Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
เหลียวหลัง 60 ปีการปฏิวัติจีน


โดย เกษียร เตชะพีระ


ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

1 ต.ค. 1949 ในโอกาสเฉลิมฉลองวันชาติจีนครบรอบ 60 ปี

เมื่อ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ Le Monde ของฝรั่งเศส

ได้ลงบทสัมภาษณ์ ลูเซียง บิอังโก (Lucien Bianco)

ผู้อำนวยการวิจัย ศูนย์ศึกษาจีนสมัยใหม่และร่วมสมัยแห่ง

l"Ecole des hautes ?tudes en sciences sociales (EHESS)

เพื่อสะท้อนภาพรวมการปฏิวัติจีน และประเทศจีนใหม่หลังการปฏิวัติ

ถึงปัจจุบัน อันเป็นทรรศนะที่สั่งสมกลั่นตัวขึ้นจากการพากเพียร

เกาะติด ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเอกสารชั้นต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์

การเมืองและชาวนาจีนอย่างเจาะลึกมากว่า 40 ปี

ดังปรากฏในงานเด่นๆ ของเขา อาทิ

Les Origines de la r?volution chinoise 1915-1949

(กำเนิดการปฏิวัติจีน 1915-1949, พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ.1967

ฉบับปรับปรุงล่าสุด 2007); Peasants without the Party : Grassroots

Movements in Twentieth Century China

(ชาวนาไร้พรรค : ขบวนการรากหญ้าในจีนแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20,

ค.ศ.2001); และ Jacqueries et r?volution dans la Chine du XXe

si?cle (กบฏชาวนากับการปฏิวัติในจีนแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20,

ค.ศ.2005) ซึ่งเขียนร่วมกับ Hua Chang-ming เป็นต้น

ผมขอถือโอกาสแปลถ่ายทอดสู่ท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ : -


คำถาม (โดยบรูโน ฟิลิป ผู้สื่อข่าวเลอมงด์) :

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ชาวนาจีน

จะพูดได้ไหมครับว่า ยุทธศาสตร์ของเหมา เจ๋อ ตง

ที่มีจุดเด่นตรงเลือกพึ่งพามวลชนชาวนานั้นเป็นสาเหตุหลัก

แห่งชัยชนะของคอมมิวนิสต์?


ลูเซียง บิอังโก : ถึงแม้ยุทธศาสตร์อิงชาวนาของเหมาจะชาญฉลาด

และได้ผลดียิ่งก็จริง ทว่าสาเหตุหลักแห่งชัยชนะของคอมมิวนิสต์จีน

คือสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งปรากฏชัดว่ามันมีบทบาทชี้ขาด

ยิ่งกว่าบทบาทของสงครามโลกครั้งที่ 1 ในชัยชนะของ

พวกบอลเชวิค (สมัยการปฏิวัติสังคมนิยมรัสเซีย ค.ศ.1917-ผู้แปล)

เสียอีก มันทำให้ระบอบปกครองเก่าที่เปราะบางอยู่แล้วล่อแหลม

ง่อนแง่นแสนสาหัสและทำให้พวกคอมมิวนิสต์เพิ่มขยายกำลัง

ของตนขึ้นมากเลยทีเดียว


คำถาม : ทหารกองทัพแดงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เปรียบศัตรู

ด้านหลักๆ ตรงไหนบ้างในสมัยสงครามกลางเมือง?


ลูเซียง บิอังโก : กองทัพแดงเหนือกว่าในด้านการบังคับบัญชา

และขวัญกำลังใจ ทั้งยังค้ำหนุนด้วยการปฏิรูปที่ดิน

ซึ่งแจกจ่ายที่ดินให้แก่ชาวนาผู้เข้าร่วมกองทัพแดง

ทว่าที่สำคัญไปกว่านั้นคือวิกฤตการณ์ซึ่งทำให้ระบอบก๊กมินตั๋ง

ของเจียง ไค เช็ค ต้านทานการรุกของฝ่ายคอมมิวนิสต์

ได้น้อยลงทุกที ตอนนั้นเงินเฟ้อหนักพอๆ กับที่สาธารณรัฐไวมาร์

เคยประสบ (หมายถึงเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

ซึ่งเงินเฟ้อวันละ 20.9% หรือของแพงขึ้นเท่าตัวชั่ว 3.7 วัน

ส่วนจีนก่อนปลดปล่อยนั้น เงินเฟ้อวันละ 11%

ส่งผลให้ของแพงขึ้นเท่าตัวใน 6.7 วัน-ผู้แปล)

ข้าราชการและคนกินเงินเดือนพากันฉิบหายล่มจม

คอร์รัปชั่นยิ่งร้ายแรง และผู้คนเอาใจออกห่าง รัฐบาล

เมื่อจนตรอกเข้า รัฐบาลก๊กมินตั๋งก็ยังดื้อรั้นปราบปราม

และพยายามปกปิดความพ่ายแพ้ของตนอยู่อีก ดูภายนอกแล้ว

การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนเหมือนสู้รบจนพิชิตศึกได้

แต่เอาเข้าจริงมันถูกต้องแม่นยำกว่าที่จะบอกว่า

ระบอบก๊กมินตั๋งเองนั่นแหละที่ล่มสลายลงท่ามกลางคำโป้ปดมดเท็จ

การล้มละลายและคอร์รัปชั่น


คำถาม : ชาวจีนในเมืองมีท่าทีรู้สึกนึกคิดอย่างไรเมื่อใกล้

จะได้รับการ "ปลดปล่อย" โดยทหารของเหมา?


ลูเซียง บิอังโก : กองทัพแดงไม่ได้ยาตราเข้าเมืองนานกิง

หรือเซี่ยงไฮ้ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องต้อนรับ

ชาวเมืองค่อนข้างเงียบและสงวนท่าทีเหมือนที่โรแบต์ กวีแยง

ผู้สื่อข่าวเลอมงด์สมัยนั้นเล่านั่นแหละ แต่ถึงกระนั้น

ชาวเมืองก็หันมาเข้ากับฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวลาไม่ช้านาน

ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขามักน้อย พึงพอใจกับแค่ความหวังว่าชีวิต

จะแย่น้อยลง ไม่ต้องถึงกับดีขึ้นหรอก และเมื่อพวกเขาตรองๆ

ดูก็คงไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่าสิ่งที่ได้เคยประสบมา

ในระบอบเก่าอีกแล้ว ในแง่นี้ก็นับว่าพวกเขาคิดผิด

โดยเฉพาะพวกปัญญาชน กลุ่มหลังนี้แรกเริ่มเดิมทีก็ปลาบปลื้ม

ชื่นชมระบอบใหม่มากกว่าที่ปัญญาชนรัสเซียปลื้มระบอบบอลเชวิคเสียอีก

พวกเขาคาดหวังว่า คอมมิวนิสต์จะยุติสภาพที่ประเทศจีนตกต่ำ

เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ เสียที นั่นประจวบเหมาะกับสิ่งที่เหมา

ให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาไว้ทันทีพอดี ดังที่เหมาประกาศว่า :

"ประชาชนจีนได้ลุกยืนขึ้นแล้ว...ชาวจีนจะไม่ยอมเป็นทาส ใครอีก"

การปฏิวัติครั้งนี้จึงมีลักษณะชาตินิยมมากกว่าที่จะเป็นคอมมิวนิสต์


คำถาม : ก่อนเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจปี ค.ศ.1979

เราพอจะแยกแยะช่วงเวลาใดได้บ้างไหมนับแต่ปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมา

ที่ส่งผลเชิงบวกต่อประเทศจีน (ในแง่ลดความยากจน,

เพิ่มการรู้หนังสือ, ยกระดับสิทธิสตรี ฯลฯ)

ถึงแม้เศรษฐกิจจะพังพินาศในยุคลัทธิเหมาก็ตาม?


ลูเซียง บิอังโก : ในแง่ลดความยากจน คิดเบ็ดเสร็จแล้ว

ผลงานแทบจะเป็นศูนย์ กล่าวคือในปี ค.ศ.1977

หลังเหมาตายหนึ่งปี รายได้ของชาวนาซึ่งคิดเป็น 80%

ของชาวจีนนั้น เท่ากับหรือน้อยกว่ารายได้ในปี ค.ศ.1933 !

เหมานั้นชอบป่าวประกาศเรียกร้องลัทธิสมภาคนิยมมากกว่า

จะทำให้มันประจักษ์เป็นจริง การตัดสินใจเลือกเรื่องต่างๆ

บนพื้นฐานอุดมการณ์และความดื้อรั้นยืนกรานของเขา

ทำให้ประชากรทั้งมวลจมปลักอยู่ในความยากจน

การที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ขยายเสรีภาพตามกฎหมายการ

แต่งงาน ค.ศ.1950 ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้กับชนชั้นปัญญาชน

และคนชั้นกลางชาวเมืองจำนวนน้อยนิดอยู่ก่อนแล้ว

ให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมดนั้น ก็ช่วยผ่อนคลาย

สภาพของผู้หญิงให้ดีขึ้นบ้าง โดยที่ผู้เป็นภรรยา

มักโดนสามีที่เธอถูกจับให้แต่งงานด้วยแบบคลุมถุง

ชนข่มเหงรังแกหรือทุบตีทำร้ายอยู่เนืองๆ มาตอนนี้ถึงไง

พวกเธอก็สามารถฟ้องร้องขอหย่าขาดได้ ทว่า

ความคิดเก่าที่คอยต่อต้านก็ถ่วงหน่วงเหนี่ยวรั้งการบังคับใช้กฎหมาย

ให้เนิ่นช้าออกไปโดยเฉพาะในชนบท และทางพรรคเอง

ซึ่งมีเรื่องสำคัญเร่งด่วนอื่นก็เลือกที่จะซื้อเวลามากกว่า

อย่างไรก็ตาม พรรคก็ประกาศหลักความเสมอภาคทางเพศออกมาจริงๆ

ชั่วแต่คติพจน์อันโด่งดังที่ว่า "ผู้หญิงแบกโลกไว้ครึ่งหนึ่ง"

มันก็ยังคงเป็นแค่คำขวัญเฉยๆ เหมือนอย่างคติพจน์ลัทธิเหมาอื่นๆ

ผู้หญิงถูก "ปลดปล่อย" ออกมาเพื่อให้ทำงาน

เหมือนในสหภาพโซเวียตนั่นแหละ แถมเป็นงานหนัก

ที่น้อยนักจะได้ค่าแรงเท่าผู้ชาย

ทว่า ในทางกลับกัน การรู้หนังสือและการศึกษาก็ก้าวหน้าไปไกลมาก

ในจีนนับแต่สมัยเหมาเป็นต้นมา เมื่อปี ค.ศ.1949 นั้น

นับแล้วประชากรไม่รู้หนังสือถึง 80% ทุกวันนี้เหลือคนไม่รู้หนังสือ

แค่ 8% และความก้าวหน้าเรื่องนี้ด้านหลักแล้วปรากฏเป็นจริงขึ้น

ในสมัยเหมายังมีชีวิตอยู่ สำหรับด้านการศึกษา

คนจีนไปล้ำหน้ากว่าที่ตั้งใจไว้ กล่าวคือในปี ค.ศ.1949

เด็กในวัยเรียนได้เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาเพียง 25%

แต่ในปี ค.ศ.1976 ที่เหมาตายนั้น สัดส่วนดังกล่าวขึ้นไปถึงกว่า 95%


คำถาม : จะประเมินช่วง 30 ปีหลังที่จีนมั่งคั่งร่ำรวยขึ้น

และกลายเป็นมหาอำนาจในทางสากลอย่างไร?

คุณเห็นไหมว่าลักษณะที่เป็นเผด็จการอำนาจนิยมพรรคเดียว

ของระบอบปกครองนี้เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของความสำเร็จ

โดยที่ไม่มีใครยอมรับเช่นนั้นเลย?


ลูเซียง บิอังโก : ก็ต้องยอมรับว่าโดดเด่นมากในแง่การพัฒนาประเทศ

และระดับชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ยิ่งเรื่องจำนวนประชากรแล้ว

ระบบพรรคเดียวทำงานได้ดีกว่าเรื่องเศรษฐกิจเสียอีก

การคุมกำเนิดมีประสิทธิผลพอๆ กับที่มีลักษณะบังคับ

ราวปี ค.ศ.1975 ความที่ผมอิดหนาระอาใจกับเงื่อนไขสภาพการ

ทำวิจัยในจีน ผมก็เลยแวะอินเดียขากลับและเจอโปสเตอร์ยักษ์

เรียงรายด่าประณาม "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ที่กระทำโดยนางอินทิรา

คานธี (นายกรัฐมนตรีอินเดียสมัยนั้น-ผู้แปล) โดยที่เธอเอง

ก็พยายามวางแผนคุมกำเนิดในอินเดียเหมือนกัน

ทว่า โดยใช้วิธีการบังคับน้อยกว่าในจีนตั้งเยอะด้วยซ้ำไป

นั่นเป็นอุปสรรคที่ฝ่ายนำในจีนไม่ต้องเผชิญ แม้ว่าชาวนาจีน

จะพยายามทำสิ่งที่เหลือเชื่อเพื่อเลี่ยงกฎหมายวางแผนครอบครัวก็ตาม

ในด้านเศรษฐกิจ ความสำเร็จเกิดจากลักษณะอำนาจนิยม

ของระบอบปกครองน้อยกว่าการที่ระบอบนี้ยกเลิกเป้าหมายทางอุดมการณ์ พอละเลิกการจะเอาให้ได้ดังใจแบบลัทธิเหมาเสีย

พวกเขาก็เพียรพยายามรีบเร่ง ชดเชยความล่าช้าล้าหลังอัน

เป็นมูลเหตุที่แท้ของการปฏิวัติจีน แนวทางปฏิบัตินิยมนี้

ช่วยปลดปล่อยพลังงานของ ผู้ผลิตออกมา ผมไม่คิดว่า

จะได้เห็นประชาธิปไตยสถาปนาขึ้นในจีนในชั่วชีวิตของผมหรอก

(ลูเซียง บิอังโก เกิดปี ค.ศ.1930) และก็ใช่ว่านี่เป็นความรับผิดชอบ

ของระบอบปกครองเพียงลำพังฝ่ายเดียว เพราะมันยากที่จะปรับ

ประชาธิปไตยให้เข้ากับประเทศที่ไม่เคยรู้จักมันมาก่อนและมีประชากร

อาศัยอยู่กว่า 1.3 พันล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ยากไร้และขาดการศึกษา


จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 9 /10 / 52



Create Date : 09 ตุลาคม 2552
Last Update : 18 ตุลาคม 2555 11:09:18 น. 1 comments
Counter : 709 Pageviews.

 
ของเขาอย่างน้อยประเทศชาติยังเดินไปข้างหน้าได้ต่างจากเรา ..คนทำการปฎิวัติรวยขึ้นๆๆแถมทำตอนประเทศชาติกำลังไปได้ดีอีกต่างหาก


โดย: macaroon IP: 124.120.57.138 วันที่: 9 ตุลาคม 2552 เวลา:10:26:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.