Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 ธันวาคม 2556
 
All Blogs
 

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกับศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมากของผู้แทน V การตรวจสอบถ่วงดุล (ตอนจบ)



จากการศึกษา ผู้เขียนพบว่าในบางประเทศที่รัฐธรรมนูญ

ไม่ได้ บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งถึงอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

ในเรื่องนี้ (เช่นเดียวกับประเทศไทย)

แล้วศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจตรวจสอบ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?

............................................................

ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศต่าง ๆ ก็มีการตีความ

เรื่องเขตอำนาจของตนต่างกันไป เช่น

คณะตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส

ศาลรัฐธรรมนูญประเทศสโลวีเนีย

จะตีความว่าไม่มีอำนาจ

ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญประเทศเยอรมนี

และศาลรัฐธรรมนูญประเทศออสเตรีย

จะตีความว่าศาลมีอำนาจ

(รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญอิตาลีเอง

ก็วางหลักไว้เช่นกันว่ามีอำนาจ

แต่ยังไม่เคยมีการนำการแก้ไขเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของศาล)

............................................................

แต่การตีความที่แตกต่างกันของศาลรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งนี้

พบว่าถ้าหากรัฐธรรมนูญประเทศใดกำหนดให้การให้

ความเห็นชอบแก่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

เป็นอำนาจของรัฐสภาองค์กรเดียว อย่างเช่น

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนี

ซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐสภาเพียงองค์กรเดียว

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความ

ว่าศาลมีอำนาจวินิจฉัย แต่ถ้าหากการแก้ไขเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญประเทศใดมีกระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

หรือสะท้อนเสียงของประชาชน เช่น

ให้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปลงประชามติ

อย่างรัฐธรรมนูญของประเทศสโลวีเนีย

หรือสร้างกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ไม่ให้อำนาจตกแก่รัฐสภาเพียงองค์กรเดียว

อย่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดให้กรณีที่

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นเสนอโดยรัฐสภา

เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว ก็ต้องนำไปลงประชามติ

(ไม่ใช่เสนอเอง ให้ความเห็นชอบเองเพียงองค์กรเดียว)

หรือ กรณีที่ประธานาธิบดี (ประมุขของฝ่ายบริหาร)

เป็นผู้เสนอ เมื่อผ่านการพิจารณาจากสภาแล้ว

ก็ต้องนำไปผ่านความเห็นชอบ

จากที่ประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา

อีกครั้งหนึ่ง หรือนำไปลงประชามติ

ในกรณีเช่นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า

ไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีดังกล่าว ซึ่งจะเห็นได้ว่า

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศ

ก็มีกระบวนการที่ทำได้ยาก ไม่ได้ปล่อยให้เป็น

อำนาจของสภาแต่เพียงองค์กรเดียว

อีกทั้งยังมีกลไกที่สะท้อนเสียง

ของประชาชนอย่างชัดเจนอีกด้วย

............................................................

จึงอาจกล่าวได้ว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญบางประเทศ

ตีความว่าตนมีอำนาจวินิจฉัยนั้น

ก็เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจสภา

ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น

กฎหมายสูงสุดของประเทศนั่นเอง

............................................................

ยิ่งกว่านั้น บางประเทศก็กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

อย่างชัดเจนว่าศาลรัฐธรรมนูญ

มีอำนาจตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

แต่กำหนดกรอบในการตรวจสอบ เช่น

รัฐธรรมนูญประเทศโรมาเนียกำหนดให้

ต้องนำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ

ก่อนและหลังการพิจารณาของสภา

แต่ห้ามพิจารณาหลังจากที่มีการนำ

ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปลงประชามติแล้ว

หรือ รัฐธรรมนูญประเทศฮังการี

และรัฐธรรมนูญประเทศตุรกี

ก็กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

แต่ให้ตรวจสอบเฉพาะกระบวนการเท่านั้น

............................................................

ทั้งนี้ การที่บางประเทศกำหนดอำนาจ

ศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวไว้อย่าง

ชัดเจน ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นแนวความคิดที่ว่า

“การใช้อำนาจของรัฐสภา ซึ่ง

เป็นเพียง “ตัวแทน” เท่านั้น ต้องมีการตรวจสอบ”

การควบคุมการใช้อำนาจของรัฐสภา

ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนประชาชนจึงมีแนวโน้มที่

มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะก่อนที่

รัฐธรรมนูญประเทศเหล่านี้จะกำหนดเรื่อง

การตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

โดยศาลอย่างชัดเจน ก็เคยประสบปัญหาเรื่องอำนาจศาลใน

กรณีนี้มาก่อนทั้งสิ้น จนต้องมีการบัญญัติไว้

อย่างชัดเจนว่าศาลมีอำนาจ และมีขอบเขตเพียงใด

โดยยังไม่พบว่าประเทศใดจะแก้ปัญหาดังกล่าว

ด้วยการตัดอำนาจศาล

จึงอาจกล่าวได้ว่าการสร้างระบบควบคุมความชอบ

ด้วยรัฐธรรมนูญในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ก็มีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน

............................................................

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291

และการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ

มาตรา 291 บัญญัติกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

และข้อห้ามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้

กำหนดให้รัฐสภาเป็นองค์กรเพียงองค์กรเดียว

ที่ให้ความเห็นชอบแก่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และ

เปิดช่องให้ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก

กล่าวคือ กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

สามารถเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

และในกรณีนี้เท่านั้นที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้

ต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ที่เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

และไม่ได้บัญญัติช่องทางการมีส่วนร่วมอย่างอื่นเลย

ซึ่งถ้าหากไม่มีองค์กรอื่นเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลแล้ว

ก็เท่ากับว่าปล่อยให้รัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้น

โดยรัฐธรรมนูญ และเป็นเพียง “ผู้แทน”

ของประชาชน ใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ไปในทางที่อาจลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ซึ่งเป็น “ตัวการ” ที่เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดอย่างไรก็ได้

............................................................

ทั้งนี้ แม้มาตรา 291 จะกำหนดทั้งกระบวนการและข้อห้าม

แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่า องค์กรใดจะเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นขัดหรือแย้ง

ต่อมาตรา 291 หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า

ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบ โดยอย่างน้อยที่สุด

ก็ต้องตรวจสอบกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

มิเช่นนั้น อาจเกิดปัญหาว่าหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

โดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง และไม่มีการตรวจสอบ

ย่อมทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบ

มาแต่แรกนั้นมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป

และเท่ากับว่าบทบัญญัติมาตรา 291

ไม่มีความหมาย

............................................................

แม้จะมีข้ออ้างว่า การที่ศาลเข้ามาตรวจสอบ

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเท่ากับว่า

ยกให้ศาลอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ แต่ผู้เขียนเห็นว่า

การให้อำนาจรัฐสภาเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจ

แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยไม่มีองค์กรอื่น

เข้ามาตรวจสอบถ่วงดุล หรือไม่มีแม้แต่ “ช่องทาง”

การสะท้อนเสียงของประชาชน

ก็ไม่ต่างจากการปล่อยให้เสียงข้างมาก

ในสภาสามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอัน

เป็นกฎหมายสูงสุดที่วางกติกาการปกครองประเทศ

ได้อย่างตามใจชอบเลย

............................................................

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนหวังว่า การศึกษาวิจัยของผู้เขียนนี้

จะเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่นำไปสู่การ “สร้างกติกา”

เพื่อหาจุดสมดุลระหว่าง “การใช้อำนาจของผู้แทน”

และ “การตรวจสอบถ่วงดุล” ได้ในท้ายที่สุด.

.......................

อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์ "หมายเหตุประชาชน"

ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม 2556

โดย ชมพูนุช ตั้งถาวร

นักวิชาการขึ้นตรงต่อเลขาธิการ

ปฏิบัติงานสำนักวิจับ สถาบัญพระปกเกล้า




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2556
0 comments
Last Update : 16 ตุลาคม 2557 11:03:49 น.
Counter : 1688 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.