Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
2 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

มองให้เหมือนผึ้ง : แมลงกับการรับภาพอัลตราไวโอเลต

มองให้เหมือนผึ้ง แมลงกับการรับภาพอัลตราไวโอเลต


ผึ้งไม่สามารถแยกแยะแสงสีแดงของสเปกตรัม มันมองเห็นสีแดงเป็นสีดำหรือภาวะที่ไม่มีแสง
ผึ้งสามารถมองเห็นสีเขียว เหลือง ม่วง น้ำเงิน และแสงที่มีความถี่สูงขึ้นไป
อันได้แก่ อัลตราไวโอเลต (เหนือม่วง) ซึ่งอยู่พ้นไปจากขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์
มีดอกไม้เป็นจำนวนมากที่มีจุดสะท้อน หรือดูดซับแสงอัลตราไวโอเลตอย่างเป็นแบบแผนที่เด่นชัด
ความงามในสีสันของดอกไม้ ไม่มีความหมายอะไรสำหรับผึ้ง

ทำไมแสงอัลตราไวโอเลตจึงมีความสำคัญต่อผึ้งและดอกไม้
คำตอบส่วนหนึ่งอยู่ที่ระบบการนำร่องของผึ้ง ซึ่งพึ่งพาแสงพิเศษจากดวงอาทิตย์
แม้ว่าดวงอาทิตย์จะถูกเมฆบดบัง
แต่แสงอัลตราไวโอเลตยังสามารถส่องทะลุผ่านก้อนเมฆ เพราะความยาวคลื่นมีพลังงานสูง
ดังนั้นผึ้งจึงสามารถเดินทางได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้ท้องฟ้าปลอดโปร่งและมีแสงอาทิตย์ส่องสว่าง

ทางด้านดอกไม้ จำต้องโฆษณาตัวเอง ประกาศถึงแหล่งน้ำทิพย์อันหวานหอม
ต่อหมู่แมลงผ่านไปมาที่รับรู้ถึงแสงอัลตราไวโอเลตได้
ดังนั้น มันจึงต้องมีจุดดูดซับและสะท้อนแสงอัลตราไวโอเลต
ซึ่งผึ้งจะมองเห็นเป็นภาพอัลตราไวโอเลต ที่มีตำแหน่งเป้าหมายเป็นสีดำ
ซึ่งบ่งชี้ถึงตำแหน่งบริเวณของน้ำหวานและเรณูเกสร เช่น ในดอกดาวเรือง และดอกทานตะวัน
ซึ่งเรามองเห็นเป็นสีเหลืองสม่ำเสมอกันทั้งดอก

แล้วทำไมมนุษย์ จึงไม่สามารถมองเห็นโลกภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตได้เหมือนผึ้ง
แสงอัลตราไวโอเลตเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต
ดังนั้นเราจึงต้องปกป้องผิวและดวงตา ไม่ให้รับเอาแสงอัลตราไวโอเลตจากแดดกล้าในเวลากลางวัน

แต่สำหรับผึ้งซึ่งมีอายุขัยสั้นมากเมื่อเทียบกับมนุษย์
ผลกระทบจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงไม่ปรากฏภายในช่วงของการดำรงชีวิต
ดวงตาของมนุษย์นอกจากจะไม่สามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตแล้ว
ยังถือเป็นการปกป้องอันตรายไปด้วยในตัว

แต่สำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดดวงตาบางราย กลับมีความสามารถพิเศษ
พวกเขาสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตในรูปของสีน้ำเงิน
หน่วยข่าวกรองทางการทหารได้ใช้ประโยชน์คนเหล่านี้ ตั้งแต่ยุคทศวรรษตั้งแต่ ต้นปี 2483
โดยบรรจุให้ทำหน้าที่สังเกตการณ์ การส่งสัญญาณแสงอัลตราไวโอเลตของเรือดำน้ำ U-boat ของเยอรมนี
นอกจากนี้ จิตรกรแนวหน้าในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ โคล้ด โมเน่ต์ หลังจากผ่าตัดต้อกระจกในปี 2466
การใช้สีในภาพวาดของเขาก็เปลี่ยนแปลงไป
เขาลงสีภาพวาดพันธุ์ไม้ตระกูลบัว เป็นสีน้ำเงินเข้มกว่าผลงานที่เคยวาดในอดีต

คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่า ผึ้งซึ่งในดวงตามีเลนส์ขนาดจิ๋วกว่า 6,900 ชิ้น มองเห็นดอกไม้เป็นภาพแบบใด
แต่อย่างน้อยก็มีเทคนิคบางอย่าง ที่ทำให้สามารถมองเห็นจุดรับแสงอัลตราไวโอเลต
ซึ่งเป็นเครื่องส่งสัญญาณแสดงตำแหน่งของน้ำหวานในดอกไม้

เทคนิคการถ่ายภาพที่สกัดกั้นแสงที่มองเห็นได้
โดยปล่อยให้ความถี่ของแสงอัลตราไวโอเลตเท่านั้น ที่สะท้อนกลับมายังระบบสร้างภาพของกล้อง
ช่วยให้เรามองเห็นได้เหมือนผึ้งในบางแง่มุม

มองให้เหมือนผึ้ง แมลงกับการรับภาพอัลตราไวโอเลต
ดอกเดซี่ (Daisy Flower ) ภาพจริงและภาพที่ถ่ายด้วยแสงอัลตราไวโอเลต

ภาพดอกเดซี่ (ภาพขวามือ) ถ่ายด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ที่กลีบดอกจะดูดซับแสงอัลตราไวโอเลตบางส่วน
ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแหล่งน้ำหวานที่ใจกลางดอก
ในเวลากลางวันภายใต้แสงแดดปกติดวงตามนุษย์จะมองไม่เห็นสัญญาณนี้
กลีบดอกเดซี่จะเป็นสีขาวสม่ำเสมอกันทั้งดอก
ดวงตาอันซับซ้อนของผึ้ง (ภาพล่าง) และแมลงอีกหลายชนิด มีความไวสูงในการรับแสงอัลตราไวโอเลต


ภาพจาก Dr. Jermey Burgess/SPL Leonard Lessin/SPL
ข้อมูลโดย : //www.matichon.com
ที่มา : //www.artsmen.net




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2553
0 comments
Last Update : 2 มิถุนายน 2553 15:00:16 น.
Counter : 3252 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.