เริ่มจากงกประมาณ

เริ่มจากงกประมาณ

 

เขียนไม่ผิดนะครับ เริ่มจาก งก-ประมาณ  การออกแบบเครือข่ายทั่วไปนั้นจะเริ่มจากคำถามว่าคุณมีเงินเท่าไหร่ หรือที่เราเรียกว่างบประมาณนั้นเอง นี่เป็นภาษาเชิงธุรกิจ  ซึ่งตัวเงินนี้จะถูกแปลงออกเป็น

 

1.       ค่าอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ต่างๆ

 

2.       ค่าติดตั้งและดำเนินงาน

 

3.       กำไร

 

อะไรขาดหายไป คำตอบก็คือ “ ค่าออกแบบระบบเครือข่าย” โดยส่วนมาก การวางเครือข่ายขนาดเล็ก ช่างจะลงมือทำโดยอาศัยประสบการณ์ แล้วรวมค่าออกแบบ ไว้กับค่าดำเนินการและติดตั้ง การกระทำเช่นนี้จะไม่มีปัญหาหากเครือข่ายมีขนาดเล็ก และไม่ต้องการ Up-time =99% (ถ้าให้เป็น 99.9% นั้นต้องจ่ายอีกหลายแสน หรือจะให้เป็น 99.99% จ่ายเป็นนับล้าน วันหลังเราจะพูดถึงประเด็นนี้ )  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ประสบการณ์ของช่างติดตั้ง หากมีประสบการณ์น้อยก็จะพบกับปัญหาเน็ตเวิร์คดาวน์บ่อยครั้ง

 

        การออกแบบที่ดีจะไม่ได้เน้นที่งกประมาณ แต่จะเน้นให้เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง ด้วยงบประมาณที่จำกัด ผู้ออกแบบไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครือข่ายให้เสร็จสิ้นทั้งหมดในครั้งเดียว เพราะนั่นจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง  อาจจะทะยอยแบ่งออกเป็น เฟส (Phrase) ๆ ตามกำลังทรัพย์ของผู้ว่าจ้าง  นี้จะเป็นการบาลานซ์กันหรือระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง  ไม่เพียงแค่นั้นยังเหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งานอีกด้วย

 

        ตัวอย่างเช่น การออกแบบระบบไวไฟ (Wi-Fi) ในอพาร์ตเม้นท์ ซึ่งผู้ออกแบบมักจะถามเจ้าของว่ามีงบเท่าไหร่ และผู้ออกแบบก็จะใช้ประสบการณ์บอกว่า อย่างนี้ต้อง 1 แสนบาทเป็นอย่างน้อย ส่วนหนึ่งก็เพราะการรับงานขนาดเล็กไม่คุ้มกับการดำเนินงานเท่าใดนัก ค่าของก็ 30% ค่าแรงก็ 30 % และต้องแบ่งกำไรออกเป็นอีก 30% เผื่อต่ออีก 10%  ทุกคนก็จะหงายตึง  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  การตัดสินใจล่าช้า มีการเลื่อนงานออกไปเพื่อหาผู้รับจ้างรายอื่นๆเพื่อสอบราคาต่อไป  มีโอกาสสูงมากที่งานจะหลุดมือไป

 

        วิธีการง่ายๆก็คือ การออกแบบระบบเครือข่ายแล้วแบ่งเป็นเฟส ทำให้สามารถลดราคาลงได้ ตัวอย่างเช่น 

 

เฟส ให้ติดตั้ง Access Point ไว้ 1-2 ตัวต่อชั้น  โดยใช้เสาอากาศกำลังส่งสูงประมาณ 9 dBi นั่นทำให้ครอบคลุมกับพื้นที่ทั้งหมด ส่วนสาย LAN ก็มีการติดตั้งไว้ให้เรียบร้อยรอส่วนเพิ่มขยายเมื่อ Traffic เพิ่มมากขึ้น  ตัวเก็บ Log ก็ใช้ตัวเดียว ควบคู่กับ Proxy  Server  และต่อผ่านสาย ADSL เพียงเส้นเดียว เพราะช่วงแรกจะมีปริมาณการงานไม่ดุมาก

 

เฟสที่ จะห่างจากจุดแรก โดยมีการคำนวณให้ผู้ว่าจ้างทราบว่า เขาคุ้มทุนแล้วนะควรจะลงทุนต่อเพื่อให้เกิดงานเฟส 2  โดยครั้งนี้จะมีการเพิ่ม AP ขึ้นมาอีกให้รองรับการใช้งานตามชั้นที่มีการใช้งานมาก ส่วน ADSL จะมีการอัพสปีดขึ้น และอาจจะเพิ่ม ADSL สายที่สองขึ้นมาตามความจำเป็น  พร้อมกับมีการดูแลการดาวน์โหลด ดูหนังฟังเพลง  และตรวจสอบคุณภาพสาย

 

เฟสที่ จะเน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย และการบริหารแบนด์วิธ ว่าปริมาณการใช้งานเป็นอย่างไร ควรจะขยายหรือไม่ รายได้ในเฟสนี้จะมาจากการบริการหลังการขายที่มีการคิดแบบรายเดือนหรือไม่ก็ตาม

 

 

 การแยกออกเป็นเฟสๆ นี้ยังมีข้อดีในส่วนของการรับประกันของอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ไม่เกิน 3 ปี  หากอุปกรณ์เสียก็นำตัวใหม่ของเฟสใหม่เข้ามาทดแทน และนำตัวเก่าไปเคลมก็จะได้ใช้งานไม่สะดุด นอกจากนั้นยังมีข้อดีในส่วนของสินค้าเทคโนโลยีที่ซื้อตัวใหม่มักจะได้ฟีเจอร์มากกว่าเดิม เช่นเงิน 3 พันบาทตอนนี้สามารถซื้อไวไฟเราเตอร์ที่รองรับทั้งย่าน 2.4GHz และ 5GHz ได้พร้อมกัน ต่างจากเมื่อสองปีก่อนที่ต้องใช้เงินถึง 6 พันบาท อีกทั้งอุปกรณ์จำพวกนี้เป็นเกรด Home Use ห่างใช้งานต่อเนื่องไม่เกิน 2 ปีก็จะเสีย แต่ถ้าซื้อระดับ Enterprise ก็จะต้องจ่ายนับหมื่นบาท เท่านี้เจ้าของหอพักทั่วไปก็หงายเก็งแล้ว

 

 อ




Create Date : 06 พฤษภาคม 2555
Last Update : 6 พฤษภาคม 2555 11:59:46 น.
Counter : 951 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

At least 8
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31