Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
5 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
ศีลธรรมที่ปราศจากศาสนา


ผลโพลเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำเอาผมรู้สึกกังวลเหมือนกัน

สังคมไทยมาถึงยุคที่เริ่มยอมรับการโกงกันอย่างเปิดเผยซะแล้ว

ตามผลโพลนั้น มีผู้ยอมรับวาทกรรมที่ว่า

"โกงได้ไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน" ถึง 80% ทีเดียว

ตัวเลขนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของสังคมไทย


ในอดีต คำว่าโกง ถือเป็นคำตำหนิที่ค่อนข้างแรงทีเดียว

ใครที่ถูกด่าด้วยคำ ๆ นี้ มันเจ็บเอาเรื่องแถมอาย

จนแทบแทรกแผ่นดินหนี (แต่ยังไงคนไทยก็คงไม่ถึงกับฆ่าตัวตาย

เหมือนญี่ปุ่น) ยกเว้นมนุษย์พันธุ์พิเศษบางพวกที่

สามารถยอมรับคำด่าแบบนี้ได้หน้าตาเฉย

ซึ่งพวกเผ่าพันธุ์นี้มันดันมีมาทุกยุคสมัยเสียด้วย

คำถามก็คือ อะไรที่ทำให้คนไทยในอดีตรู้สึกรังเกียจการโกง

ทั้ง ๆ ที่การโกงก็มีมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ต่างอะไรกับยุคนี้

ผมคิดว่า ส่วนหนึ่งของคำอธิบายนี้ อยู่ที่สถาบันศาสนาครับ

เพราะคำสอนศาสนาทุกศาสนานั้น ล้วนแต่สอนให้รังเกียจการโกงทั้งสิ้น

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยปฏิเสธศาสนาทุกศาสนา

ด้วยเหตุผลร้อยแปดพันอย่าง อาทิ หลักการศาสนานั้น

ขัดกับวิทยาศาสตร์ , หรือเห็นว่าเป็นเรื่องงมงาย ฯ

ในที่สุดก็นำมาซึ่งข้อสรุปว่า มนุษย์สามารถเป็นคนดี

ได้โดยไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนา แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันนะครับ

ที่บอกว่าไม่มีศาสนานั้น บางทีอาจเป็นอย่างที่ผู้อาวุโสบางท่าน

กล่าวเอาไว้ก็ได้ คือท่านกล่าวว่า สังคมไทยกำลังสร้างศาสนาใหม่

จะเรียกว่า "ศาสนาวัตถุนิยม" ก็คงได้ โดยมีองค์ประกอบคือ


พระเจ้า : เงินตรา

ศาสดา : นักการตลาด , ดารา

หลักคำสอน : การโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ

ศาสนสถาน : ห้างสรรพสินค้า

ศาสนพิธี : การบริโภค การช็อปปิง


อืมม จะว่าไป มันก็เข้าข่ายศาสนาเหมือนกันนะ

เฮ่อ ไปไกลแล้ว กลับมาว่ากันที่ประเด็นหลักดีกว่า

" คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไม่มีศาสนา ได้หรือไม่ "

คำถามนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปถามใคร

และนิยามของคนดี สำหรับผู้ตอบ คืออะไร

ถ้าเอาไปถามพวก Atheist (พวกปฏิเสธพระเจ้า)

คำตอบ คือ ได้แน่นอน ซึ่งมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น

เพราะหากพิจารณาจากคนจำนวนมากในปัจจุบัน

ที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ เลย แต่ดำรงตนอยู่ในกรอบ

ความประพฤติอันดีงาม และช่วยเหลือสังคมตามสมควร

แต่ถ้านำคำถามนี้มาถามชาวพุทธ

ผมคิดว่าคำตอบที่ได้รับอาจแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ

"ได้เช่นกัน แต่ความดีนั้น ยังไม่นำไปสู่การสิ้นทุกข์"



เช่นนั้นแล้ว ระหว่างศีลธรรมที่เจือด้วยศรัทธาในศาสนา

กับศีลธรรมที่ปราศจากศาสนา มันแตกต่างกันอย่างไร

ผมคิดว่า ข้อแตกต่าง น่าจะอยู่ที่ "ความกลัว"

ไม่ว่าความกลัวนั้น จะเป็นไปในลักษณะ กลัวนรก

กลัวชาติหน้า หรือกระทั่งกลัวผลของความชั่ว

ที่จะได้รับในชาตินี้ ที่เรามักได้ยินกันว่า กรรมติดจรวด ,

กรรมออนไลน์ , การตกนรกทั้งเป็น , นรกบนดิน ฯ

ทางพุทธศาสนาเรียกความกลัวลักษณะนี้ว่า

"หิริ โอตตัปปะ" แปลว่า ความกลัว และความละอายต่อบาป

และยกให้ "หิริ โอตตัปปะ" นี้เป็นหลักธรรมคุ้มครองโลกทีเดียว

แต่ดูเหมือนว่า ผู้คนยุคปัจจุบัน จะมีความกลัวประเภทนี้น้อยลง

แต่ดันไปกลัวอย่างอื่นที่มันไม่ควรกลัว

เคยมีพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานท่านหนึ่ง

ได้รับนิมนต์ไปเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง

ซึ่งมีความแห้งแล้งกันดารมาก ท่านอาจารย์

ต้องการจะปลูกต้นไม้ที่วัด เพื่อให้ความร่มรื่น

จึงได้สั่งลูกศิษย์ที่เป็นบรรพชิตให้จัดหาต้นไม้มาปลูก

ลูกศิษย์ท่านหนึ่งบอกว่า พื้นที่แห้งแล้งกันดารขนาดนี้

ขาดทั้งน้ำ ขาดทั้งปุ๋ย เกรงว่าต้นไม้ที่ปลูกจะเฉาตายซะก่อน

ท่านอาจารย์แก้ปัญหาโดยสั่งให้พระในวัดทุกรูป

ไปถ่ายปัสสาวะและอุจจาระบริเวณต้นไม้ที่ปลูก

แน่นอนครับ ไม่มีรูปไหนกล้า แต่ละท่านต่างก็อายม้วนต้วน

ที่สุด พระอาจารย์ก็เลยต้องทำเป็นตัวอย่าง

แล้วท่านก็สอนว่า สิ่งที่ทำนี้ไม่ใช่สิ่งที่เป็นบาปหรือกรรมชั่ว

หากจะมีความอาย ก็ควรอายเฉพาะในสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรม

จะว่าไป ท่านก็พูดถูกนะครับ เพียงแต่ว่าพระที่ทำได้ขนาดนี้

คงหาได้น้อยเต็มที


เอาล่ะ กลับมาว่ากันต่อ ปัญหาก็คือ ความกลัวประเภทนี้มันหาไม่ได้

จากศีลธรรมที่ปราศจากศาสนา ลำพังคนที่มีศีลธรรม

แต่ไม่เชื่อศาสนานั้น มักจะไม่มีความกลัวแบบนี้

(หมายเหตุ : ผมขอจำกัดศีลธรรมเฉพาะที่สอดคล้องกับศีล 5 ครับ)

อาจมีบางท่านกล่าวแย้งว่าจะเป็นคนดีทั้งทีจำเป็นต้องมีความกลัวแบบนี้ด้วยหรือ

ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนผมเองก็เคยเชื่อว่า คนมันจะดีได้

ไม่เห็นจะต้องนับถือศาสนาเลย ไอสไตน์ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย

ก็ไม่เห็นว่าแกจะไปเบียดเบียนใครโดยเจตนา

(ถึงแกให้กำเนิดระเบิดปรมาณูแต่ไม่ถือว่าแกมีเจตนาฆ่าคนนะครับ)

จนกระทั่งกระแสยอมรับการโกงเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้

มันทำให้ผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกลัวประเภทนี้มันลดลง

ครับ ตราบใดที่คนเรายังมีกิเลส ตัณหา ยังไม่บรรลุโสดาบัน

ก็ยังมีโอกาสประมาทพลั้งเผลอได้

แต่ความกลัวบาปกรรมที่ว่านี้ มันพอจะช่วยประคองเอาไว้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือระบบคุณธรรมที่มีหลักศาสนากำกับ

จะทำให้เกิดสำนึกที่ปฏิเสธการกระทำผิดในทุกกรณี

สำหรับผม กระแสยอมรับการโกงที่ว่านี้มันคือความประมาท

ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสังคมไทยโดยที่ไม่มีความกลัวมาเบรกอีกแล้ว

อันที่จริง ประเทศเกาหลีใต้ก็เคยเจอกับกระแสแบบนี้มาก่อน

หลายวันก่อน สมาชิกกลุ่มองค์กรที่ต่อต้านการคอรัปชันของเกาหลี

เดินทางเข้ามาอภิปรายในประเทศไทย ตอนหนึ่งเขากล่าวว่า

คนเกาหลีเคยยอมรับเรื่องการโกงได้ถ้ามีผลงาน

จนกระทั่งคนกลุ่มหนึ่งเริ่มจะเห็นโทษ และร่วมกันรณรงค์ต่อต้าน

เขาใช้เวลาหลายปีเหมือนกัน กว่าจะเห็นผลอย่างทุกวันนี้

ผมเชื่อว่าหากคนไทยยังยอมรับวาทกรรมเช่นนี้

ประเทศไทยจะต้องสูญเสียอะไรไปอีกมากมาย

และสิ่งที่สูญเสียไปนั้น ผมไม่แน่ใจว่า

มันจะคุ้มกับสิ่งที่เรียกว่า "ผลงาน" หรือไม่











Create Date : 05 กันยายน 2552
Last Update : 2 สิงหาคม 2555 11:07:32 น. 1 comments
Counter : 739 Pageviews.

 
เห็นด้วยครับ
ยังมีอีกหลายเรื่องสุดท้ายคำพูดที่ได้ยินบ่อย
เป็นคนดี แต่ไม่เดืดร้อนใคร ใครจะทำไม
...
คนดีแต่หยาบก็แค่สิ่งที่คอยเวลากระทบคนอื่นเท่านั้น
อุปมาเหมือนเหมือนดอกไม้งามแต่กลิ่นแรงอย่างอุตพิษ
กำลังขึ้นอย่างดาษดื่นในสังคมเรา
แล้วเราจะทำไงละ? แง่บๆ


โดย: itoursab วันที่: 5 กันยายน 2552 เวลา:16:25:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.