Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
พุทธวิธีสร้างความประทับใจ


คุณธรรมที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจคนมี 4 ประการ ประการแรกคือ

1. ทาน (ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่)

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นี้เป็นคุณสมบัติภายในใจที่เราจะต้องสร้างขึ้นให้ได้ ก่อนคือ ต้องพยายามทำใจให้มีความรักความปรารถนาดีต่อคนอื่น คิดอยากช่วยเหลือคนอื่นทุกขณะ ทุกเวลา ทุกสถานที่ถ้ามีโอกาส จากนั้นก็ค่อยๆ แสดงออกทางวาจาและทางการกระทำทางกาย เริ่มตั้งแต่เรื่องพื้นๆ ธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น

- ขึ้นรถเมล์เห็นคนแก่หรือเด็กขึ้นมาก็ลุกให้ที่นั่งแก่เขา ไม่ยืนโหนอยู่ที่ประตูรถขวางทางขึ้นลงของคนอื่น

- กำลังขับรถ มีน้ำใจให้ทางแก่คนที่ขอทาง หยุดรอให้คนเดินถนนข้าม ไม่แซง ไม่ตัดหน้าในที่ไม่สมควร ด้วยคิดแต่ตัวเองต้องรีบ เพราะคนอื่นๆ เขาก็รีบเช่นเดียวกัน

ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจในเรื่องเช่นนี้หรือเรื่องอื่นๆ ตลอดจนถึงการแบ่งปันของกินของใช้ที่ตนมีแก่ผู้อื่นตามโอกาส เป็น "เสน่ห์ในตัว" ที่ใครเห็นใครก็รัก อยากคบค้าสมาคมด้วย คนเช่นนี้ อยู่เขาก็ไว้ใจ จากไปเขาก็คิดถึง

2. เปยยวัชชะ (พูดจาเป็นที่รัก)

"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์

มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร

จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"

รัตนกวีสุนทรภู่กล่าวเป็นสุภาษิตเตือนใจไว้ดังว่ามานี้ แสดงว่าคำพูดของคนมีความสำคัญมาก คนจะรัก จะชัง จะโกรธเกลียดหรือชื่นชมยกย่อง เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ ก็อยู่ที่ "ปาก" เรานี่แหละ จึงมีคำพูดที่ได้ยินทั่วไปว่า "พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี" อันหมายถึง ถ้าใช้ปากเป็นก็เป็นสิริมงคล สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการ ถ้าใช้ปากไม่เป็น นอกจากจะไม่สำเร็จประโยชน์ที่ต้องการ อาจก่อการทะเลาะวิวาทถึงเจ็บตัวได้ ขอให้ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้

นายดำขับรถตามรถเมล์ไปบนถนนสายหนึ่ง ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะรถเมล์วิ่งได้ รถส่วนตัวอื่นๆ ไปไม่ได้ ตำรวจจราจรสั่งให้หยุด ขอดูใบขับขี่ นายดำถือว่าตนเป็นคนสำคัญในสังคมคนหนึ่งเห็นตำรวจจราจรเป็นเพียงตำรวจ ผู้น้อยธรรมดา ไม่ยอมให้ใบขับขี่ เขาเถียงว่าตนไม่ผิด รถเมล์ยังมาได้ ตนก็มาได้ แถมยังขู่ตะคอกเจ้าหน้าที่ตำรวจ อวดใหญ่อวดโตต่างๆ นานา ตำรวจผู้ทำตามหน้าที่ก็ไม่สนใจ ยึดใบขับขี่ เขียนใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับตามกฎหมาย

ในกรณีเดียวกัน นายแดงถูกตำรวจสั่งให้หยุดรถ ก็เปิดกระจก ยกมือไหว้ตำรวจ พูดจาสุภาพ นุ่มนวล ขอโทษขอโพยว่า ตนไม่ทราบว่าทางนี้ห้ามรถยนต์ส่วนตัวผ่าน ถ้ารู้ก็จะไม่มาทางนี้ตำรวจคนเดียวกัน ได้ยินคำพูดที่สุภาพของนายแดง รู้สึกพอใจยิ้มพลางยื่นใบขับขี่คืนให้ พร้อมกับตักเตือนว่าคราวหน้าโปรดระวังอย่าผิดกฎจราจรเป็นอันขาด นายแดงยกมือไหว้ กล่าวขอบคุณตำรวจที่กรุณาปล่อยตัวไป

ในกรณีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจอยู่สองประการ คือ (1) ปรับ หรือ (2) ตักเตือน นายแดงรู้จักพูด พูดดี พูดเพราะ ตำรวจจึงไม่ปรับ ปล่อยตัวไป ส่วนนายดำนั้นถูกปรับเพราะใช้คำพูดไม่เป็น ไม่รู้จักยอมรับผิด และไม่สุภาพอ่อนน้อมต่อเจ้าพนักงานตำรวจ

คนที่ใช้คำพูดเป็นคือ พูดเพราะ พูดดี พูดคำจริง คำที่มีประโยชน์ เป็นคนมีเสน่ห์ในตัว ใครได้สัมผัสใกล้ชิดจะรู้สึกประทับใจไม่รู้ลืม

3. อัตถจริยา (ทำตนให้เป็นประโยชน์)

มีคำพังเพยโบราณว่า "อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" เป็นคติเตือนใจให้คนเรารู้จักช่วยเหลือคนอื่น ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แก่สังคมประเทศชาติที่ตนอยู่อาศัย ความมีน้ำใจชอบทำตนให้เป็นประโยชน์ ทางพระเรียกว่า "อัตถจริยา" แปลตามศัพท์ว่าการทำประโยชน์ ซึ่งขยายออกเป็น 2 ประการ คือ

(1) ทำตนให้เป็นประโยชน์ หมายถึง ทำตนให้มีคุณค่า มีคุณงามความดี พอที่จะทำประโยชน์แก่สังคมได้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนตนให้มีความสามารถเพื่อไปประกอบอาชีพเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัวในภายหน้าได้ เมื่อทำงานเป็นหลักเป็นฐานแล้ว ก็ขยันหมั่นเพียรสร้างตน สร้างฐานะ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พอที่จะเจือจุนครอบครัว และช่วยเหลือสาธารณประโยชน์

(2) ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้อแรกนั้นเรียกว่า "ทำตนให้พร้อม" ส่วนข้อที่สองนี้เรียกว่า "เอาความพร้อมที่มีแจกจ่ายกำลังออกไปช่วยคนอื่น" สิ่งที่จะช่วยเอาความพร้อมที่มีออกไปช่วยเหลือคนอื่นได้นั้นก็คือความมี น้ำใจ หรือความไม่เห็นแก่ตัว

คนที่เห็นแก่ตัว ใจไม่กว้าง ไม่มีน้ำใจ ถึงจะมีความรู้ ความสามารถมาก ถึงจะมีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็ไม่คิดช่วยเหลือคนอื่น ไม่คิดทำประโยชน์แก่คนอื่น ส่วนคนที่มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัวย่อมพร้อมจะช่วยเหลือคนอื่นตลอดเวลา แม้ว่าตนจะมีไม่มาก มีความรู้ความสามารถไม่มากก็ตาม

ที่มา: ไต้ ตามทาง คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ นสพ.ข่าวสด



Create Date : 22 กันยายน 2551
Last Update : 22 กันยายน 2551 13:07:18 น. 4 comments
Counter : 695 Pageviews.

 


โดย: Nissan_n วันที่: 22 กันยายน 2551 เวลา:13:38:08 น.  

 
เป็งกำลังใจให้คับ สำหรับการทำบล็อกดีๆ
เยยเอาของเล่นมาให้เป็งรางวัล
เคยเห็นที่เขาทำภาพตัวเองติดผนังไม๊คับ
บังเอิญไปเจอเลยเอามาให้ลองดูหนุกน๊า
ผมก็ทำไปตั้งหลายรูป 555
โปรแกรมทำภาพสวยๆหนุกๆ


โดย: พลังชีวิต วันที่: 22 กันยายน 2551 เวลา:14:12:39 น.  

 
ขอให้มีความสุขกับธรรมะดี ๆ ประจำใจนะคะ


โดย: Tassanee วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:42:03 น.  

 

ขออนุญาตนำธรรม มาเสริม เพิ่ม ข้อ 4 อีก 1 ข้อ

พุทธวิธีครองใจคน สังคหวัตถุ 4
ที่มา:จุลสารบัณฑิตถาวร

เป็นธรรมดาที่ทุกคนต่างต้องการความรักจาก คนรอบข้างบ้างก็แสวงหาด้วยความน่ารัก บ้างก็แต่งตัวให้ดูดี บ้างพูดจาหวานหู เพื่อรียกร้องหาความรัก แต่วิธีการเหล่านี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเสมอไป น่าแปลกที่ว่าบางคนไม่จำเป็น ต้องทำตัวให้เด่นดัง ไม่ต้องแต่งหน้าทาปาก ไม่มียศตำแหน่งสูง แต่กลับเป็นที่รักของคนรอบข้างได้ จะมีวิธีการใดที่เราจะผูกมัดใจคน จะสามารถครองใจคน ได้อย่างถูกต้อง

เคล็ดลับในการครองใจคน หรือ “พุทธวิธีครองใจคน”การทำให้คนรอบข้างรักเรา พระสัมมาสัมพุทฑเจ้าทรงสอนให้ปรับที่ตัวของเราเอง คือต้องทำตัวเราให้เป็นคนน่ารักเสียก่อน โดยการปฏิบัติตามสังคหวัตถุ4 ซึ่งเป็นการปฏิบัติ เพิ่อยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ทำให้เกิดความเคารพรักใคร่นับถือ เกรงอกเกรงใจกัน ไม่ว่าใครก็ตาม เมื่อมีหลักสังควัตถุ 4 นี้ก็จะทำให้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

สังคหวัตถุ 4 มีด้วยกัน 4 ประการคือ

1. ทาน คือ การให้

2. ปิยวาจา คือ การพูดถ้อยคำที่เป็นที่รัก

3. อัตถจริยา คือ การทำตนให้เป็นระโยชน์

4. สมานัตตา คือ การวางตนให้สม่ำเสมอ

ธรรมชาติของใจคนโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่หมดกิเลส จะมีความอยากของใจอยู่ ตลอดเวลา ใครก็ตามที่ช่วยให้เขาสมความอยากได้เขาก็พร้อมที่จะรักคนๆนั้น

1. ทาน คือ การให้ พอให้แล้ว เขาได้สิ่งที่เขาต้องการ เขาก็จะมีความรักเราขึ้นมา การให้ทาน ไม่ได้หมายถึงการให้วัตถุสิ่งของ หรือเรียกว่า อามิสทาน แต่งเพียงอย่างเดียว ยังหมายรวมถึง การให้ความรู้เป็นทานด้วย ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เรียกว่า วิทยาทาน ถ้าเป็นความรู้ทางธรรมก็เรียก ธรรมทาน

นอกจากนี้ยังมีการให้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การให้อภัย ไม่ถือโกรธเคืองกัน มีจิตเมตตา ปรารถนาดีต่อกันหรือเรียกว่าอภัยทาน คนเราอยู่ด้วยกัน ก็เป็นธรรมดา ที่จะต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง ขัดใจกันบ้าง แต่เมื่อขัดใจกันแล้วก็ควรต้องมีการให้อภัยกัน ให้เรามองแต่ข้อดีของเขาเยอะๆๆ แล้วความไม่พอใจ ก็จะค่อยๆ ลดลง จนหายไป เราก็จะมีแต่ความสุขใจ สบายใจ มีความรักความตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน จะไปที่ไหนใครๆที่รัก

2. ปิยวาจา คือ การพูดถ้อยคำที่เป็นที่รัก คำพูดนี้มีความสำคัญมาก จะทำให้คนรักเรา หรือเกลียดเราก็ได้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้หลักการพูดไว้ ดังนี้

1.ต้องเป็นคำจริง

2.เป็นคำสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน

3.พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์

4.พูดด้วยจิตเมตตา

5.พูดถูกกาลเทศะ คือ ถูกเวลาและสถานที่

นอกจากการพูดจาไพเราะแล้ว จะต้องมีหางเสียงด้วย เช่น มีครับ มึค่ะ นี่เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับคนพูดได้เยอะเลยหลวงพ่อเคยเปรียบเอาไว้ว่า คำพูดที่ไพเราะมีหางเสียงนั้นก็เหมือนทองหยอดที่มีจะงอย หน่อยๆ ก็เหมือนถ้อยคำที่ไพเราะๆๆๆ เมื่อพูดไปแล้ว คำพูดก็หวาน มีหางเสียงเหนี่ยวใจคนให้มาติดอยู่ที่เรา

หากเรามีความจำเป็นที่จะต้องเตือนผู้อื่น ก็พอมีวิธีการเตือนดังนี้

1.เลือกจังหวะให้เหมาะสมดูเวลาและอารมณ์ให้ดี

2.ชมก่อนแล้วค่อยเตือน

3.ยิ้มก่อนติ

4.ต้องเป็นเรื่องจริง

5.เป็นเรื่องที่เกิดประโยชน์

ซึ่งจะต้องทำให้ครบทั้ง 5 ข้อ ถ้าไม่คบก็อาจทำให้โกรธกันก็ได้สำหรับผู้ถูกตือน ไม่ว่าเขาจะเตือนผิดหรือถูก ก็ให้รีบขอบคุณเพราะนั่นแสดงว่า เขารักเราจริง ถ้าไม่รักจริงจะไม่กล้าเตือน ถ้าใครทำได้อย่างนี้ จะเป็นคนมีเสน่ห์อย่างยิ่ง อยู่ที่ไหนก็จะมีแต่คนรักแล้วจะรักกันยืดอีกด้วย เพราะว่าเป็นคนไม่มีทิฐิมานะ

การให้วัตถุสิ่งของในข้อ 1.นั้นเรายังต้องลงทุนไปซื้อหามา แต่ข้อ 2 ปิยวาจานี้ เป็นการให้ที่ไม่ค้องลงทุน ไม่เสียเงินเลยซักบาท แค่เราหึความสำคัญในการพูด ปรับให้พอดี พอเหมาะพอเจาะ ก็จะเกิดคุณค่า

3.อัตถจริยา คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์ ในข้อนี้ แยกได้ 2 ประเด็น คือ

1.การทำตัวของเราให้เป็นคนมีมีประโยชน์

2.การสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น

คือเราจะต้องฝึกตัวเของเราเองให้เป็นคนมีประโยชน์ เพราะถ้าคนไหนเป็นคนที่มีประโยชน์ คนๆนั้นจะเป็นที่รักของคนอื่น ใครๆ ก็อยากเข้าใกล้ วิธีทำให้เราเป็นคนมีประโยชน์ ก็ทำได้ การหมั่นปรับปรุง พัฒนาความรู้ ความสามารถของเราให้ยิ่งๆขึ้นไปตลอดเวลา และต้องต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณธรรมด้วย เพราะเราจะเป็นคนเก่ง อย่างเดียวไม่พอแต่ต้องเป็นคนดีดัวย เมื่อเราฝึกตัวเองให้เป็นคนมีประโยชน์แล้ว ก็ต้องสร้างประโยชน์ให้ กับคนอื่นด้วยให้ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีน้ำใจไมตรีต่อกัน เห็นอะไรช่วยได้ก็ช่วย ไม่นิ่งเฉยดูดาย ก็จะเป็นที่รักของคนทั่วไปแม้แต่ในสังคมที่ถูกยกย่องให้เกียรติย่อมเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่หมู่ชนนั้นๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเราอยู่ที่ใด เราควรทำตัวให้เกิดประโยชน์ บุคคลใดก็ตามเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ บุคคลนั้น จะเป็นบุคคลที่น่ารักน่าเข้าใกล้

4.สมานัตตตา การวางตนให้สม่ำเสมอ หมายถึง การวางตัวของเราให้สมกับฐานะ และบทบาทของตัวเอง เช่น

เป็นพี่เป็นน้อง เป็นพ่อแม่ลูก เป็นสามีภรรยา เราก็วางตัวให้เหมาะ พอดีตามนั้น อย่างแรกเลย ก็มีฐานะเป็นลูกศิษย์ที่รักของคุณครู เป็นลูกที่น่ารัก ของคุณพ่อคุณแม่ ถ้าใครมีพี่ เราก็มีฐานะเป็นน้อง จะเห็นได้ว่า แต่ละคนก็จะมี หลายฐานะในตัวเอง ดังนั้น เราจะต้องศึกษาว่า ในแต่ละฐานะที่เราเป็นอยู่ มีหน้าที่อะไรบ้าง เมื่อศึกษาแล้วก็ต้อง ปฏิบัติตามหน้าที่นั้นให้สมบรูณ์ถ้าทำได้เช่นนี้ เราก็จะเป็นที่รักของคนรอบข้าง แต่ถ้าใครเป็นโจรอยู่ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องวางตัวให้สมกับที่เป็นโจร อันนี้ไม่ถือว่าสมานัตตตา เพราะสมานัตตตายังหมายรวมถึงการทำตนให้สมกับที่เป็นคน ก็คือ การปฏิบัติตนให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ

นอกจากนี้ เราจะต้องทำตนให้เสมอต้นเสมอปลายด้วยคือ เราเคยวางตัวกับคนอื่นในทางที่ดีอย่างไร เราก็ยังคงปฏิบัตัอย่างนั้นไม่เปลี่ยน แม้ว่าเราจะได้ดิบได้ดีแล้ว เราก็ไม่ลืมตัว หรือว่าเมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดี เราก็แสดงออกให้เขารับรู้ว่าเรามีความยินดีกับเขาอย่างจริงใจ ไม่คิดกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสีเขา ถ้าใครทำได้อย่างนี้ รับรองว่า ไม่ว่าจะย่างเท้าไปถึงไหนก็จะเป็นที่รักไปถึงนั่น จะเห็นได้ว่า สังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมะ ที่สำคัญมากเป็นวิธีการครองใจคนชั้นเยี่ยมเลย

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะนำสังคหวัตถุ 4 มาใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างมีความสุข เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

นำมาจาก วัชรินทร์ดอทคอม

//www.watcharina.com/board/index.php?topic=1014.msg5009



โดย: panomsarakham วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:14:15:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.