อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเหมือนประเทศไทยเรา...ขอโทษด้วยนะคะที่เจ้าบ้านไม่ค่อยได้อัพเดทเลย อย่าเพิ่งโกรธกันนะคะ ไม่มีเน็ตเล่นหง่า... :( “Just being alive is such a lovely and wonderful thing”. - Aya (1 litre of tears)

Group Blog
 
 
เมษายน 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
25 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
นาฬิกาชีวิต (หลักพลังงานรวม 12 ชั่วยาม)




ขอคั่นเรื่อง "โรคนอนไม่หลับ" นิดส์นึงนะคะ...พอดีเห็นเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างมากๆๆๆๆๆ ซึ่งเราควรจะอ่านเก็บไว้เป็นความรู้และพยายามปฏิบัติตามนะ


จำเรื่อง "นาฬิกาชีวภาพ" ที่แอ้นำมาเล่าให้ฟังได้รึเปล่าคะ ว่าการอดหลับอด

นอนของเรานั้น มีผลต่อนาฬิกาชีวภาพในร่างกายเราเอง ซึ่ง นพ.นวนรรน

ได้ระบุว่า สมองของคนเราจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า เมลาโทนิน ซึ่งมีผลใน

เรื่องนาฬิกาชีวภาพ (biological clock) ในร่างกาย มีหน้าที่ในการสื่อให้ร่าง

กายทราบว่าตอนนี้ควรจะเป็นเวลาพักผ่อนนอนหลับหรือเวลาทำงาน และ

สารนี้จะมีระดับไม่เท่ากันในช่วงเวลาต่างๆ ของวันครับ ช่วงเวลากลางคืน

ก็จะมีการหลั่งสารเหล่านี้มากหน่อย ดังนั้น หากคุณเองนอนดึกมาก ร่างกาย

จะรู้ว่านั่นเป็นเวลาที่ควรจะพักผ่อน แต่หากคุณเองไม่ยอมพักผ่อน ก็มี

โอกาสที่ร่างกายและสมองจะทรุดโทรมลง ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย ง่วง

หงาวหาวนอน หรือแม้แต่ระบบภูมิคุ้มกันและระบบต่างๆ ของร่างกาย ก็อาจ

จะทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ






มีหนังสือเล่มนึงที่เน้นย้ำเรื่องการทำให้ร่างกายมีสมดุลย์ในแต่ละช่วงเวลา

ตลอด 24 ชม. นะคะ ลองอ่านกันดูค่ะว่า นาฬิกาชีวภาพที่ว่านั้น มีความ

สำคัญอย่างไร


>>หนังสือ "นาฬิกาชีวิต" โดย อ.สุทธิวัสส์ คำภา


การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพ

ของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง

ในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่

ผ่านอวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง



- อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต


- อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลําไส้ใหญ่ ลําไส้เล็ก

กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ซานเจียว) การไหลเวียน

ของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง(หนึ่ง

ชั่วยาม) ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า

“นาฬิกาชีวิต”


ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่

เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงประมาณ 04.00 น. จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง

และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลําไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น.



การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงควรอยู่

ระหว่างเวลา 0.00-05.00 น. ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยา

ตะวันตก คือ ยาดิติตาลิสในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำ

ในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่า

ของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายในมี

กฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเรา

จึงมีกลไกการปรับตัว มีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทํางานของระบบ

ต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป การดําเนินชีวิต

และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจําวัน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยน

แปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักฐานของการมีสุขภาพที่ดี และมีอายุยืน

ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้





01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ


ควรนอนหลับพักผ่อน ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจําในช่วงเวลานี้ ตับจะ

หลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทําให้หน้าอ่อนกว่าวัย

นอนจากร่างกายจะหลั่งมีราทินประจําแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน

(endrophine) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทําให้ตับทํางานหนัก

และเสื่อมเร็ว


หน้าที่หลักของตับ คือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รอง คือ


1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บจะไม่สวย


2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อย ๆ จะทําให้ตับทํางานหนักตับจะหลั่ง

น้ำย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทําหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ





03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด


จึงควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า

ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็นประจําปอดจะดี ผิวดีขึ้น และจะเป็นคนที่มีอํานาจในตัว





05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลําไส้ใหญ่


ควรขับถ่ายอุจจาระทําให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตําแหน่ง

สองข้างของจมูกถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้ง

ผสมมะนาว โดยใช้ น้ำ 1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก

ทําดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือ บริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลง พร้อมทั้ง

หายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง





07.00-09.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร


กระเพาะอาหารจะทํางาน ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะ

อาหารจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอาหารอ่อนแอ จะส่งผลให้เป็นคน

ตัดสินใจช้า ชี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า หน้าแก่เร็วกว่าวัย





09.00-11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้าม


ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือดสร้างน้ำเหลือง ควบ

คุมไขมัน คนที่ปวดศีรษะบ่อยมักมาจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บ

ชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ


- ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทําให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้าง

เม็ดเลือดขาวได้น้อย

- ม้ามชื้น อาหารและน้ำที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทําให้อ้วนง่าย

ผู้ที่มักนอนหลับในช่วงเวลา 09.00-11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้าม

ยังโยงถึงริมฝีปาก ผู้ที่พูดบ่อยๆ หรือพูดเก่งๆ ม้ามจะชื้น จึงควรพูดน้อยกิน

น้อย ม้ามจึงแข็งแรง





11.00-13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ


หัวใจทํางานหนักในช่วงเวลานี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียด เหตุที่ทําให้ต้อง

ใช้ความคิดหนัก และหาทางระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจให้ได้





13.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลําไส้เล็ก


จึงควรงดการกินอาหารทุกประเภทเพื่อเปิดโอกาสให้ลําไส้ทํางาน ลําไส้เล็ก

มีหน้าที่ ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำทุกชนิด เช่น วิตามินซี บี โปรตีน เพื่อ

สร้างกรดอะมิโนสร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สําหรับ

ผู้หญิง ถ้ากรดอะมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลําไส้ยาวกว่า

ผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้การดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอะมิโน

มากกว่าผู้ชาย เมื่อมีลําไส้ยาวกว่าจึงมีกระดูกซี โครงมากกว่าผู้ชายข้างละ

1 ซี่





15.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ


แนวพลังของกระเพาะปัสสาวะเริ่มจากหัวตา -> ผ่านหน้าผาก -> ศีรษะ ->

ท้ายทอย -> แผ่นหลังทั้งแผ่น -> สะโพก -> ด้านหลังขา -> หัวเข่า ->

น่อง -> ส้นเท้า -> นิ้วก้อย กระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับระบบความจํา

ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด


ช่วงเวลานี้ควรทําให้เหงื่อออก อาจจะออกกําลังกายหรืออบตัว กระเพาะ

ปัสสาวะจะได้แข็งแรง


ข้อควรระวัง ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปน

ออกมามากไตจะวาย แต่ถ้ามีโปแตสเซียมปนออกมามาก หัวใจจะวาย

แก้ไขเรื่องหัวใจวายด้วยการให้ดื่มน้ำน้ำส้มหรือน้ำมะนาวเพื่อเติมโปแตส

เซียม (ผู้ที่มีโปแตสเซียมน้อยต้องระวังเรื่องการฉีดยาชา เพราะยาชา จะทํา

ให้โปแตสเซียมลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจอาจวายได้ง่าย)



การอั้นปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทําให้เหงื่อที่

ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ





17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต


จึงควรทําใจให้ลดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้ ผู้ใดมีอาการง่วงนอน

ช่วงเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ถ้านอนหลับแล้วเพ้อ แสดงว่า

อาการหนักมาก


- ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์อารมณ์

สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงาม

จะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัว และเป็นคนขี้ร้อน


- ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจํา ถ้าไตขวามีปัญญา

ความจําจะเลื่อม และเป็นคนขี้หนาว (ผู้ที่ไตแข็งแรงจะเป็นคนมีอายุยืน เป็น

คนกล้า)


ถ้าลําไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลําไส้

เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ไตทํางานหนัก จึงกลายเป็นโรค

ไต ผู้ที่เป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การ

ดูแล คือ ตอนเช้าอาบน้ำเย็น ตอนเย็นให้อาบน้ำอุ่น กรณีที่อาบน้ำไม่ได้ ให้

ใช้วิธีแช่เท้า แต่น้ำควรใส่สมุนไพรที่ถูกกับโฉลกของผู้ป่วย เช่น ขิง ข่า

กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง





19.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ


ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทําสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือ หัวใจ

โต หัวใจรั่ว เส้นโลหิตหัวใจตีบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การ

หัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ควรใส่เสื้อผ้า

ชุดสีดํา เอาเท้าแช่ในน้ำอุ่น





21.00-23.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ต้องทําให้ร่างกายอบอุ่น


จึงห้ามอาบน้ำเย็นในช่วงเวลานี้เพราะจะทําให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่าไปตากลม

เพราะเป็นช่วงที่ลมเป็นพิษ





23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี


(ถุงน้ำดีเป็นถุงสํารองเก็บน้ำย่อยที่ออกมาจากตับ) อวัยวะใดในร่างกายเมื่อ

ขาดน้ำ จะมาดึงน้ำจากถุงน้ำดี ทําให้ถุงน้ำดีข้น เป็นผลให้อารมณ์ฉุนเฉียว

สายตาเสื่อม เหงือกจะบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก หรือตอนเช้า

จะจาม (ถุงน้ำดีจะโยงถึงปอด) จะปวดศีรษะข้างเดียวหรือสองข้างโดยไม่

ทราบสาเหตุ



ทางแก้ คือ อย่าใส่ชุดนอนที่เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไนล่อน ชุดนอนที่ทําจาก

ใบสังเคราะห์จะไปดูดน้ำในร่างกาย ควรสวมชุดผ้าฝ้ายที่ดีที่สุด ไม่ควรนอน

บนที่นอนสูง ๆ เพราะจะทําให้เสียน้ำในร่างกาย ดังนั้น ควรดื่มน้ำก่อนเข้า

นอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.







อ่านๆ ดูแล้ว เหมือนจะปฏิบัติตามได้ยาก แต่หากเราใส่ใจและลองปรับ

เปลี่ยนพฤติกรรมในแต่ละช่วงเวลาสักนิด ก็จะสามารถเพิ่มพลังชีวิตให้กับ

ร่างกายได้ไม่น้อยเลยนะคะ ถึงแม้จะยังทำตามไม่ได้ แต่ก็ "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่า

แบกหาม" นะ อิอิ
Create Date : 25 เมษายน 2551
Last Update : 25 เมษายน 2551 11:06:43 น. 0 comments
Counter : 492 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

cadeau
Location :
Tasmania Australia

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




Friends' blogs
[Add cadeau's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.