Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
ฟิตแอนด์เฟิร์ม กันไว้ดีกว่าอ้วน

กางเกงหรือกระโปรงที่เคยสวมใส่เริ่มคับผิดปกติ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
อาจนำมาซึ่งโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนร้ายแรง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ ความรู้เพื่อประชาชน
เรื่อง "ลดความอ้วนอย่างไรให้ได้ผล : ผ่าตัด...ช่วยได้แค่ไหน"
ณ ห้องประชุมเฉลิมพรมมาส ตึก อ.ป.ร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในงานมีวิทยากรร่วมให้ความรู้ 5 คน ได้แก่ ผศ.น.พ.มนต์ชัย ชาลาประวรรตน์ รศ.พ.ญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ
ผศ.น.พ.สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ รศ.พ.ญ.บุรณี กาญจนถวัลย์
และ นายอัฐพณ แดงค้ำคุณ หรือ ปิ๊ก น้ำหวาน ผู้มีประสบการณ์ตรงในการลดความอ้วน
มีผู้สนใจร่วมฟังการเสวนาและสอบถามปัญหากว่า 100 คน

เริ่มต้นที่การเปิดประเด็นความสงสัยว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอ้วน"
คนทั่วไปอาจสังเกตจากการแต่งกายที่สวมเสื้อผ้าขนาดเดิมไม่ได้ แต่ความจริงแล้วสามารถรู้ว่าอ้วนได้
จากการคำนวณค่าดัชนีมวลกายหรือบีเอ็มไอ (BMI)
คำนวณโดยน้ำหนักที่ชั่งได้หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง ค่าที่ได้ไม่ควรเกิน 23
หากเกิน 30 ควรดูแลมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน

นอกจากนี้ เส้นรอบเอวขนาดใหญ่ที่เกิดจากไขมันสะสมเป็นสาเหตุของโรคอ้วนลงพุง มีงานวิจัยพบว่า
เส้นรอบเอวของผู้ชายชาวเอเชียไม่ควรเกิน 90 ซ.ม. และผู้หญิงเอเชียไม่ควรเกิน 80 ซ.ม.

รศ.พ.ญ.บุรณี กาญจนถวัลย์
รศ.พ.ญ.บุรณี กาญจนถวัลย์

รศ.พ.ญ.บุรณี กาญจนถวัลย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ กล่าวว่า
นอกจากโรคอ้วนจะเป็นอันตรายต่อร่างกายแล้ว ผู้ป่วยยังเดือดร้อนจากการกระทบกระเทือนจิตใจ
ไม่ว่าจะเป็นการขาดความมั่นใจในตนเอง โอกาสในชีวิตน้อยกว่าคนอื่น เช่น การงาน ความรัก
บางรายเครียดจนต้องหาทางบำบัด ความเครียดด้วยการบริโภค
เพราะนอกจากคลายเครียดแล้ว ยังมีความสุขและจดจำจนอยากกินอีก จึงกลับไปสู่วังวนเดิม

นายอัฐพณ แดงค้ำคุณ หรือ ปิ๊ก น้ำหวาน
นายอัฐพณ แดงค้ำคุณ หรือ ปิ๊ก น้ำหวาน

นายอัฐพณ แดงค้ำคุณ หรือ ปิ๊ก น้ำหวาน ผู้มีประสบการณ์ตรงจากปัญหาน้ำหนักมากถึง 300 กิโลกรัม
ต้องเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารจนน้ำหนักเหลือ 87.5 กิโลกรัม กล่าวว่า
คำชมที่ผู้ใหญ่พูดกันว่า "เด็กอ้วนน่ารัก" เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องนัก จึงไม่อยากให้ปลูกฝังเด็กด้วยคำนี้
เพราะเวลาอ้วนแล้วควบคุมไม่อยู่ก็จะเกิดปัญหาตามมา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ต้องไขว่คว้าหาวิธีลดน้ำหนักโดยเริ่มกินยาลดความอ้วน
แรกๆ เห็นผลดีแต่พอหยุดใช้ยากลับอ้วนขึ้นกว่าเดิม มีอาการประสาทหลอนและเหนื่อยง่ายร่วมด้วย

"ตอนที่อ้วนมีความรู้สึกว่าอยู่ในสังคมยากมาก ไม่กระฉับกระเฉง เดินได้ไม่กี่ก้าวก็เหนื่อย
เกิดจากนิสัยการกินเป็นหลัก คือกินอะไรก็อร่อยทุกอย่าง ทำให้เราเสียโอกาส
ขึ้นรถเมล์เหมือนคนอื่นไม่ได้ ต้องนั่งแท็กซี่ เสื้อผ้าต้องขนาดใหญ่พิเศษ อ้วนแล้วเพื่อนล้อ
มีคนนินทาและมองด้วยสายตาดูถูก จึงรู้สึกท้อมาก

ทุกวันนี้ได้สัมผัสความทรมานจากการลดความอ้วนในทางที่ผิด จึงตระหนักได้ว่า
การลดความอ้วน คือการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร"

รศ.พ.ญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ
รศ.พ.ญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ

ด้าน รศ.พ.ญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ หัวหน้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชี้แจงเกี่ยวกับการรักษาโรคอ้วนที่ถูกต้องที่สุด คือการป้องกันไม่ให้อ้วนด้วยการออกกำลังกาย
เพื่อเผาผลาญพลังงานที่ได้จากอาหารที่กินเข้าไป มีหลักการง่ายๆ คือ
ต้องเชื่อว่าต้องลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพชีวิตที่ดี หากไม่ลดน้ำหนักโรคร้ายถามหาแน่นอน

เวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือสัปดาห์ละ 5-7 วัน วันละ 30-45 นาที ด้วยท่าที่ถูกต้อง
และขยับร่างกายเพื่ออุ่นเครื่องก่อน เบื้องต้นอาจเริ่มออกกำลังกายช้าๆ
จากนั้นต้องปฏิบัติต่อเนื่องประมาณ 6-9 เดือน จะสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อปี

"เทคนิคการออกกำลังกาย คือเลือกกิจกรรมที่ชอบ ทำแล้วมีความสุข
ควรมีเพื่อนออกกำลังกายหลายๆ คน จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจ
สร้างแรงกระตุ้นโดยการให้รางวัลตนเองด้วยเสื้อผ้าไซซ์เล็กลง ควรควบคุมอาหารร่วมด้วย
แต่อย่าอดอาหาร เพียงลดปริมาณแล้วเน้นกินโปรตีน ผักใบเขียวและดื่มน้ำให้เพียงพอ

หากทำงานในออฟฟิศก็สามารถออกแรงง่ายๆ ในที่ทำงาน ด้วยการเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์
และเดินให้เร็วกว่าที่เคยทำเล็กน้อย ประมาณ 100 ก้าวต่อนาที
เมื่อเหนื่อยให้ชะลอความเร็วแต่ต้องเดินให้สง่าผ่าเผย พร้อมกับแขม่วหน้าท้องเล็กน้อย"

ผลลัพธ์ทางอ้อมของการออกกำลังกาย ยังเพิ่มสมรรถภาพการทำงานได้นานโดยไม่เหนื่อย
ช่วยลดความอยากอาหาร
และลดโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด มะเร็ง และเบาหวาน

ผศ.น.พ.สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์
ผศ.น.พ.สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์

ปิดท้ายด้วยความจำเป็นในการผ่าตัด ผศ.น.พ.สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า
ภาวะที่เข้าข่ายต้องผ่าตัด คือ ดัชนีมวลกายมีค่ามากกว่า 40 ไม่ใช่ว่าคนอ้วนจะผ่าตัดได้ทุกคน
จะต้องประเมินความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย การผ่าตัดทำได้ 3 วิธี ได้แก่
การรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) การตัดกระเพาะอาหาร (Sleeve Gastrectomy)
และ การตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการทำบายพาส (RY Gastric Bypass)
แล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์ว่าจะเลือกใช้วิธีไหน
เพื่อทำให้กระเพาะอาหารเล็กลงและกินอาหารอิ่มเร็วขึ้น

"แม้การผ่าตัดจะช่วยได้ แต่ควรคำนึงก่อนว่า ความเสี่ยงของการผ่าตัดมีมากกว่าความเสี่ยงจากความอ้วน
จึงต้องระวังตนไว้ไม่ให้อ้วนด้วยการออกกำลังกายอย่างพอดี" น.พ.สุเทพทิ้งท้าย


ข้อมูลโดย : //www.khaosod.co.th
ที่มา : //www.dmh.go.th


สารบัญ ลดอ้วน ลดน้ำหนัก


Create Date : 14 พฤษภาคม 2554
Last Update : 14 พฤษภาคม 2554 13:00:21 น. 1 comments
Counter : 1857 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ค่ะ


โดย: ameijang - มี่ วันที่: 14 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:26:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.