Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
9 กันยายน 2554
 
All Blogs
 

ธรรมรัฐ - ธรรมราชา : ธรรมาภิบาลพุทธ (ตอน ๓)


เรียบเรียงโดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณทิต


ธรรมาภิบาลหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

สำหรับการบริหารประเทศที่ดีเพิ่มเติมจาก จักกวัตติวัตร

และ ทศพิธราชธรรม ก็คือ ราชสังคหวัตถุ ๔ ประการ

ซึ่งถือว่าเป็นหลักบริหารเพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดี

และเป็นที่รักของประชาชนความจริงหลัก สังคหวัตถุ

สำหรับคนธรรมดาอย่างท่านผู้อ่านหรืออย่างผมควรปฏิบัติสม่ำเสมอ

เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นมีอยู่ ๔ ประการ

ทาน คือ การให้

ปิยวาจา คือ วาจาอ่อนหวาน

อัตถจริยา คือ การใดเป็นประโยชน์ก็ทำให้

สมานัตตตา คือ ความเสมอต้นเสมอปลาย

ใครประพฤติ ๔ ประการนี้แล้ว ถ้าเป็นนาย ลูกน้องก็จะรัก

ถ้าเป็นลูกน้อง นายก็จะรัก ถ้าเพื่อนปฏิบัติต่อเพื่อน

ก็จะเป็น ที่รัก เรียกว่าเป็นคาถามหาเสน่ห์ยิ่งกว่าคาถาใด ๆ

นี่เป็นธรรมะสำหรับคนธรรมดาอย่างเรา-ท่าน

แต่สำหรับผู้ปกครองนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอีก ๑ ชุด

คือ ราชสังคหวัตถุ ๔ ประการ ซึ่งเป็นหลักการปกครอง

เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ๔ ประการ

๑. สัสสเมธะ ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์

ท่าน แปลว่า ความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร

ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ ก็คือ การสร้างเสริมการเกษตรกรรม

๒. ปุริสเมธะ ซึ่งหมายความถึง ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ

หรือรู้จักส่งเสริมและใช้คนดีมีความสามารถ

เข้าทำนอง "put the right man in the right job"

๓. สัมมาปาสะ ความฉลาดในการประสาน

ความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ

เช่น ให้คนจนกู้ยืมเงินไปลงทุน ส่งเสริมการค้าการพาณิชย์

๔. วาชเปยะ หรือ วาจาเปยยะ คือ ความมีวาจาดูดดื่มน้ำใจคน

รู้จักพูดจาปราศรัยให้เกิดความเข้าใจอันดี

เกิดความสามัคคีและมีวาจาไพเราะ

ราชสังคหวัตถุ ๔ นี้ ปรากฏอยู่ใน กูฏทันตสูตร

หรือ พระสูตรว่าด้วยมหายัญ (การเสียสละที่ยิ่งใหญ่) ๕ ประการ

ซึ่งพราหมณ์ที่ชื่อ กูฏทันตพราหมณ์ ซึ่งเป็นนายบ้านขานุมัต

แคว้นมคธ ต้องการจะทำพิธีบูชา มหายัญ ๕

ซึ่งถือว่าเป็นการเสียสละอย่างสูงสุด และทำให้ได้บุญมาก

อาจถึงขั้นได้เป็นเทพทีเดียว

กูฏทันตพราหมณ์แกพลิกตำราพราหมณ์

ในเวลานั้นก็ปรากฏมหายัญ ๕ มี

๑. อัสสเมธะ คือ ฆ่าม้าเพื่อบูชายัญ

๒. ปุริสเมธะ คือ ฆ่าคนเพื่อบูชายัญ

๓. สัมมาปาสะ คือ ยัญที่สร้างแท่นบูชาไว้ที่ขว้างไม้ลอดบ่วงไปหล่นลง

๔. วาชเปยะ หรือ การดื่มสุราเพื่อย้อมใจให้พร้อมบูชายัญ

๕. นิรัคคฬะ หรือสรรพเมธะ คือ ฆ่าให้ครบทุกอย่างเพื่อบูชายัญ

ดังนั้น แกจึงเตรียมสัตว์ไว้ฆ่า ๓,๕๐๐ ตัว คือ วัวตัวผู้ ลูกวัวตัวผู้

ลูกวัวตัวเมีย แพะ และแกะ อย่างละ ๗๐๐ ตัว

แต่แกไม่แน่ใจว่าแกจะทำได้ถูกต้องตามประเพณีโบราณ

แกได้ยินคำร่ำลือว่า พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องมหายัญ ๕ นี้

จึงไปกราบทูลถาม นี่เองจึงเป็นที่มาของการตรัส "กูฏทันตสูตร"

อันว่าด้วยการบูชายัญ หรือการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่ถูกต้อง

โดยทรงยกการบูชามหายัญของ พระเจ้ามหาวิชิตราช

ในครั้งบรรพกาลที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร

การบูชายัญ (ความเสียสละที่ยิ่งใหญ่) ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเล่านั้น

ต่างจากที่กูฏทันตพราหมณ์ได้ยินโดยสิ้นเชิง

เพราะมหายัญของพราหมณ์นั้นโหดเหี้ยม อำมหิต

ต้องพรากชีวิตของมนุษย์และสัตว์เป็นอันมาก

แต่การบูชามหายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช

เป็นการบูชาด้วยการเสียสละอย่างแท้จริง

โดยพระพุทธองค์ทรงเล่าว่า พระเจ้ามหาวิชิตราช

ต้องปราบผู้ร้ายแบบถอนรากถอนโคนก่อน

วิธีการปราบโจรผู้ร้ายนั้นก็คือ

๑. พระราชทานพืชพันธุ์และอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันทำการเกษตร

๒. พระราชทานเงินต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันค้าขาย

๓. พระราชทานเงินเดือน และอาหารแก่ข้าราชการผู้ทำงานในหน้าที่

๔. ทรงมีพระเมตตา พระวาจาที่ดี

เมื่อทำเช่นนี้แล้ว ก็ให้พระเจ้ามหาวิชิตราชปรึกษาเจ้าเมือง

ในอำนาจ อำมาตย์ พราหมณ์ และคหบดี แล้วตรวจคุณสมบัติ

ผู้เป็นเจ้าของพิธีมหายัญและผู้ทำพิธี แล้วจึงยินดีในการเสียสละ

ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และเมื่อทำไปแล้ว หลังจากนั้น

ก็ให้ประชาชนเข้ามารับทาน โดยเฉพาะผู้อยู่ในศีลและธรรม

ที่สำคัญคือของที่ใช้ ไม่มีการฆ่า มีเพียงเนยใส

น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น

เป็นอันว่ากูฏทันตพราหมณ์เพิ่งรู้ตัวว่า

สิ่งที่ตนเตรียมทำนั้นผิดทั้งหมด มหายัญ (การเสียสละยิ่งใหญ่)

เริ่มตั้งแต่ การเสียสละให้ประชาชนในสมัยพระเจ้ามหาวิชิตราช

เพี้ยนมาเป็นการฆ่าม้า ฆ่าคน ฯลฯ คงเป็นเพราะพวกพราหมณ์

ที่ไม่ซื่อสัตย์บางคน ดัดแปลงมหายัญที่เป็นความเสียสละจริง ๆ

ให้บ้านเมืองสงบสุข มาเป็นการฆ่าล้างแค้นเพื่อกำจัดศัตรูของตนเอง

จึงทำให้จำผิด ๆ กันมาตลอด จนพระพุทธองค์

ทรงแสดงมหายัญที่ถูกต้องซึ่งสอดคล้องกับ ราชสังคหวัตถุ

อันเป็นการสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่

อันผู้ปกครองทำให้ประชาชนนั้นแหละ

ความถูกต้องจึงกลับคืนมา

ท่านผู้อ่านจึงเห็นได้ชัดเจนว่าหลักการปกครองแบบธรรมาภิบาล

โดยการปราบโจรผู้ร้ายให้สิ้นซากนั้น ไม่ใช่การใช้กำลัง

ความรุนแรงหรืออำนาจ แต่ใช้ความเมตตา การสงเคราะห์

ตรงกับหลักรัฐศาสตร์สมัยใหม่ที่เรียกว่า "responsiveness"

หรือการตอบสนองความต้องการของประชาชน นั่นเอง !


คัดจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพุธที่ 7 กันยายน 2554

............................................

อ้างอิงจาก //www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=630&contentID=161766





 

Create Date : 09 กันยายน 2554
0 comments
Last Update : 19 พฤษภาคม 2556 12:11:46 น.
Counter : 941 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.