ความยึดมั่นถือมั่น คือ บ่อเกิดแห่งทุกข์
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
20 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร 4

ความหมายของพรหมวิหาร 4

- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4

1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย

ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ

ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น

ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ

เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ

เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

***ลองปฏิบัติดูนะครับ ได้ผลมากน้อยเพียงใด ก็ดีกว่าไม่ลองปฏิบัตินะครับ***




 

Create Date : 20 กันยายน 2550
5 comments
Last Update : 20 กันยายน 2550 14:01:32 น.
Counter : 914 Pageviews.

 

สาธุ....สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านธรรมะดี ๆ ค่ะ

 

โดย: ธิธารา 20 กันยายน 2550 14:29:22 น.  

 

ตอนนี้ฝึกอยู่ ไม่ลองไม่รู้นะคะ

 

โดย: ร่มบุญ 20 กันยายน 2550 14:44:43 น.  

 

สาธุค่ะ

 

โดย: เนระพูสี 21 กันยายน 2550 15:18:43 น.  

 


สวัสดีค่ะ ...

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ทิวาจรดราตรี 22 กันยายน 2550 20:51:19 น.  

 

กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอแสดงมุทิตาจิตถวายพระครูถาวรธรรมโกวิท (ถวิล) ธ. วัดพระแท่นศิลาอาสน์ (พระอารามหลวง) จ.อุตรดิตถ์ เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระวินัยสาทร สย. ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2554

 

โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 อ.ต. IP: 118.172.174.138 11 ธันวาคม 2554 16:49:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ผัสสะ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สิ่งที่รู้ รู้อะไร รู้ในสิ่งจริง หรือ สิ่งลวง หรือ ลวงในสิ่งจริง

คิด คิด ...คิด แล้ว จะ รู้ หรือ รู้ เพราะ ไม่คิด

".. ผัสสะ
Friends' blogs
[Add ผัสสะ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.