแยก ถ.พนม
มีอาหารและของใช้ เปิดขายในวันศกร์,เสาร์,อาทิตย์ เริ่มเวลา 17:00-22.00 น.











เข้าสู่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นวันสำคัญของทริปนี้
คือเป็นวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของพี่อ้อ เริงฤดีนะ



ออกจากโรงแรม YUU HOTEL มุ่งตรงไปววัดทุ่งศรีเมือง
ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี



11.วัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนหลวงในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสังฆปาโมก(สุ้ย)
เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้นท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัย

หอพระพุทธบาทของวัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหอไตรกลางน้ำ
โดยมีพระสงฆ์จากเวียงจันทน์เป็นช่างในการดำเนินการก่อสร้าง
มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะผสมระหว่างพื้นบ้านอีสาน (หรือศิลปะแบบเวียงจันทน์)
กับเมืองหลวง(ศิลปะแบบไทยภาคกลาง, แบบรัตนโกสินทร์)
ส่วนที่เป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์ ได้แก่ โครงสร้างช่วงล่าง
อาทิ ฐานเอวขันธ์ บันไดจระเข้ และเฉลียงด้านหน้า
จะมีความคล้ายคลึงกับสิมอีสานทั่วไป ลวดลายหน้าบันลายรวงผึ้ง
ส่วนที่เป็นโครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น
รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์
ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างเป็นแบบไทยภาคกลางหรือรัตนโกสินทร์
ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่าย
รวงผึ้งมีลักษณะแบบอีสานผสมเมืองหลวงเหมือนหน้าบันของสิมวัดแจ้ง



พระอุโบสถหรือหอพระพุทธบาท สร้างขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะจำลองพระพุทธบาทจำลอง
จากวัดสระเกศมาให้พุทธบริษัทที่อุบลราชธานีได้กราบไหว้
จึงให้ "ครูช่างชาวเวียงจันทน์" มาดำเนินการก่อสร้าง
หอพระพุทธบาท มีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร
หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทน์
ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน
โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาทเป็นสองชั้น
รอบพระพุทธบาท กำแพงมีขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 32 เมตร
ภายในพูนดินให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท
โดยได้ขุดเอาดินมาจากสระด้านทิศเหนือ
ซึ่งมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24เมตร ลึก 3 เมตร

วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ในอดีตเป็นวัดที่สอนวิชาการช่างต่างๆ ให้แก่ชาวเมืองอุบลราชธานี
โดยมีญาท่านพระครูดีโลด บุญรอด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) เป็นผู้นำการสอน
หอพระพุทธบาทที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองและพระเจ้าใหญ่องค์เงิน
เป็นงานสถาปัตยกรรมผสมระหว่างพื้นถิ่นอีสานและแบบไทยภาคกลาง
ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่ทรงคุณค่าโดยฝีมือช่างพื้นเมืองอุบล
ที่ได้รับอิทธิพลจากช่างหลวงกรุงเทพฯ
วิหารศรีเมืองและพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง
วัดทุ่งศรีเมืองในสมัยก่อนเป็นวัดที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการช่างต่างๆ ให้แก่บุตรหลานชาวเมืองอุบลราชธานีทุกสาขาอาชีพ
อาทิ ช่างแกะสลัก ช่างหล่อ ช่างเงินทอง ช่างลวดลาย ช่างก่อสร้าง ฯลฯ
โดยมีพระครูดีโลด บุญรอด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) เป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชา

วัดทุ่งศรีเมืองสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2385 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
โดยเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญานวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ)
จากสำนักวัดสระเกศวรวิหาร ที่ได้ขึ้นมาเป็นสังฆปโมกเมืองอุบลราชธานี
(ปัจจุบันคือตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด)
และได้พำนักอยู่ที่วัดมณีวนารามหรือวัดป่าน้อย
ท่านมีอัธยาศัยน้อมไปทางวิปัสสนากรรมมัฎฐาน และมักจะไปเจริญสมณธรรม
อยู่ที่ป่าหว้าชายดงอู่ผึ้งเป็นประจำ เพราะเป็นที่สงบสงัด
และที่นั่นคือ บริเวณวัดทุ่งศรีเมืองในปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา



และนี่คือบทเฉลยว่าปีนี้ทำไมครอบครัวตัวออ.
ถึงเลือกมาจังหวัดอุบลราชธานี
เพราะพี่อ้อพี่อ้อมตั้งใจมากราบคุณปู่คุณย่าที่วัดทุ่งศรีเมืองน่ะค่ะ
สองสาวไม่ได้มาเมืองอุบลนานมากค่ะ จากนั้นมาถวายสังฆทานกันค่ะ
ธีมวันเกิดวันนี้สีแดงเพราะพี่อ้อเกิดวันอาทิตย์สีแดง
เพราะจะถูกจะแพงขอให้แดงไว้ก่อน









พระเจ้าใหญ่องค์เงิน
ตั้งอยู่บนฐานเขียงซึ่งฝังอยู่ในฐานชุกชีปูนปั้นที่ตกแต่งเป็นฐาน "บัวผ้าทิพย์"
ฐานหน้ากระดานตกแต่งด้วยลายดอกประจำยามก้ามปู
อยู่เหนือแนวลายกลีบบัวขาบหรือบัวแวง
ตรงกลางฐานด้านหน้าพระเพลามีผืนผ้าพาดยาวลงมา
และตกแต่งลวดลายอย่างสวยงามตามแบบศิลปะท้องถิ่นไม่ปรากฏการสร้างที่แน่นอน
แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างภายหลังการสร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว
และถูกนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในหอพระพุทธบาท
คู่กับรอยพระพุทธบาทจำลอง



ตอนนี้หอไตรวัดทุ่งศรีเมืองกำลังปฏิสังขรณ์ซ่อมแซม
ว่าแล้วไปต่อวัดมณีวนารามหรือวัดป่าน้อย



12.วัดมณีวนาราม หรือ วัดป่าน้อย อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของเมืองอุบลราชธานีในอดีต
และเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วโกเมน หนึ่งในพระแก้วสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดมีกุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือกุฏิแดง
ซึ่งเป็นอาคารเรือนไม้งานสถาปัตยกรรมไทย โบราณสถาน
ที่ทางวัดได้อนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป



วัดมณีวนาราม หรือวัดป่าน้อย สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2332
ผู้สร้างคือ อุปฮาดก่ำ โอรสของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)
และมีมีพระอริยวงศาจารย์ (สุ้ย) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
วัดป่าน้อยเป็นศูนย์การศึกษาและศูนย์การปกครอง ทางด้านพระพุทธศาสนาอีกด้วย



พระแก้วโกเมน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูงประมาณ 5 นิ้ว
สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับพระแก้วบุษราคัม
ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นพระพุทธรูปอัญมณีในตระกูลนพรัตนชาติ



เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีสงครามกับเวียงจันทน์
ผู้รักษาการบ้านเมืองและทายกทายิกา
ได้พากันนำพระแก้วโกเมนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมณีวนาราม
ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดเก็บรักษาไว้เป็นความลับต่อกันมา
โดยทำผอบไม้จันทน์ครอบพระแก้วนั้นไว้ ภาษาอีสานเรียกว่า “งุม”
วัดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาพระแก้วโกเมนในครั้งนั้น จึงถูกเรียกว่า “วัดกุดละงุม”
และใช้ชื่อนี้เป็นชื่อวัดมาจนปัจจุบัน
"พระแก้วโกเมน" นั้นจึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
และเรื่องราวต่างๆ ในอดีตของจังหวัดอุบลราชธานี



"พระแก้วโกเมน" เป็นพระพุทธรูปอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของวัดมณีวนาราม
เนื่องด้วย "พระแก้วโกเมน" เป็นพระพุทธรูปที่มีค่าหาได้ยากยิ่งเกรงจะสูญหาย
ด้วยความห่วงใยและหวงวแหน
ดังนั้นเจ้าอาวาสของวัดมณีวนารามทุกรูปจึงเก็บรักษาพระแก้วโกเมนไว้อย่างดีในตู้นิรภัย
ครั้งเมื่อหมดช่วงเวลาปกครองวัดของหลวงปู่พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหับผโล)
คณะกรรมการวัดมณีวนาราม
จึงขออนุญาตนำ "พระแก้วโกเมน"
มาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา และสรงน้ำในเทศกาลวันวิสาขบูชา
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวและถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก็ได้อัญเชิญลงมาเพื่อให้ได้สรงน้ำ
นับเป็นหนึ่งในประเพณีสงกรานต์ของชาวเมืองอุบลราชธานี







กุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือกุฏิแดง ตั้งอยู่ด้านหลังของวัดมณีวนาราม
เดิมเคยเป็นที่จำพรรษาของท่านเจ้าพระคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลคณาภิบาลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย)
เจ้าคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2371
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3



กุฏิพระอริยวงศาจารย์ หรือ กุฏิแดง
นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมไทย
เป็นอาคารสร้างด้วยไม้ชั้นเดียว ตั้งเสา ยกพื้นสูง
ตีฝาผนังแบบเรือนไทยฝาปะกน ในเทคนิคการเข้าเดือยไม้แบบโบราณ
หลังคาแต่เดิมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ดและเปลี่ยนมาใช้กระเบื้องมุงในภายหลัง
ภายในแบ่งเป็น 4 ห้อง มีห้องโถงใหญ่ 2 ห้อง
ห้องเล็กด้านข้างอีก 2 ห้อง
ประดับลูกกรงไม้ขนาดเล็กที่ขอบหน้าต่างและระเบียงด้านหน้า
หน้าต่างระหว่างห้องด้านทิศเหนือมีการเขียนรูปเทวดาประดับไว้ทั้งสองบาน
และลายพันธุ์พฤกษาอีก 2 บาน



ในปี พ.ศ.​2556 วัดมณีวนาราม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และกรมศิลปากร
ได้ร่วมกันบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของจังหวัดอุบลราชธานี













ออกจากวัดป่าน้อยก็มาต่อวัดป่าใหญ่ หรือวัดมหาวนาราม อยู่ไม่ไกลกันเท่าไหร่ค่ะ
วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดเก่าแก่ที่มีฐานะเป็นพระอารามหลวงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี



วัดมหาวนาราม เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองอุบลราชธานี
เดิมมีชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์
ภายหลังเรียกว่า วัดป่าใหญ่
ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2322 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดมหาวนาราม ในปีพ.ศ. 2484 จนถึงปัจจุบันนี้
วัดมหาวนารามฯ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2514
ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
และได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2521



ตามหลักศิลาจารึกที่ฝังอยู่แท่นข้างหลังองค์พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
ปรากฏว่าสร้างหลังจากสร้างเมืองอุบลแล้ว 41 ปี
สร้างโดยพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิศพรหม สุวรรณกูฏ)
เจ้าเมืองคนที่ 2 หลังจากสร้างวัดแล้ว 2 ปี
ต่อมาพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์
ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปเป็นองค์ประธานและเป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และขนานนามว่า พระเจ้าอินทร์แปลง
อันมีความหมายว่า “พระอินทร์จำแลงแปลงกายมา”
ชาวอีสานเรียก “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง”
มีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า พระอินทร์สร้าง ซึ่งเป็นนามมงคลทั้งสองความหมาย





พระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
พระประธานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่งดงาม
ที่มีขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 10 ศอก
สร้างด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง
สร้างเสร็จเมื่อวันเพ็ญเดือนห้า ตรงกับวันอาทิตย์เดือนเมษายน เวลา 15.00 น.
ซึ่งปรากฏในศิลาจารึกที่ด้านหน้าองค์พระ
ทางวัดจึงกำหนดทุกวันเพ็ญเดือนห้าของทุกปีเป็นวันเฉลิมฉลองพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
พุทธศาสนิกชนทั้งชาวอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง
จะมากราบนมัสการพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงเพื่อขอพร
ให้ท่านดลบันดาลให้ประสบสุขตลอดไปและในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ทางวัดเปิดโอกาสใหเข้ามาสรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปง
ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีประจำปีอีกด้วย









ที่ด้านหลังของพระอุโบสถจะมีท้าวเวสสุวรรณอีกด้วย
มีการประกอบพิธีบวงสรวงเบิกเนตรท้าวเวสสุวรรณ
ณ ทับหลังพระวิหารพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.39 น.



โดยมีความเชื่อกันว่า ท้าวเวสสุวรรณ จะช่วยป้องกันภัยจากสิ่งต่างๆ
และยังก่อให้เกิดโชคลาภ ร่ำรวยเงินทอง มีวาสนาเป็นนับถืออีกด้วย







ออกจากวัดมหาวนารามก็มุ่งหน้าไปวัดใต้เทิง ค่ะ





วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้เทิง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่เคยเป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
พระพุทธรูปสำคัญที่ให้ความเลื่อมในเคารพศรัทธา
หนึ่งในห้าพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อที่ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทย
นอกจากนั้นภายในวัดยังมีโบราณวัตถุเป็นหลักศิลาจารึกหินทราย 2 หลัก
วิหารเฉลิมพระเกียรติ 200 ปี และเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ



13.วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้เทิง จังหวัดอุบลราชธานี
นับเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่เคยเป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ของพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พระพุทธรูปสำคัญที่พุทธศาสริกชนให้ความเลื่อมในเคารพศรัทธษ
นับเป็นหนึ่งในห้าพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อที่ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยนอกจากนั้นภายในวัดยังมีโบราณวัตถุเป็นหลักศิลาจารึกหินทราย 2 หลัก
วิหารเฉลิมพระเกียรติ 200 ปี และเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ

พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
เป็นพระประธานในอุโบสถเป็นทองนาคสำริด หนักเก้าแสนบาท
พุทธลักษณะเป็นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูง 85 นิ้ว
(มีผู้สันนิษฐานว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งเวียงจันทน์เป็นผู้สร้าง)
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ มีความสำคัญเป็น 1 ใน 5 องค์ใ
นจำนวนพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งอีก 4 องค์ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ชัยภูมิ หนองคาย
และวัดพระโต อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี และที่ประเทศลาวอีก 1 องค์







วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ หรือวัดใต้ สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ
แต่มีประวัติเล่าว่าในสมัยพระเจ้าพระพรหมราชวงศา (ทิดพรหม)
และพระมหาราชครู (เจ้าหอแก้ว) ได้มานั่งปฏิบัติธรรมฐานอยู่บริเวณเหนือแม่น้ำมูล
เป็นประจำ
เจ้าครองเมืองพร้อมด้วยไพร่บ้านพลเมืองได้มาสร้างสำนักสงฆ์
ให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระมหาราชครูเจ้าหอแก้ว เรียกว่า วัดใต้ท่า
บริเวณตอนบนเรียกวัดใต้เทิง เขตวัดทั้งสองติดกันเพียงแค่มีถนนกั้น
ในสมัยเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นผู้ครองสังฆมณฑล
ได้นำวัดใต้ท่าไปรวมกับวัดใต้เทิง
ชาวบ้านทั้งสองคุ้มวัดได้แสดงถึงความสามัคคีกันจึงได้มีมติเรียกว่า “วัดใต้”
ปัจจุบันคำว่า “เทิง” ได้ เลือนหายไป คำว่า เทิง
เป็นภาษาอีสานมีความหมายว่า บน หรือ เหนือ อยู่สูงอยู่บนขึ้นไป
"วัดใต้เทิง" คือ วัดที่อยู่เหนือขึ้นไปถัดไปจากวัดใต้ท่าที่ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำมูล





ครอบครัวตัวออ.มาสักการะที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี





14.วัดบูรพาราม ถนนบูรพาใน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ถือเป็นวัดต้นกำเนิดของสายวิปัสสนากรรมฐานแบบอีสาน
ด้วยว่ามีพระอาจารย์สีทา ชัยเสโน ผู้เป็นพระอาจารย์ของพระสงฆ์สายนี้
มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นประจำ จนมีอาจารย์และลูกศิษย์สืบทอดกันมาหลายรุ่น
อาทิ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
หลวงปู่ขาว หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่แหวน หลวงปู่ดุล และพระอาจารย์ฝั่น อาจาโร ฯลฯ





พระพุทธโคตรมะปัจจะรินทร์ (พระนาคปรก) วัดบูรพาราม



ภายในวัดมีงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นให้เรียนรู้นั่นคือ หอไตรคู่
ซึ่งเป็นหอไม้ทรงสูง 2 หลัง ที่สร้างไว้คู่กัน ใช้สำหรับเก็บคัมภีร์หรือพระไตรปิฎก



หอไตรวัดบูรพาราม จะเป็นหอบกหรือหอไตรที่สร้างบนบก
ลักษณะอาคารเป็นเรือนไม้ 2 หลังคู่กัน แต่ละหลังเป็นเรือนแบบ 3 ห้อง
ยกพื้นสูงด้วยเสากลม หลังละ 8 ต้น มีชานเชื่อมอาคารทั้ง 2 หลัง
อาคารหลังทางทิศใต้ฝีมือประณีตมาก ฝาผนังอาคารเป็นแบบก้างปลา
ไม้พรึงแกะสลักเป็นลวดลายกระจังกลีบบัวรอบอาคาร
และไม้ลายเท้าสิงห์รองรับกรอบหน้าต่าง หลังคาทรงจั่วมุงแป้นไม้
หน้าบันกรุไม้รูปรัศมีพระอาทิตย์ เชิงชายมีไม้ฉลุโดยรอบ
อาคารหลังทิศเหนือฝีมือการก่อสร้างหยาบกว่าทางทิศใต้
โดยเฉพาะลวดลายผนังและการตกแต่งกรอบหน้าต่าง
การสร้างหอไตรนี้มาจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องการนับถือศาสนาพุทธ
โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการสร้างนั่นคือ เพื่อเป็นที่เก็บหนังสือใบลาน
ที่เป็นตัวแทนของพระธรรมคำสอนเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา
หอไตรจึงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ในทัศนคติของชาวบ้าน



สิมเก่า ได้รับการปฏิสังขรณ์จากกรมศิลปากร
ลักษณะดั้งเดิมเปฌนสิมแบบอีสานแท้
สันนิษฐานว่าจะเป็นสิมรุ่นเดียวกับสิมวัดป่าใหญ่หรือวัดมหาวนาราม
เดิมคงเป็นสิมโปร่ง แต่ต่อมาภายหลังได้ก่อผนังต่อขึ้นถึงชายคา
ซึ่งดูจากความแตกต่างในการก่อสร้างคือ ฐานเดิมก่อด้วยอิฐฉาบปูนประกาย
ผนังก่ออิฐเตี้ย ๆ สูงราว 60 เซนติเมตร
ต่อจากนั้นใช้ไม้ตีเป็นโครงขึ้นไปถึงชายคา
แล้วใช้ดินเหนียวผสมแกลบพอกกับไม้
แล้วจึงฉาบปูนทับอีกชั้น ผนังด้านข้างเจาะเป็นหน้าต่างข้างละ 2 ช่อง
(ไม่มีบานหน้าต่าง แต่ใช้ไม้โครงผนังเป็นลูกกรงแทน)
ตรงผนังหลังพระประธานเจ้าเป็นช่องกลมด้านละช่อง
ส่วนผนังด้านหลังก่อทึบเจาะเป็นช่องกลม 4 ช่อง
ลักษณะที่เหลืออยู่เป็นฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นทางด้านหน้า
ฐานชุกชีก่อเป็นแท่งยาวตลอดแนว โครงหลังคาเดิมหักพังลงหมดแล้ว
ทางวัดจึงได้ทำหลังคาใหม่คลุมไว้



วัดบูรพารามได้สร้างรูปหล่อเหมือนพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน 5 องค์ ไว้เพื่อให้พุทธศาสนอกชนและสานุศิษย์
มากราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
ประดิษฐานภายในสิมเก่า
ซึ่งเป็นฝีมือการก่อสร้างของพระอาจารย์สีทา ชัยเสโนและอาจารย์เสาร์ กันตสีโล
รูปหล่อพระบูรพาจารย์ที่สร้างขึ้นได้แก่ พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน
พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระญาณวิศิษย์
และพระสิทธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (สี ธัมมธโร)





จากนั้นมื้อเที่ยงพี่โลว์พี่จิ๋ม เพื่อนพี่อ้อนัดเลี้ยงข้าวเที่ยงที่ร้านส้มตำทบ.
ถนนนครบาล อุบลราชธานี (บนถนนนครบาล)
โทร.093 719 4452
เปิดขายทุกวัน เวลา 08.30-17.00 น.
ร้านส้มตำร้านดังยืน 1 ที่คนในพื้นที่บอกต้องมากินร้านนี้ อร่อยฝุดฝุด























ขอขอบคุณพี่สุรชัย-พี่วิลาวัลย์ กิตติโกสินท์
สำหรับเมนูอาหารอีสานแซ่บนัวที่ร้านส้มตำ ทบ.อุบลราชธานีมากค่ะ





ปิดท้ายทริปด้วยการเป่าเค้กวันเกิด 26 กุมภาพันธ์ 2566 ก่อนกลับ กทม.
นับเป็นทริปที่มีความสุขของครอบครัวตัวออ ณ จังหวัดอุบลราชธานี






 
ขอขอบคุณ

นายธงชัย แสนทวีสุข
ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี

นางรัตดาวรรณ์ แสนโยธะกะ
รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี

เพลง : คิดถึงอุบล สายัณห์ สัญญา
กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
โค้ดแต่ง BLOG : ป้ามด & น้องดอกหญ้าเมืองเลย
ของแต่ง BLOG ทุกอย่างมาจาก : คุณป้าเก๋า ชมพร & น้องญามี่ & คุณเนยสีฟ้า




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2566
59 comments
Last Update : 3 มีนาคม 2566 16:39:56 น.
Counter : 2127 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปรศุราม, คุณปัญญา Dh, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณNENE77, คุณหนี่งหน่อง, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณกิ่งฟ้า, คุณเริงฤดีนะ, คุณnewyorknurse, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtoor36, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณดอยสะเก็ด, คุณnonnoiGiwGiw, คุณตะลีกีปัส, คุณ**mp5**, คุณทนายอ้วน, คุณJohnV, คุณThe Kop Civil, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณRain_sk, คุณtuk-tuk@korat, คุณนกสีเทา, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณNoppamas Bee, คุณStand by bowky, คุณเจ้าการะเกด, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเนินน้ำ, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณNior Heavens Five, คุณชลบุรีมามี่คลับ, คุณkatoy, คุณmariabamboo

 

้้Have a nice Trip นะคะพี่อุ้ม

สวัสดียามสายค่ะ

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 25 กุมภาพันธ์ 2566 10:29:34 น.  

 

ตามเที่ยว ไหว้พระด้วยครับ

 

โดย: สองแผ่นดิน 25 กุมภาพันธ์ 2566 22:43:11 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

ได้เที่ยวพร้อมกันสามคนพี่น้องเลย
วิวพระอาทิตย์สวยงามมากครับพี่

 

โดย: กะว่าก๋า 26 กุมภาพันธ์ 2566 5:14:05 น.  

 

เที่ยวด้วยกันพี่น้อง อบอุ่นค่ะ

 

โดย: NENE77 26 กุมภาพันธ์ 2566 10:01:54 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่อุ้ม

ช่วงไปเที่ยวอากาศเย็นลงพอดีเลย ดีจังค่ะ

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 26 กุมภาพันธ์ 2566 10:48:52 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
ตามมาเที่ยวอุบลกับพี่น้อง 3 อ. ด้วย จ้ะ
ครูก็เคยไปเที่ยว จ.อุบล เหมือนกันจ้ะ วัดถ้ำ
คูหาสวรรค์ โขงเจียม แม่น้ำสองสี ก็ไปแล้วจ้ะ
อ่านของน้องอุ้ม เที่ยวทบทวนความหลัง จ้ะ อิอิ
เที่ยวให้สนุก นะจ๊ะ
โหวดหมวด ท่องเที่ยว

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 26 กุมภาพันธ์ 2566 21:18:02 น.  

 

เวลาอาจารย์เสกเขียนเรื่องการเมือง
เนื้อหาก็จะดูเข้มข้นขึ้นมาทันทีครับพี่

 

โดย: กะว่าก๋า 26 กุมภาพันธ์ 2566 22:22:08 น.  

 

มาชมภาพเพิ่มครับ



 

โดย: สองแผ่นดิน 26 กุมภาพันธ์ 2566 22:43:43 น.  

 

สวัสดีค่ะน้องอุ้ม พี่น้องตัวอ. สามสาวสวยสดใสน่ารักๆมากค่ะ ไปเที่ยวเมืองอุบลน่าสนุกนะคะ วิวที่โขงเจียมสวยมากๆค่ะ

พี่กิ่งยังไม่เคยไปเมืองอุบลเลยค่ะเห็นว่าเป็นเมืองใหญ่มากน่าเที่ยวด้วยคงได้ไปสักวันค่ะ

โหวต Travel Blog

หลับฝันดีค่ะ

 

โดย: กิ่งฟ้า 26 กุมภาพันธ์ 2566 23:33:56 น.  

 

Thank you..ค่ะ
ทริปนี้เริ่มต้นและจบด้วยดี
จากการวางอผนของตุณอุ้มสี

 

โดย: เริงฤดีนะ 26 กุมภาพันธ์ 2566 23:40:37 น.  

 


มาเที่ยวด้วยค่ะ

 

โดย: newyorknurse 27 กุมภาพันธ์ 2566 1:07:15 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 27 กุมภาพันธ์ 2566 5:14:06 น.  

 

ตามมาเที่ยว อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
สุขสันต์วันเกิดย้อนหลังคุณอ้อด้วยนะคะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 10:03:31 น.  

 

ได้เที่ยวได้พักผ่อนกับคนในครอบครัวดีสุดแล้วครับ ไปเที่ยวก็ดีครับได้พักกายพักใจ

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 27 กุมภาพันธ์ 2566 11:09:03 น.  

 

ผมชอบงานของอาจารย์เสกครับ
มีครบเกือบทุกเล่มเลย

 

โดย: กะว่าก๋า 27 กุมภาพันธ์ 2566 11:30:33 น.  

 

สวัสดีค่ะ..

ตามมาเที่ยวอีกครั้งคะ..

สุดยอด อยากไปอีก..

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 27 กุมภาพันธ์ 2566 13:06:22 น.  

 

สวัสดียามบ่ายค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 27 กุมภาพันธ์ 2566 14:41:43 น.  

 

 

โดย: เริงฤดีนะ 27 กุมภาพันธ์ 2566 15:11:56 น.  

 

สามพี่น้องน่ารักสดใส
น่าเที่ยวมากค่ะคุณอุ้ม

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ

 

โดย: Sweet_pills 27 กุมภาพันธ์ 2566 23:40:29 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 28 กุมภาพันธ์ 2566 5:07:22 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 28 กุมภาพันธ์ 2566 8:54:25 น.  

 

สวัสดีค่ะน้องอุ้ม ตามมาเที่ยวอุบลอีกรอบค่ะ อยากไปมากๆ ยังไม่เคยไปเลยค่ะ อุบลเป็นเมืองใหญ่ที่มีสถานที่เที่ยวสวยๆหลายที่เลยค่ะ ทั้งที่โขงเจียมวิวสวยมากชมพระอาทิตย์สวยๆค่ะ แลโขง เป็นที่พักที่เยี่ยมมากๆค่ะ

สามพันโบก ก็สวยงาม

ขอบคุณที่ไปให้กำลังใจบล็อกน้ำพริกหนุ่ม ไก่ทอดค่ะ



 

โดย: กิ่งฟ้า 28 กุมภาพันธ์ 2566 13:35:49 น.  

 

บล็อกพี่อุ้มนี่เหมือนเป็น
ส่วนขยายของบล็อกพี่อ้อ
ดูรูปเพลินมากเลยค้าาา

 

โดย: nonnoiGiwGiw 28 กุมภาพันธ์ 2566 13:46:36 น.  

 

สำหรับผม
อาจารย์เสกสรรค์
เป็นนักเขียนในดวงใจเลยครับพี่

 

โดย: กะว่าก๋า 28 กุมภาพันธ์ 2566 14:01:00 น.  

 

สวัสดีมีสุขค่ะ

พี่น้องสามสาวเที่ยวด้วยกัน น่ารักค่ะ
ที่บ้านไม่ค่อยมีโอกาสเที่ยวกับน้องๆ
อยู่ไกลกัน นัดพบกันยากค่ะ

 

โดย: ตะลีกีปัส 28 กุมภาพันธ์ 2566 15:32:28 น.  

 

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 28 กุมภาพันธ์ 2566 16:02:26 น.  

 

สวัสดีค่ะ..

เพิ่งเขียนบล็อคทริปวันเกิด..

ช้าหน่อยจร้า..

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 28 กุมภาพันธ์ 2566 17:45:31 น.  

 

ตามไปเที่ยวอุบลกับครอบครัวตัวออด้วยครับคุณอุ้ม

 

โดย: JohnV 28 กุมภาพันธ์ 2566 23:29:41 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 1 มีนาคม 2566 5:32:29 น.  

 

ริมโขงบรรยากาศดีมากครับพี่ อยากไปสามพันโบกเหมือนกันครับ

 

โดย: The Kop Civil 1 มีนาคม 2566 10:47:24 น.  

 

สวัสดียามบ่ายค่ะพี่อุ้ม

มาชวนพี่อุ้มไปออกกำลังกายกันค่าาาา

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 1 มีนาคม 2566 14:59:30 น.  

 

เล่มนี้ผมอ่านครั้งแรกไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ครับ
แต่พอหยิบกลับมอ่านซ้ำอีกรอบ
กลับชอบมากเลยครับ 555

 

โดย: กะว่าก๋า 1 มีนาคม 2566 16:08:08 น.  

 

ขอบคุณคำอวยพรวันเกิดจ้าพี่อุ้ม

เที่ยวเพลินๆเดินทางปลอดภัยค่ะพี่

 

โดย: NENE77 1 มีนาคม 2566 22:50:55 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 2 มีนาคม 2566 5:13:50 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 2 มีนาคม 2566 9:49:37 น.  

 

การใช้ชีวิต
จึงเป็นบททดสอบที่สำคัญจริงๆครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 2 มีนาคม 2566 11:15:04 น.  

 

แม้จะเป็นคนกทม. แต่ก็รักเมืองอุบลมาก เพราะเคยติดตามสามีที่เป็นตำรวจไปอยู่อุบลฯ นานตั้งห้าปี คนอุบลฯ น่ารักมาก มีน้ำใจไมตรีต่อคนต่างถิ่นเสมอ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 2 มีนาคม 2566 17:11:26 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 3 มีนาคม 2566 4:15:49 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 3 มีนาคม 2566 10:36:51 น.  

 

อุบลมีที่เที่ยวเยอะมากค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 มีนาคม 2566 10:50:55 น.  

 

ดีงามคร้า

 

โดย: Noppamas Bee 3 มีนาคม 2566 19:55:24 น.  

 

เล่มนี้ผมทำเปียกน้ำ
ผมเลยสั่งซื้อใหม่อีกเล่มเลย
เพราะชอบในเนื้อหามากครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 3 มีนาคม 2566 20:01:55 น.  

 

ขอบคุณคุณอุ้มมากค่ะสำหรับกำลังใจ
ฝันดีคืนนี้นะคะ

 

โดย: Sweet_pills 4 มีนาคม 2566 0:34:54 น.  

 

ตามมาดูภาพครับ

วัดถ่ำสถานปฏิบัติธรรม เจ้าอาวาสคงตัดสินใจว่า จะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานปฏิบัติธรรมที่ต้องการความสงบดี...?

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 4 มีนาคม 2566 4:48:52 น.  

 


อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 4 มีนาคม 2566 5:02:37 น.  

 

สวัสดียามสายค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 4 มีนาคม 2566 9:52:05 น.  

 

ขอบคุณครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 4 มีนาคม 2566 12:32:03 น.  

 

สรุปภาพและเรื่องราว
ทริปครอบครัวตัว อ.
Thank you.

 

โดย: เริงฤดีนะ 4 มีนาคม 2566 13:54:05 น.  

 

ตามสามออมาเที่ยวอุบลค่ะ
ได้ไหว้พระหลายวัดเลย ^__^

 

โดย: เนินน้ำ 4 มีนาคม 2566 15:03:20 น.  

 

ชอบตรงที่ครอบครัวตัว อ. 3 สาว ถึงจะเขียนบลีอกเรื่องเดียวกัน แต่ก็ให้บรยากาศและมี Signature ขอวงแต่ละคนครับ ^^

 

โดย: จันทราน็อคเทิร์น 4 มีนาคม 2566 15:23:28 น.  

 

สวัสดียามค่ำคืนครับ
เป็นทริปที่น่าเที่ยวมากเลยครับ
พี่อุ้มสบายดีนะครับ ผมห่างหายจากBloggang ไป เกือบ 1 ปีเลย

 

โดย: Nior Heavens Five 4 มีนาคม 2566 19:39:59 น.  

 

สวัสดีครับคุณอุ้ม
.
เอนจอยทริปมากๆ เลยครับ
.
ขอบคุณกำลังใจด้วยครับ ^^

 

โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา 4 มีนาคม 2566 21:28:02 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 5 มีนาคม 2566 5:50:37 น.  

 

สวัสดียามเช้าวันหยุดค่ะ พี่อุ้ม

 

โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ 5 มีนาคม 2566 8:36:04 น.  

 

แวะมาดูรูปสดใส ไม่ได้เที่ยวแบบนี้นานมากแล้ว ต้องกาโอกาสเที่ยวบ้างแล้วค่ะ ขอบคุณที่โหวตบล็อกให้นะคะ

 

โดย: ชลบุรีมามี่คลับ 5 มีนาคม 2566 16:29:48 น.  

 

ขอบคุณครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 5 มีนาคม 2566 20:09:22 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 6 มีนาคม 2566 5:50:47 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ

 

โดย: **mp5** 6 มีนาคม 2566 8:43:53 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปส่งกำลังใจนะคะพี่อุ้ม

 

โดย: nonnoiGiwGiw 7 มีนาคม 2566 10:35:59 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2566
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.