กรกฏาคม 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
รู้อย่างนี้เลิกกินนานแล้ว








เบื้องพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนชาวกาลามะความว่า "อย่าปลงใจเชื่อ โดยการ ฟังตามกันมา โดยการถือสืบ ๆ กันมา โดยการเล่าลือ โดยการอ้างตำรา โดยตรรก โดยการอนุมาน โดยการคิดตรองตามเหตุและผล อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้ กับทฤษฎีของตน และอย่าเชื่อ เพราะท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา… แต่เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล… ปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปประโยชน์… เมื่อนั้นท่านพึงถือ ปฏิบัติบำเพ็ญธรรมเหล่านั้น"

สมเด็จพระราชบิดาทรงประทานคำสอนแก่ผู้เป็นแพทย์ว่า " ข้าฯ มิเพียงต้องการ ให้พวกเธอ เป็นหมอ แต่จงมีความเป็นมนุษย์ด้วย "

ความเป็นหมอคือผู้มีความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และความเป็นมนุษย์ก็คือผู้มีใจสูง

แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว ไม่ตายตัว ต้องติดตามงานค้นกว้า และสะสมบทเรียนใหม่ ๆ อยู่เสมอ…ผู้ใดที่หยุดนิ่ง ผู้นั้นก็ล้าหลังเขาแล้ว

สิ่งที่จารจารึกในตำราแพทย์มิใช่จะถูกต้องทั้งหมด สิ่งที่ถูกต้องเวลาหนึ่งอาจผิดในอีกเวลาหนึ่งก็ได้

ครับ นมวัว ได้ลงหลักปักฐานในประเทศไทยในระยะ 20 ปีมานี้ มีการยกย่องนมวัวว่า เป็นอาหารสมบูรณ์แบบ คนไทยได้เพิมอัตราการดื่มนม 10 เท่าตัว ควบคู่กับการกินเนื้อสัตว์ล้นเกิน แต่ลดอัตราการกินข้าว และกินผักสดผลไม้ คนไทย จึงอ้วน 25-30 % ไขมันเลือดสูง 50 % ของผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง เป็นภูมิแพ้ 12 ล้านคน คนไทย ตายด้วยโรคหัวใจ หลอดเลือดเป็นอันดับแรก และตายด้วยโรคมะเร็ง เป็นอันดับที่สอง ทั้งนี้เพราะ วิถีการกิน ที่เปลี่ยนไป เป็นแผนการกินแบบตะวันตก คือเน้นหนักการกินเนื้อ นม ไข่

เบื้องหน้าปัญหาใหม่ ๆ ถ้าใครที่มีหัวคิดอันเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องถึงกับเป็นแพทย์ก็ได้ แต่สำคัญ คือเป็นผู้มีใจสูง ใจกว้าง ไม่ยึดติดเพียงสิ่งที่ถือต่อ ๆ กันมา เขียนมาในตำรา ก็น่าที่จะได้ค้นคว้าเพิ่มเติมว่า มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง ในวิถีการกินของผู้คนชาวไทย มีอะไรที่ควรแก้ไข ในคำสอนบางประการ ของผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ สุขภาพของประชาชน

เราน่าจะใช้จิตใจของชาวพุทธ ใช้กาลามสูตรพิเคราะห์ข้อเท็จจริงใหม่ ๆ ดูบ้างหรือไม่

สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมมี 2 ด้าน นม ได้รับการเผยแพร่ในด้านดีมามากแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่คนไทยขาดอาหาร แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมแปรเปลี่ยน

ผลด้านกลับของการดื่มนมก็น่าที่จะหยิบยกกันขึ้นมาพิจารณาในอีกด้านหนึ่งบ้าง

นมก่อให้เกิดภูมิแพ้

เราคงจำกันได้ว่า เมื่อสมัยที่นมสดเริ่มแจกกันตามโรงเรียนใหม่ ๆ สัก 30 ปีที่แล้ว แจกตอนเช้า บ่ายนั้น ห้องส้วม ที่โรงเรียนก็แทบจะพัง เพราะอาการท้องเสีย นั่นคือปรากฏการณ์ใกล้ตัวที่สุด แท้จริงแล้ว นมก่อให้เกิด มูกเมือก ในร่างกาย ด้วยปฏิกิริยาภูมิแพ้ ทำให้ไซนัสอักเสบและหอบหืด เรื่องนี้ยืนยนในรายงานนับชิ้นไม่ถ้วน เช่น น.พ. ซามี มาห์นา ใน Advances in Pediatrics, Vol 25, 1978 งานของเจ.ดับบลิว. เกอราร์ด ใน Canadian Medical Association, Vol I, Mar 1971 ในประเทศไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ เสาวนีย์ จำเดิมเผด็จศึก ก็รายงาน การพบ การแพ้อาหาร ของเด็กกลุ่มใหญ่ ปรากฏว่าเกิดจากการแพ้นมวัวเป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยไข่และปลา การแพ้ พบมากใน 0-3 ขวบ รวมทั้งนักวิจัยชื่อ Bock SA. ใน Pediatrics 1987,79:683-8 สารสำคัญที่ทำให้แพ้คือ เคซีน และ Beta lactogloblin อาการมีมากน้อยตามแต่ละบุคคล

นมเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อไขมันเลือดสูง โรคหัวใจ

ประเด็นนี้ตรงไปตรงมาอย่างยิ่ง ด้วยการที่มีไขมันอิ่มตัว มีคอเลสเตอรอล และไม่มีเส้นใย นมจึงเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อโรคไขมันเลือดสูง โรคความดันเลือดสูง และโรคหัวใจอยู่แล้ว

ลองฟังเรื่องราวต่อไปนี้ คุณสัมพันธ์ป่วยด้วยโรคไขมันเลือดสูง มีความดันเลือดสูง และมีภาวะหัวใจขาดเลือด ในบางครั้ง ได้รับยาโรคหัวใจมาตลอด 10 ปี ร่วมกับยาลดไขมัน และยาลดความดันรวม 4-5 ขนาน

คุณสัมพันธ์เล่าว่า "ไขมันผมเคยสูงอยู่เสมอ ๆ หมอให้ผมทานยาลดไขมัน ผมอดอาหารประเภทไขมัน 100% แต่ดื่มนมจืดพร่องมันเนยวันละ 1 กล่อง ครบเดือนทีก็ไปเช็ก ปรากฏว่าไขมันขึ้นอยู่ตลอด"

คุณสัมพันธ์เปลี่ยนอาหารเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็คืออาหารพื้นถิ่นแบบไทย ๆ เขาเล่ามาในจดหมายดังนี้ครับ

"ผมกินข้าวกล้อง ซื้อผลไม้ใส่ตู้เย็นไว้ กาแฟไม่ทาน ผมเลิกกาแฟ-นม-น้ำอัดลม ผลก็ปรากฏว่า น้ำหนักของผม ค่อยลดลงได้ถึง 9.5 ก.ก. ในเวลาไม่กี่เดือน ผมงดยาลดไขมัน ทิ้งมันไปอย่างไม่เสียดาย แต่กลับสามารถ ลด คอเลสเตอรอลลงได้จาก 322 มก% เหลือ 214 มก% แสดงว่านมโกหกเรา" คุณสัมพันธ์ยังสามารถ ลด ยาความดันเหลือนิดเดียว

กรณีคุณสัมพันธ์เป็นตัวอย่างอันดีของคนไทยจำนวนมากในขณะนี้ที่ดื่มนมด้วยคิดว่าดีมีประโยชน์ แต่ต้องผจญ กับผลเสียโดยทั้งตัวเองและแพทย์ผู้รักษาก็คาดคิดไม่ถึง โดยเฉพาะคำว่า "นม พร่องไขมัน"มักมีแรงจูงใจ ให้คนหลงดื่ม

ปัญหาไขมันในเลือดสูงปัจจุบันแพร่ระบาดในเด็กด้วย งานวิจัยของ น.พ.ดร.ประสงค์ เทียนบุญสำรวจปี 2538 ในกลุ่มที่มีฐานะดี เรียนโรงเรียนเอกชน พบผลดังนี้คือ

เด็กอายุ

>170mg%คอเลสเตอรอล

>200 mg%คอเลสเตอรอล
<6 ปี 25% 5%
6-15 ปี 70% 10-20%

เป็นที่รู้ดีว่าอาหารของเด็กฐานะดีในสังคมเมืองคือ ฟาสต์ฟู้ดแบบตะวันตก นมและผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ

นมเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง

น.พ. มิกเกล ฮินด์ฮีด ผู้รับผิดชอบอาวุโสสถาบันวิจัยโภชนาการแห่งชาติเดนมาร์ก เมื่อปี 1917-1918 เดนมาร์ก กำลังเผชิญวิกฤตเพราะถูกปิดล้อมในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้โน้มน้าวให้รัฐบาล เดนมาร์ก เบนเข็ม จากการผลิตนมเนย ในใช้ที่ดินปลูกพืชไร่สนองธัญพืชให้คน เป็นผลให้คนเดนมาร์ก ยุคสงคราม ได้กินข้าว บาร์เลย์ ข้าวราย มันฝรั่ง แทนการดื่มนมบริโภคเนย ปรากฏว่า อัตราการเกิด โรคมะเร็ง ลดลงฮวบฮาบถึง 34% (JAME 74:381-82,1920)

ปี 1978 คากาวา ตั้งข้อสังเกตว่า ชาวญี่ปุ่นที่โอกินาวามีคนอายุยืนกว่าร้อยปีจำนวนมาก คนเหล่านั้น กินอาหาร พื้นถิ่น "ข้าวกล้อง " ผัก เต้าหู้ ปลา สาหร่าย แต่ไม่ดื่มนมเนย เขาศึกษาพบว่า ช่วงเวลา 25 ปี หลังญี่ปุ่นแพ้ สงคราม คือ 1950-1975 ชาวญี่ปุ่นดื่มนมเพิ่มขึ้น 15 เท่า กินเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น 7.5 เท่า ลดการกินข้าวลง 70% ผลก็คือ หญิงชาวญี่ปุ่น ป่วยเป็นมะเร็งปอด เต้านม และลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 3 เท่าตัว (Preventive Medicie, 7:205-17)

ที่สหรัฐ ดร.แคเธอรียน โวเดกี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ชี้ไว้ในปี 1992 ว่า "หลักฐานศึกษามากมายยืนยันว่า การกินอาหารไขมันสูงสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม และแหล่งใหญ่ของกรดไขมันอิ่มตัว ในอาหารอเมริกัน ก็คือ ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ (Eat for life, Academy press:1992)

หลังสุด การประชุมวิชาการ โดยกองทุนวิจัยมะเร็งโลก (WCRF) และสถาบันวิจัยมะเร็งโดยรวมได้แก่ แอลกอฮอล์ เกลือ อาหารเค็ม เนื้อแดง ไข่ อาหารปิ้ง ย่าง เผา อาหารไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอล นมและผลิตภัณฑ์นม น้ำตาล กาแฟ สารเจือปน อาหาร บุหรี่ โรคอ้วน ฯลฯ มีนักวิชาการบางคนบอกว่า ข้อสรุปของ การประชุมครั้งนั้น "เป็นเพียงอาจเป็นไปได้เท่านั้น" จากนั้นก็เริ่มหาเหตุผลแวดล้อม ต่าง ๆ อีกมากเพื่อยืนยันความเชื่อในทฤษฎีของตน ที่ว่าประชาชนจะต้องดื่มนมต่อไป

ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า นมวัว นอกจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของร่างกายแล้ว ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น ก็คือการติดยึด ในความดีด้านเดียวของนม ยังก่อให้เกิดมะเร็งความคิดในหมู่ผู้คนอีกด้วย

แต่ปัจจุบันประชาชนมีการศึกษาแล้ว ขอแต่ให้มีข้อมูลอันทั่วด้านกว่าที่เคยเป็นอยู่ ผู้บริโภค ย่อมใช้วิจารณญาณเองได้…

สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไร้ตนดังนั้นจึงมีความว่างเป็นสาระ ความไม่รู้ ความจริงนี้ทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งสร้างงเรื่องราวคุณค่าและความหมายขึ้น จนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์

การดื่มนมวัวในประเทศไทยก็มีเหตุปัจจัยของมัน เริ่มจากฝรั่งมาทำวิจัยพบว่าคนไทยขาดอาหาร ขาดโปรตีน และแคลอรี่ เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วจึงมีการส่งเสริมให้กินเนื้อ นม ไข่ ในระยะแรก นมอยู่ในฐานะ ที่เป็น โปรตีน และแคลอรี่ (ไขมัน)

ต่อมาเพื่อขยายตลาดให้กว้างขวางประเด็นเรื่องนมเป็นแหล่งของแคลเซียม จึงได้รับการเน้นย้ำ

แท้จริงการที่ฝรั่งดื่มนมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะวัฒนธรรมเดิมของฝรั่งเป็น "ชาวทุ่ง" มีชีวิต อยู่กับปศุสัตว์ ไม่ว่าสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งไม่ติดทะเลเลย หรืออังกฤษประเทศเกาะแท้ ๆ แต่ถูกไวกิ้งครอบครอง ทะเลเหนือ ไม่กล้าออกไปจับปลาหาแหล่งอาหารโปรตีนอื่น เมื่อชาวอังกฤษไปตั้งรกราก ที่ออสเตรเลียและ อเมริกา ก็ไปเจอกับแผ่นดินกลม ๆ ที่เป็นท้องทุ่งทั้งนั้น ผลคือ ฝรั่งยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ฝากปากท้อง ไว้กับเนื้อ นม และไข่จากฟาร์มเป็นสรณะ ครั้นเมื่อสูงอายุ ก็เผชิญปัญหากระดูกผุ ฝรั่งค้นหาแหล่งง อาหารแคลเซี่ยม มองไปรอบตัวก็พบแต่นมวัวเท่านั้นที่พอจะพึ่งได้ ฝรั่งจึงนิยมดื่มนมตั้งแต่เกิดจนตาย

ลองวิเคราะห์อาหารฝรั่งก็จะรู้ว่าเขาขาดแหล่งแคลเซียมจริง ๆ ถ้าไม่ดื่มนมตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1
อาหารมื้ อเที่ยง แคลเซียม(ม.ก.) อาหารเย็น แคลเซียม(ม.ก.)
แฮมเบอร์เกอร์ 1 อัน 199 ซุปหัวหอม 1 ถ้วย 25
เฟรนซ์ไฟราย 1 ซอง 18 สเต๊กเนื้อ 1 จาน 202
สลัดไก่ 1 จาน 34 สลัดผักผลไม้ 20
รวม 251 รวม 307
(Guide to the Food You Eat, BD&L,Newyork 1994)

ถ้าวันหนึ่งๆ คนปกติควรได้ 800 ม.ก. แคลเซียม ฝรั่งกินทั้ง 3 มื้อยังไงก็ไม่ครบปริมาณที่ร่างกายต้องการ (มื้อเช้า ขนมปังกาแฟ แทบจะไม่มีแคลเซียมเลย) เหตุนี้เองเขาจึงต้องดื่มนมวัวอีก 250-300 ม.ก./แก้วไปชดเชย แต่อาหารเหล่านี้ที่เขาดื่มกินก็ทำให้เสี่ยงต่อแคลอรีและไขมันล้นเกิน

เมื่อฝรั่งเข้ามาเป็นที่ปรึกษาปัญหาโภขนาการในไทย จึงแนะนำตามฐานทางภูมิปัญญาทางตะวันตก ให้คนไทย ดื่มนม และคนไทยก็รับความเชื่อนี้ไปโดยดุษฎี อาจเพราะคนไทย ในขณะนั้น ก็ยังขาดฐานข้อมูลเกี่ยวกับ ปริมาณสารอาหารพื้นถิ่นของเรา  กว่าที่กองโภชนาการ กรมอนามัยจะได้  X ส่วนคุณค่าอาหารไทย ออกมาได้ก็เป็นปี 2530


ครับ ข้างต้นนี้ถือเอาการวิเคราะห์ด้วยใจเป็นธรรมทางสังคมวิทยา โดยไม่ได้เอาเบื้องหน้า เบื้องหลัง ของผลประโยชน์ ทางธุรกิจของผลิตภัณฑ์นม มาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ

ากปี 2530 เป็นต้นมา แม้คนไทยจะเริ่มมีฐานข้อมูลของสารอาหารมาแล้ว แต่ที่น่าเสียดาย คือยังไม่มี นักวิชาการ คนใด หยิบยกประเด็นเรื่องความจำเป็นต้องดื่มนมหรือไม่ขึ้นมาพิจารณา เหตุผลมีหลายประการ

ประการหนึ่ง ด้วยการดื่มนมได้ลงราก ทั้งทางวิชาการ และมีการโหมโฆษณา เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ จนกลายเป็นกระแสอัน X วกราก เป็นกรอบความคิดที่ยากจะหลุด เมื่อมีความคิดใหม่ใด ๆ ตัวแทน องค์ความรู้ เก่า จะโลดเข้าปกป้องแนวความคิดเดิมอย่างไม่ลังเลใจ


ประการหนึ่ง ด้วยไม่เชื่อว่าปริมาณแคลเซียมในพืชผัก ร่างกายจะดูดซึม ไปใช้ได้ นั่นคือ พืชผักมีสารไฟเตต มาก ไฟเตต จะกีดกันการดูดซึมแคลเซียม ดังที่ฝรั่งหรือครูบาอาจารย์ให้ข้อมูลไว้

ประการหนึ่ง ด้วยไม่คิดว่าคนไทยจะกินอาหารไทยได้ปริมาณเพียงพอ การประเมินอาหารใด ๆ จากตัวแทน องค์ความรู้เดิม จะใช้ความคิดที่ว่า "อย่างไรเสียคนไทยก็ต้องดื่มนม" เป็นตัวตั้งไว้เสมอ  แล้วพยายามประมวลเหตุผลต่าง ๆ เข้าแวดล้อมตัวตั้งนั้น ๆ

อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยที่ไอเอ็มเอฟเข้ากัดกินในประเทศไทย ประชาชนกำลังเดือดร้อน การแสวงหาความเป็น "ไทย" ในความหมายที่มิใช่เพียงชื่อประเทศไทย แต่หมายรวมถึงความเป็น "ไท" ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม และทางความคิด ล้วนเป็นสิ่งจำเป็น

ถามตัวเราเองก่อนว่า นมวัวให้คุณประโยชน์ใดบ้าง
คำตอบก็คือ ให้ไขมัน โปรตีน และแคลเซียม เรื่องของไขมัน ไขมันในนม เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ทั้งยังมี คอเลสเตอรอล อีกจำนวนหนึ่ง เพราะเป็นผลิตผลจากสัตว์ จึงมิใช่สิ่งพึงประสงค์

โปรตีนในนม ก็เป็นที่ยืนยันจากหลายงานวิจัยว่า คนเอเซียโดยส่วนใหญ่แพ้โปรตีนในนม และเป็นเหตุของ โรคภูมิแพ้ในอัตราสูง จึงเหลือเหตุผลเรื่อง แคลเซียม จากฐานข้อมูลใหม่พบว่าอาหารไทยนับสิบชนิด มีปริมาณแคลลเซียมต่อหน่วยน้ำหนัก มากกว่านมอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ถั่ว งา กุ้ง ปลากรอบ กะปิ ปัญหาที่ต้องตอบให้ได้ก็คือ ถ้าเรากินอาหารไทย จะได้แคลเซียมพอเพียงหรือไม่

ประเด็นแรกคือเรื่องไฟเตตในพืช มันขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมจริงหรือ องค์การด้านโภชนาการเสนอมาตลอดว่า ไฟเตตขัดขวางการดูดซึม จึงไม่อาจหวังแคลเซียมจากพืชผักได้มากนัก นี่เป็นข้อสงสัยและวิจัยกันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถึง 2 (E.Mellanby 1925 -R A McCance 1942)

แต่ปี 1962 องค์การ FAO และ WHO ก็รายงานว่าการกินอาหารข้าวกล้องและอาหารหยาบ ที่มีไฟเตตมาก ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลก เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ไม่พบการขาดแคลเซียม จากกระดูกของคนพื้นถิ่นเหล่านั้นเลย

เชื่อว่าคนที่กินอาหารไฟเตตสูงจะมีการปรับตัวโดยสร้างเอนไซม์คอยทำลาย ไฟเตต ก่อนที่มันจะไปจับแคลเซียม หรือมิฉะนั้นร่างกายมีวิธีการแยกแคลเซียมออกจากไฟเตต แล้วดูดซึมสู่ร่างกายได้ (Calcium Requirements, WHO Technical Reries No 230) นี่นับเป็นเรื่องน่าเชื่อถือมากกว่า

การที่นักวิชาการขององค์การโภชนาการ นำเสนอเหตุผลเรื่องไฟเตตในพืชผัก ขัดขวาง การดูดซึม แคลเซียม ช่างเป็นการเลือกเสนอข้อมูลด้านเดียวให้กับประชาชนเสียนี่กระไร จะมีเหตุผลจูงใจ ประการใดก็สุดที่จะเดา

ประเด็นหลังคือ จะกินอาหารไทยเพื่อได้แคลเซียมตามต้องการได้หรือไม่ คำตอบจากคู่มือ การประเมินอาหาร ขององค์การโภชนาการตอบในตัวว่า ไม่ได้

ในที่นี้มี 2 เรื่องน่าพิจารณา หนึ่งคือความคิดชี้นำ ถ้าคนประเมินตั้งใจเสียแต่แรกว่า "อย่างไรเสียคนไทยก็ต้องดื่มนม" การประเมินย่อมเพี้ยนไปในทางที่เป็นผลลบ ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคงาดำต่อครั้ง กำหนดไว้ที่ 1 ช้อนชานั้น เท่าปริมาณที่ใช้โรยหน้าขนมไหว้พระจันทร์เท่านั้นแหละครับ หารู้ไม่ว่าปัจจุบันผู้รักสุขภาพเขาใช้งาดำโรยข้าว ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะพูนอยู่แล้ว

อีกเรื่องหนึ่งคือ มาตรฐานช้อนตวงของนักวิชาการผู้ประเมิน ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ช่างต่างจากช้อนตวง ของชาวบ้านเหลือเกิน ตัวอย่างกุ้งแห้ง 1 ช้อนโต๊ะของนักวิชาการได้กุ้งเพียง 6 กรัม แต่ช้อนโต๊ะของ ชาวบ้าน ตวงจริง ๆ แล้วจะได้กุ้งแห้ง 10-15 กรัมแล้วแต่แห้งมากหรือน้อย อย่างไรก็ดี ถ้าเริ่มต้นความคิดเสียใหม่ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่คนไทยจะไม่ต้องดื่มนม" และช่วยกันคบคิด อาหารให้คนไทย ก็จะได้ตาราง รับแคลเซียม/ครั้ง/คน ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2
ปริมาณอาหารบริโภคต่อครั้ง แคลเซียม
กุ้งแห้ง 1 ชต. (15 ก. ข้าวคลุกกะปิ 1 จาน) 345
กะปิ 15 กรัม (น้ำพริกกะปิ) 235
งาดำคั่ว 1 ชต. พูน (12 ก.โรยข้าว, ข้าวต้ม) 174
กุ้งฝอย 20 กรัม (ชุบแป้งทอด 1 ชิ้น) 268
เต้าหู้ขาว ฝ แผ่น (ผัดเต้าหู้, แกงจืด) 122
ผัดผักโขม 100 ก. 341

จะเห็นได้ว่าในอาหารของเรามีแคลเซียมมากกว่าอาหารฝรั่งเป็นก่ายกอง ทีนี้ถ้าจะลองจัดเป็นอาหาร สักสำรับหนึ่ง สำหรับครอบครัว 4 คน กิน 1 มื้อ อาจปรากฏภาพดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3
อาหาร ส่วนประกอบ แคลเซียม(ม.ก.)
แกงจืดเต้าหู้ เต้าหู้ขาว 1 ถ้วยใช้เต้าหู้ 100 กรัม 245
กุ้งชุบแป้งทอด กุ้งฝอย 200 กรัม 2,678
ผักโขมไฟแดง ผักโขม 500 กรัม 1,705
ข้าวกล้องโรยงาดำ งาดำ 4 ช้อนโต๊ะโรยข้าว 4 จาน 516
เมี่ยงคำอาหารว่าง ใบชะพลู 20 ใบ. กุ้งแห้ง 40 ตัว
กุ้งแห้งป่น 20 ก. (น้ำราด), กะปิ 20 ก.
1,353
รวมปริมาณแคลเซียมสำหรับ 4 คน/มื้อ 6,497
เฉลี่ยแคลเซียมที่ได้รับ/คน/ต่อมื้อ 1,624

เหตุฉะนี้เอง คนไทยจึงไม่จำเป็นต้องดื่มนม ถ้ารู้จักกินกุ้งแห้ง ปลากรอบ เต้าหู้ งาดำคั่ว กะปิ ยิ่งยุคไอเอ็มเอฟ เราเสียเงินซื้อนมวัว ปีละหลายหมื่นล้านบาท มาส่งเสริมอาหารไทย แคลเซียมสูงกันดีกว่าไหม

เมื่อก่อนนี้คนไทยไม่เคยดื่มนม ก็ยังส่งเสริมกันจนดื่มกันวันละลิตร ถ้าเราตระหนักในปัญหา ของประเทศชาติ จะช่วยกันส่งเสริมอาหารไทยแทนได้หรือไม่

โดยสรุป นมจึงเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีฟันคือ ทารก และพวกเขาก็ควรดื่มนมมารดา โตขึ้น ก็กินอาหารอื่นแทน ส่วนใครจะดื่ม นมถั่วเหลือง ก็ตามใจ มันเป็นอาหารพื้นถิ่น ที่ชาวบ้านปลูกเองได้ และเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ก็น่าจะส่งเสริม

ถึงตรงนี้ถ้ายังไม่สบายใจที่จะ "หย่านม" กันอีก ก็มีหลักฐานประการสุดท้าย ที่พิสูจน์ว่า คนไทยกินอาหารพื้นถิ่นแล้วแข็งแรง โดยไม่ต้องดื่มนมคือ หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ ที่บ้านเชียง

ศ.น.พ. สุด แสงวิเชียร รายงานไว้ว่า บรรพบุรุษไทยที่นั่นสูง 170 ซ.ม. ทุกโครงมีกระดูกแข็งปั๋ง ไม่มีกระดูกผุ ขุดค้นเท่าไหร่ ก็ไม่เจอซากนมกล่อง ยูเอชทีแต่ประการใด พบแต่ ก้างปลา เปลือกหอย และกระดูกสัตว์

ฟังบรรพบุรุษของเราบ้างเถอะครับ

credit::: 
https://www.dek-d.com/board/view/555158/




Create Date : 11 กรกฎาคม 2560
Last Update : 11 กรกฎาคม 2560 10:45:36 น.
Counter : 906 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณbumbimkadingmaew

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พื้นเมือง
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชีวิตคือการค้นหาคำตอบ