Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
12 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
นิติศาสตร์เชิงพุทธ


รวบรวมจาก ปาฐกถาของ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (อ.ประยุทธ์ ปยุตโต)

1.ตามกฎธรรมชาติ มนุษย์ไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น

มนุษย์จะได้รับประโยชน์อันใด ก็ต่อเมื่อทำเหตุตามธรรมชาติ


2.กฎของมนุษย์คือ "วินัย" ต้องอิงอยู่บนความจริง

ของธรรมชาติ คือ "ธรรม"และวินัยมีไว้

ก็เพื่อเข้าถึงและได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติ


3.ระบบกฎหมาย เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง

จะแก้ปัญหาได้แค่ไหนก็อยู่ที่ว่ามนุษย์จะเข้าถึงธรรม

หรือความจริงได้เพียงใด


4.ศักยภาพอันสูงส่งของมนุษย์ คือ

1)เข้าถึงความจริงตามธรรมชาติ

2)เอาความรู้ในความจริงหรือธรรมนั้น มาจัดวางระเบียบแบบแผน

ในสังคมอย่างประสานสอดคล้อง


5.วัตถุประสงค์ของการตั้งกฎเกณฑ์ กติกาของสังคม

1) เพื่อสร้างสภาพที่มนุษย์จะอยู่กันด้วยสงบเรียบร้อยเป็นอันดี

2) เพื่อให้สภาพที่สงบเรียบร้อยนั้น เป็นเครื่องเกื้อหนุนต่อการที่

มนุษย์เหล่านั้นทุก ๆ คนจะเข้าถึงชีวิตที่ดีงามยิ่งๆ ขึ้นไป

คือ เป็นการสร้างสภาพเอื้อต่อการที่บุคคล

จะได้พัฒนาความสามารถที่จะมีชีวิตที่ดี

เราจะเอากฎหมายมาบังคับให้คนมีศีล 5 ยังไม่ถูก

แต่ทำอย่างไรจะเอากฎหมายมาช่วยให้คนพัฒนาตนให้มีศีล 5

หรือสร้างสภาพเอื้อต่อการที่คนจะพัฒนาตนให้มีศีล 5

เพื่อจะได้เข้าถึงชีวิตที่ดีงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป


6.วินัย หรือ ระบบสมมติทั้งหมด คือ การที่มนุษย์นำเอาปัญญา

และเจตจำนงซึ่งเป็นคุณสมบัติ ธรรมชาติอันวิเศษที่ตน

มีอยู่มาเพิ่มเข้าไปเป็นปัจจัยพิเศษในกระบวนการ

แห่งเหตุปัจจัยของธรรมชาติเพื่อให้กระบวนการของเหตุปัจจัยนั้น

ดำเนินไปในทางที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิต

และสังคมของตนโดยสอดคล้องกับปัญญาและเจตจำนงของมนุษย์


7.พระพุทธเจ้า มีพระดำรัสว่า

"เราเคารพธรรม (ถือหลักการแห่งความจริง

ความถูกต้องดีงาม ตัวกฎธรรมชาติ)

แต่เมื่อสงฆ์เติบใหญ เราก็เคารพสงฆ์ด้วย่"


หมายเหตุ : ความเห็นส่วนตัวของผม (Blog ART19)

พระดำรัสนี้แสดงว่า ธรรมเกิดก่อนสังคม เกิดก่อนหมู่ชน

และเกิดก่อนมติเสียงส่วนใหญ่ (สงฆ์)

ทั้งสองสิ่งจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สิ่งที่สงฆ์อนุมัติ

จึงอาจเป็นสิ่งที่ชอบธรรมหรือไม่ก็ได้

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างสงฆ์นั้น จะขัดกับธรรมไม่ได้


8.พุทธศาสนามีหลักการ 2 ประการ คือ ธรรมกับวินัย

ในเรื่องของสังคม ถ้าผิด วินัยจัดการทันที

หมายความว่า วินัยมีวิธีดำเนินการเพื่อให้ธรรม

สำเร็จเป็นผลในสังคม มิฉะนั้น ในที่สุด

ถ้าเราไม่เอาใจใส่การปฏิบัติธรรม

ก็จะคลาดเคลื่อนไป และสังคมก็จะคลาดธรรม

เป็นอันว่า กรรมจึงมีสองแบบ คือ

1)กรรมในธรรม ที่เป็นกฎตามธรรมชาติ

2)กรรมในวินัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยสมมติ


9.ถ้าคนอยู่ในหลักการ ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย

ถ้ากฎหมายไม่ได้มีอยู่เพื่อหลักการ ก็ไม่ควรให้เป็นกฎหมาย

"วิ" แปลว่า ให้วิเศษ

"นี" แปลว่า นำ เป็นคำเดียวกับ คำว่า "นีติ"

รวมแล้ว เรียกว่า "วินัย" แปลว่า การนำไปให้วิเศษ

สมมติ และ วินัย ต้องตั้งอยู่บนหลักธรรม

และมีสามัคคีเป็นฐานรองรับไว้ ถ้าไม่มีสามัคคี

สมมติก็อยู่ไม่ได้ อารยธรรมก็สั่นคลอน

เพราะสังคมดำเนินไปได้ด้วยสมมติ และสามัคคีก็รองรับสมมติ

โดยทำให้คนยอมรับตามสมมตินั้น




Create Date : 12 เมษายน 2552
Last Update : 2 สิงหาคม 2555 11:18:39 น. 1 comments
Counter : 935 Pageviews.

 
ผมเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า ถ้าคนอยู่ในหลักการ ก็ไม่ต้องมีกฎหมาย หากหลักการนั้นหมายถึงหลักการควบคุมและพัฒนาจิต เพราะจิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
ซึ่งกฎหมายเองก้ยอมรับ และนำมาใช้คือ หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา แต่ด้วยเหตุที่ธรรมชาติของจริงนั้นอ่อนไหวต่อสิ่งที่มากระทบ และเกิดดับอยู่ดลอดเวลา ทั้งมีแนวโนม้ที่จะน้อมไปในทางอกุศลได้ง่าย ดังนั้นจึงจำต้องได้รับการพัฒนาและควบคุมให้อยู่ในฝ่ายกุศล คือ ต้องมีศีลเป็นตัวกำหมดก่อนเป็นเบื้องต้นเพราะเมื่อคนอยู่ในศีลในธรรมแล้วก็จะยึดมั่นในความดี เมื่อยึดมั่นในความดีก็จะละเมิดกฎหมายได้ยาก อย่างไรก็ตามหากคนมีความคิดเป็นมิจฉาทิฎฐิแล้ว ก็อยู่เหนือหลักการนี้ เพราะจะเห็นผิดเป็นชอบ ดังพุทธวัจจนะ "มิจฉาทิฏฐิขวางกั้นนิพพาน" ็


โดย: นายวิริยะ สุวรรณรัตน์ IP: 124.121.242.170 วันที่: 17 มิถุนายน 2555 เวลา:12:35:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.