Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 

เกาหลีเหนือกับภัยคุกคามต่อภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิค

เช้าวันนี้ (๕ ก.ค.๔๙) เวลาประมาณ ๐๓๓๒ (เวลาที่ประเทศญี่ปุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนเกาหลีหรือเกาหลีเหนือ ได้ทำการทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกล “แตโปดอง ๒” ซึ่งมีขีดความสามารถจะยิงถึงดินแดนของสหรัฐอเมริกา โดยมีลำดับการยิงแต่ละลูก ดังนี้
๑. ขีปนาวุธลูกแรกคาดว่าเป็นแบบพิสัยกลาง “โรดอง” อันมีลักษณะเช่นเดียวกับขีปนาวุธ “สกั้ด” ของสหภาพโซเวียต ยิงไปในทะเลห่างจากชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น ๖๐๐ ก.ม.
๒. ขีปนาวุธลูกที่ ๒ เป็นแบบ “โรดอง” เช่นเดียวกัน ยิงในเวลา ๐๔๐๐ (เวลาที่ประเทศญี่ปุ่น) มีเป้าหมายเช่นเดียวกับลูกแรก
๓. ขีปนาวุธ “แตโปดอง ๒” ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีรัศมีทำการถึง ๖,๐๐๐ ก.ม. หรือ
๒,๗๓๐ ไมล์ ประสบความล้มเหลวหลังจากยิงออกไปแล้ว ๔๐ วินาที
ขีปนาวุธทั้งหมดปล่อยจากฐานยิงชื่อ Musudan-ri ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ การกระทำครั้งนี้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างเกาหลีเหนือกับ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เนื่องจากในปี พ.ศ.๒๕๔๕ เกาเหลีเหนือได้ทำข้อตกลงกับญี่ปุ่นที่จะไม่กระทำการคุกคามทางทหารใด ๆ ในทะเลญี่ปุ่น ภายหลังจากที่ทำการทดลอง “แตโปดอง ๑” และได้รับการประท้วงอย่างรุนแรงจากญี่ปุ่น

การพัฒนาอาวุธทางยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ขีปนาวุธพิสัยไกล หรือแม้แต่เรือดำน้ำ เกาหลีเหนือได้พยายามสร้างองค์ความรู้ของตนเองขึ้น ซึ่งในส่วนจองขีปนาวุธนั้น มีการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ โดยนำ สกั้ด บี ของสหภาพโซเวียตมาเป็นต้นแบบ และได้ทดลองใช้จริงในสงครามตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๔ ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ เป็นต้นมา จีนได้ให้ความช่วยเหลือเกาหลีเหนือในการพัฒนาขีปนาวุธพิสัยปานกลาง ระยะยิงประมาณ ๖๐๐ ก.ม.เพื่อใช้นำส่งหัวรบเอนกประสงค์ สำหรับ แตโปดอง ๑ และ ๒ นั้น ได้รับการออกแบบให้ยิงจากฐานประจำที่ ซึ่งสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้มีพิกัดที่แน่นอนอยู่แล้วจากดาวเทียมจารกรรม จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายได้ง่าย (www.washingtonpost.com)

ประวัติความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี

เกาหลีเหนือ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐอเมริกาได้ตกลงใจที่จะรับการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเกาหลีในพื้นที่ใต้เส้นขนานที่ ๓๘ ลงมา และให้รัสเซียเป็นฝ่ายรับการยอมจำนนในพื้นที่เหนือเส้นขนานที่ ๓๘ ขึ้นไป เหตุผลในการตัดสินใจเช่นนี้เนื่องด้วยขณะนั้นฝ่ายทหารอเมริกันกำลังติดพันอยู่กับการเตรียมการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งการยึดครองประเทศญี่ปุ่น กองทัพน้อยที่ ๒๔ สหรัฐฯ ซึ่งกำหนดว่าจะเป็นกองกำลังยึดครองประเทศเกาหลียังคงอยู่ที่เกาะโอกินาวา ห่างจากประเทศเกาหลีถึง ๙๖๐ กิโลเมตร ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกำลังมาได้ทันท่วงที ฉะนั้น แม้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะแสดงความจำนงให้สหรัฐฯ รับการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเกาหลีทั้งหมด แต่ฝ่ายทหารไม่อาจกระทำได้

สหรัฐอเมริกาตกลงใจที่จะแบ่งเขตการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเกาหลีร่วมกับสหภาพโซเวียต โดยอาศัยเส้นขนานที่ ๓๘ เป็นเส้นแบ่งเขต กองทัพบกจึงได้ร่างคำสั่งทั่วไปที่ ๑ (General Order No.๑, Military and Naval) เสนอคณะกรรมการประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ ทบวงทหารบก และทบวงทหารเรือกับคณะเสนาธิการร่วมเพื่อพิจารณาเสนอประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีแล้ว จึงได้ส่งคำสั่งนี้ไปยังกองกำลังทางบกสหรัฐอเมริกาภาคแปซิฟิก (United States Army Forces, Pacific : USAFPAC) ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๘ พร้อมกันนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ส่งสำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวให้รัฐบาลอังกฤษและรัสเซียทราบด้วย ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ จอมพล สตาลิน (Marshal Joseph V. Stalin) แห่งสหภาพโซเวียตได้ขอแก้ไขข้อความบางตอนซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อความที่พาดพิงถึงเส้นขนานที่ ๓๘ แต่อย่างใด พลเอกดักลาส แม็คอาร์เธอร์ (General Douglas MacArthur) ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers : SCAP) ได้ลงนามในคำสั่งทั่วไปที่ ๑ นี้ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๘๘ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในอีก ๕ วันต่อมา และในวันที่ ๗ กันยายนนั้นเอง พลเอกแม็คอาร์เธอร์ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิก ได้ออกประกาศฉบับที่ ๑ (Proclamation No.๑) ใจความว่า ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิกอาศัยความตามบทบัญญัติในเอกสารการยอมจำนนของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๘๘ กองกำลังทหารในบังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ภาคแปซิฟิกจะเข้ายึดครองดินแดนของเกาหลี ใต้เส้นขนานที่ ๓๘ องศาเหนือลงมา ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๘๘ และในประกาศฉบับนี้ยังได้กล่าวถึงการที่จะช่วยให้เกาหลีมีเสรีภาพและเป็นเอกราชในเวลาอันสมควร ซึ่งขอให้ประชาชนเกาหลีให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำสั่งรัฐบาลทหารของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาในเกาหลีที่จัดตั้งขึ้นด้วย

เส้นขนานที่ ๓๘ นี้เป็นเพียงเส้นสมมุติ ไม่ใช่แนวแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์หรือเชื้อชาติ โดยที่ตามแนวเส้นขนานที่ ๓๘ ไม่มีเครื่องกีดขวางทางธรรมชาติที่เห็นได้ชัดเจนสหรัฐฯ มิได้มุ่งหวังจะกำหนดให้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนอย่างถาวรโดยเหตุผลทางทหารหรือทางการเมือง แต่กำหนดขึ้นเพื่อความเข้าใจในการแบ่งเขตปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ตามที่ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างสัมพันธมิตรเกี่ยวกับเรื่องการทำสงครามกับฝ่ายอักษะ และการช่วยให้ประเทศเกาหลีเป็นเอกราช ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ กับที่เมืองปอตสดัม (Potsdam) ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๘๘

ความสำคัญทางยุทธศาสตร์

ลักษณะที่ตั้งของคาบสมุทรเกาหลีมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อเอเชียและต่อโลก ในอดีตรัสเซียต้องการยึดดินแดนเกาหลี เพื่อเป็นทางผ่านออกสู่ทะเลน้ำอุ่น และเป็นจุดยุทธศาสตร์ป้องกันการโจมตีของญี่ปุ่น ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการเกาหลีเป็นแหล่งทรัพยากรและแรงงาน รวมทั้งเป็นฐานในการบุกเอเชีย ส่วนจีนต้องการเกาหลีเป็นด่านหน้าป้องกันประเทศ และในยุคสงครามเย็นคาบสมุทรเกาหลีเป็นแนวประจันหน้าทางทหารสำคัญระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

โดยที่ประเทศเกาหลีเป็นประเทศที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างมหาอำนาจ คือ จีน รัสเซีย และญี่ปุ่น ทำให้เกาหลีเป็นประเทศที่โดดเด่นในคาบสมุทรมาตลอดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเป็นที่ปรารถนาของสามมหาอำนาจ เกาหลีเป็นเขตยุทธศาสตร์แห่งการติดต่อระหว่างสามมหาอำนาจและเป็นจุดยุทธศาสตร์ทั้งในแง่รบ รุก และตั้งรับของสามมหาอำนาจ ประวัติศาสตร์ของสามมหาอำนาจในด้านการสร้างจักรวรรดิล้วนมีเรื่องเกาหลีเกี่ยวข้องด้วยอย่างแยกไม่ออกและประวัติศาสตร์เกาหลีก็ดำเนินไปในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสามมหาอำนาจอย่างยากที่จะให้เกาหลีมีวิถีกงล้อทางประวัติศาสตร์ที่เป็นอิสระได้อย่างแท้จริงโดยตลอด

กองทัพเกาหลีเหนือจัดตั้งเป็นทางการเมืองวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๑ โดยจัดตั้งกำลังทางยุทธศาสตร์ การทหาร เพื่อป้องกันตนเองและรุกรานเกาหลีใต้ตามแผนของประธานาธิบดี คิม อิล ซุง เพื่อรวมประเทศเกาหลีเข้าด้วยกันและในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๕ โดยกำลังทหารภายใต้การสนับสนุนด้วยกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากประเทศรัสเซีย และประเทศจีนโดยใช้กำลังพล ๒๒๓,๐๐๐ คน ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และนาวิกโยธิน สามารถบุกเข้ายึดประเทศเกาหลีใต้เกือบทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้น แต่ถูกขัดขวางโดยกองทัพของสหประชาชาติ อันมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นกำลังสำคัญในการตอบโต้ได้ทำการต่อต้านทหารประเทศเกาหลีเหนือถอยร่นไปจนเกือบถึงดินแดนของประเทศจีนคอมมิวนิสต์และสงครามเกาหลีได้ยุติลง เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๖ และประเทศเกาหลีได้ถูกแยกออกจากกันเด็ดขาด โดยใช้เส้นขนานที่ ๓๘ เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง การเจรจาระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและประเทศ
เกาหลีใต้ มีเป็นระยะ ๆ ณ ตำบล ปันมุนจอม

โครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

นอกเหนือจากการเสริมสร้างกำลังทหารเพิ่มมากขึ้น จนปัจจุบันมีกำลังมากกว่าเกาหลีใต้เกือบร้อยละ ๕๐ (เกาหลีใต้มี ๖๓๐,๐๐๐ คน) แล้ว เกาหลีเหนือยังได้หันไปพัฒนาขีดความสามารถด้านอาวุธนิวเคลียร์อย่างจริงจัง ภายหลังจากที่รัสเซียได้ยุติการสนับสนุนด้านอาวุธแก่เกาหลีเหนือ ตั้งแต่ปี ๓๔ โดยประสบผลสำเร็จในการทดลองยิงขีปนาวุธ SCUD – C ระยะยิง ๕๐๐ กม. ซึ่งได้พัฒนาตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ และขีปนาวุธพิสัยกลางติดหัวรบนิวเคลียร์ “Rodong No.๑” ระยะยิงไกล ๑,๐๐๐ กม. ได้สำเร็จซึ่งนับเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันเกาหลีเหนือได้ขายขีปนาวุธให้แก่ประเทศโลกที่ ๓ โดยเฉพาะตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน อีกทั้งได้รับการสนับสนุนด้านการทหารจากจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรค่ายคอมมิวนิสต์ประเทศเดียวของเกาหลีเหนือ

ปัญหาการควบคุมอาวุธทางยุทธศาสตร์

ปัญหาการตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ : เกาหลีเหนือปฏิเสธตลอดมาว่าไม่ได้กำลังพยายามจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และปฏิเสธข้อเรียกร้องของเกาหลีใต้ ต่อการให้เกาหลีเหนือยินยอมให้คณะผู้ตรวจสอบระหว่างประเทศเข้าตรวจสอบที่ตั้งนิวเคลียร์ลับ ซึ่งต้องสงสัยว่าจะใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์โดยเร็ว ขณะเดียวกันเกาหลีใต้เร่งเร้าให้เกาหลีเหนือให้สัตยาบันต่อข้อตกลงไม่แพร่กระจายนิวเคลียร์โดยด่วน

อาวุธยุทโธปกรณ์ในปัจจุบัน

อาวุธเคมีของเกาหลีเหนือ ตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้นมา เกาหลีเหนือเริ่มการผลิตวัตถุเคมีเพื่อใช้เป็นอาวุธโดยตั้งศูนย์ค้นคว้าทางเคมี ซึ่งประกอบด้วยโรงงานที่ผลิตเคมีเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่
- The Aochi Chemical Factory ที่ HAMBUK เพื่อผลิตกรดไนตริก และ Methanol
- The Chungjin Chemical Factory ผลิตกรดกำมะถัน Fhenol และ Formalin
- The Hamheung ๒.๘ Vinyoln Factory Phosphate

สถานที่เก็บเคมีอันตรายที่ใช้เป็นอาวุธมี ๖ แห่ง คือ
- The Hwangchon Central Supply Office
- Saneumri (Sunan) Sanumni ใกล้เปียงยาง
- Sansam Dong เขตเปียงยาง
- Sariwon เขต Hwang Bukdo
- Wangjae Bang เขต Kangeondo

สำนักงานเพื่อการรวมประเทศของเกาหลีใต้ รายงานต่อรัฐสภาเพื่อชี้แจงให้รับทราบเรื่อง เกาหลีเหนือมีความพร้อมใช้อาวุธเคมี โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. เกาหลีเหนือมีอาวุธในครอบครองประมาณ ๑,๐๐๐ ตัน
๒. เกาหลีเหนือผลิตเชื้อโรคเป็นอาวุธชีวภาพ เช่น เชื้ออหิวาห์ เชื้อไข้ต่าง ๆ
๓. มีโรงงานผลิตอาวุธเคมี ๘ แห่ง สถานที่เก็บ ๖ แห่ง ศูนย์ค้นคว้า ๓ แห่ง
๔. ประมาณว่าเกาหลีเหนือเป็นประเทศที่มีการสะสมอาวุธเคมีมากเป็นลำดับที่ ๓ ของโลก

ประเภทของสารพิษที่เกาหลีเหนือมีใช้

๑. ทำลายประสาท (Nerve Agent) คือ GD (Soman) GA (Tabun)
๒. ปัจจุบันยังผลิตอยู่ มีผลคือทำให้เสียชีวิต GB (Sarin)
๓. ทำลายเม็ดเลือด (Blood Agent) คือ AG (Hydrogen Cyanide)
๔. มีผลทำให้เสียชีวิต CX (Cyanogen Chloride)
๕. ตุ่มตามบริเวณผิวหนัง (Blister Agent) คือ HD (Hyperite) ยังผลิตอยู่มีผลคือทำให้เสียชีวิต
๖. ทำลายระบบการหายใจ (Suffocate Agent) คือ CG (Phosgene) มีผลคือทำให้เสียชีวิต
๗. ทำให้อาเจียน (Vomiting Agent) คือ DM (Adamsite) ผลคือทำให้ป่วย ไม่สามารถทำงานได้

ปัจจุบันเกาหลีเหนือมีโรงงานผลิตอาวุธถึง ๑๓๔ แห่ง สามารถผลิตกระสุน ปืนใหญ่อาวุธเบา รถถัง ยานลำเลียงต่าง ๆ เรือรบ เครื่องบิน อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนอาวุธเคมีชีวภาพและระเบิดนิวเคลียร์ได้ ดังนั้น การพัฒนาระบบการนำส่งขีปนาวุธที่ได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ย่อมจะก่อให้เกิดความกังวลของนานาชาติ ทั้งในคาบสมุทรเกาหลีเอง และสมาชิกประชาคมโลกโดยส่วนรวม

พ.อ.อนุชาติ บุนนาค
๕ ก.ค.๔๙, ๐๗๐๐




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2549
3 comments
Last Update : 7 กรกฎาคม 2549 23:46:27 น.
Counter : 1006 Pageviews.

 

 

โดย: ... IP: 58.8.144.135 5 กรกฎาคม 2550 20:31:35 น.  

 

 

โดย: ................................................................... IP: 203.113.44.84 27 กรกฎาคม 2550 17:48:40 น.  

 

SCAP คืออะไรครับ

 

โดย: กักเซย์ IP: 61.19.236.197 15 สิงหาคม 2550 13:47:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


anuchartbunnag
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add anuchartbunnag's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.