www.facebook.com/ibehindyou

ทุก comment ที่คุณให้มา ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้สนุกกับการเขียน blog แล้วอ่านอยู่คนเดียว

A History of violence , มาทำความรู้จัก "ความรุนแรง" กัน



ข้อมูล: หนังมีความยาว 96 นาที / กำกับโดยผู้กำกับ David Cronenberg / หนังได้รับเรท R มีฉากรุนแรงไม่กี่ฉากแต่ทุกฉากแรงถึงเลือดถึงเนื้อถึงสมอง / ใน IMDB.com ให้คะแนนเรื่องนี้ 7.6/10 ส่วนใน //www.rottentomatoes.com ให้เรื่องนี้ Fresh ด้วยคะแนน 86 % / ตัวหนังเข้าชิงรางวัล Oscar ในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลง และ นักแสดงสมทบชายโดย William Hurt ที่ปรากฎบนจอแค่ 8 นาที นักแสดงคนอื่นๆล้วนกระจายเข้าชิงและคว้ารางวัลตามหลายๆสถาบัน



....มนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มจะก่อความรุนแรง(violence) เพราะเราทุกคนมีความรุนแรง(aggression)ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด

เหตุของความรุนแรงตามทฤษฎีทางจิตวิทยา(Psychological factors) ... Sigmund Freud กล่าวไว้ว่ามนุษย์มีแรงขับพื้นฐานหรือแรงผลักดันของชีวิตมาจากสองแหล่ง หนึ่งคือแรงขับทางเพศ(libidinal drive) และ อีกหนึ่งคือ แรงขับทางความรุนแรง(aggressive drive) ความรุนแรงในทฤษฎีของ Freud สามารถแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น การทำร้ายร่างกายหรือทำลายข้าวของ (acting out) , บางคนก็ใช้กลไกในจิตใต้สำนึกเปลี่ยนแรงขับของความรุนแรงนี้ไปใช้ในทางที่ถูกต้อง (Sublimation) เป็น การมุ่งมั่นทะเยอทะยาน การต่อสู้ชีวิต หรือ บางคนก็เก็บกดไว้ไม่แสดงออกมา (Suppression) ฯลฯ

เหตุของความรุนแรงตามทฤษฎีทางชีวภาพ(Biological factors)... พบว่า สมองส่วนที่มีชื่อว่า amygdala มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดความรุนแรง ความรุนแรงสัมพันธ์กับฮอร์โมนบางชนิดเช่น Testosterone และสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทอย่าง serotonin , dopamine ความผิดปกติบางอย่างหรืออาการเจ็บป่วยบางประเภทสามารถทำให้คนๆนั้นเปลี่ยนแปลงเป็นคนที่มีความรุนแรงมากขึ้นได้ ตัวอย่างคือ ผู้ป่วยในโรคซึ่งมีพยาธิสภาพที่สมองบางโรค เช่น โรคลมชักชนิด temporal lobe epilepsy ฯลฯ ปัจจัยทางชีวภาพเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทั้งสิ้น

...จะเห็นได้ว่า แค่เหตุปัจจัยภายในของแต่ละคน มนุษย์ก็มีโอกาสจะก่อความรุนแรงอยู่แล้ว ในสังคมที่ต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกหลายหลากยิ่งทำให้เรามีโอกาสซึมซับความรุนแรงมากขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากทางตรงหรือทางอ้อม เช่น เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีความรุนแรงในบ้านก็มีโอกาสสูงที่จะลอกแบบ(identified)พ่อแม่กลายเป็นคนที่มีความรุนแรงในตัว

ต้นแบบ(Role model)ให้ลอกแบบในสังคมไม่ได้มีแค่พ่อแม่ ยังมีมีครูที่นิยมใช้ความรุนแรง มีผู้นำประเทศที่แสดงออกซึ่งความรุนแรง ฯลฯ ที่จะทำให้เด็กคนนั้นก็มีโอกาสจะลอกแบบไปได้โดยไม่รู้ตัว ไม่เท่านั้น สิ่งใกล้ตัวอย่างคือสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ ภาพยนตร์ การ์ตูน ฯลฯ มีการศึกษามากขึ้นเรื่อยๆยืนยันว่า ความรุนแรงจากสื่อ (media violence) มีอิทธิพลมากในการทำให้คนซึมซับความรุนแรง และ เกิดการเรียนรู้จากสื่อนั้นๆอย่างที่เรียกว่า observationsl learning และ ทำให้คนที่คลุกคลีกับความรุนแรง เกิดความเคยชินจนมองเห็นความรุนแรงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า desensitization (ตัวอย่างของกระบวนการนี้ เช่น การฆ่าสัตว์ครั้งแรกเราอาจรู้สึกกลัว แต่เมื่อ เราต้องฆ่าครั้งแล้วครั้งเล่า ความหวาดกลัวลังเลใจก็จะหมดไป)


...A History of violence เปิดตัวอย่างสงบเสงี่ยมหน้าโมเต็ลแห่งหนึ่ง ไม่มีวี่แววว่าหนังจะฉายความรุนแรงใดๆให้เราได้เห็น ก่อนที่เราจะได้เห็น ชายคนหนึ่งลงรถเพื่อไปเติมน้ำในโมเต็ล เขาเดินผ่านศพชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งนอนจมกองเลือดบริเวณเคาเตอร์ประชาสัมพันธ์ด้วยท่าทีที่ไม่อนาทรร้อนใจ ระหว่างเติมน้ำนั่นเอง เด็กคนหนึ่งเปิดประตูมาด้วยสีหน้าหวาดหวั่น ชายคนนั้นหยิบปืนออกมาเล็งไปที่เด็กคนนั้น พร้อมเสียงปืนลั่น เพียงเท่านี้ หนังก็ทำให้คนดูได้พอรู้ตัวแล้วว่า ภายใต้ความสงบเสงี่ยมในฉากเปิดตัวที่เราเห็นนั้น ความรุนแรงสามารถซ่อนกายได้ในทุกรูปแบบ แม้แต่ภายใต้ครอบครัวที่เหมือนภาพฝันแสนสวยงามของ Tom Stall

… ครอบครัวของ Tom Stall เป็นชีวิตครอบครัวอเมริกันสมบูรณ์แบบ
พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองเล็กๆแสนสงบ ครอบครัวที่สงบสุขนี้ต้องพบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพียงข้ามวัน เมื่อ Tom Stall กลายเป็นคนดังจากการกำจัดโจรที่บุกปล้นร้านอาหารตัวเอง จากคนที่ไม่มีใครรู้จักต้องกลายเป็นบุคคลสำคัญในข่าวหน้าหนึ่ง นั่นทำให้คนภายนอกรู้จักเขามากขึ้น ตัวตนที่ถูกปิดเงียบไว้ในชนบทห่างไกลเช่นนี้จึงถูกคนกลุ่มหนึ่งพยายามเปิดเผยออกมา คนกลุ่มนั้นที่เชื่อว่า เขาไม่ใช่ Tom Stall แต่เป็น คนอีกคนหนึ่ง

...ความรุนแรง ที่ถูกเก็บไว้ ต้องมาเปิดตัวเผยเพราะ ความรุนแรง ที่แสดงออกมา

...เมื่อความหลังที่ถูกปิดไว้อย่างมิดชิดถูกเปิดเผยออกมา สิ่งที่สั่นคลอนความมั่นคงของครอบครัว ไม่ใช่ แค่ ความรุนแรง แต่มันยังเป็นเรื่อง ของ การปิดบัง ที่ทำให้คนอยู่ด้วยเหมือนถูกทรยศมาเป็นสิบปี ความไว้วางใจที่มีต่อกันถูกทำลาย ภรรยาของเขารู้สึกเหมือนคนโง่ที่อาศัยอยู่ความจริงที่ถูกปิดบังมาตลอด ทั้งฉากหลัง ทั้งชื่อ และ สิ่งสำคัญที่สุดคือตัวตนที่แท้จริงของเขา เธอไม่รู้เลยว่าชายที่เธอแบ่งปันชีวิตร่วมหลับนอนสร้างครอบครัวที่ผ่านมาคนนี้คือใคร

...ความปลอดภัยในครอบครัว ถูกคุกคามทั้งจาก ศัตรูภายนอก และ จากตัวตนภายในของ Tom ที่ทั้งลูกและภรรยาต่างไม่เคยรู้จักมาก่อน ความรุนแรงที่ทั้งลูกและภรรยาเห็นยิ่งตอกย้ำความกลัวว่า ชายที่เห็นตรงหน้าอาจจะทำอะไรรุนแรงกับพวกเขาหรือไม่ เพราะไม่มีใครที่รู้เลยว่า แท้จริงแล้ว เขาคือใคร

แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ แรงขับความรุนแรงถูกเปิดเผยและปลดปล่อยออกมา แรงขับทางเพศก็เปลี่ยนแปลงไปตาม Sex ในตอนต้นที่มีความน่ารัก หยอกล้อ เปี่ยมไปด้วยความรัก เมื่อ drive ของตัวละครถูกปลดปล่อย รูปแบบ Sex ก็เปลี่ยนไป ในฉากทางขึ้นบันไดที่เราจะได้เห็น Sex ที่ไม่ได้เกิดเพราะรักแต่เป็นเพราะความต้องการภายใน ความขัดแย้ง และความรุนแรง

...เมื่อ ความเป็น Hero มาพร้อมกับ ความรุนแรง ทำให้เกิดประเด็นน่าคิดขึ้นมาว่า เราควรใช้ความรุนแรงจัดการกับความรุนแรงดีหรือไม่ ? เหมือนกับที่เราเห็นได้นอกจอภาพยนตร์เช่น ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ทำตัวเป็นตำรวจโลกจัดการกับคนอื่นอยู่ร่ำไป ผลกระทบของ ความเป็น Hero ที่มาพร้อมความรุนแรง ส่งผลกระทบให้เราเห็นในหนัง

เมื่อลูกชายของ Tom Stall ถูก เพื่อนข่มเหงรังแก ตอนแรกเขาใช้วิธีเจรจาหลีกเลี่ยงความรุนแรง มันก็ผ่านพ้นไปได้ แต่เชื่อว่า ในใจเขาเองก็อาจจะรู้สึกอยู่ลึกๆว่าตัวเองเหมือนคนแพ้ หรือ เหมือนตัวเองเป็นคนที่ด้อยกว่า ซึ่งแสดงออกจากสีหน้าท่าทางของเขา ที่ดูไม่ได้พอใจกับการหยุดการกระทำของเพื่อนเหล่านั้นได้ จนเมื่อเขาเห็นพ่อเป็น hero จากการจัดการกับเหล่าโจรด้วยความรุนแรง

การถูกรังแกครั้งถัดมา เขาจึงเลือกใช้วิธีรุนแรงตอบโต้จนเพื่อนต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งเขาเองก็ลอกแบบ(identified)พ่อที่เป็นต้นแบบ(role-model)ของความรุนแรง และ มองเห็นความรุนแรงที่สังคมยอมรับว่าเป็นต้นแบบที่ดี ซึ่งก็ตรงตามทฤษฎีที่อธิบายถึงการซึมซับความรุนแรงอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น

ความรุนแรง กลายมาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่คนเราใช้เอาตัวรอดในสังคม รวมถึงกลายเป็นเครื่องมือที่คนเราใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน


กลุ่มเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาข่มเหงลูกชาย Tom ก็ไม่ต่างจาก เด็กนักเรียนที่ชอบยกพวกตีกัน เมื่อพวกเขาเห็น ความรุนแรง เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้าง ความภาคภูมิใจให้กับตัวเอง (self- esteem)

ลูกชายของ Tom ก็ไม่ต่างจาก คนที่นิยมโต้ตอบคนอื่นเวลาถูกรังแก หรือ กลุ่มนักเรียนหญิงในคลิปที่เป็นข่าวยกพวกตีกันเพียงเหตุผลแค่แย่งชิงสิ่งที่ตัวเองต้องการ พวกเขาคือกลุ่มคนที่ใช้ ความรุนแรง เป็น วิธีการแก้ปัญหาและเอาตัวรอด

Tom เองที่ผ่านมาก็เคยใช้ ความรุนแรง เพื่อการเลี้ยงชีพ หาเงินและความสนุกส่วนตัว

...จริงอยู่ที่ ความรุนแรงสามารถสงบสถานการณ์ในเวลานั้นได้ชั่วคราว แต่ ความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแต่อย่างใด ไม่ใช่แค่หนังเรื่องนี้ที่บอกเราเช่นนั้น ในรอบปีที่ผ่านมายังมีหนังอีกหลายเรื่องที่บอกเราถึง ผลลัพธ์ของการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็น

The Chorus - ความรุนแรงในระดับโรงเรียน … ครูใหญ่ยึดนโยบายจัดการกับเด็กนักเรียนด้วย การแรงมาก็ต้องแรงตอบ(action-reaction) ผลตอบรับคือ นักเรียนส่วนหนึ่งกลัว อีกส่วนหนึ่งยิ่งหาทางโต้ตอบกลับ แต่ทุกคนมีใครเลยที่ยอมรับครูคนนั้น กลายเป็นความรุนแรงสะท้อนไปมาไม่จบไม่สิ้น ยังคงมีการต่อต้านยืดเยื้อเรื้อรังกลั่นแกล้งไปมาไม่จบไม่สิ้น จนการมาของครูอีกคน ที่เลือกใช้ความเข้าใจและยอมรับเด็กนักเรียน ความสงบสุขที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้

Munich - ความรุนแรงในระดับชาติ ... ตัวเอกทำตามนโยบายชาติตัวเอง ที่เชื่อว่า จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงสั่งสอนอีกฝ่ายให้เห็นให้รู้สำนึก มันกลับกลายเป็นว่า ความรุนแรงได้ทำลายชีวิตและจิตวิญญาณของเขา รวมถึงคนรอบตัวที่เกี่ยวข้องให้สูญสิ้นไป ไม่เท่านั้น มันยิ่งเป็นเหมือนการเอาน้ำมันไปสาดรดไฟ แทนที่ไฟจะมอดดับกลับกระพือโหมต่อไปไม่สิ้นสุด

ใน A History of violence - ความรุนแรงในระดับครอบครัวและระดับสังคม ... หากมองต่อไปในระยะยาว กรณีลูกชายของ Tom ที่เลือกใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ ก็คงจะต้องตกชะตากรรมเหมือนกับพ่อในที่สุด ชะตากรรมที่ไม่ว่าจะหนีคนอื่นหรือหนีตัวเองมาไกลแค่ไหน สุดท้ายความรุนแรงนั้นก็จะตามกลับมาตอบโต้อย่างไม่มีวันจบ

....ความรุนแรงนั้นสามารถจบเหตุการณ์แค่ชั่วคราว แต่มันจะเป็นเหมือนการก่อเชื้อไฟที่จะจุดความรุนแรงครั้งต่อๆไปให้ตามมา คนที่ถูกตอบโต้ก็ย่อมคิดโต้ตอบกลับให้รุนแรงยิ่งกว่า จนมันหาจุดสิ้นสุดไม่ได้ และ ลงท้ายด้วยการสูญเสีย

ผลลัพธ์ของความรุนแรง ใน Munich กัดกร่อนความเป็นคนที่เคยมีชีวิตจิตใจให้สูญสลาย ใน A History of violence ความรุนแรงเองก็ทำลายชีวิตครอบครัวสงบสุขของ Tom Stall ให้พังทลายลงเช่นกัน


….A History of violence เป็นชื่อที่เหมาะกับหนังเป็นอย่างยิ่ง หนังไม่ได้ทำตัวเป็นบทเรียนสอนหนังสือที่จะมาบอกคนดูว่าความรุนแรงนั้นไม่ดีอย่างไร แต่หนังทำหน้าที่สื่อสารออกมาให้คนดูเห็น แล้ว นำมาคิดต่อกันว่าความรุนแรงนั้นจะสยบความรุนแรงได้จริงหรือ หนังทำให้เราได้เห็น กลไกของความรุนแรง การถ่ายทอดและซึมซับความรุนแรง ไปจนถึง ผลลัพธ์ของการใช้ความรุนแรง

...หนังเดินหน้าอย่างเรียบง่าย ไม่มีความซับซ้อน ซ่อนความลับหนึ่งเดียวไว้ดึงความสนใจใคร่รู้ของคนดูในการติดตามเรื่องราว ด้วยอยากรู้ว่า อดีตของ Tom Stall แท้จริงแล้วเป็นเช่นไร? การใส่ตัวละครที่มีบทบาทเด่นๆเข้ามาในเรื่องและถูกฆ่าออกไปอย่างง่ายๆ ยิ่งทำให้ช่วงแรกของหนังชวนติดตามยิ่งขึ้นไปอีก เพราะความสนุกของหนังสำหรับผมคือการคาดเดาไม่ได้ว่า หนังจะหันเหต่อไปในทิศทางใด

...ชื่อเรื่องของหนังบอกคนดูแต่แรกว่า เป็น เรื่องราวของความรุนแรง ซึ่งตัวหนังเองก็ไม่ได้นำเสนอความรุนแรงอย่างเหนียมอายแม้แต่น้อย นับตั้งแต่ฉากแรกที่เปิดเรื่องอย่างเงียบสงบ แต่ไม่กี่วินาทีถัดมาเราก็จะพบว่าในความเงียบนั้นมีความรุนแรงแสนสาหัสที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นตามมา ความรุนแรงในฉากเปิดตัวนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นแค่ออเดิร์ฟ เมื่อเทียบกับฉากที่เหลือ

ถึงหนังเรื่องจะมีฉากรุนแรงแค่ไม่กี่ฉาก แต่ทุกฉากนั้นหนังปล่อยออกมาอย่างไม่มีบันยะบันยัง ความโหดในแต่ละฉากดูจะแจ้งจนน่ากลัว คนดูจะได้เห็นมีดที่ปักลงบนเท้าชัดๆก่อนที่จะตามมาด้วยเห็นการลั่นไกปืนยิงใส่ศีรษะในไม่กี่วินาทีถัดมา ตามมาด้วย เลือดที่กระจัดกระจาย และ เศษเนื้อสมองที่ถูกระเบิดกระเด็นใส่เสื้อผ้า กันแบบเต็มๆ

...แม้ความโหดจะมีมากแค่ไหน บทหนังในเรื่องนี้ก็น่าชื่นชมที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงมาเพียงเพื่อตอบโจทย์เอามันส์ เห็นได้จาก การปูภาพครอบครัวที่สวยงามของพระเอกทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในครึ่งหลัง , การเปรียบเทียบความเป็น Hero ที่มาพร้อมกับการใช้ความรุนแรง และ การมีซับพล็อตในส่วนของลูกชายพระเอกกับเพื่อนที่โรงเรียน สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ ความรุนแรงในหนัง เป็นมากกว่าการตอบสนองความตื่นเต้น มันไม่ใช่หนังที่เชิดชูความรุนแรง ตรงกันข้าม มันเป็นหนังที่ถูกสร้างมาเพื่อต่อต้านความรุนแรง เป็นบทเรียนที่คนดูจะได้ศึกษาและนำมันมาตีความ

...ผมชอบตัวหนังตอนต้นเป็นอันมาก หนังเล่าเรื่องง่ายๆ สนุก และ ชวนติดตาม แต่นับตั้งแต่ ตัวพระเอกเดินทางกลับไปเคลียร์ปัญหาที่ฟิลาเดลเฟีย ความน่าสนใจดูจะลดลงทันที เนื้อเรื่องช่วงเวลานั้นมันกลายเป็นเหมือนหนังแอคชั่นธรรมดาๆ ยังดีที่มันสามารถชดเชยได้จากการแสดงในระดับที่น่าทึ่งของ William Hurt ที่มีบทบาทบนจอแค่ไม่เกิน 10 นาที แต่เขาก็ทำให้ตัวเองเด่นจนพาตัวเองเข้าชิงออสการ์ในสาขาสมทบชายได้

.... Viggo Mortensen ดูเข้าใจความคิดความรู้สึกของตัวละครตัวเองเป็นอย่างดี จึงสามารถแสดงเป็นตัวละครตัวนั้นได้น่าเชื่อถือ เขาสามารถเปลี่ยนแปลงจากชายรักสงบปานนักบุญเป็นปีศาจแห่งการต่อสู้ได้อย่างน่าทึ่ง สีหน้าสับสน สีหน้าหวาดกลัว สีหน้าสำนึกผิด เป็นการแสดงที่น่าเสียดายจากการถูกลืมในเวทีล่ารางวัล และ Maria Bello สาวทรงเสน่ห์ที่ผมชอบเธอเป็นอย่างยิ่งในหนังทุกเรื่องที่เธอเล่น เธอมีเสน่ห์ทางเพศอย่างล้นหลามโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยฉากเปลือยแม้แต่น้อย การที่สองนักแสดงที่มีเสน่หทางเพศมากมายมาประกบคู่กันส่งผลให้ฉากเลิฟซีนของสองคนในเรื่องนี้เข้าข่ายร้อนฉ่า นักแสดงสมทบอย่าง Ed Harris ในบทชายผู้มีแผลเป็นบนใบหน้าซึ่งมากับความลับของพระเอก เล่นได้นิ่ง น่ากลัว สมศักดิ์ศรีแม้จะมีเวลาในจอไม่นาน

....ผลงานของผู้กำกับ David Cronenberg เรื่องนี้ อาจจะเป็นหนังที่ดูมีความเพี้ยนแปลกประหลาดน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับงานเก่าๆอย่าง eXistenZ , Crash , Naked Lunch แต่เขาก็ยังสามารถทำให้คนดูได้เห็นว่า ภายใต้พล็อตธรรมดาแบบนี้ เขาก็ยังสามารถสอดแทรกเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่ธรรมดาไว้ได้ ชนิดที่ว่าต่อให้ไม่บอกชื่อผู้กำกับคนดูก็ยังคงสัมผัสได้ถึง ความแปลกประหลาดที่กรุ่นอยู่ในเรื่องตลอดเวลา


สิ่งที่ชอบ

1.บทภาพยนตร์ ... หากไม่นับช่วงเวลาการกลับไปเคลียร์ปัญหาของพระเอกแล้ว ส่วนที่เหลือ ดีทั้งการเล่าเรื่องที่เหมือนจะธรรมดาแต่เล่าได้สนุกชวนติดตาม การวางบุคลิกตัวละครทำได้น่าสนใจ ทำให้คนดูรู้สึกคล้อยตามบรรยากาศความเงียบสงบไปจนตึงเครียดสุดๆได้ นอกจากในแง่การดำเนินเรื่องแล้ว ในแง่สาระหนังมีความฉลาดในตัวบทที่ไม่บอกอย่างตรงๆทื่อๆ แต่สามารถแสดงให้เราเห็นแง่มุมของความรุนแรงในหลากหลายประเด็น

2.ฉากแอคชั่น ... 3 ฉากในเรื่องที่โชว์การต่อสู้ ถ่ายทำออกมาได้ดีมาก เป็นฉากการต่อสู้ที่ดิบเถื่อน ตื่นเต้น สมจริงถึงเลือดถึงเนื้อกันแบบเต็มๆ

3. Viggo Mortensen + Maria Bello + William Hurt … คนแรกเล่นดีมาก คนสองก็เล่นดีแต่มีคะแนนความพิศวาสส่วนตัว ทั้งคู่เข้ากันดี ช่วยเพิ่มความเข้มข้นให้กับหนังได้มากยิ่งขึ้น ส่วนคนสุดท้าย บทที่ถูกกำหนดไว้ดูจะไม่มีอะไรมาก แต่ตัวนักแสดงเล่นได้ดูป่วยจิตอย่างมีมิติและทำให้บทตัวเองมีความโดดเด่นแม้จะออกมาไม่กี่นาที

สิ่งที่ไม่ชอบ

1.บทหนังช่วงหลังจากเปิดเผยตัวพระเอก ... อาจเป็นเพราะ ปัจจัยหนึ่งที่ผมชอบเรื่องนี้มาก ตรงที่มันเดาไม่ได้ว่าเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่พอหนังเฉลยความจริงหมดแล้ว ความสนใจชวนติดตามตรงนี้ตกฮวบอย่างรวดเร็ว ความสนุกที่เหลือเป็นแค่ดูฉากแอคชั่นความโหดเท่านั้น

สรุป ... เป็นหนังที่ดูสนุกทีเดียว หนังมีองค์ประกอบที่อยู่ในระดับยอดเยี่ยมทั้งผู้กำกับ นักแสดง บทภาพยนตร์ ทั้งหมดผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ไม่เหมาะกับคนที่ไม่ชอบฉากโหดๆ แม้ในหนังมีอยู่ไม่กี่ฉากแต่ก็โหดเอาเรื่อง แต่ความรุนแรงในเรื่องไม่ใช่ใส่มาเพื่อเอามันส์ เพราะมันเป็นการให้ข้อคิดเรื่องความรุนแรงได้เป็นอย่างดี หนังไม่เหมาะกับเด็กๆเป็นอย่างยิ่ง



ติดตามบทความใหม่ๆ หรือ บทความน่าสนใจ หรือ เริ่มต้นอ่านBlogนี้มีข้อสงสัย คลิกไปเริ่มต้นที่ --> หน้าแรก


รวบรวมรายชื่อหนังเรื่องเก่าๆที่เคยเขียนไว้แล้วที่ ---> ห้องเก็บหนัง




ขอคิดค่าบริการต่อการอ่าน 1 หน้าในอัตราเพียง

ความเห็น
ของคุณมีประโยชน์กับผู้อ่านคนถัดมา คำทักทายของคุณเป็นกำลังใจให้ผู้เขียน คำติชมหรือคำแนะนำของคุณจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนาหากคุณเข้ามาอ่านครั้งถัดไป




 

Create Date : 19 มีนาคม 2549
24 comments
Last Update : 21 มีนาคม 2549 12:53:07 น.
Counter : 2498 Pageviews.

 

วันหลังม้าๆจะทำหนังสั้น
ถึงตอนนั้นจะมาเรียนเชิญคุณไปวิจารณ์เรามั่งนะ

 

โดย: หน้าม้าแถวบ้าน 19 มีนาคม 2549 4:06:52 น.  

 

ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ชอบดูหนังที่กดดันและแฝงไปด้วยความโหดร้ายทารุณ
แต่เมื่ออ่านคำแนะนำของคุณแล้ว ผมสนใจที่จะหยิบหาหนังเรื่องนี้มาดูครับ
ขอบคุณครับ

 

โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) 19 มีนาคม 2549 7:11:45 น.  

 

ดีจังเลยที่ได้อ่านวิจารณ์ภาพยนตร์
ไปพร้อมกับได้ความรู้ทางจิตวิทยาด้วย

 

โดย: aliZy IP: 203.153.172.82 19 มีนาคม 2549 12:25:03 น.  

 

เห็นด้วยว่า William Hurt แสดงออกได้ถึงคนมีปัญหาทางจิตหน่อย ๆ ค่ะ ฉากที่เขาสั่งลูกน้องให้ทำร้ายพระเอกแล้วดูไม่สะทกสะท้านอะไรนั้น สุดยอดจริง ๆ ค่ะ

 

โดย: Tai-Sarunya 19 มีนาคม 2549 12:26:30 น.  

 

โอ้โฮ อย่างกับอ่าน lecture อยู่แน่ะ เป็น Psychi+Neuro

อยากดูเหมือนกันค่ะ ตอนแรกเห็นเข้าที่ century ด้วย แต่ตอนนี้มันไม่เข้าแล้วน่ะ เฮ้อ

 

โดย: azzurrini 19 มีนาคม 2549 13:56:00 น.  

 

เห็นปุ๊บก้อรีบเข้ามาอ่านเลยค่ะ

เดี๋ยวนี้ไม่มีบริการแจ้งสมาชิกเลยนะคะ ^^ อิอิ

 

โดย: นมัสเต IP: 203.107.192.249 19 มีนาคม 2549 15:39:52 น.  

 

เป็นหนังเรื่องแรกของปีเลยครับ ที่ผมดูแล้วอยากดูอีกรอบ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร และก็ชอบ Viggo กับ William Hurt มากๆ เช่นกัน...

ว่าแต่ว่าจะหา Crash ของ David Cronenberg จากที่ไหนดีล่ะครับ... ไม่ทราบว่าร้านดีวีดีหน้าหมอสิวแถวสีลมนี่มีหรือเปล่า (คือผมไปดูที่ร้านลูกแมวแล้วเค้าบอกว่าไม่มีน่ะครับ)

 

โดย: nanoguy (nanoguy ) 19 มีนาคม 2549 17:57:56 น.  

 

มาแวะหา แต่ยังไม่อ่าน

อยากดูง่ะ ไม่อยากรู้เรื่องใดๆ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 20 มีนาคม 2549 10:18:56 น.  

 

ทำไมโพสต์ไม่ขึ้นหว่า? ส่งมาตั้ง 2 ครั้งแระ ... ผมเขียนยาวเกินไป หรือว่าเซิร์ฟเวอร์เว็บบล็อกต๊องอ่ะเนี่ย ???

 

โดย: บลูยอชท์ IP: 210.1.33.130 20 มีนาคม 2549 17:20:11 น.  

 

อืม ... สงสัยยาวไปเจงๆ ตัดเป็น 2 ท่อนละกัน แหะๆ
+ เนื่องจากช่วงหลายๆ เดือนที่ผ่านมา มีแต่หนังแนว การเมือง, ธุรกิจ, ผลประโยชน์, อาชญากรรม, การก่อการร้าย, ฯลฯ ออกมาเต็มไปหมด (ซึ่งไม่ใช่หนังแนวที่ผมชอบเท่าไหร่ แต่ก็ดูได้ ถ้าเรื่องนั้นดีจริง) ... แต่ผมรู้สึกว่า A history of violence เป็นหนังเรื่องนึงที่สะดุดอารมณ์และทำให้ผมมีความรู้สึกที่ติดค้างอยู่กับมัน ... อาจเป็นเพราะความเฉียบคมของการกำกับ (ด้วยสไตล์ของเดวิด โครเนนเบิร์กเอง ที่ดู 'จิต' น้อยกว่างานชิ้นก่อนๆ ของเขา คนทั่วไปสามารถจับต้องได้ แต่ก็ยังไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่นภาพโจรถูกยิงหัวแบะเห็นมันสมอง) / การแสดงอย่างถึงอารมณ์ของเหล่าดารา / บทอันเฉียบคมและทรงพลัง
+ สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างมากก็คือการแสดง ...
- วิกโก้ มอร์เตนเซ่น - ลืมภาพของกษัตริย์อารากอร์นแห่ง LOTR ไปได้เลย ... นี่คือบุคคล 2 บุคลิกที่อันตรายเป็นที่สุด อดีตที่เค้าเคยมั่นใจว่าฝังกลบไว้จนมิดแล้ว พร้อมที่จะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาได้ทุกเมื่อ ถ้าสถานการณ์บังคับ (เพราะมันเป็นสัญชาติญาณ มันคือตัวตนที่แท้จริงอีกด้านหนึ่งของเขานั่นเอง)
- มาเรีย เบลโล จากอดีตหัวหน้าแก๊ง Coyote ugly เธอเลือกรับงานชิ้นต่อๆ มาอย่างชาญฉลาด ทำให้สามารถถีบตัวเองขึ้นมาเป็นดาราขายฝีมืออีกคนหนึ่งของวงการ ... สำหรับเรื่องนี้ เธอก็แสดงเป็นหญิงแกร่งที่ต้องเผชิญกับสิ่งไม่คาดฝันกับครอบครัวตัวเองได้เป็นอย่างดี ทั้งอารมณ์ สีหน้า แววตาและการกระทำ ทำได้ถึงบทบาททั้งสิ้น น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ออสการ์เมินเธอไม่ให้เข้าชิงสาขาประกอบหญิง ทั้งๆ ที่เธอกวาดรางวัลจากบทนี้จากสถาบันอื่นมาแล้วมากมาย
- เอ็ด แฮริส และ วิลเลี่ยม เฮิร์ท ... เลือดเย็นและเหี้ยมได้สมบทบาท (ผมกลับชอบบทฟอร์กาตี้ของเอ็ด มากกว่าบทของเฮิร์ทแฮะ เพราะเค้าดูเป็นมาเฟียที่ติงต๊องไปนิด ส่วนฟอร์กาตี้นี่โหดของจริง)
- ลูกชายคนโต แสดงได้เป็นธรรมชาติดี และซับพล็อตของชีวิตของเค้าในโรงเรียนก็ช่วยให้ประเด็นของหนังชัดเจนยิ่งขึ้นและมีส่วนช่วยขับดันให้หนังทั้งเรื่องดูมีพลังมากขึ้นด้วย

 

โดย: บลูยอชท์(#2) IP: 210.1.33.130 20 มีนาคม 2549 17:21:59 น.  

 

+ หนังเหมือนมีโลก 3 ใบที่ทับซ้อนกันอยู่
1. โลกอันบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา : ครอบครัวนี้ในตอนแรก และหนูน้อยลูกสาวคนเล็ก
2. โลกที่แปรเปลี่ยน : ชีวิตของพระเอกตอนต้นเทียบกับตอนท้ายเรื่อง และ ชีวิตของลูกชาย
3. โลกที่โหดร้าย : อดีตของพระเอก, วิลเลี่ยม เฮิร์ทและเอ็ดด์ แฮริส
ซึ่งบางคนก็มีมิติอยู่ในโลกแต่ละใบนี้เหลื่อมซ้อนกันอยู่ (เช่นพระเอก อยู่ในทั้ง 1, 2 และ 3)
+ ฉากเซ็กส์ระหว่างพระเอกกับนางเอก 2 ครั้งในหนัง ก็แสดงให้เห็นถึงนัยยะอย่างชัดเจน ระหว่างเซ็กส์แบบคนปกติกับเซ็กส์แบบรุนแรง (ดูแล้วยังอึ้งเลยกับสถานที่เกิดเหตุ!)

 

โดย: คนข้างบน(#3) IP: 210.1.33.130 20 มีนาคม 2549 17:31:14 น.  

 

+ ประเด็นนึงของหนังที่คิดแล้วน่ากลัวเป็นอันมากก็คือ ... ความรุนแรงทั้งหมดที่เห็นในหนัง เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เช่น โจรปล้นร้านค้า, เด็กที่ถูกรังแกในโรงเรียน, ความรุนแรงในครอบครัว, ฯลฯ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของพวกเรามากๆ ... สไตล์การเล่าเรื่องที่ง่ายๆ แต่โหด ดิบ เถื่อนและเฉียบคม ทำให้หนังทรงพลังเป็นอย่างยิ่งและชวนติดตามเกือบตลอดทั้งเรื่อง
+ หนังเหมือนจะบอกอีกด้วยว่า ... คนเรามีด้านมืดด้วยกันทั้งนั้น เช่น พระเอก(มีอดีตเช่นนั้น), นางเอก (เมื่อถึงเวลา เธอก็สามารถรุนแรงและเข้มเข็งเด็ดขาดได้เช่นกัน), ลูกชายคนโต (ทั้งเรื่องในโรงเรียนตอนเลิกแหย และตอนที่ช่วยชีวิตพ่อ) ... แม้แต่ลูกสาวคนเล็ก (ฉากเปิดเรื่อง ที่เธอฝันถึงปิศาจร้าย) ... แต่ถ้าด้านมืดนั้น มันกลายเป็น 'สัญชาตญาณ' ของคนๆ นั้นไปแล้ว (เหมือนพระเอก) ... ไม่ว่าจะยังไง คุณก็ไม่สามารถวิ่งหนีมันได้พ้น .......... เหมือนเป็นคติทางพุทธเรานั่นเอง ว่า "ทำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น-กฎแห่งกรรม" และก็ตรงกับทฤษฏี Action-Reaction ของฝรั่งอีกด้วย ... ศาสนาพุทธถึงต้องมีคำสอนเรื่อง การให้อภัย ไงครับ เพื่อจะตัดวงจรแห่งความรุนแรงนั้นลงซะ พอเหตุไม่มี เรื่องราวมันก็จะสงบและจบลงไปเอง (................ผมจึงแอนตี้นโยบาย รัฐบาลบุชมาตั้งแต่แรก ว่าการสั่งทหารบุกดินแดนประเทศอื่น แล้วยังมาหาพวก หาความชอบธรรมบนเวทีการเมืองโลกนี่มันเป็นเรื่องบ้าชัดๆ! (เอ ... โยงมาเรื่องนี้ได้ไงหว่าเนี่ย เหอะๆ) ... และนี่ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกทั้งใบรุ่มร้อนไปด้วยความหวาดระแวงการก่อการร้ายอยู่จนทุกวันนี้ไงครับ)

 

โดย: ยังไม่จบ (#4) IP: 210.1.33.130 20 มีนาคม 2549 17:39:46 น.  

 

+ บทสรุปของหนัง ชี้ให้เห็นถึง 'การใช้ความรุนแรงดับ(หรือปะทะ?) กับความรุนแรง' ซึ่งผลลัพธ์ สรุปได้ที่ฉากจบ ... พระเอกคิดว่าพอจัดการเรื่องราวทุกอย่างได้ ปัญหามันจะจบ แต่ ... จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ ... รู้สึกได้ทันทีเลยว่า โลกที่พระเอกพยายามวิ่งหนีมาทั้งชีวิตนั้นจะยังคงอยู่ ในขณะที่โลกใบใหม่ที่เค้าพยายามสร้างขึ้นมากว่า 20 ปี มันสูญสลายไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ... จบได้ใจสลายและร้าวรานดีแท้ ทำให้หนังรู้สึก 'จริง' มากๆ เลยครับ

 

โดย: จบซะที (#5) IP: 210.1.33.130 20 มีนาคม 2549 18:01:49 น.  

 

อืม ... ลืมไป ขอทักท้วงนิดนึง ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ ... ตรงที่คุณผมอยู่ข้างหลังคุณ เขียนถึงสิ่งที่ชอบ ข้อ 3 แล้วเขียนว่าชอบ มาเรีย เบลโล ด้วย "อคติ" ... จริงๆ ผมว่าคำนี้มันใช้กับความรู้สึกด้านไม่ดี (ตรงกับคำฝรั่งว่า Prejudice) เท่านั้นไม่ใช่เหรอครับ ... กรณีนี้ น่าจะใช้คำว่า "ชอบ มาเรีย เบลโล ด้วยสเน่หา" น่าจะเหมาะสมกว่ารึเปล่าครับ? เพราะตอนที่ผมอ่าน พอมาเจอคำว่า อคติ แล้วมันสะดุดง่ะ - -"

 

โดย: ปล. (#6) IP: 210.1.33.130 21 มีนาคม 2549 0:40:42 น.  

 

หน้าม้าแถวบ้าน ... ด้วยความยินดีครับ

ตี๋น้อย (Zantha ) ... ดูแล้วก็กลับมาคุยกันได้อีกนะครับ

นมัสเต ... ช่วงนี้พนักงานส่งเอกสารของเรางานยุ่งจริงๆครับ

nanoguy ... มีที่เดิมครับ เคยเห็นแล้ว

บลูยอชท์ ... ผมใช้คำผิดจริงๆกลับไปแก้แล้ว ขอบคุณครับ + ความเห็นยาวๆอ่านสนุกดีครับ

ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นที่มาคุยกันนะครับ

 

โดย: "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" 21 มีนาคม 2549 11:29:05 น.  

 

รู้สึกคล้ายๆ กันเลยค่ะ ทั้งกับคุณสนธิและคุณทักษิณ

เฮ้อ...


ติดธุระสำคัญมากเลยเหรอคะ? น่าเสียดายนะคะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 21 มีนาคม 2549 12:07:21 น.  

 

มาคุยด้วยต่อ

มนต์รักทรานซิสเตอร์ - เป็นหนังที่เราชอบอันดับสองของเป็นเอก รองจากเรื่องรักน้อยนิดฯ น่ะค่ะ แม้อารมณ์จะไม่ต่อเนื่อง แต่หลายๆ อย่างของหนังเรื่องนี้นี่..ดีมากๆ


ส่วนคืนไร้เงา อาจเป็นเพราะดูจากแผ่น ดังนั้นความนิ่งบางอย่างในหนังจึงไม่สามารถสะกดเราได้เหมือนอยู่ในโรง แล้วระบบบันทึกเสียงของหนังเรื่องนี้ ไม่แน่ใจว่าในโรงก็เป็นอย่างนี้ด้วยหรือเปล่า แต่ดูจากแผ่นนี่แทบไม่ได้ยินบทสนทนาเลย เสียงรอบข้างกลบหมดมากๆ (เป็นความจงใจของคนสร้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ) เลยทำให้ดูหนังเรื่องนี้ได้ไม่อินเท่าที่ควรจะเป็นเลย



บล็อกแกงค์สองสามวันนี้เดี้ยงๆ จริงๆ ค่ะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 23 มีนาคม 2549 10:34:17 น.  

 

ชอบมากเช่นกันค่ะ เพิ่งเขียนถึงไป จริงๆ ถ้าไม่ใช่พี่วีโก้เราไม่ดูนะเนี่ย (ด้วยสเน่หาเช่นกัน) ถึงจะชอบป๋าเดวิดมาจากหลายเรื่อง แต่ช่วงนี้เงินขาดมือ & งานยุ่งมากๆ ค่ะ หนังนี่แทบไม่ได้ดูเลย

 

โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) 25 มีนาคม 2549 16:31:42 น.  

 

กดปุ่มอะไรผิดไปสักอย่าง ที่เขียนไว้หายไปเรียบร้อย

 

โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) 25 มีนาคม 2549 16:35:10 น.  

 

กู้กลับมาได้แล้วค่ะ ขอบคุณสวรรค์

 

โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) 25 มีนาคม 2549 16:42:42 น.  

 

เป็นบทวิจารณ์ที่อ่านสนุกมากครับ

 

โดย: klasseye IP: 124.120.159.207 12 มิถุนายน 2549 18:35:20 น.  

 

ไม่รู้ว่าจะยังมาอ่านอยู่รึเปล่านะครับ เพียงแต่อยากถามว่าฉาก sex ในโรงหนังสองฉากนี่โดนตัดบ้างไหมครับ เพราะดูในดีวีดีแล้วชัดมากๆว่าถูกตัด(เช่นฉากบันไดนางเอกกำลังจูบกลับแล้วก็ตัดไปที่กลางคืนเลย รู้สึกความจริงจะมีฉากที่หลังจากนั้นนางเอกขึ้นบันไดให้พระเอกนั่งอยู่ที่บันไดด้วย)

 

โดย: pete IP: 124.120.27.203 3 สิงหาคม 2549 16:39:11 น.  

 

เขียนได้สุดยอดเลยครับ
ผมพึ่งได้ดูเมื่อกี้เองครับ
แล้วฉากจบนี่เขาต้องการบอกอะไรครับ
หรือต้องการบอกว่าสุดท้ายแล้วชีวิตก็ต้องเดินต่อไป

 

โดย: เด็กผู้ชายที่ไม่แตะบอลตอนกลางวัน (kanapo ) 24 มิถุนายน 2550 17:36:09 น.  

 

เข้ามาอ่านรีวิวเรื่องนี้ก่อนจะดู คือมีแผ่นอยู่นานแล้ว แต่ไม่กล้าดู
มีฉากโหดไม่กี่ฉากใช่ไหมคะ งั้นหมอนคงจะช่วยเราได้อิอิ

เด่วดูจบแล้วจะมาเม้นท์อีกทีนะคะ ชอบงานเขียนของคุณมากๆค่ะ

 

โดย: i love johnny depp IP: 125.25.23.221 5 กันยายน 2552 0:54:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


"ผมอยู่ข้างหลังคุณ"
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 มีนาคม 2549
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.