มาดูความเห็นของนักเขียน อดีตแม่พิมพ์ของชาติ เกี่ยวกับมุมมองต่อพุทธศาสนา
มาดูความเห็นของนักเขียน อดีตแม่พิมพ์ของชาติ เกี่ยวกับมุมมองต่อพุทธศาสนา
เมื่อวันก่อนอ่านข่าวใน หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเห็นคอลัมน์ที่เป็นบทสนทนาระหว่าง ผู้สัมภาษณ์กับนักเขียนหญิงรายหนึ่งเรื่องเกี่ยวกับความเห็นของนักเขียนผู้นั้นกับพุทธศาสนา แล้วต้องอ่านทวนหลายรอบเพื่อจับประเด็น(เพราะมากด้วยคำภาษาอังกฤษ ตามสมัยนิยม) หลังจากนั้นผมไปค้นประวัติของผู้ให้สัมภาษณ์ ก็ทึ่งมาก เป็นอดีตครู นักข่าว นักอะไรต่อมิอะไร ก็เลยอยากให้คุณๆได้อ่านความคิดความเห็นของนักเขียนผู้นี้ที่ผมพอจะจับใจความได้ อ่านแล้วเชิญวิเคราะห์และวิจารณ์กันเอาเองนะครับ
ความคิดความเห็นของผู้ถูกสัมภาษณ์ มีดังนี้ครับ
• มีความเห็นว่าปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมแก้ไม่ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม
• มองว่าคนที่ไปปฏิบัติธรรมเพราะเขาเหล่านั้นหมดปัญหาในเรื่องความเป็นอยู่แล้ว
• ไม่เชื่อว่าสังคมจะดี ได้ ด้วยคนดีและคนปฏิบัติธรรม
• เห็นความสำคัญของเรื่อง กิน กาม และเกียรติ มากกว่าความดี
• ไม่เห็นความสำคัญของความดี เพียงเพราะว่าความดีเป็นเรื่องของนามธรรม ที่จับต้องไม่ได้ วัดไม่ได้
• มองวัด พระ ว่าเป็นเพียงหน่วยหนึ่งของสังคม ที่มีหน้าที่เพียงการทำพิธีกรรม ระดมทุน และเป็น ตัวแทนของชุมชนที่พอจะมีพลังในการคานอำนาจฝ่ายบ้านเมือง
• มองพระเป็นเพียงปุถุชน ไม่ได้แตกต่างกับชาวบ้านทั่วไป
• ไม่เข้าใจเรื่องศีล
• สับสนระหว่างประเพณีอันดีงามที่มีมาแต่เดิมกับประเพณีที่ถูกบิดเบือนไป
• มองวิถีชาวบ้านเป็นเรื่องน่าขบขัน
• เป็นพวกอัตตานิยม
• ไม่เห็นความสำคัญของการเข้าวัดปฏิบัติธรรม
• ต้องการให้พระ-วัดเป็นสถาบันทางการบริหารอย่างหนึ่ง มีหน้าที่เข้ามาจัดการเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เข้ามามีส่วนอุดหนุนระบบการศึกษา ยอมให้มีการเมืองในศาสนาได้
• ต้องการให้พระเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมอย่างเช่นคนทั่วไป
• ไม่ให้ความสำคัญกับพระที่ทำผิดวินัยสงฆ์ แต่ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับชาวบ้านอย่างโลกียชน
• กล่าวหาพระ(บางรูป)ว่าเอาตัวรอดในวิกฤติการณ์การเมืองที่ผ่านมา ไม่ยอมแสดงจุดยืนที่เด่นชัด
• มีความเห็นว่าศาสนาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
• มองว่าพระ(บางรูป)สร้างความนิยมให้ตัวเองจากวิกฤติการณ์ที่กล่าวแล้ว
• ไม่คำนึงว่าผลงานเขียนของตนจะมีผลกระทบกับผู้รับสื่ออย่างไร

ลองไปหาอ่านบทสัมภาษณ์นี้นะครับ ดูเหมือนว่ามีผู้โต้แย้งความคิดเห็นของนักเขียนผู้นี้แล้ว ผมเพียงนำเสนอให้คุณได้ไตร่ตรองเอาเอง



พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าคนที่รับฟังคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว จะเข้าใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความเห็น(ทิฐิ) รวมทั้งศรัทธาความเชื่อ ของเขา เปรียบเหมือนบัว ๔ จำพวก คือ



• พวกที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีสัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ พอฟังธรรมแล้วเข้าใจได้รวดเร็วเปรียบเหมือนบัวพ้นน้ำที่เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็บานได้ในทันที
• พวกที่มีสติปัญญาฉลาดปานกลาง มีสัมมาทิฏฐิ ถ้าได้ฟังธรรมแล้วเอามาฝึกฝนเพิ่มเติมก็สามารถเข้าใจได้ในไม่ช้า เปรียบเหมือนบัวปริ่มน้ำต้องใช้เวลาเล็กน้อยที่จะพ้นน้ำแล้วจึงค่อยบานเมื่อได้รับแดด
• พวกที่มีสติปัญญาน้อยแต่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว นำมาพิจารณาไตร่ตรองแล้วนำมาฝึกฝนเพิ่มเติม มีความเพียร มีศรัทธา หมั่นอบรมตนเองอยู่เสมอ ก็สามารถเข้าใจในธรรมนั้นได้แม้ว่าจะช้าไปบ้าง เปรียบเหมือนบัวใต้น้ำที่ต้องใช้เวลาที่จะค่อยๆเติบโตโผล่พ้นน้ำขึ้นมารับแสงแดดแล้วเริ่มผลิบาน
• พวกที่ไร้สติปัญญา เป็นพวกที่มีมิจฉาทิฏฐิ แม้จะได้ฟังธรรมแล้วก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจในธรรมอันประเสริฐนั้นได้ ประกอบกับขาดความเชื่อมั่นศรัทธาในคำสอนนั้นด้วยแล้ว ยิ่งไม่อาจจะเข้าถึงความสว่างแห่งพระธรรมได้เลย พวกนี้เปรียบเหมือนพวกบัวที่อยู่ในตม ต้องตกเป็นอาหารของพวกหอย ปู ปลาและเต่า ไม่มีโอกาสที่จะโผล่พ้นน้ำมาเบ่งบานได้
(เก็บความจาก มารู้จักบัวสี่เหล่า โพสต์โดย ไชยวรมันต์ ใน//www.oknation.net/blog/bigbabe/2009/02/04/entry-2)




Create Date : 24 สิงหาคม 2553
Last Update : 25 สิงหาคม 2553 7:10:55 น.
Counter : 2180 Pageviews.

2 comments
  
อ่านแล้วค่ะ รู้สึกว่าคนที่เป็นบุคคลสาธารณะ จะแสดงความคิดเห็นอะไร ต้องระมัดระวังให้มาก และต้องรู้จริงมีข้อเท็จจริง ไม่เช่นนั้น.... เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้อย่างในกรณีนี้ จะทำให้คนอื่นที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจธรรมะ พากันลงเหว ลงนรก ไปด้วย ต้องบอกว่า "กรรมจำแนกสัตว์โลกให้เลวและประณีตต่างกัน" จริงๆ ดั่งคำที่พระพุทธองค์ว่าไว้
โดย: เพื่อนธรรม IP: 118.173.87.94 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:21:12:09 น.
  
ความสำคัญของศาสนา
ศาสนาทุกศาสนาต่างมีจุดหมายสำคัญร่วมกัน คือ ต้องการให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนดี อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เปรียบได้กับกฎหมายที่ใช้ควบคุมสังคม หากสมาชิกไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามข้อกำหนด ส่วนทางศาสนาหากไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอน ย่อมเกิดความเสื่อมแห่งชีวิตหรือได้รับความทุกข์ตามเหตุแห่งการละเมิดคำสอนนั้น ๆ
ศาสนามีความสำคัญทั้งต่อบุคคลและสังคมมาก ดังเช่น
- เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ทำให้มนุษย์มีที่พึ่งและสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิต
- เป็นเครื่องมือในการสานสร้างความสมานสามัคคีกันของสมาชิกสังคม ทำให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยลดความขัดแย้งทำให้เกิดสันติสุข
- เป็นบรรทัดฐานในการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคม หากบุคคลใดยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนก็จะทำให้ตนเองมีความสุขความเจริญ เพราะจะได้รับความเลื่อมใส ศรัทธาเคารพรับจากบุคคลอื่น เมื่อจะกระทำกิจกรรมใด ๆ ก็จะได้รับความร่วมมือ ช่วยเหลือ ช่วยเหลือ
และส่งเสริมเป็นอันดี เป็นผลดีต่อการประกอบอาชีพหรือหน้าที่การงาน
- เป็นเครื่องมือในการอบรมขัดเหลาสมาชิกของสังคม ศาสนาเป็นสิ่งที่สร้างความเคารพศรัทธาขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอน ให้มนุษย์รู้จักเกรงกลัวต่อบาป ละอายต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ปลูกฝังให้รู้จักการกระทำความดี เป็นประโยชน์แต่ตนเองและสังคม ให้รู้จักสิ่งถูกต้องดีงาม ฯลฯ
- เป็นพื้นฐานของขนบธรรมเนียมประเพณี หลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ของศาสนาที่ประชาชนในสังคมถือ
ปฏิบัติ เช่น การทำบุญตักบาตร การไหว้พระ การอุปสมบท เป็นต้น
- เป็นเครื่องหมายของสังคม ศาสนาจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ
ประชาชน เพราะแต่ละสังคมจะมีศาสนาหลักของสังคมที่ทำให้สังคมอื่นรับรู้
- เป็นมรดกของสังคม ศาสนาถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของสังคมโลกเพราะทุกศาสนาจะมี
ศาสนวัตถุ ศาสนิกชน หลักธรรมคำสอนและศาสนพิธีต่าง ๆ มากมายที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญก้าวหน้าหรือความเสื่อมถอยของสังคมได้เป็นอย่างดี
สังคมไทยตะหนักถึงความสำคัญของศาสนาต่อบุคคลและสังคม โดยไม่มีการกีดกันศาสนาอื่น ๆ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมศาสนาต่าง ๆ มาช้านาน แม้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (มาตรา 73) ยัง
บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ลักษณะของศาสนา
ศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระศาสดา ซึ่งในแต่ละศาสนาอาจมีคำสอนคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยเนื้อแท้แล้วทุกศาสนาย่อมมีจุดหมายอย่างเดียวกัน คือ มุ่งสั่งสอนให้สังคมมนุษย์ได้อยู่ร่วมกัน
อย่างสงบสุข ตลอดจนเป็นที่รวมของพิธีกรรม ศิลปกรรม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และสิ่งที่เคารพบูชา สามารถนำมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจได้ ประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ว่าด้วยเรื่องความเชื่อถือในอำนาจ ซึ่งเป็นนามธรรม เช่น อำนาจของบาปบุญ อำนาจของธรรมะ
อำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจของพระเจ้า เป็นต้น
2. ว่าด้วยหลักศีลธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์ ความประพฤติของศาสนนิกชนในระดับต่าง ๆ เช่น หลัก
จริยธรรมในครอบครัว หลักจริยธรรมระหว่างมิตร และหลักจริยธรรมระหว่างบุคคลในสังคม เป็นต้น
3. กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด เช่น การเข้าถึงพระนิพพานของพระพุทธศาสนา การเข้าถึงปรมาตมัน
ในศาสนาฮินดู การเคารพภัคดีต่ออัลเลาะฮ (ซ.บ.) ของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
4. กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การสวดมนต์ไหว้พระในพระพุทธศาสนา การละหมาดในศาสนาอิสลาม เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการดำเนินชีวิต
ศาสนาเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อขจัดความหวาดกลัวในจิตใจของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องการที่พึ่ง
ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เนื่องจากอดีตมนุษย์พึ่งพาและใกล้ชิดกับธรรมชาติแต่ขาดความรู้ความเข้าใจ
การเปลี่ยนแปลง และสภาพทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น สร้างความหวาดวิตกและไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ต่าง ๆ
เช่น การเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง พายุ น้ำท่วม ฯลฯ โดยทุกคนคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้มีฤทธิ์มีอำนาจที่เหนือกว่าตน ความเสียหายความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาตินั้น อาจเป็นผลมาจากการกระทำใด ๆ ของตนที่ไม่ถูกต้อง และเป็นที่ไม่พอใจแก่อำนาจเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงเคารพบูชาอำนาจเหล่านั้น ว่าจะสามารถดลบันดาลสิ่งที่ตนต้องการได้ ความเชื่อเหล่านี้กลายเป็นลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ของมนุษย์ในแต่ละสังคม
ทุกศาสนาต่างก็มีหลักธรรมคำนอน มีพิธีกรรม และเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นศาสนานั้น ๆ ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ นำพาชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง มุ่งอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในสังคมเป็นคนดี มีคุณธรรม มีเหตุผลและเชื่อมั่นในความถูกต้อง ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีบทบาท หน้าที่ และฐานะอย่างไรในสังคมก็สามารถใช้หลักธรรมคำสอนต่าง ๆ ในการประพฤติปฏิบัติตนได้ตามความเหมาะสม องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพศรัทธาของปวงชนชาว
ไทยทั้งประเทศ ก็ทรงประพฤติพระองค์ตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นแบบอย่างแก่ข้าแผ่นดิน ดังตัวอย่างจากพระบรมราโชวาท ที่คัดมาตอนหนึ่งว่า
1. ให้มีความอดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ และความถูกต้อง “การประกอบกิจการงานร่วมกับผู้อื่นนั้น จะให้เป็นไปโดยราบรื่นเรียบร้อยทั้งหมดย่อมเป็นไปได้ยาก เพราะคนจำนวนมากมีความคิดที่แตกต่างกัน ตามพื้นฐานภูมิรู้และภูมิธรรมของแต่ละคน ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ในการทำงานก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทุกคนชอบที่จะทำความคิดความเห็นให้สอดคล้องกัน ร่วมกันหาทางแก้ไขด้วยเหตุและผลตามความเป็นจริงบนพื้นฐานอันเดียวกัน จะเห็นแนวทางปฏิบัติแก้ไขได้อย่างเที่ยงตรง ถูกต้อง และเหมาะสม”
2. ให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด “ข้าราชการมีหน้าที่สำคัญ ส่วนหนึ่งที่จะต้องประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลทั้งปวงด้วยความสุจริต จริงใจวางตัวให้พอเหมาะพอสมกับฐานะตำแหน่งพอกับรักษาความสุภาพอ่อนโยนไว้ให้เหนียวแน่นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังต้องมีความเสียสละอดทน รู้จักเกรงใจ ให้อภัยกัน จะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักฟังความคิดเห็นกระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์ จาผู้อื่นอย่างฉลาด….”
3. ให้รู้จักรับฟังความคิดเห็น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง “…หากต่างคนต่างคิดต่างคนต่างอ้างเหตุผลที่อาศัยพื้นฐานแตกต่างกันก็อาจเกิดถกเถียง โต้แย้งกันโดยไม่มีข้อยุติปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่มีทางออก โดยได้รับปฏิบัติแก้ไข เป็นผลที่ทำให้งานติดขัด ล่าช้า หรือไม่สามารถจะดำเนินการต่อไปได้สำเร็จ เหตุและผลนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงในการพิจารณาแก้ไขปัญหา
หาต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมความสามารถของบุคคลให้สูงขึ้น คือ สามารถทำงานที่ยาก ที่มีความสำคัญสูงได้..” จากตัวอย่างพระบรมราโชวาทแสดงให้เห็นว่า การดำเนินชีวิตของประชาชนควรจะต้องยึดหลักธรรมะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและบทบาทใด เพราะธรรมะจะทำให้งานที่ทำอยู่สำเร็จตามความมุ่งหวัง ทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ได้
ที่มา จากหนังสือพุทธศาสนากับความสัมพันธ์กับศาสนาต่างๆ
โดยปวาริฉัตร งามอุ่น
โดย: ความสำคัญของศาสนา IP: 112.143.8.188 วันที่: 16 มีนาคม 2554 เวลา:7:11:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อุษา
Location :
แพร่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



สิงหาคม 2553

1
2
3
4
5
7
8
9
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog