กันยายน 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
เชื้อราในช่องคลอด
ไปอ่านพบมา จึงอยากมาแบ่งปันกันค่ะ

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา เป็นปัญหาที่พบได้มากในสตรี คาดคะเนได้ว่าสตรีทุกๆ 3 ใน 4 คนเคยประสบกับปัญหาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงชีวิต

สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อราแคนดิด้าอัลบิแคน (Candida albicans) เชื้อตัวนี้ ปกติอาศัยอยู่ในร่างกายคนอยู่แล้ว เช่น บริเวณผิวหนัง ช่องคลอด ทวารหนัก และระบบทางเดินอาหาร เมื่อมีอะไรบางอย่างทำให้ระบบควบคุมเชื้อราในร่างกายเสียไป เชื้อนี้ก็จะก่อให้เกิดโรคขึ้นได้

อาการและอาการแสดง
อาการสำคัญ คือ คันช่องคลอด จะมีอาการคันมากน้อยต่างกัน บางคนมีอาการปวดแสบ ตกขาวมีลักษณะคล้ายนมบูด หรือตะกอนนม บางรายมีผื่นแดงที่บริเวณปากช่องคลอด หรือมีอากรปัสสาวะบ่อยและปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย บางรายอาจมีผื่นแดงรอบๆปากช่องคลอดหรือบริเวณขาหนีบและปวดขณะร่วมเพศแต่บางรายอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย โรคนี้ไม่ได้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

ทำไมจึงเกิดโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา สภาวะบางอย่างซึ่งอาจทำให้สตรีติดโรคหรือเกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น มีดังนี้
1). ขณะตั้งครรถ์ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นสภาวะที่เหมาะสมเป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิด้า

2). สตรีเป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจากโรคเบาหวาน จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้เป็นอย่างดี

3). ขณะได้รับยาปฏิชีวนะบางอย่าง ยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามปกติบริเวณช่องคลอด ทำให้เชื้อราแคนดิด้าแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว

4). สตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ก็มีโอกาสจะเกิดโรคเชื้อราได้ เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดจะไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิด้าได้

5). การใช้ยาบางประเภท เช่น ยารักษาสิว ยารักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมักเป็นสารกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ลดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อราแคนดิด้า

6). คุณนายสะอาด (เกินพอดี) : รู้ดีว่าผู้หญิงเราทุกคนต้องรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นกันเป็นอย่างดี แต่บางคนสะอาดมากเสียจนกระทั่งไปซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อมาล้างในช่องคลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากในช่องคลอดของผู้หญิงเรามีแบคทีเรียที่เป็นมิตรชื่อว่า “แลคโตแบซิลลัส” ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคภายนอกที่จะเข้าไปรุกราน แต่พอโดนสวนล้างด้วยยาฆ่าเชื้อเข้าไปบ่อยๆ แบคทีเรียที่ดีจึงโดนทำลายไปด้วย
สิ่งที่ควรทำ : ควรล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นควรทำเฉพาะภายนอกเท่านั้น เลือกใช้น้ำสะอาดจะดีที่สุด

7). ฟิต รัด แฟชั่นพาจน : การแต่งตัวของผู้หญิงยุคนี้ เช่น การนุ่งกางเกงยีนส์รัดๆ หรือชุดชั้นในราคาแพงบางชุดกลับรัดแน่น ผลิตจากผ้าใยสังเคราะห์ เหล่านี้จะทำให้เกิดการอับชื้นภายในจุดซ่อนเร้น หากเหงื่อออกมากก็อาจหมักหมมจนเป็นบ่อเกิดของเชื้อราได้ มีงานวิจัยบอกว่าผู้หญิงที่นุ่งยีนส์เป็นประจำมีโอกาสเป็นเชื้อราในร่มผ้า มากกว่าผู้หญิงที่นุ่งกระโปรง
สิ่งที่ควรทำ : อย่าลืมคว้ากระโปรงในตู้มาทำความสะอาด สวมชุดชั้นในก็ควรเลือกที่ทำจากผ้าฝ้ายที่ไม่รัด และไม่ควรใช้ชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่นอย่างเด็ดขาด

8). แผ่นอนามัยอุปสรรคอากาศถ่ายเท : นอกจากการมีรอบเดือนที่ทำให้ผู้หญิงเราต้องใช้ผ้าอนามัยแล้ว ผู้หญิงยุคใหม่หลายคนยังนิยมใช้ผ้าอนามัยแผ่นเล็กทุกวันโดยคิดว่าจะช่วย ซึมซับตกขาวไม่ให้เปื้อนชุดชั้นใน หรือบางคนใช้เพราะขี้เกียจซักกางเกงในบ่อยๆ!! แต่รู้หรือไม่ว่าแผ่นอนามัยเหล่านั้นผลิตจากใยสังเคราะห์ที่เป็นตัวการปิด กั้นอากาศที่ไหลเวียนในบริเวณนั้น จนเกิดความอับชื้นรุนแรง
สิ่งที่ควรทำ : แผ่นอนามัยแผ่นเล็กไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ ถ้ามีตกขาวมากควรเตรียมชุดชั้นในไปเปลี่ยน หรือหาซื้อกางเกงในชนิดที่มีการเสริมผ้าฝ้ายตรงเป้ากางเกงให้หนาขึ้น จะได้ซึมซับตกขาวได้ดี กลับถึงบ้านแล้วรีบซักทำความสะอาดทันที

9). ห้องน้ำความลับที่ไม่รู้ : พฤติกรรมในห้องน้ำอาจทำให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว เช่น การนอนแช่ในฟองสบู่หรือเกลืออาบน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือบางคนก็ลืมรักษาความสะอาดให้ห้องน้ำที่เปลือยกายอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นฝักบัว ผ้าพลาสติกหรือที่ฉีดน้ำล้างก้น การตากกางเกงชั้นใน ในห้องน้ำที่ไม่มีแสงแดดส่องถึง หรือแขวนผ้าเช็ดตัวทิ้งไว้ในห้องน้ำให้อับชื้น ทั้งที่อาบน้ำเสร็จแล้ว ทำให้เป็นบ่อเกิดของเชื้อรา ของเหล่านี้เคยมีคนวิเคราะห์ส่องตรวจด้วกล้องจุลทรรศน์ แล้วพบว่าเต็มไปด้วยเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
สิ่งที่ควรทำ : ทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง และควรตากชุดชั้นใน ผ้าเช็ดตัวให้แดดส่องถึง และซักบ่อยๆ

การวินิจฉัยและการตรวจหาเชื้อ
เมื่อท่านมีอาการตกขาว คันช่องคลอด หรือมีผื่นแดงที่ปากช่องคลอด หรือปวดแสบช่องคลอดขณะร่วมเพศ ท่านควรไปรับการตรวจภายใน โดยบุคลากรทางการแพทย์ จะเก็บตกขาวจากช่องคลอดส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าอาการของท่านเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด

การรักษา
1). การใช้ยาสอดช่องคลอด โดยสอดยาเข้าทางช่องคลอดให้ลึกที่สุด และไม่ต้องล้างออกสอดยาให้ครบจำนวนตามแพทย์สั่ง

2). การใช้ยารับประทาน

3). การใช้ยาทาเฉพาะที่

การป้องกันการเป็นซ้ำ
โดยมากโรคนี้จะไม่กลับเป็นซ้ำ ถ้าสาเหตุได้ถูกกำจัดไป เช่น เลิกรับประทานยาปฏิชีวนะที่เป็นต้นเหตุตามคำแนะนำของแพทย์ และคำแนะนำต่อไปนี้ อาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านด้วย :

1. รักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำสะอาด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือการสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ (มากกว่า 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์) เพราะอาจทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามปกติบริเวณช่องคลอด ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มีส่วนป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอดได้

2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ

3. หลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยไนล่อนหรือชุดชั้นในที่รัดรูปเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการอับชื้น ซึ่งเป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา

4. หลังการถ่ายอุจาระ ควรทำความสะอาดโดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อมิให้เชื้อแคนดิด้าที่อยู่ในทวารหนักเข้ามาสู่ช่องคลอด

5. การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลปริมาณน้อย อาจลดโอกาสการติดเชื้อราลงได้



Create Date : 07 กันยายน 2553
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2554 17:28:47 น.
Counter : 922 Pageviews.

4 comments
  
โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:11:57:30 น.
  
เป็นเรื่องที่น่ารู้สำหรับผู้หญิงจริงๆค่ะ เคยรู้มาบ้างแล้วแต่ได้มาอ่านอย่างละเอียดก็รู้สึกมีประโยชน์ต่อตัวเองมากขึ้นค่ะ ขอบคุณที่นำสาระดีๆมาแบ่งปันนะคะ
โดย: เกลือหนึ่งกำน้อย วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:13:39:29 น.
  
แวะมาอ่านจร้าขออนุญาตฝากเว็บไว้ในอ้อมกอดน้อยๆด้วยนะครับ|เข้าชมเว็บ บิ๊กอายขอบคุณครับ
โดย: bigeye (tewtor ) วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:18:22:30 น.
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 29 มีนาคม 2560 เวลา:11:27:08 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

AnnaBelle's World
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]