Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
อกหัก"พิษรัก" ฉีดวัคซีนชีวิต

ชีวิตรัก
"การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง
ส่วนใหญ่งานวิจัยทั้งหลาย พบว่าการฆ่าตัวตายมาจากหลายเรื่องหนึ่งในนั้นคือเรื่องของความรัก
แต่การฆ่าตัวตายไม่ใช่เป็นฟางเส้นสุดท้ายของความรัก โดยทั่วไปร้อยละ 60-80 มีภาวะซึมเศร้าอยู่ด้วย"
น.พ.ทวีสิน วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคมและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวถึงสภาพการณ์ในสังคมที่เกิดกรณีฆ่าตัวตายเพราะพิษรักมาหลายคดี

น.พ.ทวีสิน กล่าวว่าหลายคนที่อกหักไม่ฆ่าตัวตายก็มี จึงอยากให้นึกถึงประเด็นอื่นๆ ร่วมด้วยความรักอย่างเดียว
อาจไม่ใช่ต่างคนต่างเหตุ บางรายเป็นโรคทางร่างกายเรื้อรัง หรือพ่อด่าแม่ตี

ในมุมของการไม่สมหวัง อกหักรักคุด ต้องเผชิญกับความเครียด สภาพจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน
กว่าจะผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ต้องใช้เวลาทำใจ และจัดการกับชีวิตที่ต้องอยู่คนเดียว

การสูญเสียคนที่เรารักมักเกิดขึ้นในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความอ่อนไหวทางอารมณ์
เมื่อผิดหวังหรือไม่สมหวัง เริ่มแรกจะมีอาการเศร้าโศกราว 1-3 เดือน ต่อมามีอาการซึมเศร้า
ถ้ามากกว่านั้นและไม่มีการปรับตัว หรือเป็นมากจนทำงานไม่ได้ไม่ยอมลุกจากที่นอน จะเข้าไปสู่ภาวะซึมเศร้า
ทำอะไรก็แย่ พูดน้อย จมอยู่กับความทุกข์ ความดำมืดของอารมณ์ที่จมดิ่งลงไป
ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องเร่งเยียวยา ไม่เช่นนั้นจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

คนรอบข้างควรหมั่นสังเกตภาวะจิตใจ
ถ้าเขาเสียใจหรืออกหักปล่อยไว้ไม่ได้ พ่อแม่เองควรหมั่นเข้าไปดูแลใกล้ชิด
เพราะเมื่อไม่สบายจิตใจก็เสมือนกับมีไข้ทางร่างกาย ถ้าไม่เอามือมาสัมผัสก็จะไม่รู้ว่ามีไข้
เมื่อเราแตะมือลงไปก็เหมือนกับการพูดคุย เขาจะได้ระบายออกมาและอย่างน้อยเราก็หาสัญญาณออกมาได้

"พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นหมั่นพูดคุยเรียนรู้ใจลูกเราว่าลึกๆ คิดอะไรอยู่ ใจเป็นอย่างไร
โดยใช้ประเด็นทางข่าวสารมาพูดคุย อย่ากลัวที่จะเรียนรู้ทางด้านจิตใจ
เพราะเมื่ออกกลัดหนอง ทุกข์ทางใจต้องใช้การพูดคุย ให้เขาระบายออกมา จะทำให้คลายทุกข์ ไม่ต้องกังวล
เพราะความสัมพันธ์ของพ่อแม่จะเป็นต้นทุนป้องกันลูก" คุณหมอกล่าว

สำหรับคนที่คิดปิดฉากชีวิตตัวเอง หมอแนะนำว่า
อยากให้ย้อนกลับไปคิดถึงเวลามีความรัก เปรียบเทียบกับเวลาที่พ่อแม่เลี้ยงเรามาโดยที่ไม่มีเขา
ที่ผ่านมาเราไม่มีเขาทำไมเราอยู่ได้และมีความสุข ก็เพราะเรามีครอบครัว
ส่วนคนที่ไม่มีประสบการณ์ก็ต้องเรียนรู้ และคิดว่าถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้ผ่านเข้ามาจะทำอย่างไร
เพื่อเพิ่มวัคซีนทางใจเป็นแรงให้สู้ เราเรียนรู้ผ่านข่าวร้ายได้
ดูภาพที่พ่อแม่เสียใจเมื่อลูกจากไป เป็นฉากหลังความตาย คนจากไปไม่รู้ว่าคนอื่นที่อยู่ทุกข์ทรมานด้วย
จะช่วยกระตุกความคิดที่ไม่ดีให้กลับมาสู่โลกของความเป็นจริง ก่อนจะทำอะไรลงไป


ด้าน น.พ.บัณฑิต สอนไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เห็นว่า
คนที่มีความสำเร็จมากๆ มักเปราะบางทางอารมณ์ แม้ว่าจะมีสติปัญญาแข็งแรง เมื่อเคยชินกับความสำเร็จ
แต่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ได้รับการฝึกฝนเพื่อรองรับกับความผิดหวัง ซึ่งต้องใช้กำลังใจที่เข้มแข็ง
เมื่อรักมากก็คิดมาก ผิดหวังมาก หัวใจก็สลาย มาจากพื้นฐานความเคยชินเมื่อผิดหวังมักซึมเศร้า

บางคนแสดงออกตรงไปตรงมา ขณะที่บางคนแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น
การแยกตัวออกไป จากที่ตัดสินใจเร็วก็ชักช้า ลังเล มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
หรือบอกเล่าว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งช่วยบรรเทาได้หลายทาง เช่น ช่วยคิดอ่านแก้ปัญหา
หรือสร้างความบันเทิงทดแทน เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัด ทั้งทะเล ภูเขา หรือจะเข้าป่าไป
เพื่อทดแทนความเศร้าที่มีอยู่ เป็นการตัดวงจรความคิดและออกมาจากความทุกข์โศกนั้น

เมื่อมีความรักที่เลยเถิดเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง พ่อแม่เองก็เจ็บมากเช่นกันกับลูก
เพราะพ่อแม่รู้สึกผิดหวังกับตัวลูก รู้สึกโกรธ บึ้งตึงหรือเมินเฉย พ่อแม่เจ็บปวดเวลาที่ลูกผิดพลาด
รับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่ได้ จะเข้าไปปลอบเขาก็ทำไม่ได้
แต่พ่อแม่ที่ดีต้องอดทนและเสียสละความเจ็บปวดไว้ก่อน พ่อแม่ต้องทำใจให้หนักแน่น
เพราะเมื่อถึงยามนั้นเขาต้องการพ่อแม่มากที่สุด เหมือนเราหกล้มเราก็ต้องการคนพยุงให้ลุกขึ้นยืน
ถ้าพ่อแม่ตีซ้ำ เขาจะคิดว่าโลกนี้ไม่มีพื้นที่ให้เขาเลย

ขณะที่คนเราเศร้า เขาต้องการการดูแลความรู้สึกของหัวใจ
เมื่อลูกอยากเล่าอะไรต้องฟัง หรือถ้าเขาอยากร้องไห้ก็ให้เขาร้องโดยมีเราคอยโอบกอด
ในระหว่างนั้นเขาจะรู้สึกว่ามีที่พึ่ง เขาไม่ได้อยู่กลางหุบเหวคนเดียว
นอกจากจะได้ระบายแล้วเมื่อเขาเล่าคือการทบทวนตัวเองผ่านพ่อแม่ และหาทางแก้ไขต่อไป


พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาในชีวิต หลักสำคัญก่อนตัดสินใจอะไรลงไปควรรอให้อารมณ์สงบลงระดับหนึ่งก่อน
ซึ่งการรอมีหลากหลายวิธี ที่นิยมมากคือการหาที่ปรึกษาที่ดี เพราะการคิดคนเดียวจะมองไม่เห็นทางออก สับสน
ควรมองหาที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ที่เก็บความลับของเราได้ หวังดีต่อเราและต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากกว่า
จะเป็นการชะลอปัญหาที่ดี หรือเข้ารับบริการทางสังคมด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย

ถัดมาคือการเบี่ยงเบนความสนใจให้ถูกทางและเป็นประโยชน์
เพราะเมื่อคนเราผิดหวังก็อยากสมหวัง ทำให้คิดหนัก ยิ่งคิดยิ่งสับสน
บางครั้งเราต้องปิดสวิตช์และหาวิธีดึงสมาธิความสนใจไปเรื่องอื่น เช่น หันมาออกกำลังกาย เล่นดนตรี
เปลี่ยนบรรยากาศรอบข้าง เพื่อคลายความสนใจสิ่งนั้นลง และจะมีมุมมองที่ดีขึ้น
แต่ต้องระวังการฟังเพลงและดูภาพยนตร์เศร้า นอกจากนี้ ศึกษาธรรมะที่ว่าด้วยการคงอยู่และจากไป
จะเห็นว่าทั้งความรักที่ดำเนินไป มีขึ้นมีลงและคลายตัวไปนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีๆ
จากความผิดหวังกลายเป็นกลไกสำคัญในชีวิต ทำให้เรามีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากขึ้น

หลังเบี่ยงเบนความสนใจแล้ว ก็ต้องหันกลับมาแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
หากแก้ได้ตรงทิศทางแล้ว ผลลัพธ์ดีกว่าลุยปัญหาด้วยอารมณ์ การสางปัญหาด้วยสติจะเป็นประโยชน์มากกว่า
แต่ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร ต้องปรับตัวยอมรับด้วยการมองโลกในทางบวก
มองเห็นว่าเป็นอีกบทหนึ่งในการเรียนรู้ชีวิต เมื่อมีรักครั้งต่อไป เมื่อเรารู้ เราเข้าใจ เราก็จะดูแลความรักได้ดีเสมอ

"แม้ว่าความรักเป็นอีกหนึ่งส่วนของชีวิต แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต
เมื่อสูญเสียไปเราจะอยู่ได้และมีชีวิตที่พัฒนาขึ้นไป
บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปเราได้ย้อนกลับไปมอง เราจะอมยิ้มกับตัวเองได้ว่าครั้งหนึ่งเรามีชีวิตที่อบอุ่น
เรารู้จักความเข้มแข็ง และเข้าใจความหมายของความรักและคุณค่าของความรักยิ่งกว่าเดิม"



ข้อมูลโดย : //matichon.co.th/khaosod/
ที่มา : //www.dmh.go.th



Create Date : 16 พฤษภาคม 2553
Last Update : 16 พฤษภาคม 2553 14:49:16 น. 2 comments
Counter : 829 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ

ยังคงติดตามอ่านบทความดี เสมอ

ขอบคุณค่ะ


โดย: LoveTurJang วันที่: 17 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:56:43 น.  

 


โดย: thanitsita วันที่: 19 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:27:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.